ผู้สื่อข่าวรายงานจากรัฐสภาว่า การประชุมสภาผู้แทนราษฎรสมัยวิสามัญ เริ่มเมื่อเวลา10.00น.มีนายชัย ชิดชอบ ประธานสภาผู้แทนราษฎร ทำหน้าที่ประธาน โดยเป็นการพิจารณาญัตติด่วนเรื่องขอให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาการใช้ และปฎิบัติตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550ซึ่งมีพรรคการเมืองเสนอญัตติถึง 7 ฉบับซึ่งเป็นการพิจารณาต่อจากเป็นวันที่สองต่อจากเมื่อวันที่ 18 มิ.ย.ที่ผ่านมามี ส.ส.แสดงความจำนงอภิปรายถึง78 คน
ทั้งนี้ การอภิปรายเป็นไปอย่างจืดชืด ส่วนใหญ่อภิปรายเนื้อหาเป็นแบบเดิมๆ ในซีกของ ส.ส.รัฐบาล อย่างพรรคพลังประชาชน ได้อภิปรายสนับสนุนญัตติ ชี้แจงเหตุผลที่สมควรต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญอ้างว่าที่มาไม่ถูกต้องไม่ได้มาตามระบอบประชาธิปไตย แต่ส่วนใหญ่มีการตำหนิ และโจมตีรัฐธรรมนูญปี2550 มีที่มามาจากเผด็จการ เนื้อหาสาระไม่เป็นประชาธิปไตย ทำให้ 3 อำนาจไม่เท่ากัน ฝ่ายบริหารกับฝ่ายนิติบัญญัติต่ำลงไป ทำให้ไม่สามารถนำไปปฎิบัติได้
นอกจากนี้ยังมีการระบุว่าเป็นรัฐธรรมนูญฉบับเกลียด พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เขียนเพื่อเล่นงานทั้งครอบครัวจนถึงเมียและลูกและไม่เห็นด้วยกับมาตรา 66 ที่ห้าม ส.ส.ใช้อำนาจสั่งการส่วนราชการและมาตรา 309 ในบทเฉพาะกาลที่เขียนไว้
ในส่วนของพรรคประชาธิปัตย์ ต่างอภิปรายสนับสนุนให้มีการศึกษาประเด็นต่างๆให้รอบคอบเพราะหลายมาตราก็มีผลดีขึ้นซึ่งปัญหาไม่ได้อยู่ที่รัฐธรรมนูญแต่อยู่กับนักการเมืองไม่มีจริยธรรม ในการเข้ามาในระบบ ทำให้เกิดปัญหาและเห็นว่าควรศึกษาแต่ไม่ควรเร่งรีบแก้ไขเพื่อประโยชน์เอื้อบุคคลกลุ่มใด กลุ่มหนึ่งซึ่งไม่ควรมีวาระแอบแฝงในการแก้ไขเพราะยังไม่เห็นว่าประชาชนเดือดร้อน เพราะรัฐธรรมนูญ
ผู้สื่อข่าวรายงานด้วย หลังจากมีการอภิปรายกันอย่างกว้างขวางของ ส.ส.ทั้งสองฝ่าย ในที่สุดที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาปัญหาและอุปสรรคการบังคับใช้รัฐธรรมนูญ 2550 ด้วยเสียงเอกฉันท์ ต่อ โดยมีมติใช้ชื่อคณะกรรมาธิการฯพร้อมให้มีจำนวน 44 คน
สำหรับคณะกรรมาธิการฯที่น่าสนใจ ในส่วนของพรรคพลังประชาชน ซึ่งมีจำนวน 21 คน มีคนนอก 5 คนคือ1.นายก มล ทองธรรมชาติ อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ และ ส.ส.ร.40 2.นายปัญญา ถนอมรอด อดีตประธานศาลฎีกาและอดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญที่ตัดสินพรรคไทยรักไทยถูกยุบแต่ไม่เห็นด้วยกับการใช้กฎหมาย ค.ป.ค.ฉบับที่27มาบังคับใช้ย้อนหลัง 3.นาย จุมพล ณ สงขลา อดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ 4.นายโคทม อารียา อดีต สนช.5.นาย วุฒิศักดิ์ ลาภเจริญทรัพย์ คณะบดีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
ในส่วนพรรคประชาธิปัตย์ได้สัดส่วน15 คน สัดส่วนคนนอก 5 คน คือ1.นายปกรณ์ ปรียากร 2.นายวุฒิสาร ตันไชย 3.นายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง 4.นายเกียรติชัย พงษ์พาณิช ซึ่งทั้ง4 คน เป็นอดีต ส.ส.ร.50 และ 5.นายวีระชัย คล้ายทอง อัยการอาวุโส
ทั้งนี้ การอภิปรายเป็นไปอย่างจืดชืด ส่วนใหญ่อภิปรายเนื้อหาเป็นแบบเดิมๆ ในซีกของ ส.ส.รัฐบาล อย่างพรรคพลังประชาชน ได้อภิปรายสนับสนุนญัตติ ชี้แจงเหตุผลที่สมควรต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญอ้างว่าที่มาไม่ถูกต้องไม่ได้มาตามระบอบประชาธิปไตย แต่ส่วนใหญ่มีการตำหนิ และโจมตีรัฐธรรมนูญปี2550 มีที่มามาจากเผด็จการ เนื้อหาสาระไม่เป็นประชาธิปไตย ทำให้ 3 อำนาจไม่เท่ากัน ฝ่ายบริหารกับฝ่ายนิติบัญญัติต่ำลงไป ทำให้ไม่สามารถนำไปปฎิบัติได้
นอกจากนี้ยังมีการระบุว่าเป็นรัฐธรรมนูญฉบับเกลียด พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เขียนเพื่อเล่นงานทั้งครอบครัวจนถึงเมียและลูกและไม่เห็นด้วยกับมาตรา 66 ที่ห้าม ส.ส.ใช้อำนาจสั่งการส่วนราชการและมาตรา 309 ในบทเฉพาะกาลที่เขียนไว้
ในส่วนของพรรคประชาธิปัตย์ ต่างอภิปรายสนับสนุนให้มีการศึกษาประเด็นต่างๆให้รอบคอบเพราะหลายมาตราก็มีผลดีขึ้นซึ่งปัญหาไม่ได้อยู่ที่รัฐธรรมนูญแต่อยู่กับนักการเมืองไม่มีจริยธรรม ในการเข้ามาในระบบ ทำให้เกิดปัญหาและเห็นว่าควรศึกษาแต่ไม่ควรเร่งรีบแก้ไขเพื่อประโยชน์เอื้อบุคคลกลุ่มใด กลุ่มหนึ่งซึ่งไม่ควรมีวาระแอบแฝงในการแก้ไขเพราะยังไม่เห็นว่าประชาชนเดือดร้อน เพราะรัฐธรรมนูญ
ผู้สื่อข่าวรายงานด้วย หลังจากมีการอภิปรายกันอย่างกว้างขวางของ ส.ส.ทั้งสองฝ่าย ในที่สุดที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาปัญหาและอุปสรรคการบังคับใช้รัฐธรรมนูญ 2550 ด้วยเสียงเอกฉันท์ ต่อ โดยมีมติใช้ชื่อคณะกรรมาธิการฯพร้อมให้มีจำนวน 44 คน
สำหรับคณะกรรมาธิการฯที่น่าสนใจ ในส่วนของพรรคพลังประชาชน ซึ่งมีจำนวน 21 คน มีคนนอก 5 คนคือ1.นายก มล ทองธรรมชาติ อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ และ ส.ส.ร.40 2.นายปัญญา ถนอมรอด อดีตประธานศาลฎีกาและอดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญที่ตัดสินพรรคไทยรักไทยถูกยุบแต่ไม่เห็นด้วยกับการใช้กฎหมาย ค.ป.ค.ฉบับที่27มาบังคับใช้ย้อนหลัง 3.นาย จุมพล ณ สงขลา อดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ 4.นายโคทม อารียา อดีต สนช.5.นาย วุฒิศักดิ์ ลาภเจริญทรัพย์ คณะบดีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
ในส่วนพรรคประชาธิปัตย์ได้สัดส่วน15 คน สัดส่วนคนนอก 5 คน คือ1.นายปกรณ์ ปรียากร 2.นายวุฒิสาร ตันไชย 3.นายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง 4.นายเกียรติชัย พงษ์พาณิช ซึ่งทั้ง4 คน เป็นอดีต ส.ส.ร.50 และ 5.นายวีระชัย คล้ายทอง อัยการอาวุโส