ผู้จัดการรายวัน – ยัมฯปลื้มครึ่งปีแรกยอดขายโตรวม 16% เผยแบรนด์เคเอฟซีโตกระฉูด โดยเฉพาะช่องทางดีลิเวอรี่พุ่งถึง 27% วางเป้าหมายสัดส่วนรายได้จากดีลิเวอรี่ 20% รับยุคน้ำมันแพงคนสั่งซื้อผ่านดีลิเวอรี่มากขึ้น เล็งเปิดตัวเมนูมากขึ้นรับดีลิเวอรี่ ยันยังไม่ปรับราคา พร้อมเปิดบริการถึง ตี 2 รับเทศกาลดูบอลยูโร ครึ่งปีหลังอัดงบลงทุนและตลาดอีกกว่า 600 ล้านบาท
นายศรัณย์ สมุทรโคจร กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ยัม เรสเทอรองตส์ อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผย่า ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2551 นี้ ผลประกอบการโดยรวมของยัม เติบโตขึ้น 16% โดยในส่วนของเคเอฟซี มียอดขายเติบโต 16% เช่นกัน โดยมาจากสาขาเก่า 7% และมาจากสาขาใหม่ 10% ซึ่งตั้งแต่ต้นปีเปิดเคเอฟซีแล้ว 19 สาขา และจากนี้จะเปิดอีก มากกว่า 20 สาขา
ขณะที่ การเติบโตของธุรกิจดีลิเวอรี่หรือจัดส่งถึงบ้านนั้นมีมากประมาณ 27% ส่วนในต่างจังหวัดโตถึง 50% เนื่องจากสถานการณ์ราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นตลอดส่งผลต่อพฤติกรรมผู้บริโภคที่สั่งอาหารดีลิเวอรี่มากขึ้น ส่วนปริมาณความถี่ของลูกค้าในการเข้ารับประทานในร้านนั้นกลับลดน้อยลงจากเดิม 3 เดือนประมาณ 5 ครั้ง โดยค่าใช้จ่ายต่อบิลของดีลิเวอรี่สูงกว่าด้วยเฉลี่ย 300 บาทต่อบิล ส่วนค่าใช้จ่ายในการทานในร้านอยู่ที่ 130 บาทต่อบิล ส่งผลให้สัดส่วนรายได้ที่มาจากดีลิเวอรี่ขณะนี้อยู่ที่ 15% แล้ว และมีเป้าหมายที่จะไปให้ได้ถึง 20% ขณะที่สัดส่วนรายได้จากนั่งทานในร้านจะทำให้อยู่ที่ 80% ในอนาคต นอกจากนั้นแล้วการเติบโตยังมาจากลูกค้าเก่าๆเป็นหลัก
นายศรัณย์กล่าวต่อถึงสถานการณ์ต้นทุนการผลิตที่ปรับตัวสูงขึ้นจากราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นว่า ขณะนี้บริษัทฯยังไม่มีนโยบายในการปรับราคา เพราะยังสามารถรับภาระได้อยู่ ซึ่งหากปรับราคาตอนนี้อาจจะส่งผลกระทบต่อผู้บริโภคได้ ซึ่งเคเอฟซีเคยปรับราคาล่าสุดเมื่อปลายปีที่แล้วประมาณ 3% ขณะที่พิซซ่าฮัทปรับราคาล่าสุดเมื่อเดือนมีนาคมปีนี้ประมาณ 3%
“ในส่วนของเรื่องการบริการดีลิเวอรี่หรือจัดส่งถึงบ้านนั้น เราจะไม่มีการปรับราคาขึ้นแน่นอน ค่าบริการจัดส่งยังอยู่ที่ 20 บาทต่อออร์เดอร์เหมือนเดิม อีกทั้งยังเพิ่มบริการดีลิเวอรี่จากเดิมถึงเที่ยงคืน เป็นถึงตี 2 ในช่วงการแข่งขันฟุตบอลยูโรอีกด้วย เพื่อรองรับผู้ที่ชมฟุตบอลในช่วงกลางคืน” นายศรัณย์กล่าว
ทั้งนี้บริษัทฯได้เน้นการปรับระบบการทำงานภายในให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อลดต้นทุน ส่วนปัจจัยภายนอกที่ควบคุมไม่ได้เช่น ราคาน้ำมันก็จะเป็นตัวแปรสำคัญ ซึ่งถ้าบริษัทฯยังแบกรับภาระได้ก็จะรับต่อไป แต่ถ้าหากราคาน้ำมันปรับตัวสูงถึง 50-60 บาทต่อลิตรแล้วคงจะต้องกลับมาพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง
สำหรับกลยุทธ์การตลาดจากนี้ เคเอฟซีจะพยายามที่ทำเมนูหรือจัดชุดอาหาร ที่ออกมาใหม่ให้สามารถทำจัดส่งได้มากขึ้นด้วย โดยเฉพาะเครื่องเคียงต่างๆ ซึ่งที่ผ่านมา เช่น เฟร้นช์ฟรายด์ นั้นไม่ค่อยนิยมทำดีลิเวอรี่เพราะจะไม่สด และจะมีการพัฒนาเมนูใหม่ๆตลอด ซึ่งล่าสุด ข้าวผัดไก่ทอด ก็ได้รับการตอบรับที่ดีก็จะบรรจุเป็นเมนูถาวร
สำหรับงบประมาณการลงทุนเปิดสาขาใหม่ในครึ่งปีหลังนี้ จะใช้รวมกันประมาณ 400 ล้านบาท เปิดเคเอฟซีอีกประมาณ 20 สาขา และร้านพิซซ่าฮัทอีกประมาณ 10 สาขา จากครึ่งปีแรกเปิดเพียง 2 สาขาเท่านั้น ส่วนงบการตลาดนั้น เคเอฟซีจะใช้ประมาณ 150 ล้านบาท ส่วนพิซซ่าฮัทใช้ประมาณ 45 ล้านบาท ซึ่งรวมแล้วทั้งปีทั้งสองแบรนด์ลงทุนรวมกันกว่า 1,200 ล้านบาท (แบ่งเป็นยัม 70% และเครือเซ็นทรัล 30%)
โดยแนวทางการขยายสาขาใหม่ๆของเคเอฟซีนั้น จะเจาะเข้าไปตามต่างจังหวัดมากขึ้นในระดับลงรากลึกถึงตัวอำเภอ ซึ่งปัจจุบันมีรวมมากกว่า 327 สาขาแล้วครอบคลุมมากกว่า 60 จังหวัด ส่วนพิซซ่าฮัทนั้นมีประมาณ 78 สาขา
นายศรัณย์ สมุทรโคจร กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ยัม เรสเทอรองตส์ อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผย่า ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2551 นี้ ผลประกอบการโดยรวมของยัม เติบโตขึ้น 16% โดยในส่วนของเคเอฟซี มียอดขายเติบโต 16% เช่นกัน โดยมาจากสาขาเก่า 7% และมาจากสาขาใหม่ 10% ซึ่งตั้งแต่ต้นปีเปิดเคเอฟซีแล้ว 19 สาขา และจากนี้จะเปิดอีก มากกว่า 20 สาขา
ขณะที่ การเติบโตของธุรกิจดีลิเวอรี่หรือจัดส่งถึงบ้านนั้นมีมากประมาณ 27% ส่วนในต่างจังหวัดโตถึง 50% เนื่องจากสถานการณ์ราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นตลอดส่งผลต่อพฤติกรรมผู้บริโภคที่สั่งอาหารดีลิเวอรี่มากขึ้น ส่วนปริมาณความถี่ของลูกค้าในการเข้ารับประทานในร้านนั้นกลับลดน้อยลงจากเดิม 3 เดือนประมาณ 5 ครั้ง โดยค่าใช้จ่ายต่อบิลของดีลิเวอรี่สูงกว่าด้วยเฉลี่ย 300 บาทต่อบิล ส่วนค่าใช้จ่ายในการทานในร้านอยู่ที่ 130 บาทต่อบิล ส่งผลให้สัดส่วนรายได้ที่มาจากดีลิเวอรี่ขณะนี้อยู่ที่ 15% แล้ว และมีเป้าหมายที่จะไปให้ได้ถึง 20% ขณะที่สัดส่วนรายได้จากนั่งทานในร้านจะทำให้อยู่ที่ 80% ในอนาคต นอกจากนั้นแล้วการเติบโตยังมาจากลูกค้าเก่าๆเป็นหลัก
นายศรัณย์กล่าวต่อถึงสถานการณ์ต้นทุนการผลิตที่ปรับตัวสูงขึ้นจากราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นว่า ขณะนี้บริษัทฯยังไม่มีนโยบายในการปรับราคา เพราะยังสามารถรับภาระได้อยู่ ซึ่งหากปรับราคาตอนนี้อาจจะส่งผลกระทบต่อผู้บริโภคได้ ซึ่งเคเอฟซีเคยปรับราคาล่าสุดเมื่อปลายปีที่แล้วประมาณ 3% ขณะที่พิซซ่าฮัทปรับราคาล่าสุดเมื่อเดือนมีนาคมปีนี้ประมาณ 3%
“ในส่วนของเรื่องการบริการดีลิเวอรี่หรือจัดส่งถึงบ้านนั้น เราจะไม่มีการปรับราคาขึ้นแน่นอน ค่าบริการจัดส่งยังอยู่ที่ 20 บาทต่อออร์เดอร์เหมือนเดิม อีกทั้งยังเพิ่มบริการดีลิเวอรี่จากเดิมถึงเที่ยงคืน เป็นถึงตี 2 ในช่วงการแข่งขันฟุตบอลยูโรอีกด้วย เพื่อรองรับผู้ที่ชมฟุตบอลในช่วงกลางคืน” นายศรัณย์กล่าว
ทั้งนี้บริษัทฯได้เน้นการปรับระบบการทำงานภายในให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อลดต้นทุน ส่วนปัจจัยภายนอกที่ควบคุมไม่ได้เช่น ราคาน้ำมันก็จะเป็นตัวแปรสำคัญ ซึ่งถ้าบริษัทฯยังแบกรับภาระได้ก็จะรับต่อไป แต่ถ้าหากราคาน้ำมันปรับตัวสูงถึง 50-60 บาทต่อลิตรแล้วคงจะต้องกลับมาพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง
สำหรับกลยุทธ์การตลาดจากนี้ เคเอฟซีจะพยายามที่ทำเมนูหรือจัดชุดอาหาร ที่ออกมาใหม่ให้สามารถทำจัดส่งได้มากขึ้นด้วย โดยเฉพาะเครื่องเคียงต่างๆ ซึ่งที่ผ่านมา เช่น เฟร้นช์ฟรายด์ นั้นไม่ค่อยนิยมทำดีลิเวอรี่เพราะจะไม่สด และจะมีการพัฒนาเมนูใหม่ๆตลอด ซึ่งล่าสุด ข้าวผัดไก่ทอด ก็ได้รับการตอบรับที่ดีก็จะบรรจุเป็นเมนูถาวร
สำหรับงบประมาณการลงทุนเปิดสาขาใหม่ในครึ่งปีหลังนี้ จะใช้รวมกันประมาณ 400 ล้านบาท เปิดเคเอฟซีอีกประมาณ 20 สาขา และร้านพิซซ่าฮัทอีกประมาณ 10 สาขา จากครึ่งปีแรกเปิดเพียง 2 สาขาเท่านั้น ส่วนงบการตลาดนั้น เคเอฟซีจะใช้ประมาณ 150 ล้านบาท ส่วนพิซซ่าฮัทใช้ประมาณ 45 ล้านบาท ซึ่งรวมแล้วทั้งปีทั้งสองแบรนด์ลงทุนรวมกันกว่า 1,200 ล้านบาท (แบ่งเป็นยัม 70% และเครือเซ็นทรัล 30%)
โดยแนวทางการขยายสาขาใหม่ๆของเคเอฟซีนั้น จะเจาะเข้าไปตามต่างจังหวัดมากขึ้นในระดับลงรากลึกถึงตัวอำเภอ ซึ่งปัจจุบันมีรวมมากกว่า 327 สาขาแล้วครอบคลุมมากกว่า 60 จังหวัด ส่วนพิซซ่าฮัทนั้นมีประมาณ 78 สาขา