ผู้จัดการรายวัน - แบงก์กรุงเทพเร่งปรับโครงสร้างหนี้กลุ่มน้ำตาลมูลค่า 2 หมื่นล้าน หวังลดเอ็นพีแอลให้เหลือ 6%ตามเป้า เผยสัญญาณเอ็นพีแอลขณะนี้ยังปกติดี แต่ในระยะต่อไปจะต้องระมัดระวังมากขึ้นจากสถานการณ์ทางการเมืองและราคาน้ำมันที่ยังอยู่ในระดับสูง
นายชาติศิริ โสภณพนิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BBL เปิดเผยว่า ในปีนี้ธนาคารจะพยายามลดหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ลงให้ได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยคาดว่าในสิ้นปีนี้เอ็นพีแอลน่าจะลงมาเหลืออยู่ที่ 6%
นายสุวรรณ แทนสถิตย์ กรรมการรองผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ กล่าวว่า สัญญาณเอ็นพีแอลของธนาคารยังคงปกติดี โดยในขณะนี้เอ็นพีแอลอยู่ที่เกือบ 8%หรือประมาณ 80,000 ล้านบาท ซึ่งใกล้เคียงกับเอ็นพีแอล ณ สิ้นไตรมาส 1 ของปีนี้ซึ่งอยู่ที่ประมาณ 7% โดยเอ็นพีแอลที่เพิ่มขึ้นนั้นมาจากเอ็นพีแอลใหม่และเป็นส่วนที่เกิดจากลูกค้าที่เคยเป็นเอ็นพีแอลแล้วปรับโครงสร้างหนี้แล้วกลับมาเป็นเอ็นพีแอลอีกครั้ง
โดยในสิ้นปีจะพยายามลดเอ็นพีแอลให้อยู่ที่ต่ำกว่า 5% หรือ 50,000 ล้านบาท ซึ่งภายในปีนี้จะพยายามแก้หนี้ในส่วนของลูกค้ากลุ่มน้ำตาล ซึ่งมีอยู่ 3 กลุ่ม หรือคิดเป็นเม็ดเงินประมาณ 20,000 ล้านบาท ก็จะเป็นส่วนที่ช่วยลดเอ็นพีแอลได้ตามเป้าหมาย ส่วนนโยบายการบริหารเอ็นพีแอลของธนาคารนั้นจะทำด้วยตนเอง ไม่ได้ขายออกไป
สำหรับสถานการณ์โดยรวมในขณะนี้ถือว่าน่ากลัวมาก เนื่องจากในประเทศมีสถานการณ์ที่ไม่แน่นอนอยู่มาก เช่น การเดินขบวนของม็อบ หุ้นตก ราคาน้ำมันมีการปรับตัวสูงขึ้น แต่ในส่วนของเรื่องอัตราดอกเบี้ยที่ปรับขึ้นนั้นในขณะนี้ถือว่ายังไม่น่ากังวล เนื่องจากปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี (เอ็มแอลอาร์) อยู่ที่ 6-7% ขณะที่ในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวสูงถึง 16%
"เอ็นพีแอลของบัตรเครดิตตอนนี้ก็เริ่มขึ้นมา ส่วนครึ่งปีหลังการแก้หนี้เอ็นพีแอลก็คงยาก แต่ถ้าสามารถแก้หนี้กลุ่มน้ำตาลได้ก็คงจะช่วยให้เป็นไปตามเป้าหมาย แต่นี้ของแบงก์ก็นิ่งๆมีทั้งไหลเข้ามาและออกไป ส่วนเอ็นพีแอลงวดนี้ก็คงไม่ลดเท่าไหร่"
นายนิมิตร นนทพันธาวาทย์ ที่ปรึกษาด้านวิจัยเศรษฐกิจประจำฝ่ายวิจัย ธนาคารกรุงเทพ กล่าวว่า ในช่วงครึ่งปีหลังธุรกิจสถาบันการเงินน่าจะมีอัตราการเติบโตที่ลดลงจากเดิมที่คาดว่าทั้งปีจะมีการขยายตัวอยู่ที่ 11.5% เนื่องจากได้รับผลประทบจากปัจจัยลบในครึ่งปีแรก จากการชะลอตัวของภาวะเศรษฐกิจ ราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น และจากอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น รวมถึงสถานการณ์ทางการเมืองที่ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างประเทศ นอกจากการธุรกิจขนาดเล็กที่จะเข้ามาเป็นลูกค้านั้น ก็ถือว่าเป็นสิ่งที่น่าเป็นห่วง โดยสถานบันการเงินจะต้องมีความเข้มงวดในการทำธุรกิจ ด้วยควบคุมความเสี่ยงโดยเฉพาะการควบคุมเอ็นพีแอลที่อาจเพิ่มขึ้น
"การทำธุรกิจของสถาบันการเงินระยะสั้นนี้ต้องเพิ่มความระมัดระวังมากขึ้น เพราะกลุ่มลูกค้าจะมีความเสี่ยงสูง แต่ก็ให้ผลตอบแทนรายได้ต่อธนาคารในระดับสูงเช่นกัน เพราะปัจจุบันนี้ภาคธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีศักยภาพสามารถระดมทุนได้เอง โดยไม่ต้องพึ่งเงินกู้จากสถาบันการเงิน หรือ ธนาคารพาณิชย์อีกต่อไป ดังนั้น ต้องจับตาดูว่าเอ็นพีแอลจะปรับเพิ่มขึ้นจนน่าเป็นห่วงหรือไม่อย่างไร เพราะช่วงที่ผ่านเริ่มเห็นตัวเลขปรับขึ้นบ้างแล้วแต่ยังไม่ผิดปกติ"
นายชาติศิริ โสภณพนิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BBL เปิดเผยว่า ในปีนี้ธนาคารจะพยายามลดหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ลงให้ได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยคาดว่าในสิ้นปีนี้เอ็นพีแอลน่าจะลงมาเหลืออยู่ที่ 6%
นายสุวรรณ แทนสถิตย์ กรรมการรองผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ กล่าวว่า สัญญาณเอ็นพีแอลของธนาคารยังคงปกติดี โดยในขณะนี้เอ็นพีแอลอยู่ที่เกือบ 8%หรือประมาณ 80,000 ล้านบาท ซึ่งใกล้เคียงกับเอ็นพีแอล ณ สิ้นไตรมาส 1 ของปีนี้ซึ่งอยู่ที่ประมาณ 7% โดยเอ็นพีแอลที่เพิ่มขึ้นนั้นมาจากเอ็นพีแอลใหม่และเป็นส่วนที่เกิดจากลูกค้าที่เคยเป็นเอ็นพีแอลแล้วปรับโครงสร้างหนี้แล้วกลับมาเป็นเอ็นพีแอลอีกครั้ง
โดยในสิ้นปีจะพยายามลดเอ็นพีแอลให้อยู่ที่ต่ำกว่า 5% หรือ 50,000 ล้านบาท ซึ่งภายในปีนี้จะพยายามแก้หนี้ในส่วนของลูกค้ากลุ่มน้ำตาล ซึ่งมีอยู่ 3 กลุ่ม หรือคิดเป็นเม็ดเงินประมาณ 20,000 ล้านบาท ก็จะเป็นส่วนที่ช่วยลดเอ็นพีแอลได้ตามเป้าหมาย ส่วนนโยบายการบริหารเอ็นพีแอลของธนาคารนั้นจะทำด้วยตนเอง ไม่ได้ขายออกไป
สำหรับสถานการณ์โดยรวมในขณะนี้ถือว่าน่ากลัวมาก เนื่องจากในประเทศมีสถานการณ์ที่ไม่แน่นอนอยู่มาก เช่น การเดินขบวนของม็อบ หุ้นตก ราคาน้ำมันมีการปรับตัวสูงขึ้น แต่ในส่วนของเรื่องอัตราดอกเบี้ยที่ปรับขึ้นนั้นในขณะนี้ถือว่ายังไม่น่ากังวล เนื่องจากปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี (เอ็มแอลอาร์) อยู่ที่ 6-7% ขณะที่ในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวสูงถึง 16%
"เอ็นพีแอลของบัตรเครดิตตอนนี้ก็เริ่มขึ้นมา ส่วนครึ่งปีหลังการแก้หนี้เอ็นพีแอลก็คงยาก แต่ถ้าสามารถแก้หนี้กลุ่มน้ำตาลได้ก็คงจะช่วยให้เป็นไปตามเป้าหมาย แต่นี้ของแบงก์ก็นิ่งๆมีทั้งไหลเข้ามาและออกไป ส่วนเอ็นพีแอลงวดนี้ก็คงไม่ลดเท่าไหร่"
นายนิมิตร นนทพันธาวาทย์ ที่ปรึกษาด้านวิจัยเศรษฐกิจประจำฝ่ายวิจัย ธนาคารกรุงเทพ กล่าวว่า ในช่วงครึ่งปีหลังธุรกิจสถาบันการเงินน่าจะมีอัตราการเติบโตที่ลดลงจากเดิมที่คาดว่าทั้งปีจะมีการขยายตัวอยู่ที่ 11.5% เนื่องจากได้รับผลประทบจากปัจจัยลบในครึ่งปีแรก จากการชะลอตัวของภาวะเศรษฐกิจ ราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น และจากอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น รวมถึงสถานการณ์ทางการเมืองที่ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างประเทศ นอกจากการธุรกิจขนาดเล็กที่จะเข้ามาเป็นลูกค้านั้น ก็ถือว่าเป็นสิ่งที่น่าเป็นห่วง โดยสถานบันการเงินจะต้องมีความเข้มงวดในการทำธุรกิจ ด้วยควบคุมความเสี่ยงโดยเฉพาะการควบคุมเอ็นพีแอลที่อาจเพิ่มขึ้น
"การทำธุรกิจของสถาบันการเงินระยะสั้นนี้ต้องเพิ่มความระมัดระวังมากขึ้น เพราะกลุ่มลูกค้าจะมีความเสี่ยงสูง แต่ก็ให้ผลตอบแทนรายได้ต่อธนาคารในระดับสูงเช่นกัน เพราะปัจจุบันนี้ภาคธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีศักยภาพสามารถระดมทุนได้เอง โดยไม่ต้องพึ่งเงินกู้จากสถาบันการเงิน หรือ ธนาคารพาณิชย์อีกต่อไป ดังนั้น ต้องจับตาดูว่าเอ็นพีแอลจะปรับเพิ่มขึ้นจนน่าเป็นห่วงหรือไม่อย่างไร เพราะช่วงที่ผ่านเริ่มเห็นตัวเลขปรับขึ้นบ้างแล้วแต่ยังไม่ผิดปกติ"