เอเอฟพี – เผยทั่วโลกต่างยอมรับการแต่งงานของคนรักร่วมเพศ รวมทั้งยอมรับรูปแบบความสัมพันธ์ทางเพศของคนเพศเดียวกันมากขึ้นกว่าเดิม ถึงแม้ว่าจะยังเป็นประเด็นเชิงศีลธรรมที่สับสนที่สุดประเด็นหนึ่งในปัจจุบันก็ตามที
ทั้งนี้ในวันจันทร์ (16) มีการจัดงานแต่งงานของเกย์คู่แรกในมลรัฐแคลิฟอร์เนีย ภายหลังจากที่ศาลสูงแห่งมลรัฐได้ยกเลิกคำสั่งห้ามการจัดงานแต่งงานในลักษณะดังกล่าวเมื่อสองสัปดาห์ก่อน นับเป็นคำตัดสินครั้งประวัติศาสตร์อีกครั้งหนึ่ง อีกทั้งเป็นมลรัฐแห่งที่สองของสหรัฐฯ รองจากแมสซาชูเซตต์ ที่อนุญาตให้เพศเดียวกันแต่งงานกันได้
ในระดับทั่วโลกนั้น เนเธอร์แลนด์เป็นประเทศแรกที่มีการจัดงานแต่งงานของคู่เกย์และเลสเบียนเมื่อเดือนเมษายน 2001 หลังจากนั้นเป็นเบลเยียมในเดือนมิถุนายน 2003 แคนาดาและสเปนในเดือนกรกฎาคม 2005 และต่อมาในอังกฤษ เดือนธันวาคมปีเดียวกัน แม้ว่าคริสต์จักรนิกายเชิร์ช ออฟ อิงแลนด์จะปฏิเสธการฉลองสมรสของคนเพศเดียวกันก็ตาม
แอฟริกาใต้เป็นประเทศแรกในทวีปแอฟริกาที่อนุญาตให้คนเพศเดียวกันแต่งงานกันได้เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2006
นอกจากนั้น รัฐสภานอร์เวย์เพิ่งผ่านกฎหมายอนุญาตให้คนรักร่วมเพศแต่งงานกันได้และสามารถรับบุตรบุญธรรมได้ด้วย อีกทั้งยังอนุญาตให้กลุ่มหญิงข้ามเพศทำการผสมเทียมได้ด้วยเมื่อต้นปีนี้
ส่วนชาวสเปนซึ่งนับถือศาสนาคริสต์นิกายคาทอลิก ก็ได้สร้างความเดือดดาลแก่วาติกัน จากการอนุญาตให้เกย์และเลสเบียนแต่งงานกันได้
มีอีกหลายประเทศที่ยอมรับพวกรักร่วมเพศในระดับที่ต่ำกว่าแต่งงานโดยถือว่าเป็นการใช้ชีวิตคู่ของประชาชน(civil union) ซึ่งทำให้มีสิทธิในด้านภาษีและการรับมรดกต่างๆ เช่น
เดนมาร์กเป็นประเทศแรกที่อนุญาตให้มี “การใช้ชีวิตคู่แบบจดทะเบียน”(registered partnership) หรือการใช้ชีวิตคู่ของประชาชน จากนั้นประเทศหลักๆ ในกลุ่มนอร์ดิกด้วยกันก็ทำตามบ้าง
ฝรั่งเศสนั้นยอมรับเช่นกันเรื่องการอยู่ร่วมกันของผู้ใหญ่สองคน ไม่ว่าจะเป็นชายหรือหญิง โดยเรียกว่า ข้อตกลงเพื่อความสมานฉันท์ของประชาชน (Pact of Civil Solidarity หรือ PACS)
ด้านเยอรมนีให้ผู้ที่ใช้ชีวิตคู่ร่วมกันมีสิทธิเช่นเดียวกับคู่แต่งงานยกเว้นในเรื่องภาษีและการรับบุตรบุญธรรม ที่โปรตุเกสมีมาตรการทำนองเดียวกันตั้งแต่ปี 2001 แต่รัฐบาลยังไม่อนุญาตให้คนเพศเดียวกันแต่งงานกัน
ที่สหรัฐฯ มลรัฐเวอร์มอนต์และคอนเนตทิคัตยอมรับการใช้ชีวิตคู่ของประชาชนเพศเดียวกัน ขณะที่ฮาวาย เมน และนิวเจอร์ซีย์ยอมให้ผู้ที่ใช้ชีวิตคู่มีสิทธิเสมอกับคู่แต่งงาน
ทว่า ยังมีอีกหลายประเทศที่ปฏิเสธการใช้ชีวิตคู่ของพวกรักร่วมเพศทุกรูปแบบ เช่น ออสเตรเลียเพิ่งผ่านกฎหมายเมื่อปี 2004 โดยให้คำนิยามของการแต่งงานว่า “เป็นการสมรมระหว่างชายหนึ่งคนและหญิงหนึ่งคนโดยไม่เกี่ยวข้องกับบุคคลอื่น ๆ”
ในอิตาลีนั้น อดีตรัฐบาลฝ่ายซ้ายของโรมาโน โปรดิ เคยยอมรับร่างกฎหมายยอมรับสิทธิของผู้ที่ใช้ชีวิตคู่โดยไม่จำกัดเพศ เมื่อปี 2007 แต่ไม่เคยผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภามาจนทุกวันนี้
ที่ญี่ปุ่นไม่อนุญาตให้คนเพศเดียวกันแต่งงาน แต่พวกเขาสามารถรับมรดกและสิทธิบางอย่างของตระกูลได้ ขณะที่ไทยมีทัศนคติแบบเสรีต่อเรื่องรักร่วมเพศ แต่ไม่ยอมรับการแต่งงานของเกย์และเลสเบียนเช่นกัน
จีนและรัสเซียห้ามการแต่งงานของคนเพศเดียวกัน ในอินเดีย รักร่วมเพศถือเป็นความผิด มีโทษจำคุกสูงสุดตลอดชีวิต
ส่วนในอีกหลายๆ ประเทศ อาทิ ศรีลังกา ปากีสถาน และอัฟกานิสถานนั้น แม้แค่การเอ่ยถึงประเด็นนี้ ก็ไม่ปรากฏให้เห็นเสียแล้ว
ทั้งนี้ในวันจันทร์ (16) มีการจัดงานแต่งงานของเกย์คู่แรกในมลรัฐแคลิฟอร์เนีย ภายหลังจากที่ศาลสูงแห่งมลรัฐได้ยกเลิกคำสั่งห้ามการจัดงานแต่งงานในลักษณะดังกล่าวเมื่อสองสัปดาห์ก่อน นับเป็นคำตัดสินครั้งประวัติศาสตร์อีกครั้งหนึ่ง อีกทั้งเป็นมลรัฐแห่งที่สองของสหรัฐฯ รองจากแมสซาชูเซตต์ ที่อนุญาตให้เพศเดียวกันแต่งงานกันได้
ในระดับทั่วโลกนั้น เนเธอร์แลนด์เป็นประเทศแรกที่มีการจัดงานแต่งงานของคู่เกย์และเลสเบียนเมื่อเดือนเมษายน 2001 หลังจากนั้นเป็นเบลเยียมในเดือนมิถุนายน 2003 แคนาดาและสเปนในเดือนกรกฎาคม 2005 และต่อมาในอังกฤษ เดือนธันวาคมปีเดียวกัน แม้ว่าคริสต์จักรนิกายเชิร์ช ออฟ อิงแลนด์จะปฏิเสธการฉลองสมรสของคนเพศเดียวกันก็ตาม
แอฟริกาใต้เป็นประเทศแรกในทวีปแอฟริกาที่อนุญาตให้คนเพศเดียวกันแต่งงานกันได้เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2006
นอกจากนั้น รัฐสภานอร์เวย์เพิ่งผ่านกฎหมายอนุญาตให้คนรักร่วมเพศแต่งงานกันได้และสามารถรับบุตรบุญธรรมได้ด้วย อีกทั้งยังอนุญาตให้กลุ่มหญิงข้ามเพศทำการผสมเทียมได้ด้วยเมื่อต้นปีนี้
ส่วนชาวสเปนซึ่งนับถือศาสนาคริสต์นิกายคาทอลิก ก็ได้สร้างความเดือดดาลแก่วาติกัน จากการอนุญาตให้เกย์และเลสเบียนแต่งงานกันได้
มีอีกหลายประเทศที่ยอมรับพวกรักร่วมเพศในระดับที่ต่ำกว่าแต่งงานโดยถือว่าเป็นการใช้ชีวิตคู่ของประชาชน(civil union) ซึ่งทำให้มีสิทธิในด้านภาษีและการรับมรดกต่างๆ เช่น
เดนมาร์กเป็นประเทศแรกที่อนุญาตให้มี “การใช้ชีวิตคู่แบบจดทะเบียน”(registered partnership) หรือการใช้ชีวิตคู่ของประชาชน จากนั้นประเทศหลักๆ ในกลุ่มนอร์ดิกด้วยกันก็ทำตามบ้าง
ฝรั่งเศสนั้นยอมรับเช่นกันเรื่องการอยู่ร่วมกันของผู้ใหญ่สองคน ไม่ว่าจะเป็นชายหรือหญิง โดยเรียกว่า ข้อตกลงเพื่อความสมานฉันท์ของประชาชน (Pact of Civil Solidarity หรือ PACS)
ด้านเยอรมนีให้ผู้ที่ใช้ชีวิตคู่ร่วมกันมีสิทธิเช่นเดียวกับคู่แต่งงานยกเว้นในเรื่องภาษีและการรับบุตรบุญธรรม ที่โปรตุเกสมีมาตรการทำนองเดียวกันตั้งแต่ปี 2001 แต่รัฐบาลยังไม่อนุญาตให้คนเพศเดียวกันแต่งงานกัน
ที่สหรัฐฯ มลรัฐเวอร์มอนต์และคอนเนตทิคัตยอมรับการใช้ชีวิตคู่ของประชาชนเพศเดียวกัน ขณะที่ฮาวาย เมน และนิวเจอร์ซีย์ยอมให้ผู้ที่ใช้ชีวิตคู่มีสิทธิเสมอกับคู่แต่งงาน
ทว่า ยังมีอีกหลายประเทศที่ปฏิเสธการใช้ชีวิตคู่ของพวกรักร่วมเพศทุกรูปแบบ เช่น ออสเตรเลียเพิ่งผ่านกฎหมายเมื่อปี 2004 โดยให้คำนิยามของการแต่งงานว่า “เป็นการสมรมระหว่างชายหนึ่งคนและหญิงหนึ่งคนโดยไม่เกี่ยวข้องกับบุคคลอื่น ๆ”
ในอิตาลีนั้น อดีตรัฐบาลฝ่ายซ้ายของโรมาโน โปรดิ เคยยอมรับร่างกฎหมายยอมรับสิทธิของผู้ที่ใช้ชีวิตคู่โดยไม่จำกัดเพศ เมื่อปี 2007 แต่ไม่เคยผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภามาจนทุกวันนี้
ที่ญี่ปุ่นไม่อนุญาตให้คนเพศเดียวกันแต่งงาน แต่พวกเขาสามารถรับมรดกและสิทธิบางอย่างของตระกูลได้ ขณะที่ไทยมีทัศนคติแบบเสรีต่อเรื่องรักร่วมเพศ แต่ไม่ยอมรับการแต่งงานของเกย์และเลสเบียนเช่นกัน
จีนและรัสเซียห้ามการแต่งงานของคนเพศเดียวกัน ในอินเดีย รักร่วมเพศถือเป็นความผิด มีโทษจำคุกสูงสุดตลอดชีวิต
ส่วนในอีกหลายๆ ประเทศ อาทิ ศรีลังกา ปากีสถาน และอัฟกานิสถานนั้น แม้แค่การเอ่ยถึงประเด็นนี้ ก็ไม่ปรากฏให้เห็นเสียแล้ว