วิกฤตราคาน้ำมันที่รุนแรงจนคุกคามเศรษฐกิจกระทบต่อปากท้องของประชาชนแสนสาหัส หลายประเทศในแถบเอเชียต่างมีมาตรการบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนแตกต่างกันไป
ที่เกาหลีใต้ รัฐบาลของเขาได้อนุมัติแผนการจัดทำงบประมาณพิเศษมูลค่า 4.9 ล้านล้านวอน หรือ 4.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ที่จะช่วยแบ่งเบาภาระราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้น
รัฐบาลเกาหลีใต้ระบุว่า งบประมาณส่วนหนึ่งจะออกมาในรูปแบบคืนเงินภาษีโดยตรงแก่ประชาชนที่ใช้รถเพื่อการดำรงชีพ และจะใช้มาตรการอื่นๆ ควบคู่กันไป
ขณะที่อินโดนีเซียรัฐบาลประกาศว่า จะไม่ขึ้นราคาน้ำมันในปี 2552 แม้จะยอมรับว่าราคาน้ำมันและสินค้าโภคภัณฑ์ที่ทะยานสูงขึ้นทั่วโลกส่งผลต่อเสถียรภาพทางด้านการคลังของรัฐก็ตาม
ส่วนที่ประเทศจีน ประธานาธิบดี หู จิ่นเทา เน้นย้ำว่าการต่อสู้กับเงินเฟ้อ คือปัจจัยสำคัญในการทำศึกทางเศรษฐกิจในช่วงนี้ โดยได้ออกนโยบายชุดต่างๆออกมาไม่ว่าจะเป็นการควบคุมสินเชื่อธนาคารเพื่อควบคุมต้นทุนสินค้าประเภทอาหารและลดแรงกดดันเงินเฟ้อดังกล่าว
หันมามองไทย ซึ่งรัฐบาลกำลังเร่ขายความคิดที่จะออกนโยบายใหม่ล่าสุด “แจกคูปองคนจน!” และขะมักเขม้นมุ่งสนับสนุนโครงการน้ำมัน E 85 , E 100 (เชื้อเพลิงที่มีส่วนผสมระหว่างเอทานอล 85% ผสมเบนซิน 15% และ เอทานอล 100% ) เป็นมาตรการระยะสั้นอย่างเต็มสูบ
ฟังแล้วหัวร่อไม่ออก ร่ำไห้ไม่ได้จริงๆ!! มันแก้ปัญหาตรงไหน? ช่วยคลายทุกข์ของประชาชนอย่างไร?
ความจริง นับแต่ราคาน้ำมันมีแนวโน้มพุ่งไม่หยุด สัญญาณอันตรายก่อตัวขึ้นมาตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว รัฐบาลสมัครที่เข้ามาบริหารประเทศเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา มีเวลามากพอที่จะคิด และทำอะไรบ้าง แต่ก็ละเลยมาตลอด
ครม.นี้แทบไม่ได้ทำอะไรเลย!เพราะ หากใครลองค้นมติคณะรัฐมนตรี ซึ่งเชื่อกันว่า เป็นหลักฐานการทำงานที่เป็นรูปธรรมที่สุดในการบริหารประเทศของรัฐบาล แต่ไหนแต่ไรมาก็จะพบว่า ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ เป็นต้นมาจนถึงเดือนมิถุนายนนี้ ครม.นอมินีทั้งหลายใช้เวลาหมดไปกับการพิจารณาวาระเพื่อแต่งตั้ง-โยกย้ายข้าราชการประจำ ประเคนตำแหน่งข้าราชการการเมืองให้แก่ผู้มีอุปการคุณ และพรรคพวกของตนเอง
ที่ตลกที่สุด ก็คือ เวลาที่สูญเสียไปในการประชุม ครม.ครั้งหนึ่ง วาระสำคัญที่เข้าสู่ ครม.กลับเป็นเพียงข้อเสนอขอเช่ารถประจำตำแหน่งเพิ่มให้รัฐมนตรี! ซึ่งไม่ทราบว่า สำคัญกว่าวาระปากท้องประชาชนตรงไหน?
ขณะที่วาระว่าด้วยการแก้ปัญหาปากท้องและความเดือดร้อนของประชาชนจากพิษน้ำมันนั้น ค้นหามาได้มีแค่ 3-4 เรื่องเท่านั้น โดยเรื่องทั้งหมดก็ไม่ได้มีผลในทางปฏิบัติเลย หรือล้มเหลวด้วยซ้ำ ประกอบด้วย...
- รับทราบ มติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ครั้งที่ 2/2551 ในการพิจารณาแนวทางการแก้ไขผลกระทบราคาน้ำมันแพง ซึ่งเสนอต่อรัฐบาล ว่า ระยะสั้นๆให้เน้นส่งเสริมการใช้ก๊าซธรรมชาติสำหรับรถยนต์ (Natural Gas for Vehicle หรือ NGV) แนวทางการแก้ไขปัญหาราคาก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) แต่เอาเข้าจริงๆ ผู้ใช้รถยนต์ที่เสียเงินมากมายเป็นค่าติดตั้งและอุปกรณ์ให้ ปตท.ก็ติดขัดปัญหาการให้บริการของ ปตท.มิหนำซ้ำรถยนต์ที่ดัดแปลงมาใช้ก๊าชหุงต้ม LPG มากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้เกิดปัญหาเชิงโครงสร้างกลไกราคา ไม่ยุติธรรมต่อครัวเรือน และผู้ใช้รถยนต์ที่ใช้น้ำมันเป็นเชื้อเพลิงเพราะ ต้องจ่ายเงินค่าน้ำมันแพงเกินจริงลิตรละหลายตังค์เพื่อกันเงินมาอุดหนุนคนใช้ LPG
- มีมติให้จัดทำยุทธศาสตร์รองรับสถานการณ์วิกฤตอาหารและพลังงาน โดยเห็นชอบให้แต่งตั้งคณะกรรมการโดยให้ใช้ชื่อว่า “คณะกรรมการบริหารจัดการเรื่องอาหารและพลังงานเพื่อรองรับสถานการณ์วิกฤตอาหารและพลังงานของโลก” ยิ่งไม่ต้องกล่าวถึง เพราะคณะกรรมการชุดนี้แทบไม่มีผลงานอะไรออกมา
- มีมติให้จัดทำข้าวสารบรรจุถุงเพื่อลดภาระค่าครองชีพผู้บริโภค มติออกมาช่วงระหว่างข้าวสารแพง ถือว่าเป็นมาตรการที่ล้มเหลว นอกจากข้าวถุงไม่ได้คุณภาพหาซื้อยาก ราคาแพงกว่าข้าวถุงเฮาส์แบรนด์ของห้างค้าปลีกเสียอีก ซึ่งสุดท้ายก็ถูกยกเลิกโดยนายกฯ ขัดแย้งกับนายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ รมว.พาณิชย์
- มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการใช้น้ำมัน E 85 ซึ่ง ครม.มีมติเห็นชอบในหลักการตามที่กระทรวงการคลังเสนอมาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการใช้น้ำมัน E 85 ตามการผลักดันของ พล.ท.หญิงพูนภิรมย์ ลิปตพัลลภ รมว.พลังงานที่ต้องการให้มีการใช้กันอย่างแพร่หลายในเวลาอันสั้น
โดยผิวเผินโครงการนี้นับเป็นแนวทางการพัฒนาพลังงานทางเลือกที่เหมาะสมกับประเทศไทยในฐานะที่เป็นประเทศเกษตรกรรม แต่มันควรเป็นแผนระยะยาว
อุปมาเหมือนรัฐบาลชักชวนให้ประชาชนปลูกต้นตาลขายทั้งที่วันนี้พรุ่งนี้ไม่มีจะกิน!!
เพราะอะไร? ยอมรับความจริงหรือไม่ว่า ประชากรรถยนต์ในบ้านเราทุกวันนี้ 90% ยังใช้น้ำมันเป็นเชื้อเพลิง แม้บางส่วนจะหันไปดัดแปลงเริ่มใช้ก๊าช NGV, LPG และแก๊สโซฮอลล์ E -20 บ้าง ก็จำนวนน้อยคาดว่าคงไม่เกิน 10%
คำถามง่ายๆ ว่า เป็นไปได้หรือที่คนใช้รถยนต์ 90% เหล่านี้จะโละทิ้งรถที่เคยใช้วันนี้ พรุ่งนี้แล้วควักเงินไปซื้อรถใหม่ที่ดัดแปลงเครื่องยนต์เพื่อรองรับ E-85 เหมือนๆ กรณี E-20 เพราะคนไม่มีกำลังซื้อ รมว.พลังงานเองก็ยอมรับ ที่บราซิลประเทศต้นแบบก็ต้องใช้เวลานานกว่า 30 ปีกว่าจะพัฒนา E 85 ใช้กันแพร่หลาย
ดังนั้น ด้วยมติ ครม.เหล่านี้บวกกับการแจกคูปองคนจน อีกหนึ่งมาตรการที่คิดจะออกโดยความภาคภูมิใจของ นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รมว.คลัง ซึ่งถูกวิจารณ์อย่างหนักถึงที่มุ่งเน้นการเมืองอย่างเดียวไม่ได้แก้ปัญหาแถมยังสร้างปัญหา ต้องบอกว่า เวรกรรมอะไรของประเทศนี้!
รัฐบาล ‘เส็งเคร็ง’ ไร้ซึ่งความสามารถ สมควรจะได้รับโอกาสต่อไปอีกหรือ?
ท่านผู้อ่านสามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพิ่มเติมได้ที่ เอ็มบล็อก http://mblog.manager.co.th/suwitcha67 หรือ E-mail suwitcha@manager.co.th
ที่เกาหลีใต้ รัฐบาลของเขาได้อนุมัติแผนการจัดทำงบประมาณพิเศษมูลค่า 4.9 ล้านล้านวอน หรือ 4.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ที่จะช่วยแบ่งเบาภาระราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้น
รัฐบาลเกาหลีใต้ระบุว่า งบประมาณส่วนหนึ่งจะออกมาในรูปแบบคืนเงินภาษีโดยตรงแก่ประชาชนที่ใช้รถเพื่อการดำรงชีพ และจะใช้มาตรการอื่นๆ ควบคู่กันไป
ขณะที่อินโดนีเซียรัฐบาลประกาศว่า จะไม่ขึ้นราคาน้ำมันในปี 2552 แม้จะยอมรับว่าราคาน้ำมันและสินค้าโภคภัณฑ์ที่ทะยานสูงขึ้นทั่วโลกส่งผลต่อเสถียรภาพทางด้านการคลังของรัฐก็ตาม
ส่วนที่ประเทศจีน ประธานาธิบดี หู จิ่นเทา เน้นย้ำว่าการต่อสู้กับเงินเฟ้อ คือปัจจัยสำคัญในการทำศึกทางเศรษฐกิจในช่วงนี้ โดยได้ออกนโยบายชุดต่างๆออกมาไม่ว่าจะเป็นการควบคุมสินเชื่อธนาคารเพื่อควบคุมต้นทุนสินค้าประเภทอาหารและลดแรงกดดันเงินเฟ้อดังกล่าว
หันมามองไทย ซึ่งรัฐบาลกำลังเร่ขายความคิดที่จะออกนโยบายใหม่ล่าสุด “แจกคูปองคนจน!” และขะมักเขม้นมุ่งสนับสนุนโครงการน้ำมัน E 85 , E 100 (เชื้อเพลิงที่มีส่วนผสมระหว่างเอทานอล 85% ผสมเบนซิน 15% และ เอทานอล 100% ) เป็นมาตรการระยะสั้นอย่างเต็มสูบ
ฟังแล้วหัวร่อไม่ออก ร่ำไห้ไม่ได้จริงๆ!! มันแก้ปัญหาตรงไหน? ช่วยคลายทุกข์ของประชาชนอย่างไร?
ความจริง นับแต่ราคาน้ำมันมีแนวโน้มพุ่งไม่หยุด สัญญาณอันตรายก่อตัวขึ้นมาตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว รัฐบาลสมัครที่เข้ามาบริหารประเทศเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา มีเวลามากพอที่จะคิด และทำอะไรบ้าง แต่ก็ละเลยมาตลอด
ครม.นี้แทบไม่ได้ทำอะไรเลย!เพราะ หากใครลองค้นมติคณะรัฐมนตรี ซึ่งเชื่อกันว่า เป็นหลักฐานการทำงานที่เป็นรูปธรรมที่สุดในการบริหารประเทศของรัฐบาล แต่ไหนแต่ไรมาก็จะพบว่า ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ เป็นต้นมาจนถึงเดือนมิถุนายนนี้ ครม.นอมินีทั้งหลายใช้เวลาหมดไปกับการพิจารณาวาระเพื่อแต่งตั้ง-โยกย้ายข้าราชการประจำ ประเคนตำแหน่งข้าราชการการเมืองให้แก่ผู้มีอุปการคุณ และพรรคพวกของตนเอง
ที่ตลกที่สุด ก็คือ เวลาที่สูญเสียไปในการประชุม ครม.ครั้งหนึ่ง วาระสำคัญที่เข้าสู่ ครม.กลับเป็นเพียงข้อเสนอขอเช่ารถประจำตำแหน่งเพิ่มให้รัฐมนตรี! ซึ่งไม่ทราบว่า สำคัญกว่าวาระปากท้องประชาชนตรงไหน?
ขณะที่วาระว่าด้วยการแก้ปัญหาปากท้องและความเดือดร้อนของประชาชนจากพิษน้ำมันนั้น ค้นหามาได้มีแค่ 3-4 เรื่องเท่านั้น โดยเรื่องทั้งหมดก็ไม่ได้มีผลในทางปฏิบัติเลย หรือล้มเหลวด้วยซ้ำ ประกอบด้วย...
- รับทราบ มติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ครั้งที่ 2/2551 ในการพิจารณาแนวทางการแก้ไขผลกระทบราคาน้ำมันแพง ซึ่งเสนอต่อรัฐบาล ว่า ระยะสั้นๆให้เน้นส่งเสริมการใช้ก๊าซธรรมชาติสำหรับรถยนต์ (Natural Gas for Vehicle หรือ NGV) แนวทางการแก้ไขปัญหาราคาก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) แต่เอาเข้าจริงๆ ผู้ใช้รถยนต์ที่เสียเงินมากมายเป็นค่าติดตั้งและอุปกรณ์ให้ ปตท.ก็ติดขัดปัญหาการให้บริการของ ปตท.มิหนำซ้ำรถยนต์ที่ดัดแปลงมาใช้ก๊าชหุงต้ม LPG มากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้เกิดปัญหาเชิงโครงสร้างกลไกราคา ไม่ยุติธรรมต่อครัวเรือน และผู้ใช้รถยนต์ที่ใช้น้ำมันเป็นเชื้อเพลิงเพราะ ต้องจ่ายเงินค่าน้ำมันแพงเกินจริงลิตรละหลายตังค์เพื่อกันเงินมาอุดหนุนคนใช้ LPG
- มีมติให้จัดทำยุทธศาสตร์รองรับสถานการณ์วิกฤตอาหารและพลังงาน โดยเห็นชอบให้แต่งตั้งคณะกรรมการโดยให้ใช้ชื่อว่า “คณะกรรมการบริหารจัดการเรื่องอาหารและพลังงานเพื่อรองรับสถานการณ์วิกฤตอาหารและพลังงานของโลก” ยิ่งไม่ต้องกล่าวถึง เพราะคณะกรรมการชุดนี้แทบไม่มีผลงานอะไรออกมา
- มีมติให้จัดทำข้าวสารบรรจุถุงเพื่อลดภาระค่าครองชีพผู้บริโภค มติออกมาช่วงระหว่างข้าวสารแพง ถือว่าเป็นมาตรการที่ล้มเหลว นอกจากข้าวถุงไม่ได้คุณภาพหาซื้อยาก ราคาแพงกว่าข้าวถุงเฮาส์แบรนด์ของห้างค้าปลีกเสียอีก ซึ่งสุดท้ายก็ถูกยกเลิกโดยนายกฯ ขัดแย้งกับนายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ รมว.พาณิชย์
- มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการใช้น้ำมัน E 85 ซึ่ง ครม.มีมติเห็นชอบในหลักการตามที่กระทรวงการคลังเสนอมาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการใช้น้ำมัน E 85 ตามการผลักดันของ พล.ท.หญิงพูนภิรมย์ ลิปตพัลลภ รมว.พลังงานที่ต้องการให้มีการใช้กันอย่างแพร่หลายในเวลาอันสั้น
โดยผิวเผินโครงการนี้นับเป็นแนวทางการพัฒนาพลังงานทางเลือกที่เหมาะสมกับประเทศไทยในฐานะที่เป็นประเทศเกษตรกรรม แต่มันควรเป็นแผนระยะยาว
อุปมาเหมือนรัฐบาลชักชวนให้ประชาชนปลูกต้นตาลขายทั้งที่วันนี้พรุ่งนี้ไม่มีจะกิน!!
เพราะอะไร? ยอมรับความจริงหรือไม่ว่า ประชากรรถยนต์ในบ้านเราทุกวันนี้ 90% ยังใช้น้ำมันเป็นเชื้อเพลิง แม้บางส่วนจะหันไปดัดแปลงเริ่มใช้ก๊าช NGV, LPG และแก๊สโซฮอลล์ E -20 บ้าง ก็จำนวนน้อยคาดว่าคงไม่เกิน 10%
คำถามง่ายๆ ว่า เป็นไปได้หรือที่คนใช้รถยนต์ 90% เหล่านี้จะโละทิ้งรถที่เคยใช้วันนี้ พรุ่งนี้แล้วควักเงินไปซื้อรถใหม่ที่ดัดแปลงเครื่องยนต์เพื่อรองรับ E-85 เหมือนๆ กรณี E-20 เพราะคนไม่มีกำลังซื้อ รมว.พลังงานเองก็ยอมรับ ที่บราซิลประเทศต้นแบบก็ต้องใช้เวลานานกว่า 30 ปีกว่าจะพัฒนา E 85 ใช้กันแพร่หลาย
ดังนั้น ด้วยมติ ครม.เหล่านี้บวกกับการแจกคูปองคนจน อีกหนึ่งมาตรการที่คิดจะออกโดยความภาคภูมิใจของ นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รมว.คลัง ซึ่งถูกวิจารณ์อย่างหนักถึงที่มุ่งเน้นการเมืองอย่างเดียวไม่ได้แก้ปัญหาแถมยังสร้างปัญหา ต้องบอกว่า เวรกรรมอะไรของประเทศนี้!
รัฐบาล ‘เส็งเคร็ง’ ไร้ซึ่งความสามารถ สมควรจะได้รับโอกาสต่อไปอีกหรือ?
ท่านผู้อ่านสามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพิ่มเติมได้ที่ เอ็มบล็อก http://mblog.manager.co.th/suwitcha67 หรือ E-mail suwitcha@manager.co.th