รอยเตอร์ - บารัค โอบามา ว่าที่ผู้สมัครจากพรรคเดโมแครต และ จอห์น แมคเคน จากพรรครีพับลิกัน มีจุดยืนหลักๆ ทางด้านการต่างประเทศแตกต่างกันอย่างไร พอจะเปรียบเทียบประเด็นต่อประเด็น ได้ดังนี้
**นโยบายด้านการทูตในภาพรวม**
แมคเคนนั้นสนับสนุนให้สหรัฐฯ มีบทบาทมากขึ้นในเวทีการทูตระหว่างประเทศ สืบต่อจากประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช และเขาสัญญาว่าจะผลักดันให้มีการฟื้นฟูความสัมพันธ์กับพันธมิตรของอเมริกาที่เคยมีปัญหาระหองระแหงต่อกัน
"สหรัฐฯ ไม่สามารถเป็นผู้นำโดยใช้อำนาจของตนแต่เพียงลำพัง" แมคเคนกล่าวสุนทรพจน์ไว้ในที่ประชุม "เวิลด์ แอฟแฟร์ เคาน์ซิล" ที่แคลิฟอร์เนีย และบอกด้วยว่า "เราต้องการรับฟังความคิดเห็นต่าง ๆ และเคารพต่อเจตจำนงร่วมกันของพันธมิตรในค่ายประชาธิปไตยของเรา"
ส่วนโอบามาเน้นย้ำในเรื่องการเจรจามากกว่าใช้ปฏิบัติการทางทหาร แต่เขาถูกกล่าวหาจากพรรครีพับลิกันว่าอ่อนหัดในเชิงนโยบาย หลังจากการที่เขาพูดว่าจะเปิดการเจรจากับผู้นำของประเทศที่เป็นศัตรูโดยไม่มีการตั้งเงื่อนไข ไม่ว่าจะเป็นอิหร่าน ซีเรีย เกาหลีเหนือ หรือเวเนซุเอลา ทว่า โอบามากล่าวว่าการเปิดการเจรจาดังกล่าวจะต้องมีการเตรียมการเป็นอย่างดี
"ประเทศที่เข้มแข็งและประธานาธิบดีที่เข้มแข็ง จะพบปะและเจรจากับศัตรู" โอบามากล่าวในระหว่างโต้วาทีเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม ปีที่แล้ว และว่า "เราไม่ควรกลัวที่จะทำเช่นนั้น ในเมื่อเราได้พยายามใช้วิธีการอื่นแล้วแต่มันไม่ได้ผล"
**จีน**
แมคเคนจะยังคงกดดันจีนให้ปรับปรุงในเรื่องสิทธิมนุษยชน แต่จะขยายความสัมพันธ์ระหว่างจีน-สหรัฐฯ ต่อไป
ส่วนโอบามาบอกว่า ในฐานะประธานาธิบดีเขามีเครื่องมือต่อรองเพื่อกดดันจีนให้หยุดแทรกแซงค่าเงิน นั่นก็คือ เขาจะขู่จีนว่าจะจำกัดการนำเข้าสินค้าจีนในตลาดสหรัฐฯ
**เกาหลีเหนือ**
แมคเคนกล่าวว่าขณะนี้ยังไม่ชัดเจนว่าเกาหลีเหนือนั้นจะยินยอมยกเลิกโครงการนิวเคลียร์ และให้ข้อมูลทั้งหมดเกี่ยวกับวัตถุดิบและอุปกรณ์นิวเคลียร์ของตนตามที่ตกลงไว้จริงหรือไม่ เขาบอกว่าประเด็นการเจรจากับโสมแดงในอนาคตจะมีทั้งเรื่องโครงการจรวดขีปนาวุธของเกาหลีเหนือ การลักพาตัวชาวญี่ปุ่น รวมทั้งการสนับสนุนการก่อการร้าย และการแพร่กระจายอาวุธอานุภาพทำลายร้ายแรง
ส่วนโอบามาจะเรียกร้องให้มี "ความร่วมมือระดับระหว่างประเทศ" ในการรับมือกับโครงการอาวุธนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือ และกล่าวว่าเขาสนับสนุน "การทูตแบบยั่งยืน ตรงไปตรงมา และเป็นเชิงรุก" ในการรับมือกับประเด็นนิวเคลียร์
**รัสเซีย**
แมคเคนเป็นผู้ที่เคยวิพากษ์วิจารณ์วลาดิเมียร์ ปูติน ผู้นำรัสเซีย และกล่าวหารัสเซียว่า พยายามเข้ายึดครองดินแดนบางส่วนของจอร์เจียหลังจากที่ปูตินได้สั่งการให้รัฐบาลสร้างสายสัมพันธ์ใกล้ชิดกับกลุ่มแบ่งแยกดินแดนในเขตอับคาเซียและโอสเซเทียใต้ของจอร์เจีย
แต่โอบามาบอกว่า รัสเซียไม่ใช่ทั้งศัตรูและพันธมิตรใกล้ชิด สหรัฐฯ จึงไม่ควรหลบเลี่ยงการกดดันให้รัสเซียมีประชาธิปไตย ความโปร่งใส และมีความรับผิดชอบให้มากขึ้นกว่าเดิม และเขาเห็นว่าสหรัฐฯ ควรร่วมมือกับรัสเซียในการสร้างความมั่นคงทางด้านอาวุธและวัสดุนิวเคลียร์ด้วย
**นโยบายด้านการทูตในภาพรวม**
แมคเคนนั้นสนับสนุนให้สหรัฐฯ มีบทบาทมากขึ้นในเวทีการทูตระหว่างประเทศ สืบต่อจากประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช และเขาสัญญาว่าจะผลักดันให้มีการฟื้นฟูความสัมพันธ์กับพันธมิตรของอเมริกาที่เคยมีปัญหาระหองระแหงต่อกัน
"สหรัฐฯ ไม่สามารถเป็นผู้นำโดยใช้อำนาจของตนแต่เพียงลำพัง" แมคเคนกล่าวสุนทรพจน์ไว้ในที่ประชุม "เวิลด์ แอฟแฟร์ เคาน์ซิล" ที่แคลิฟอร์เนีย และบอกด้วยว่า "เราต้องการรับฟังความคิดเห็นต่าง ๆ และเคารพต่อเจตจำนงร่วมกันของพันธมิตรในค่ายประชาธิปไตยของเรา"
ส่วนโอบามาเน้นย้ำในเรื่องการเจรจามากกว่าใช้ปฏิบัติการทางทหาร แต่เขาถูกกล่าวหาจากพรรครีพับลิกันว่าอ่อนหัดในเชิงนโยบาย หลังจากการที่เขาพูดว่าจะเปิดการเจรจากับผู้นำของประเทศที่เป็นศัตรูโดยไม่มีการตั้งเงื่อนไข ไม่ว่าจะเป็นอิหร่าน ซีเรีย เกาหลีเหนือ หรือเวเนซุเอลา ทว่า โอบามากล่าวว่าการเปิดการเจรจาดังกล่าวจะต้องมีการเตรียมการเป็นอย่างดี
"ประเทศที่เข้มแข็งและประธานาธิบดีที่เข้มแข็ง จะพบปะและเจรจากับศัตรู" โอบามากล่าวในระหว่างโต้วาทีเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม ปีที่แล้ว และว่า "เราไม่ควรกลัวที่จะทำเช่นนั้น ในเมื่อเราได้พยายามใช้วิธีการอื่นแล้วแต่มันไม่ได้ผล"
**จีน**
แมคเคนจะยังคงกดดันจีนให้ปรับปรุงในเรื่องสิทธิมนุษยชน แต่จะขยายความสัมพันธ์ระหว่างจีน-สหรัฐฯ ต่อไป
ส่วนโอบามาบอกว่า ในฐานะประธานาธิบดีเขามีเครื่องมือต่อรองเพื่อกดดันจีนให้หยุดแทรกแซงค่าเงิน นั่นก็คือ เขาจะขู่จีนว่าจะจำกัดการนำเข้าสินค้าจีนในตลาดสหรัฐฯ
**เกาหลีเหนือ**
แมคเคนกล่าวว่าขณะนี้ยังไม่ชัดเจนว่าเกาหลีเหนือนั้นจะยินยอมยกเลิกโครงการนิวเคลียร์ และให้ข้อมูลทั้งหมดเกี่ยวกับวัตถุดิบและอุปกรณ์นิวเคลียร์ของตนตามที่ตกลงไว้จริงหรือไม่ เขาบอกว่าประเด็นการเจรจากับโสมแดงในอนาคตจะมีทั้งเรื่องโครงการจรวดขีปนาวุธของเกาหลีเหนือ การลักพาตัวชาวญี่ปุ่น รวมทั้งการสนับสนุนการก่อการร้าย และการแพร่กระจายอาวุธอานุภาพทำลายร้ายแรง
ส่วนโอบามาจะเรียกร้องให้มี "ความร่วมมือระดับระหว่างประเทศ" ในการรับมือกับโครงการอาวุธนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือ และกล่าวว่าเขาสนับสนุน "การทูตแบบยั่งยืน ตรงไปตรงมา และเป็นเชิงรุก" ในการรับมือกับประเด็นนิวเคลียร์
**รัสเซีย**
แมคเคนเป็นผู้ที่เคยวิพากษ์วิจารณ์วลาดิเมียร์ ปูติน ผู้นำรัสเซีย และกล่าวหารัสเซียว่า พยายามเข้ายึดครองดินแดนบางส่วนของจอร์เจียหลังจากที่ปูตินได้สั่งการให้รัฐบาลสร้างสายสัมพันธ์ใกล้ชิดกับกลุ่มแบ่งแยกดินแดนในเขตอับคาเซียและโอสเซเทียใต้ของจอร์เจีย
แต่โอบามาบอกว่า รัสเซียไม่ใช่ทั้งศัตรูและพันธมิตรใกล้ชิด สหรัฐฯ จึงไม่ควรหลบเลี่ยงการกดดันให้รัสเซียมีประชาธิปไตย ความโปร่งใส และมีความรับผิดชอบให้มากขึ้นกว่าเดิม และเขาเห็นว่าสหรัฐฯ ควรร่วมมือกับรัสเซียในการสร้างความมั่นคงทางด้านอาวุธและวัสดุนิวเคลียร์ด้วย