เมื่อทราบถึงสินค้าหรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่อยู่ในตลาด TFEX กันไปแล้วว่ามี 2 ประเภท คือ SET50 Index Futures และ SET50 Index Options ถ้าหากท่านผู้อ่านที่ต้องการจะเข้ามาซื้อขายในตลาด TFEX นั้น ขั้นตอนการซื้อขายก็คล้ายคลึงกับการซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ที่คุ้นเคยกันดี
ขั้นแรกผู้ลงทุนต้องเปิดบัญชีกับโบรกเกอร์ซึ่งเป็นสมาชิกของ TFEX เสียก่อน จึงจะเริ่มซื้อขายได้ โดยท่านสามารถตรวจดูรายชื่อโบรกเกอร์หรือตัวแทนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ได้รับอนุญาตจากเว็บไซต์ของ ก.ล.ต. (www.sec.or.th > ธุรกิจนายหน้า ค้า จัดจำหน่าย และธุรกิจหลักทรัพย์อื่น > ตัวแทนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า) ว่าโบรกเกอร์ที่ท่านสนใจนั้นเป็นผู้ประกอบธุรกิจถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ หลังจากที่เปิดบัญชีกับโบรกเกอร์แล้ว ผู้ลงทุนก็สามารถส่งคำสั่งซื้อหรือคำสั่งขายผ่านโบรกเกอร์ได้
สำหรับระบบที่ใช้ในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในประเทศต่าง ๆ โดยทั่วไปมีอยู่ 2 ระบบ คือ ระบบ open outcry ซึ่งเป็นการเสนอซื้อขายโดยใช้การพูดร่วมกับการใช้สัญญาณมือเพื่อให้สมาชิกที่อยู่ในพื้นที่ทำการซื้อขายได้รับทราบข้อมูลอย่างทั่วถึงอย่างที่เรามักจะเห็นกันในภาพยนตร์อยู่บ่อย ๆ ระบบนี้นิยมใช้กันในตลาดที่เกิดขึ้นมาเป็นเวลานานแล้ว เช่น ตลาด Chicago Mercantile Exchange ในสหรัฐอเมริกา เป็นต้น อีกระบบหนึ่งเป็นระบบที่ตลาด TFEX ของไทยเราใช้อยู่ คือ การซื้อขายโดยผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Trading System) โดยผู้ซื้อผู้ขายส่งคำสั่งผ่านสมาชิกและระบบจะทำการจับคู่ให้เองโดยอัตโนมัติ ซึ่งก็เป็นเช่นเดียวกับระบบการซื้อขายหุ้นของตลาดหลักทรัพย์ที่เราคุ้นเคยกันดีนั่นเอง ระบบนี้สามารถรองรับคำสั่งซื้อขายได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ตลาดเกิดใหม่โดยมากจึงมักจะใช้วิธีนี้ในการซื้อขาย
เมื่อผู้ซื้อผู้ขายส่งคำสั่งเข้าไปในระบบของ TFEX และหากคำสั่งซื้อขายนั้น ๆ มีการจับคู่กันผ่านระบบ จะต้องมีการชำระราคากันขึ้น (clearing and settlement) ซึ่งหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการชำระราคานี้ได้แก่ บริษัทสำนักหักบัญชี (ประเทศไทย) จำกัด (TCH-Thailand Clearing House) ซึ่งหลังจากที่ TCH ทำการตรวจสอบรายการซื้อขายที่เกิดขึ้นในตลาดว่ามีความถูกต้องแล้ว ตัว TCH จะเข้าไปทำหน้าที่เป็นคู่สัญญาโดยตรงกับทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย คือ เป็นผู้ขายให้กับผู้ซื้อ และเป็นผู้ซื้อให้กับผู้ขาย โดยผ่านทางโบรกเกอร์ รวมถึงรับประกันการชำระราคาให้กับโบรกเกอร์ในทุก ๆ สัญญาอีกด้วยกลไกเช่นนี้ช่วยทำให้การซื้อขายในตลาดอนุพันธ์มีความน่าเชื่อถือและสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ลงทุ หากเกิดกรณีที่คู่สัญญาบิดพลิ้วไม่ปฏิบัติตามสัญญา TCH จะเป็นผู้ที่รับความเสี่ยงในส่วนนี้ จึงต้องมีวิธีในการจัดการความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น
โดยการกำหนดให้ผู้ลงทุนที่เป็นผู้ซื้อผู้ขายต้องวางหลักประกันไว้กับโบรกเกอร์ และโบรกเกอร์ก็จะนำหลักประกันมาวางไว้กับ TCH อีกต่อหนึ่ง เพื่อที่ว่าหากกรณีที่ผู้ลงทุนที่ทำการซื้อขายเกิดขาดทุนและไม่ทำตามสัญญาที่มีไว้ TCH ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันก็ยังคงสามารถจ่ายเงินแทนผู้ลงทุนรายนั้นได้โดยนำมาจากเงินประกันนั่นเอง โดย TCH จะคอยดูแลฐานะของบริษัทสมาชิกหรือโบรกเกอร์อย่างใกล้ชิดอีกด้วย เพื่อผู้ลงทุนจะได้มีความมั่นใจในระบบการชำระราคาโดยรวม ซึ่งรายละเอียดเกี่ยวกับการวางหลักประกันนี้จะนำมาพูดในคราวต่อไป
ในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้านั้น มีสิ่งที่แตกต่างจากการซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ที่ท่านผู้อ่านควรทราบ คือ ในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า นอกจากผู้ลงทุนจะสามารถซื้อมาก่อนแล้วจึงขายตามปกติแล้ว ยังสามารถขายสัญญาออกไปก่อนโดยที่ยังไม่มีสัญญาอยู่ในมือก็ได้ เรียกว่า short position (เหมือนกับกรณีทำ short sale หุ้น) เช่น หากท่านคาดว่าในอนาคตราคาของฟิวเจอร์สน่าจะปรับตัวลดลง ก็สามารถขายตัวฟิวเจอร์สนี้ออกไปก่อนในราคาสูง และหากต่อไปราคาปรับตัวลดลงจริงก็สามารถเข้ามาซื้อฟิวเจอร์สนี้กลับคืนในราคาถูกเพื่อที่จะได้รับกำไรจากส่วนต่างของราคานี้กลับไป
ติดตามอ่านสาระน่ารู้ในตลาดทุนจาก "ร่วมคิด-ชวนคุยกับ ก.ล.ต." ได้ทุกวันจันทร์ และหากพลาดตอนไหนไป ท่านผู้อ่านสามารถอ่านบทความย้อนหลังได้ที่ www.sec.or.th > ความรู้ผู้ลงทุน > การให้ความรู้ผ่านสื่อ > บทความ
ขั้นแรกผู้ลงทุนต้องเปิดบัญชีกับโบรกเกอร์ซึ่งเป็นสมาชิกของ TFEX เสียก่อน จึงจะเริ่มซื้อขายได้ โดยท่านสามารถตรวจดูรายชื่อโบรกเกอร์หรือตัวแทนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ได้รับอนุญาตจากเว็บไซต์ของ ก.ล.ต. (www.sec.or.th > ธุรกิจนายหน้า ค้า จัดจำหน่าย และธุรกิจหลักทรัพย์อื่น > ตัวแทนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า) ว่าโบรกเกอร์ที่ท่านสนใจนั้นเป็นผู้ประกอบธุรกิจถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ หลังจากที่เปิดบัญชีกับโบรกเกอร์แล้ว ผู้ลงทุนก็สามารถส่งคำสั่งซื้อหรือคำสั่งขายผ่านโบรกเกอร์ได้
สำหรับระบบที่ใช้ในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในประเทศต่าง ๆ โดยทั่วไปมีอยู่ 2 ระบบ คือ ระบบ open outcry ซึ่งเป็นการเสนอซื้อขายโดยใช้การพูดร่วมกับการใช้สัญญาณมือเพื่อให้สมาชิกที่อยู่ในพื้นที่ทำการซื้อขายได้รับทราบข้อมูลอย่างทั่วถึงอย่างที่เรามักจะเห็นกันในภาพยนตร์อยู่บ่อย ๆ ระบบนี้นิยมใช้กันในตลาดที่เกิดขึ้นมาเป็นเวลานานแล้ว เช่น ตลาด Chicago Mercantile Exchange ในสหรัฐอเมริกา เป็นต้น อีกระบบหนึ่งเป็นระบบที่ตลาด TFEX ของไทยเราใช้อยู่ คือ การซื้อขายโดยผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Trading System) โดยผู้ซื้อผู้ขายส่งคำสั่งผ่านสมาชิกและระบบจะทำการจับคู่ให้เองโดยอัตโนมัติ ซึ่งก็เป็นเช่นเดียวกับระบบการซื้อขายหุ้นของตลาดหลักทรัพย์ที่เราคุ้นเคยกันดีนั่นเอง ระบบนี้สามารถรองรับคำสั่งซื้อขายได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ตลาดเกิดใหม่โดยมากจึงมักจะใช้วิธีนี้ในการซื้อขาย
เมื่อผู้ซื้อผู้ขายส่งคำสั่งเข้าไปในระบบของ TFEX และหากคำสั่งซื้อขายนั้น ๆ มีการจับคู่กันผ่านระบบ จะต้องมีการชำระราคากันขึ้น (clearing and settlement) ซึ่งหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการชำระราคานี้ได้แก่ บริษัทสำนักหักบัญชี (ประเทศไทย) จำกัด (TCH-Thailand Clearing House) ซึ่งหลังจากที่ TCH ทำการตรวจสอบรายการซื้อขายที่เกิดขึ้นในตลาดว่ามีความถูกต้องแล้ว ตัว TCH จะเข้าไปทำหน้าที่เป็นคู่สัญญาโดยตรงกับทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย คือ เป็นผู้ขายให้กับผู้ซื้อ และเป็นผู้ซื้อให้กับผู้ขาย โดยผ่านทางโบรกเกอร์ รวมถึงรับประกันการชำระราคาให้กับโบรกเกอร์ในทุก ๆ สัญญาอีกด้วยกลไกเช่นนี้ช่วยทำให้การซื้อขายในตลาดอนุพันธ์มีความน่าเชื่อถือและสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ลงทุ หากเกิดกรณีที่คู่สัญญาบิดพลิ้วไม่ปฏิบัติตามสัญญา TCH จะเป็นผู้ที่รับความเสี่ยงในส่วนนี้ จึงต้องมีวิธีในการจัดการความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น
โดยการกำหนดให้ผู้ลงทุนที่เป็นผู้ซื้อผู้ขายต้องวางหลักประกันไว้กับโบรกเกอร์ และโบรกเกอร์ก็จะนำหลักประกันมาวางไว้กับ TCH อีกต่อหนึ่ง เพื่อที่ว่าหากกรณีที่ผู้ลงทุนที่ทำการซื้อขายเกิดขาดทุนและไม่ทำตามสัญญาที่มีไว้ TCH ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันก็ยังคงสามารถจ่ายเงินแทนผู้ลงทุนรายนั้นได้โดยนำมาจากเงินประกันนั่นเอง โดย TCH จะคอยดูแลฐานะของบริษัทสมาชิกหรือโบรกเกอร์อย่างใกล้ชิดอีกด้วย เพื่อผู้ลงทุนจะได้มีความมั่นใจในระบบการชำระราคาโดยรวม ซึ่งรายละเอียดเกี่ยวกับการวางหลักประกันนี้จะนำมาพูดในคราวต่อไป
ในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้านั้น มีสิ่งที่แตกต่างจากการซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ที่ท่านผู้อ่านควรทราบ คือ ในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า นอกจากผู้ลงทุนจะสามารถซื้อมาก่อนแล้วจึงขายตามปกติแล้ว ยังสามารถขายสัญญาออกไปก่อนโดยที่ยังไม่มีสัญญาอยู่ในมือก็ได้ เรียกว่า short position (เหมือนกับกรณีทำ short sale หุ้น) เช่น หากท่านคาดว่าในอนาคตราคาของฟิวเจอร์สน่าจะปรับตัวลดลง ก็สามารถขายตัวฟิวเจอร์สนี้ออกไปก่อนในราคาสูง และหากต่อไปราคาปรับตัวลดลงจริงก็สามารถเข้ามาซื้อฟิวเจอร์สนี้กลับคืนในราคาถูกเพื่อที่จะได้รับกำไรจากส่วนต่างของราคานี้กลับไป
ติดตามอ่านสาระน่ารู้ในตลาดทุนจาก "ร่วมคิด-ชวนคุยกับ ก.ล.ต." ได้ทุกวันจันทร์ และหากพลาดตอนไหนไป ท่านผู้อ่านสามารถอ่านบทความย้อนหลังได้ที่ www.sec.or.th > ความรู้ผู้ลงทุน > การให้ความรู้ผ่านสื่อ > บทความ