กระบี่ - ผู้ประกอบการท่องเที่ยวอ่าวนาง ขอสะพานท่าเทียบเรือ รองรับการท่องเที่ยว เผยสะพานเก่าไม่ได้มาตรฐาน ประกอบกับร่องน้ำตื้นเขิน ทำให้การเดินเรือไม่สะดวก นักท่องเที่ยวต้องแบกกระเป๋า หิ้วร้องเท้าเดินขึ้นฝั่งเห็นแล้วอนาถ วอนแก้ไขด่วน
นายอิทธิฤทธิ์ กิ่งเล็ก อดีตนายกสมาคมธุรกิจท่องเที่ยวจังหวัดกระบี่ และผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรม ต.อ่าวนาง อ.เมือง จ.กระบี่ กล่าวว่า ปัจจุบันท่าเทียบเรือโดยสารท่องเที่ยวของ ต.อ่าวนาง ซึ่งตั้งอยู่ภายในบริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี เป็นท่าเรือรองรับเรือโดยสารท่องเที่ยวขนาดใหญ่ ความจุผู้โดยสารไม่ต่ำกว่า 150 ที่นั่ง วิ่งระหว่างอ่าวนาง-เกาะพีพี โดยมีผู้โดยสารทั่วไปและนักท่องเที่ยวเข้าใช้บริการไม่น้อยกว่า 3,000 คน ต่อวัน โดยเฉพาะในช่วงฤดูกาลท่องเที่ยว ระหว่างเดือนพฤศจิกายน-เมษายน ของทุกปี ซึ่งมีเรือโดยสารเข้าจอดเทียบท่ารับส่งผู้โดยสารไม่น้อยกว่า 6 เที่ยว
สำหรับสะพานที่ใช้ในปัจจุบัน เมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนผู้โดยสารที่เข้าใช้บริการและขนาดเรือที่เข้าจอดรับส่งผู้โดยสาร ถือว่าสะพานดังกล่าวไม่มีมาตรฐานเท่าที่ควร เพราะมีขนาดความกว้าง-ยาวเพียงไม่กี่เมตร และได้มีการก่อสร้างมานานหลายปีแล้ว ซึ่งก็ได้ชำรุดไปตามกาลเวลา และคาดว่าการก่อสร้างที่ผ่านมาไม่ได้มีไว้เพื่อรองรับเรือโดยสารท่องเที่ยวขนาดใหญ่ แต่ไว้ใช้เพื่อการอื่นมากกว่า เมื่อการท่องเที่ยวของจังหวัดเริ่มขยายตัวเพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดด มีการเปิดเส้นทางเดินเรือท่องเที่ยว จึงต้องใช้สะพานดังกล่าวรองรับ แต่ด้วยศักยภาพปัจจุบันไม่สามารถรองรับทั้งจำนวนผู้โดยสารและเรือได้แล้ว
“นอกจากจะมีการปรับปรุงท่าเรือเทียบขึ้นมาใหม่แล้ว หน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็ควรจะมีการขุดลอกร่องน้ำให้เรือขนาดใหญ่สามารถวิ่งเข้าออกได้ตลอด 24 ชั่วโมง เพราะปัจจุบันเมื่ออยู่ในช่วงน้ำลงสูงสุดเรือไม่สามารถเข้าจอดเทียบท่าได้ ทำให้ต้องขนถ่ายผู้โดยลงก่อนที่จะถึงท่าเทียบเรือ นักท่องเที่ยวบางคนที่รีบเดินทางไปขึ้นเครื่องบิน มีการแต่งเนื้อแต่งตัว ใส่สูทมาอย่างดี เพื่อเดินทางกลับประเทศต้องเดินลุยโคลน ถอดรองเท้า แบกกระเป๋า ซึ่งเห็นภาพแล้วน่าอนาถมาก จึงวิงวอนให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาช่วยแก้ไขด่วน เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้บริการ และรองรับการท่องเที่ยวของอ่าวนาง ที่กำลังเติบโตขึ้นทุกวัน”
ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า สำหรับร่องน้ำเดินเรือเพื่อเข้าจอดเทียบท่าบริเวณสะพานหาดนพรัตน์ธารานั้น ทางสำนักงานการขนส่งทางน้ำที่ 5 สาขากระบี่ เคยได้มีการขุดลอกมาแล้วครั้งหนึ่ง แต่เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 ได้เกิดคลื่นยักษ์สึนามิพัดถล่ม ซึ่งบริเวณหาดนพรัตน์ธารา ได้รับผลกระทบไปด้วย ทำให้บริเวณร่องน้ำเกิดการตื้นเขิน เนื่องจากถูกคลื่นยักษ์พัดพาทราย และโคลนใต้ท้องทะเลเข้ามาทับถมจนร่องน้ำเกิดการตื้นเขิน แต่ก็ยังไม่ได้รับการแก้ไขจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
นายอิทธิฤทธิ์ กิ่งเล็ก อดีตนายกสมาคมธุรกิจท่องเที่ยวจังหวัดกระบี่ และผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรม ต.อ่าวนาง อ.เมือง จ.กระบี่ กล่าวว่า ปัจจุบันท่าเทียบเรือโดยสารท่องเที่ยวของ ต.อ่าวนาง ซึ่งตั้งอยู่ภายในบริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี เป็นท่าเรือรองรับเรือโดยสารท่องเที่ยวขนาดใหญ่ ความจุผู้โดยสารไม่ต่ำกว่า 150 ที่นั่ง วิ่งระหว่างอ่าวนาง-เกาะพีพี โดยมีผู้โดยสารทั่วไปและนักท่องเที่ยวเข้าใช้บริการไม่น้อยกว่า 3,000 คน ต่อวัน โดยเฉพาะในช่วงฤดูกาลท่องเที่ยว ระหว่างเดือนพฤศจิกายน-เมษายน ของทุกปี ซึ่งมีเรือโดยสารเข้าจอดเทียบท่ารับส่งผู้โดยสารไม่น้อยกว่า 6 เที่ยว
สำหรับสะพานที่ใช้ในปัจจุบัน เมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนผู้โดยสารที่เข้าใช้บริการและขนาดเรือที่เข้าจอดรับส่งผู้โดยสาร ถือว่าสะพานดังกล่าวไม่มีมาตรฐานเท่าที่ควร เพราะมีขนาดความกว้าง-ยาวเพียงไม่กี่เมตร และได้มีการก่อสร้างมานานหลายปีแล้ว ซึ่งก็ได้ชำรุดไปตามกาลเวลา และคาดว่าการก่อสร้างที่ผ่านมาไม่ได้มีไว้เพื่อรองรับเรือโดยสารท่องเที่ยวขนาดใหญ่ แต่ไว้ใช้เพื่อการอื่นมากกว่า เมื่อการท่องเที่ยวของจังหวัดเริ่มขยายตัวเพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดด มีการเปิดเส้นทางเดินเรือท่องเที่ยว จึงต้องใช้สะพานดังกล่าวรองรับ แต่ด้วยศักยภาพปัจจุบันไม่สามารถรองรับทั้งจำนวนผู้โดยสารและเรือได้แล้ว
“นอกจากจะมีการปรับปรุงท่าเรือเทียบขึ้นมาใหม่แล้ว หน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็ควรจะมีการขุดลอกร่องน้ำให้เรือขนาดใหญ่สามารถวิ่งเข้าออกได้ตลอด 24 ชั่วโมง เพราะปัจจุบันเมื่ออยู่ในช่วงน้ำลงสูงสุดเรือไม่สามารถเข้าจอดเทียบท่าได้ ทำให้ต้องขนถ่ายผู้โดยลงก่อนที่จะถึงท่าเทียบเรือ นักท่องเที่ยวบางคนที่รีบเดินทางไปขึ้นเครื่องบิน มีการแต่งเนื้อแต่งตัว ใส่สูทมาอย่างดี เพื่อเดินทางกลับประเทศต้องเดินลุยโคลน ถอดรองเท้า แบกกระเป๋า ซึ่งเห็นภาพแล้วน่าอนาถมาก จึงวิงวอนให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาช่วยแก้ไขด่วน เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้บริการ และรองรับการท่องเที่ยวของอ่าวนาง ที่กำลังเติบโตขึ้นทุกวัน”
ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า สำหรับร่องน้ำเดินเรือเพื่อเข้าจอดเทียบท่าบริเวณสะพานหาดนพรัตน์ธารานั้น ทางสำนักงานการขนส่งทางน้ำที่ 5 สาขากระบี่ เคยได้มีการขุดลอกมาแล้วครั้งหนึ่ง แต่เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 ได้เกิดคลื่นยักษ์สึนามิพัดถล่ม ซึ่งบริเวณหาดนพรัตน์ธารา ได้รับผลกระทบไปด้วย ทำให้บริเวณร่องน้ำเกิดการตื้นเขิน เนื่องจากถูกคลื่นยักษ์พัดพาทราย และโคลนใต้ท้องทะเลเข้ามาทับถมจนร่องน้ำเกิดการตื้นเขิน แต่ก็ยังไม่ได้รับการแก้ไขจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง