“ดอนกิโฆเต้แห่งลามันช่า” เป็นชื่อนิยายสเปนของ มิเกล เด เซรบันเตส ซาเบดร้า ที่ถูกตีพิมพ์เป็นครั้งแรกเมื่อ ค.ศ.1605 หรือเมื่อกว่า 400 ร้อยปีก่อน นิยายที่มีอายุยาวนานขนาดนี้และสามารถยืนอยู่บนบรรณพิภพมาจนทุกวันนี้ได้จึงย่อมไม่ใช่ปรากฏการณ์ธรรมดา อย่างน้อยก็ต้องเกิดคำถามในใจว่าต้องมีอะไรดีในนิยายเรื่องนี้อย่างแน่นอน ถึงได้กลายเป็นปรากฏการณ์ส่วนน้อยของบรรณพิภพเช่นนั้น
ผมรู้จักนิยายเรื่องนี้เมื่อตอนเรียนอยู่ชั้นประถมปลาย โดยรู้จักผ่านนิตยสาร “เด็กก้าวหน้า” ที่ผมซื้อเป็นประจำในเวลานั้น นิตยสารนี้ได้นำเอาเรื่องราวของ ดอนกิโฆเต้ มานำเสนอในรูปของการ์ตูนขนาดสั้นที่จบในฉบับ และเข้าใจว่าคงแปลมาจากฉบับของต่างประเทศอีกชั้นหนึ่ง
ตอนที่รู้จักในตอนนั้น ผมจำชื่อของ ดอนกิโฆเต้ ไม่ได้หรอกครับ เพราะชื่อที่ออกเสียงอันเราไม่คุ้นเช่นนั้นไม่ชวนให้จำสักเท่าไร แต่ที่จำได้แม่นๆ เรื่องหนึ่งก็คือ ตัวละครเอกของเรื่องเป็นคนบ้าที่เชื่อว่าตนเป็นอัศวิน และสิ่งที่พิสูจน์ความบ้าเรื่องหนึ่งที่อยู่ในความทรงจำของผมมาตลอดก็คือ การที่เขาเห็นกังหันลมเป็นอสูรร้ายแล้วไปต่อสู้กับมัน
พ้นไปจากนี้แล้วผมก็ไม่รู้อะไรอีกเลย โดยเฉพาะ “แก่นสาร” ของนิยายเรื่องนี้ ได้แต่สงสัยว่า กะอีแค่เรื่องพื้นๆ ของคนบ้าคนหนึ่งแค่นี้ ฝรั่งเอามาเป็น “นิยาย” ได้อย่างไรหว่า?
จนเวลาผ่านไปอีกเกือบ 20 ปี ผมจึงได้รับรู้เรื่องราวของนิยายเรื่องนี้อย่างค่อนข้างละเอียดผ่านนิตยสาร “ถนนหนังสือ” ฉบับเดือนสิงหาคม 2530 และทำให้รู้ “แก่นสาร” ของนิยายมากขึ้น ด้วยเหตุนี้ ที่พอได้ดูละครเพลงเรื่อง “สู่ฝันอันยิ่งใหญ่” ที่ดัดแปลงมาจากนิยายเรื่องนี้อีกชั้นหนึ่งโดยคณะละครสองแปดในปีเดียวกันนั้น ผมจึงประทับใจกับเรื่องราวของ ดอนกิโฆเต้ มากขึ้น
แต่มีเรื่องหนึ่งที่ผมรับรู้มาด้วยก็คือว่า นิยายเรื่องนี้ยาวมาก และยังไม่มีใครแปลฉบับเต็มๆ มาให้อ่านในรูปภาษาไทยกันเลย และผมก็เฝ้ารอที่จะอ่านฉบับเต็มมาโดยตลอด จนเมื่อ 2-3 ปีก่อน สำนักพิมพ์ผีเสื้อจึงได้ตีพิมพ์ฉบับเต็มที่ว่าออกมา โดยใช้ชื่อว่า “ดอนกิโฆเต้แห่งลามันช่า ขุนนางต่ำศักดิ์นักฝัน” โดยสำนวนแปลของ สว่างวัน ไตรเจริญวิวัฒน์ อันเป็นการแปลจากต้นภาษาสเปนโดยตรง
ด้วยความหนากว่า 500 หน้าของฉบับภาษาไทยแม้จะทำให้ผมซื้ออย่างไม่ลังเลก็ตาม แต่ก็ได้แต่ซื้อมากอดไว้เท่านั้น และก็ถามตัวเองมาตลอดว่าเมื่อไรจะได้อ่านสักที ซึ่งหากดูจากหน้าที่การงานของผมแล้ว คงต้องรอต่อไปเป็นแม่นมั่น หากไม่ใช่เพราะในคืนวันหนึ่งผมได้เหลือบไปเห็นป้ายโฆษณาละครเรื่อง “สู่ฝันอันยิ่งใหญ่” ที่ถูกนำกลับมาสร้างใหม่อีกครั้งหนึ่งโดยคณะละครคณะเดิมเข้าในขณะนั่งอยู่ในรถแท็กซี่
ตอนนั้นเองที่ทำให้ผมได้รับแรงกระตุ้นว่า หากจะต้องดูละครเรื่องนี้อีกครั้งหนึ่ง ผมควรจะอ่านนิยายเรื่องนี้ในฉบับเต็มให้ได้ เรื่องที่จะดูละครนั้นไม่เป็นปัญหาแน่ เพราะการกลับมาครั้งนี้เป็นทั้งความดีใจและตั้งใจของผมอย่างยิ่ง แต่ที่จะอ่านนิยายนี่สิครับ ผมยังคิดไม่ออกว่าจะหาเวลาที่ไหนมาอ่าน แต่แล้วในที่สุดโอกาสในการอ่านก็มาถึง เมื่อจู่ๆ ผมได้รับเชิญให้ไปสัมมนาที่ฮาวายเป็นเวลา 2 สัปดาห์ ซึ่งผมคิดว่าเวลาบนเครื่องบินทั้งขาไปและขากลับ กับเวลาว่างจากธุระปะปังที่ฮาวาย คงเป็นโอกาสอันดีที่จะอ่านนิยายเรื่องนี้ให้จบได้ไม่ยาก และตั้งใจว่าจะต้องอ่านให้จบให้ได้ก่อนไปดูละคร
แล้วผมก็ทำได้สำเร็จดังตั้งใจจริงๆ แต่นั้นยังไม่สำคัญเท่ากับที่ทำให้พบว่า ตัวนิยายเรื่องนี้อัดแน่นไปด้วยเนื้อหาและรายละเอียดที่ต่างจากที่ผมเคยอ่านผ่านการ์ตูนและจากการดูละครเพลง
ในนิยายที่เป็นฉบับเต็มนี้ได้บอกเล่าเรื่องราวของ ดอนกิโฆเต้ ว่าเขาเสียสติจากการอ่านนิยายอัศวินมากเกินไปอย่างหลงใหลคลั่งไคล้จนเข้าใจว่าตนเองเป็นอัศวินไปในที่สุด จากนั้น ดอนกิโฆเต้ ก็หนีออกจากบ้านไปผจญภัยแบบอัศวินตามที่เขานึกฝันไปเอง
ในนิยายบอกให้รู้ว่า ดอนกิโฆเต้ หนีออกจากบ้าน 2 ครั้ง ครั้งแรกไปได้ไม่กี่วันก็ถูกชาวนาในหมู่บ้านเดียวกันที่ไปประสบเหตุเข้าโดยบังเอิญช่วยนำกลับมา ส่วนครั้งที่สอง เขาหนีออกไปโดยมี ซานโช่ ปันซ่า ชาวนาผู้แสนซื่อติดตามไปด้วย และในครั้งหลังนี้เองที่ ดอนกิโฆเต้ ได้ผจญภัยอย่างยาวนาน และได้สร้างความวุ่นวายมากมายหลายเรื่อง กับทั้งได้พบเห็นเหตุการณ์ต่างๆ ที่พิสดารและเหลือเชื่อ
ในส่วนที่ ดอนกิโฆเต้ ไปสร้างความวุ่นวายนั้น บางเรื่องก็ชวนขัน บางเรื่องก็ชวนให้ตกใจ บางเรื่องก็ชวนให้นึกสมน้ำหน้าที่ตัวเขาโดนทำร้าย ในขณะที่บางเรื่องก็ชวนให้สงสาร ฯลฯ ส่วนเรื่องที่เขาไปประสบพบเจอเหตุการณ์ที่พิสดารและเหลือเชื่อนั้น ผมหมายถึงเรื่องที่ไม่ใช่เรื่องของเขาเลยแม้แต่น้อย แต่เขาเป็นเพียงผู้รับรู้เหตุการณ์นั้นๆ เท่านั้น
ในส่วนทีหลังนี้สำคัญมากไม่แพ้ส่วนแรก แต่ที่ผมขอเตือนคนที่ตั้งใจจะอ่านฉบับเต็มนี้เอาไว้ก่อนก็คือว่า เนื่องจากส่วนหลังนี้ไม่เกี่ยวอะไรกับ ดอนกิโฆเต้ ของเราเลย (ผมใช้คำว่า “ของเรา” นี้เพราะรู้สึกว่าได้ร่วมผจญภัยไปกับเขาจริงๆ) ดังนั้น อาจเป็นไปได้ที่คนอ่านย่อมอยากจะรู้เรื่องราวของเขาไปให้ตลอดรอดฝั่งโดยไม่มีเรื่องอื่นมาขัด แต่พอมาเจอ “เรื่องอื่น” เข้าก็อาจจะเบื่อ
ที่ผมจะเตือนก็คือ อย่าเพิ่งเบื่อ และขอให้ทนอ่านต่อไป แล้วท่านจะได้ประสบการณ์บางอย่างที่อาจไม่เคยได้รับมาก่อนในนิยายเรื่องอื่นๆ เช่น อาจได้เห็นชั้นเชิงในการเขียนของผู้ประพันธ์ ได้เห็นเรื่องสั้นชั้นดีที่ซ้อนอยู่ในนิยาย ได้เห็นเรื่องบังเอิญบางเรื่องที่ไม่ได้สักแต่ “บังเอิญ” อย่างที่นิยายน้ำเน่าหลายเรื่องชอบทำกัน ได้เห็นคำพร่ำพรรณนาถึงความรักของหญิงสาวจนน้ำตาอาจซึมออกมาโดยไม่รู้ตัว ฯลฯ
ประสบการณ์ที่ผมว่าคนอ่านจะได้ (ด้วยความอดทนอีกเพียงเล็กน้อย) นั้นมีเหตุผลที่ลึกซึ้งอยู่ไม่น้อยเลยทีเดียว เพราะประสบการณ์เช่นนี้จะเกิดได้ก็แต่กับนักผจญภัยเท่านั้น และก็ให้บังเอิญว่านักผจญภัยของเราคนนี้เป็นบ้า ดังนั้น ประสบการณ์ที่คนอ่านจะได้จึงเป็นประสบการณ์ชุดเดียวกับที่คนบ้าได้รับนั่นเอง
และจากความยาวของนิยายจากที่ว่ามา เมื่อจะต้องทำเป็นบทละครเพลง คนที่ทำจึงต้องคิดมากเป็นพิเศษ ว่าอะไรคือส่วนที่พึงตัดออก ส่วนใดที่พึงคงไว้ และส่วนใดที่พึงปรับและเพิ่มเข้ามา และสิ่งที่ เดล วาสเซอร์แมน ได้ทำออกมาเป็นบทละครเพลงเรื่อง “Man of La Mancha” จึงคือ การคงตัวละครบางตัวอย่างซานโช่ บาทหลวง กัลบก หลานสาว แม่บ้าน เจ้าของโรงเตี๊ยมและภรรยา ดัลซีเนีย และตัวละครอื่นๆ อีกจำนวนหนึ่ง รวมทั้งสิ่งต่างๆ ที่รายล้อม ดอนกิโฆเต้ และอย่างหลังที่สำคัญอย่างหนึ่งก็คือ กังหันลมที่ ดอนกิโฆเต้ เห็นเป็นยักษ์เป็นมาร ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นสัญลักษณ์ที่เคียงคู่กับนิยายเรื่องนี้จนแยกไม่ได้
และในส่วนที่เพิ่มเข้ามาอย่างมีนัยสำคัญก็คือ บางเสี้ยวส่วนในชีวิตจริงของ เซรบันเตส ผู้สร้างสรรค์นิยายเรื่องนี้ขึ้นมา จนเมื่อกลายเป็นบทละครเพลงแล้ว เราจึงพบกับการตีความนิยายด้วยการนำเสนอสิ่งที่เป็น “แก่นสาร” อันว่าด้วยความใฝ่ฝันของมนุษย์คนหนึ่งที่ชื่อ ดอนกิโฆเต้ ที่ในพากษ์ไทยได้ให้ชื่อว่า “สู่ฝันอันยิ่งใหญ่”
ตกลงว่า ผมอ่านนิยายเรื่องนี้จบก่อนที่จะไปดูละครสมดังตั้งใจ และรู้สึกได้ว่าที่เสียเวลาไปทั้งหมดนี้ไม่สูญเปล่า ซึ่งจะว่าไปแล้วก็เหมือนกับเป็นการให้รางวัลแก่ตัวเองที่นานๆ จะให้สักที โดยที่หากกล่าวเฉพาะตัวละครเพลงแล้วก็เป็นไปตามที่ผมคาดหวัง ด้วยนึกไว้แต่แรกแล้วว่า การกลับมาครั้งนี้ของ “สู่ฝันอันยิ่งใหญ่” น่าที่จะต่างกับเมื่อกว่า 20 ปีก่อน โดยเฉพาะเวทีที่ทันสมัยมากขึ้น และ ยุทธนา มุกดาสนิท ในฐานะผู้กำกับการแสดงก็สามารถใช้มันอย่างเหมาะสม คุ้มค่า อลังการ และงดงามยิ่งนัก
ว่ากันว่า ละครเพลง “สู่ฝันอันยิ่งใหญ่” นี้ได้สร้างความหวังและกำลังใจให้กับคนที่อยู่บนโลกแห่งความเป็นจริงได้จำนวนหนึ่ง บ้างก็ว่า การกลับมาอีกครั้งหนึ่งของละครเพลงเรื่องนี้ในปี 2551 ช่างเหมาะกับสถานการณ์บ้านเมืองในห้วง 2-3 ปีมานี้ที่ต้องตกอยู่วังวนของวิกฤตจนไม่รู้จะจบลงอย่างไร
ถ้าเป็นแบบแรกก็เป็นเรื่องที่น่าอนุโมทนาไม่น้อย เพราะการที่ละครเพลงเรื่องหนึ่งสามารถทำให้ใครมองชีวิตได้ดีขึ้นย่อมเป็นเรื่องดีอย่างไม่พึงสงสัย แต่ที่ว่ากันแบบหลังนั้นผมไม่แน่ใจนัก ว่าเหมาะกับสถานการณ์ตอนนี้จริงหรือไม่ อย่างไร
เพราะจนถึงทุกวันนี้ผมยังไม่เห็นใครบ้าเข้าขั้นแบบ ดอนกิโฆเต้ มากนัก แต่ถ้าแกล้งบ้าแล้วละก็เห็นมีอยู่แถวทำเนียบรัฐบาล คือบ้าแบบเที่ยวได้เห็นใครอื่นเป็นศัตรูไปหมด ทั้งที่คนเหล่านั้นเป็นแค่ “กังหันลม” เท่านั้น ลงว่าแกล้งบ้าแล้ว คงไม่ต้องถามถึงความใฝ่ฝันแบบ ดอนกิโฆเต้ ให้เสียเวลา เพราะคนแบบนี้ไม่เพียงไม่มีความใฝ่ฝันเป็นของตนเองเท่านั้น หากยังเป็นนักทำลายความใฝ่ฝันของคนอื่นเขาอีกด้วย.
ผมรู้จักนิยายเรื่องนี้เมื่อตอนเรียนอยู่ชั้นประถมปลาย โดยรู้จักผ่านนิตยสาร “เด็กก้าวหน้า” ที่ผมซื้อเป็นประจำในเวลานั้น นิตยสารนี้ได้นำเอาเรื่องราวของ ดอนกิโฆเต้ มานำเสนอในรูปของการ์ตูนขนาดสั้นที่จบในฉบับ และเข้าใจว่าคงแปลมาจากฉบับของต่างประเทศอีกชั้นหนึ่ง
ตอนที่รู้จักในตอนนั้น ผมจำชื่อของ ดอนกิโฆเต้ ไม่ได้หรอกครับ เพราะชื่อที่ออกเสียงอันเราไม่คุ้นเช่นนั้นไม่ชวนให้จำสักเท่าไร แต่ที่จำได้แม่นๆ เรื่องหนึ่งก็คือ ตัวละครเอกของเรื่องเป็นคนบ้าที่เชื่อว่าตนเป็นอัศวิน และสิ่งที่พิสูจน์ความบ้าเรื่องหนึ่งที่อยู่ในความทรงจำของผมมาตลอดก็คือ การที่เขาเห็นกังหันลมเป็นอสูรร้ายแล้วไปต่อสู้กับมัน
พ้นไปจากนี้แล้วผมก็ไม่รู้อะไรอีกเลย โดยเฉพาะ “แก่นสาร” ของนิยายเรื่องนี้ ได้แต่สงสัยว่า กะอีแค่เรื่องพื้นๆ ของคนบ้าคนหนึ่งแค่นี้ ฝรั่งเอามาเป็น “นิยาย” ได้อย่างไรหว่า?
จนเวลาผ่านไปอีกเกือบ 20 ปี ผมจึงได้รับรู้เรื่องราวของนิยายเรื่องนี้อย่างค่อนข้างละเอียดผ่านนิตยสาร “ถนนหนังสือ” ฉบับเดือนสิงหาคม 2530 และทำให้รู้ “แก่นสาร” ของนิยายมากขึ้น ด้วยเหตุนี้ ที่พอได้ดูละครเพลงเรื่อง “สู่ฝันอันยิ่งใหญ่” ที่ดัดแปลงมาจากนิยายเรื่องนี้อีกชั้นหนึ่งโดยคณะละครสองแปดในปีเดียวกันนั้น ผมจึงประทับใจกับเรื่องราวของ ดอนกิโฆเต้ มากขึ้น
แต่มีเรื่องหนึ่งที่ผมรับรู้มาด้วยก็คือว่า นิยายเรื่องนี้ยาวมาก และยังไม่มีใครแปลฉบับเต็มๆ มาให้อ่านในรูปภาษาไทยกันเลย และผมก็เฝ้ารอที่จะอ่านฉบับเต็มมาโดยตลอด จนเมื่อ 2-3 ปีก่อน สำนักพิมพ์ผีเสื้อจึงได้ตีพิมพ์ฉบับเต็มที่ว่าออกมา โดยใช้ชื่อว่า “ดอนกิโฆเต้แห่งลามันช่า ขุนนางต่ำศักดิ์นักฝัน” โดยสำนวนแปลของ สว่างวัน ไตรเจริญวิวัฒน์ อันเป็นการแปลจากต้นภาษาสเปนโดยตรง
ด้วยความหนากว่า 500 หน้าของฉบับภาษาไทยแม้จะทำให้ผมซื้ออย่างไม่ลังเลก็ตาม แต่ก็ได้แต่ซื้อมากอดไว้เท่านั้น และก็ถามตัวเองมาตลอดว่าเมื่อไรจะได้อ่านสักที ซึ่งหากดูจากหน้าที่การงานของผมแล้ว คงต้องรอต่อไปเป็นแม่นมั่น หากไม่ใช่เพราะในคืนวันหนึ่งผมได้เหลือบไปเห็นป้ายโฆษณาละครเรื่อง “สู่ฝันอันยิ่งใหญ่” ที่ถูกนำกลับมาสร้างใหม่อีกครั้งหนึ่งโดยคณะละครคณะเดิมเข้าในขณะนั่งอยู่ในรถแท็กซี่
ตอนนั้นเองที่ทำให้ผมได้รับแรงกระตุ้นว่า หากจะต้องดูละครเรื่องนี้อีกครั้งหนึ่ง ผมควรจะอ่านนิยายเรื่องนี้ในฉบับเต็มให้ได้ เรื่องที่จะดูละครนั้นไม่เป็นปัญหาแน่ เพราะการกลับมาครั้งนี้เป็นทั้งความดีใจและตั้งใจของผมอย่างยิ่ง แต่ที่จะอ่านนิยายนี่สิครับ ผมยังคิดไม่ออกว่าจะหาเวลาที่ไหนมาอ่าน แต่แล้วในที่สุดโอกาสในการอ่านก็มาถึง เมื่อจู่ๆ ผมได้รับเชิญให้ไปสัมมนาที่ฮาวายเป็นเวลา 2 สัปดาห์ ซึ่งผมคิดว่าเวลาบนเครื่องบินทั้งขาไปและขากลับ กับเวลาว่างจากธุระปะปังที่ฮาวาย คงเป็นโอกาสอันดีที่จะอ่านนิยายเรื่องนี้ให้จบได้ไม่ยาก และตั้งใจว่าจะต้องอ่านให้จบให้ได้ก่อนไปดูละคร
แล้วผมก็ทำได้สำเร็จดังตั้งใจจริงๆ แต่นั้นยังไม่สำคัญเท่ากับที่ทำให้พบว่า ตัวนิยายเรื่องนี้อัดแน่นไปด้วยเนื้อหาและรายละเอียดที่ต่างจากที่ผมเคยอ่านผ่านการ์ตูนและจากการดูละครเพลง
ในนิยายที่เป็นฉบับเต็มนี้ได้บอกเล่าเรื่องราวของ ดอนกิโฆเต้ ว่าเขาเสียสติจากการอ่านนิยายอัศวินมากเกินไปอย่างหลงใหลคลั่งไคล้จนเข้าใจว่าตนเองเป็นอัศวินไปในที่สุด จากนั้น ดอนกิโฆเต้ ก็หนีออกจากบ้านไปผจญภัยแบบอัศวินตามที่เขานึกฝันไปเอง
ในนิยายบอกให้รู้ว่า ดอนกิโฆเต้ หนีออกจากบ้าน 2 ครั้ง ครั้งแรกไปได้ไม่กี่วันก็ถูกชาวนาในหมู่บ้านเดียวกันที่ไปประสบเหตุเข้าโดยบังเอิญช่วยนำกลับมา ส่วนครั้งที่สอง เขาหนีออกไปโดยมี ซานโช่ ปันซ่า ชาวนาผู้แสนซื่อติดตามไปด้วย และในครั้งหลังนี้เองที่ ดอนกิโฆเต้ ได้ผจญภัยอย่างยาวนาน และได้สร้างความวุ่นวายมากมายหลายเรื่อง กับทั้งได้พบเห็นเหตุการณ์ต่างๆ ที่พิสดารและเหลือเชื่อ
ในส่วนที่ ดอนกิโฆเต้ ไปสร้างความวุ่นวายนั้น บางเรื่องก็ชวนขัน บางเรื่องก็ชวนให้ตกใจ บางเรื่องก็ชวนให้นึกสมน้ำหน้าที่ตัวเขาโดนทำร้าย ในขณะที่บางเรื่องก็ชวนให้สงสาร ฯลฯ ส่วนเรื่องที่เขาไปประสบพบเจอเหตุการณ์ที่พิสดารและเหลือเชื่อนั้น ผมหมายถึงเรื่องที่ไม่ใช่เรื่องของเขาเลยแม้แต่น้อย แต่เขาเป็นเพียงผู้รับรู้เหตุการณ์นั้นๆ เท่านั้น
ในส่วนทีหลังนี้สำคัญมากไม่แพ้ส่วนแรก แต่ที่ผมขอเตือนคนที่ตั้งใจจะอ่านฉบับเต็มนี้เอาไว้ก่อนก็คือว่า เนื่องจากส่วนหลังนี้ไม่เกี่ยวอะไรกับ ดอนกิโฆเต้ ของเราเลย (ผมใช้คำว่า “ของเรา” นี้เพราะรู้สึกว่าได้ร่วมผจญภัยไปกับเขาจริงๆ) ดังนั้น อาจเป็นไปได้ที่คนอ่านย่อมอยากจะรู้เรื่องราวของเขาไปให้ตลอดรอดฝั่งโดยไม่มีเรื่องอื่นมาขัด แต่พอมาเจอ “เรื่องอื่น” เข้าก็อาจจะเบื่อ
ที่ผมจะเตือนก็คือ อย่าเพิ่งเบื่อ และขอให้ทนอ่านต่อไป แล้วท่านจะได้ประสบการณ์บางอย่างที่อาจไม่เคยได้รับมาก่อนในนิยายเรื่องอื่นๆ เช่น อาจได้เห็นชั้นเชิงในการเขียนของผู้ประพันธ์ ได้เห็นเรื่องสั้นชั้นดีที่ซ้อนอยู่ในนิยาย ได้เห็นเรื่องบังเอิญบางเรื่องที่ไม่ได้สักแต่ “บังเอิญ” อย่างที่นิยายน้ำเน่าหลายเรื่องชอบทำกัน ได้เห็นคำพร่ำพรรณนาถึงความรักของหญิงสาวจนน้ำตาอาจซึมออกมาโดยไม่รู้ตัว ฯลฯ
ประสบการณ์ที่ผมว่าคนอ่านจะได้ (ด้วยความอดทนอีกเพียงเล็กน้อย) นั้นมีเหตุผลที่ลึกซึ้งอยู่ไม่น้อยเลยทีเดียว เพราะประสบการณ์เช่นนี้จะเกิดได้ก็แต่กับนักผจญภัยเท่านั้น และก็ให้บังเอิญว่านักผจญภัยของเราคนนี้เป็นบ้า ดังนั้น ประสบการณ์ที่คนอ่านจะได้จึงเป็นประสบการณ์ชุดเดียวกับที่คนบ้าได้รับนั่นเอง
และจากความยาวของนิยายจากที่ว่ามา เมื่อจะต้องทำเป็นบทละครเพลง คนที่ทำจึงต้องคิดมากเป็นพิเศษ ว่าอะไรคือส่วนที่พึงตัดออก ส่วนใดที่พึงคงไว้ และส่วนใดที่พึงปรับและเพิ่มเข้ามา และสิ่งที่ เดล วาสเซอร์แมน ได้ทำออกมาเป็นบทละครเพลงเรื่อง “Man of La Mancha” จึงคือ การคงตัวละครบางตัวอย่างซานโช่ บาทหลวง กัลบก หลานสาว แม่บ้าน เจ้าของโรงเตี๊ยมและภรรยา ดัลซีเนีย และตัวละครอื่นๆ อีกจำนวนหนึ่ง รวมทั้งสิ่งต่างๆ ที่รายล้อม ดอนกิโฆเต้ และอย่างหลังที่สำคัญอย่างหนึ่งก็คือ กังหันลมที่ ดอนกิโฆเต้ เห็นเป็นยักษ์เป็นมาร ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นสัญลักษณ์ที่เคียงคู่กับนิยายเรื่องนี้จนแยกไม่ได้
และในส่วนที่เพิ่มเข้ามาอย่างมีนัยสำคัญก็คือ บางเสี้ยวส่วนในชีวิตจริงของ เซรบันเตส ผู้สร้างสรรค์นิยายเรื่องนี้ขึ้นมา จนเมื่อกลายเป็นบทละครเพลงแล้ว เราจึงพบกับการตีความนิยายด้วยการนำเสนอสิ่งที่เป็น “แก่นสาร” อันว่าด้วยความใฝ่ฝันของมนุษย์คนหนึ่งที่ชื่อ ดอนกิโฆเต้ ที่ในพากษ์ไทยได้ให้ชื่อว่า “สู่ฝันอันยิ่งใหญ่”
ตกลงว่า ผมอ่านนิยายเรื่องนี้จบก่อนที่จะไปดูละครสมดังตั้งใจ และรู้สึกได้ว่าที่เสียเวลาไปทั้งหมดนี้ไม่สูญเปล่า ซึ่งจะว่าไปแล้วก็เหมือนกับเป็นการให้รางวัลแก่ตัวเองที่นานๆ จะให้สักที โดยที่หากกล่าวเฉพาะตัวละครเพลงแล้วก็เป็นไปตามที่ผมคาดหวัง ด้วยนึกไว้แต่แรกแล้วว่า การกลับมาครั้งนี้ของ “สู่ฝันอันยิ่งใหญ่” น่าที่จะต่างกับเมื่อกว่า 20 ปีก่อน โดยเฉพาะเวทีที่ทันสมัยมากขึ้น และ ยุทธนา มุกดาสนิท ในฐานะผู้กำกับการแสดงก็สามารถใช้มันอย่างเหมาะสม คุ้มค่า อลังการ และงดงามยิ่งนัก
ว่ากันว่า ละครเพลง “สู่ฝันอันยิ่งใหญ่” นี้ได้สร้างความหวังและกำลังใจให้กับคนที่อยู่บนโลกแห่งความเป็นจริงได้จำนวนหนึ่ง บ้างก็ว่า การกลับมาอีกครั้งหนึ่งของละครเพลงเรื่องนี้ในปี 2551 ช่างเหมาะกับสถานการณ์บ้านเมืองในห้วง 2-3 ปีมานี้ที่ต้องตกอยู่วังวนของวิกฤตจนไม่รู้จะจบลงอย่างไร
ถ้าเป็นแบบแรกก็เป็นเรื่องที่น่าอนุโมทนาไม่น้อย เพราะการที่ละครเพลงเรื่องหนึ่งสามารถทำให้ใครมองชีวิตได้ดีขึ้นย่อมเป็นเรื่องดีอย่างไม่พึงสงสัย แต่ที่ว่ากันแบบหลังนั้นผมไม่แน่ใจนัก ว่าเหมาะกับสถานการณ์ตอนนี้จริงหรือไม่ อย่างไร
เพราะจนถึงทุกวันนี้ผมยังไม่เห็นใครบ้าเข้าขั้นแบบ ดอนกิโฆเต้ มากนัก แต่ถ้าแกล้งบ้าแล้วละก็เห็นมีอยู่แถวทำเนียบรัฐบาล คือบ้าแบบเที่ยวได้เห็นใครอื่นเป็นศัตรูไปหมด ทั้งที่คนเหล่านั้นเป็นแค่ “กังหันลม” เท่านั้น ลงว่าแกล้งบ้าแล้ว คงไม่ต้องถามถึงความใฝ่ฝันแบบ ดอนกิโฆเต้ ให้เสียเวลา เพราะคนแบบนี้ไม่เพียงไม่มีความใฝ่ฝันเป็นของตนเองเท่านั้น หากยังเป็นนักทำลายความใฝ่ฝันของคนอื่นเขาอีกด้วย.