การพนันกันในออฟฟิศว่าเอเอฟสัปดาห์นี้ใครจะต้องเก็บกระเป๋ากลับบ้าน หรือทีมไหนจะได้เป็นแชมป์ฟุตบอลยูโร อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพและหัวใจของคุณ
นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแอริโซนา สหรัฐฯ ทำการทดลองสี่แบบกับนักศึกษา 850 คน และพบว่าการพนันแท้จริงแล้วทำให้ระดับความสนุกของกิจกรรมนั้นลดลง ซ้ำทำให้ผู้เกี่ยวข้องเครียด
ในการศึกษาที่ตีพิมพ์อยู่ในเจอร์นัล ออฟ คอนซูเมอร์ รีเสิร์ช นาโอมิ แมนเดล และสตีเฟน เอ็ม. โนว์ลิส ได้ข้อสรุปว่าไม่มีใครอยากเป็นคนทายผิด โดยเฉพาะต่อหน้าเพื่อนร่วมงาน
“เมื่อคนๆ หนึ่งเดาผลลัพธ์ของเหตุการณ์บางอย่าง เท่ากับว่าคนๆ นั้นพาตัวเองไปสู่ความเป็นไปได้ที่จะถูกมองว่าเป็นคนโง่ ในทางกลับกัน ความกลัวว่าจะแพ้ หรือการตีตนก่อนไข้ อาจทำให้รู้สึกแย่กว่าการแพ้จริงๆ เสียอีก
“คนที่กังวลว่าจะแพ้พนันมักทำให้การเดิมพันกร่อยลงในความรู้สึกของตัวเอง”
แมนเดลและโนว์ลิสเริ่มต้นโครงการทดลองหลังจากตกอยู่ในสถานการณ์การพนันในออฟฟิศจากเกมโชว์ ‘เซอร์ไวเวอร์’ ของซีบีเอส และสังเกตว่าเพื่อนร่วมงานเครียดมากขึ้นหลังจากเริ่มทายว่าจะเกิดอะไรขึ้นในรายการ
ดังนั้น ทั้งคู่จึงออกแบบการทดลองขึ้นมาสี่แบบ โดยขอให้อาสาสมัครทายหรือไม่ทายผลของเกมโชว์ ซึ่งพบว่าอาสาสมัครคิดว่าการทายผลจะทำให้ประสบการณ์ในการรับชมรายการดังกล่าวมีสีสันมากขึ้น แต่เอาเข้าจริงผลกลับเป็นตรงกันข้าม
“ในการศึกษาวงกว้าง เราพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีความสนุกสนานและความสุขน้อยลง”
นักวิจัยยังพบว่า การพ่ายแพ้หรือชนะเดิมพันในตอนจบไม่มีความสำคัญเลย กล่าวคืออาสาสมัครที่ทายถูกรู้สึกสนุกไม่มากไปกว่าอาสาสมัครที่ทายผิด
นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแอริโซนา สหรัฐฯ ทำการทดลองสี่แบบกับนักศึกษา 850 คน และพบว่าการพนันแท้จริงแล้วทำให้ระดับความสนุกของกิจกรรมนั้นลดลง ซ้ำทำให้ผู้เกี่ยวข้องเครียด
ในการศึกษาที่ตีพิมพ์อยู่ในเจอร์นัล ออฟ คอนซูเมอร์ รีเสิร์ช นาโอมิ แมนเดล และสตีเฟน เอ็ม. โนว์ลิส ได้ข้อสรุปว่าไม่มีใครอยากเป็นคนทายผิด โดยเฉพาะต่อหน้าเพื่อนร่วมงาน
“เมื่อคนๆ หนึ่งเดาผลลัพธ์ของเหตุการณ์บางอย่าง เท่ากับว่าคนๆ นั้นพาตัวเองไปสู่ความเป็นไปได้ที่จะถูกมองว่าเป็นคนโง่ ในทางกลับกัน ความกลัวว่าจะแพ้ หรือการตีตนก่อนไข้ อาจทำให้รู้สึกแย่กว่าการแพ้จริงๆ เสียอีก
“คนที่กังวลว่าจะแพ้พนันมักทำให้การเดิมพันกร่อยลงในความรู้สึกของตัวเอง”
แมนเดลและโนว์ลิสเริ่มต้นโครงการทดลองหลังจากตกอยู่ในสถานการณ์การพนันในออฟฟิศจากเกมโชว์ ‘เซอร์ไวเวอร์’ ของซีบีเอส และสังเกตว่าเพื่อนร่วมงานเครียดมากขึ้นหลังจากเริ่มทายว่าจะเกิดอะไรขึ้นในรายการ
ดังนั้น ทั้งคู่จึงออกแบบการทดลองขึ้นมาสี่แบบ โดยขอให้อาสาสมัครทายหรือไม่ทายผลของเกมโชว์ ซึ่งพบว่าอาสาสมัครคิดว่าการทายผลจะทำให้ประสบการณ์ในการรับชมรายการดังกล่าวมีสีสันมากขึ้น แต่เอาเข้าจริงผลกลับเป็นตรงกันข้าม
“ในการศึกษาวงกว้าง เราพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีความสนุกสนานและความสุขน้อยลง”
นักวิจัยยังพบว่า การพ่ายแพ้หรือชนะเดิมพันในตอนจบไม่มีความสำคัญเลย กล่าวคืออาสาสมัครที่ทายถูกรู้สึกสนุกไม่มากไปกว่าอาสาสมัครที่ทายผิด