รอยเตอร์ - อิรักเปิดประตูรับต่างชาติเข้าประมูลสัมปทานแหล่งน้ำมันขนาดใหญ่ในวันจันทร์ (30) ส่งผลให้บริษัทของอังกฤษและสหรัฐฯ เป็นต่อเหนือสัญชาติอื่นๆ หลังจากที่กองกำลังภายใต้การนำของสหรัฐฯ เข้ารุกรานและยึดครองอิรักอยู่นานถึงห้าปี ด้วยข้ออ้างว่าเพื่อขับไล่อดีตประธานาธิบดีซัดดัม ฮุสเซน
ความเคลื่อนไหวในการเปิดประมูล เพื่อพัฒนาบรรดาแหล่งน้ำมันขนาดใหญ่ที่สุดของอิรักในครั้งนี้ จะแป็นเครื่องหมายแสดงถึงการกลับคืนมาของเหล่าบริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่ ที่มีทั้งเงินทุนและความเชี่ยวชาญเพื่อฟื้นฟูโครงสร้างพื้นฐานของอุตสาหกรรมน้ำมันในอิรัก หลังจากที่เสียหายอย่างหนักจากการถูกมาตรการลงโทษคว่ำบาตร และจากศึกสงคราม
แต่ขณะเดียวกัน ก็อาจทำให้ผู้คัดค้านการรุกรานอิรักโกรธเคือง เพราะพวกเขาเคยบอกแล้วว่าสงครามในปี 2003 นั้นมีจุดมุ่งหมายให้บริษัทน้ำมันตะวันตกเข้าไปควบคุมแหล่งน้ำมันสำรองของอิรัก โดยที่สหรัฐฯ และอังกฤษได้ปฏิเสธมาโดยตลอด อีกทั้ง ทอม เคซีย์ โฆษกกระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ ก็ปฏิเสธในครั้งนี้ว่า "สหรัฐฯ ไม่เกี่ยวข้องใด ๆ กับการตัดสินใจให้สัมปทานแก่ใคร หรือตัดสินใจหรือให้คำแนะนำว่าควรทำข้อตกลงชนิดไหน"
นอกจากนั้น การที่อิรักอนุญาตให้บริษัทต่างชาติเข้าไปช่วยเพิ่มผลผลิตจากแหล่งน้ำมันสำคัญๆ ของตนเช่นนี้ ยังจะเป็นการสวนทางกับเพื่อนบ้าน ไม่ว่าจะเป็นซาอุดีอาระเบีย คูเวต หรือสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ซึ่งให้บริษัทน้ำมันแห่งชาติเป็นผู้ควบคุมการลงทุนของต่างชาติ
"แหล่งน้ำมันทั้ง 6 แหล่งที่เปิดประมูลสัมปทานในวันนี้ ถือเป็นกระดูกสันหลังของอุตสาหกรรมน้ำมันของอิรักเลยทีเดียว" ฮุสเซน อัล-ชาฮ์ริสตานี รัฐมนตรีกระทรวงน้ำมันของอิรักแถลง และว่า
"อิรักมีน้ำมันสำรองที่สำรวจแล้วเป็นปริมาณมหาศาล จึงไม่ควรผลิตน้ำมันในปริมาณท่าที่เป็นอยู่ แต่อิรักควรเป็นประเทศผู้ผลิตน้ำมันใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองหรือสามของโลกด้วยซ้ำ"
ทั้งนี้ แหล่งน้ำมันทั้งหกแห่ง ได้แก่ แหล่งรูไมลา แหล่งคีร์คุก แหล่งซุบาอีร์ แหล่งเวสต์ กุรนา เฟส 1 แหล่งบาอิ ฮัสซัน และแหล่งเมย์ซานที่ประกอบด้วยแหล่งย่อยอีกสามแห่งด้วยกัน คือ แหล่งบาซาร์กาน แหล่งอาบู การ์อับ และแหล่งฟักกา
ชาฮ์ริสตานีกล่าวว่าแหล่งน้ำมันทั้งหกแหล่งนี้จะเปิดให้ทำสัญญาการพัฒนาแบบระยะยาว โดยที่อิรักได้คัดเลือกบริษัทต่างชาติไว้ในเบื้องต้นแล้ว 41 บริษัทด้วยกัน และเขาคาดว่าสัญญาดังกล่าวจะลงนามได้ในเดือนมิถุนายน 2009 เพื่อเพิ่มผลผลิตน้ำมันจากทั้งหกแหล่งโดยรวมเป็น 1.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน ทั้งนี้ อิรักยังตั้งเป้าเพิ่มผลผลิตของประเทศให้ถึง 4.5 ล้านบาร์เรลต่อวันภายในปี 2013 จากระดับการผลิตในปัจจุบันที่ 2.5 ล้านบาร์เรลต่อวันด้วย
ก่อนหน้านี้ อิรักหวังว่าจะสามารถลงนามกับพวกบริษัทน้ำมันตะวันตก ในสัญญาสนับสนุนทางเทคนิคระยะสั้นรวม 6 ฉบับได้ในเดือนหน้า ซึ่งจะทำให้สามารถใช้ประโยชน์จากความชำนาญทางเทคนิคมาเพิ่มผลผลิตได้รวดเร็ว แต่การเจรจาดังกล่าวยังไม่มีข้อยุติ เพราะบริษัทชั้นนำยังคงลังเลใจ และต้องการให้การสนับสนุนทางเทคนิคในรูปคำแนะนำต่าง ๆ จากสำนักงานในต่างประเทศ และส่งต่อไปยังแหล่งน้ำมันต่าง ๆ มากกว่าเข้าไปเปิดสำนักงานในอิรัก
อิรักหวังว่า สัญญาระยะสั้นซึ่งมีมูลค่าของแต่ละสัญญาราว 500 ล้านดอลลาร์ จะช่วยเพิ่มผลผลิตน้ำมันในแหล่งที่มีอยู่แล้วขึ้นอีกรวม 500,000 บาร์เรลต่อวัน สำหรับบริษัทที่กำลังเจรจาด้วย คือ รอยัล ดัตช์ เชลล์, กลุ่มเชลล์กับบีเอชพี บิลลิตัน, บีพี, เอ็กซ์ซอน โมบิล. และกลุ่มเชฟรอนกับโทแทล นอกจากนั้น ยังมีกลุ่มร่วมทุนของอนาดาร์โก ไวทอล และโดม ที่ยังอยู่ในระหว่างเจรจาสัญญาระยะสั้นฉบับที่ 6 ด้วย
เมื่อรวมสัญญาทั้งระยะสั้นและระยะยาวเข้าด้วยกันแล้ว ก็จะเป็นการเปิดประตูการลงทุนให้บริษัทยักษ์ใหญ่ต่างชาติ เข้าถึงอุตสาหกรรมน้ำมันในชาติสมาชิกองค์การโอเปกได้เป็นครั้งแรกในรอบเกือบ 40 ปี
ทั้งนี้ แหล่งน้ำมันสำรองที่พิสูจน์แล้วของอิรักนั้นมีปริมาณน้ำมันรวมกันอยู่ถึง 115,000 ล้านบาร์เรล นับว่ามีขนาดใหญ่ที่สุดของโลกรองจากซาอุดีอาระเบียและอิหร่าน และเมื่อเดือนเมษายน บาร์ฮัม ซาลีห์ รองนายกรัฐมนตรีของอิรักเคยพูดว่าแหล่งน้ำมันที่ยังไม่พิสูจน์นั้นอาจมีปริมาณน้ำมันรวมสูงถึง 350,000 ล้านบาร์เรล
ความเคลื่อนไหวในการเปิดประมูล เพื่อพัฒนาบรรดาแหล่งน้ำมันขนาดใหญ่ที่สุดของอิรักในครั้งนี้ จะแป็นเครื่องหมายแสดงถึงการกลับคืนมาของเหล่าบริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่ ที่มีทั้งเงินทุนและความเชี่ยวชาญเพื่อฟื้นฟูโครงสร้างพื้นฐานของอุตสาหกรรมน้ำมันในอิรัก หลังจากที่เสียหายอย่างหนักจากการถูกมาตรการลงโทษคว่ำบาตร และจากศึกสงคราม
แต่ขณะเดียวกัน ก็อาจทำให้ผู้คัดค้านการรุกรานอิรักโกรธเคือง เพราะพวกเขาเคยบอกแล้วว่าสงครามในปี 2003 นั้นมีจุดมุ่งหมายให้บริษัทน้ำมันตะวันตกเข้าไปควบคุมแหล่งน้ำมันสำรองของอิรัก โดยที่สหรัฐฯ และอังกฤษได้ปฏิเสธมาโดยตลอด อีกทั้ง ทอม เคซีย์ โฆษกกระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ ก็ปฏิเสธในครั้งนี้ว่า "สหรัฐฯ ไม่เกี่ยวข้องใด ๆ กับการตัดสินใจให้สัมปทานแก่ใคร หรือตัดสินใจหรือให้คำแนะนำว่าควรทำข้อตกลงชนิดไหน"
นอกจากนั้น การที่อิรักอนุญาตให้บริษัทต่างชาติเข้าไปช่วยเพิ่มผลผลิตจากแหล่งน้ำมันสำคัญๆ ของตนเช่นนี้ ยังจะเป็นการสวนทางกับเพื่อนบ้าน ไม่ว่าจะเป็นซาอุดีอาระเบีย คูเวต หรือสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ซึ่งให้บริษัทน้ำมันแห่งชาติเป็นผู้ควบคุมการลงทุนของต่างชาติ
"แหล่งน้ำมันทั้ง 6 แหล่งที่เปิดประมูลสัมปทานในวันนี้ ถือเป็นกระดูกสันหลังของอุตสาหกรรมน้ำมันของอิรักเลยทีเดียว" ฮุสเซน อัล-ชาฮ์ริสตานี รัฐมนตรีกระทรวงน้ำมันของอิรักแถลง และว่า
"อิรักมีน้ำมันสำรองที่สำรวจแล้วเป็นปริมาณมหาศาล จึงไม่ควรผลิตน้ำมันในปริมาณท่าที่เป็นอยู่ แต่อิรักควรเป็นประเทศผู้ผลิตน้ำมันใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองหรือสามของโลกด้วยซ้ำ"
ทั้งนี้ แหล่งน้ำมันทั้งหกแห่ง ได้แก่ แหล่งรูไมลา แหล่งคีร์คุก แหล่งซุบาอีร์ แหล่งเวสต์ กุรนา เฟส 1 แหล่งบาอิ ฮัสซัน และแหล่งเมย์ซานที่ประกอบด้วยแหล่งย่อยอีกสามแห่งด้วยกัน คือ แหล่งบาซาร์กาน แหล่งอาบู การ์อับ และแหล่งฟักกา
ชาฮ์ริสตานีกล่าวว่าแหล่งน้ำมันทั้งหกแหล่งนี้จะเปิดให้ทำสัญญาการพัฒนาแบบระยะยาว โดยที่อิรักได้คัดเลือกบริษัทต่างชาติไว้ในเบื้องต้นแล้ว 41 บริษัทด้วยกัน และเขาคาดว่าสัญญาดังกล่าวจะลงนามได้ในเดือนมิถุนายน 2009 เพื่อเพิ่มผลผลิตน้ำมันจากทั้งหกแหล่งโดยรวมเป็น 1.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน ทั้งนี้ อิรักยังตั้งเป้าเพิ่มผลผลิตของประเทศให้ถึง 4.5 ล้านบาร์เรลต่อวันภายในปี 2013 จากระดับการผลิตในปัจจุบันที่ 2.5 ล้านบาร์เรลต่อวันด้วย
ก่อนหน้านี้ อิรักหวังว่าจะสามารถลงนามกับพวกบริษัทน้ำมันตะวันตก ในสัญญาสนับสนุนทางเทคนิคระยะสั้นรวม 6 ฉบับได้ในเดือนหน้า ซึ่งจะทำให้สามารถใช้ประโยชน์จากความชำนาญทางเทคนิคมาเพิ่มผลผลิตได้รวดเร็ว แต่การเจรจาดังกล่าวยังไม่มีข้อยุติ เพราะบริษัทชั้นนำยังคงลังเลใจ และต้องการให้การสนับสนุนทางเทคนิคในรูปคำแนะนำต่าง ๆ จากสำนักงานในต่างประเทศ และส่งต่อไปยังแหล่งน้ำมันต่าง ๆ มากกว่าเข้าไปเปิดสำนักงานในอิรัก
อิรักหวังว่า สัญญาระยะสั้นซึ่งมีมูลค่าของแต่ละสัญญาราว 500 ล้านดอลลาร์ จะช่วยเพิ่มผลผลิตน้ำมันในแหล่งที่มีอยู่แล้วขึ้นอีกรวม 500,000 บาร์เรลต่อวัน สำหรับบริษัทที่กำลังเจรจาด้วย คือ รอยัล ดัตช์ เชลล์, กลุ่มเชลล์กับบีเอชพี บิลลิตัน, บีพี, เอ็กซ์ซอน โมบิล. และกลุ่มเชฟรอนกับโทแทล นอกจากนั้น ยังมีกลุ่มร่วมทุนของอนาดาร์โก ไวทอล และโดม ที่ยังอยู่ในระหว่างเจรจาสัญญาระยะสั้นฉบับที่ 6 ด้วย
เมื่อรวมสัญญาทั้งระยะสั้นและระยะยาวเข้าด้วยกันแล้ว ก็จะเป็นการเปิดประตูการลงทุนให้บริษัทยักษ์ใหญ่ต่างชาติ เข้าถึงอุตสาหกรรมน้ำมันในชาติสมาชิกองค์การโอเปกได้เป็นครั้งแรกในรอบเกือบ 40 ปี
ทั้งนี้ แหล่งน้ำมันสำรองที่พิสูจน์แล้วของอิรักนั้นมีปริมาณน้ำมันรวมกันอยู่ถึง 115,000 ล้านบาร์เรล นับว่ามีขนาดใหญ่ที่สุดของโลกรองจากซาอุดีอาระเบียและอิหร่าน และเมื่อเดือนเมษายน บาร์ฮัม ซาลีห์ รองนายกรัฐมนตรีของอิรักเคยพูดว่าแหล่งน้ำมันที่ยังไม่พิสูจน์นั้นอาจมีปริมาณน้ำมันรวมสูงถึง 350,000 ล้านบาร์เรล