รอยเตอร์/เอเอฟพี - ที่ประชุมนานาชาติจาก 111 ประเทศ ตกลงกันเมื่อวันพุธ(28) รับรองร่างสนธิสัญญาห้ามใช้ "ระเบิดพวง"ทั่วโลก โดยมีอังกฤษนำร่องเป็นประเทศแรก ให้คำมั่นเลิกใช้อาวุธขนาดเล็กที่ทำร้ายพลเรือนไปมากมาย ทว่าก็ไร้เงาผู้แทนของสหรัฐฯ ตลอดจนประเทศที่มีอาวุธชนิดนี้เป็นจำนวนมากๆ เข้าร่วมประชุมด้วย
นักการทูตและกลุ่มเคลื่อนไหวต่างๆ บอกว่าเนื้อหาในร่างสนธิสัญญาห้ามใช้ระเบิดพวงทุกประเภท จัดทำขึ้นจากการสรุปบทเรียนของสนธิสัญญาห้ามวางกับระเบิดใต้ดินปี 1997 โดยในวันนี้(30) จะมีการเสนอร่างสนธิสัญญาต่อที่ประชุมใหญ่ และคาดว่าจะมีการลงนามในสนธิสัญญาดังกล่าวที่กรุงออสโลในเดือนธันวาคมนี้ หากไม่มีข้อคัดค้านใดๆ มาชะลอกระบวนการอีก
ระเบิดพวง (cluster bomb) เป็นอาวุธระเบิดที่แตกตัวกลางอากาศและส่งทุ่นระเบิดขนาดย่อมๆ กระจัดกระจายไปตกในพื้นที่เป็นวงกว้าง ทุ่นระเบิดเหล่านี้มักจะไม่ระเบิดในทันที แต่การที่ไปตกตามที่ต่างๆ ทำให้เกิดพื้นที่ซึ่งมีทุ่นระเบิดอันอาจจะคร่าชีวิตผู้ที่ถูกระเบิดเหล่านี้ในภายหลัง หรือไม่ก็ทำให้ได้รับบาดเจ็บ และส่วนใหญ่แล้วเหยื่อที่รับเคราะห์จะเป็นเด็กๆ ที่อยากรู้อยากเห็น
ทว่า สหรัฐฯ ให้ความเห็นว่าอาวุธดังกล่าวนั้นเป็น "อุปกรณ์ในทางการทหารที่สำคัญ" และแม้ว่าจะมีการร่างสนธิสัญญาดังกล่าวขึ้นมา สหรัฐฯ ก็จะขอคัดค้านการห้ามใช้
"ผมไม่คิดว่าสิ่งที่พูดกันในวันนี้ที่อังกฤษหรือที่อื่นๆ จะเปลี่ยนแปลงนโยบายดังกล่าวได้" ทอม เคซีย์ โฆษกกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ กล่าว
นอกจากสหรัฐฯแล้ว ประเทศอื่นๆ ที่เป็นผู้ผลิตและมีอาวุธชนิดนี้อยู่ในครอบครองเป็นจำนวนมากๆ อาทิ รัสเซีย, จีน, อินเดีย, อิสราเอล, และปากีสถาน ก็ไม่เข้าร่วมการประชุมคราวนี้เหมือนกัน
อย่างไรก็ตาม กลุ่มเคลื่อนไหวรณรงค์ พากันกล่าวหาสหรัฐฯ ว่ายังได้ใช้ความพยายามกดดันชาติพันธมิตรเช่นอังกฤษ แคนาดา ฝรั่งเศส เยอรมนี และออสเตรเลียให้พยายามลดทอนความหนักแน่นของสนธิสัญญา
จวบจนกระทั่ง เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา กอร์ดอน บราวน์ นายกรัฐมนตรีของอังกฤษ ได้ตัดสินใจเด็ดขาด สั่งห้ามทหารใช้ระเบิดพวง รวมทั้งสั่งการให้รัฐมนตรีกลาโหมทบทวนนโยบายเรื่องนี้ แม้ว่าฝ่ายทหารจะไม่สู้เต็มใจนักก็ตาม
"เพื่อที่จะรักษาไว้ซึ่งความสำคัญของการประชุมให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ในช่วงท้ายของการเจรจา เราได้เสนอแนะว่าเราควรสนับสนุนการห้ามใช้ระเบิดพวงทุกประเภท รวมทั้งชนิดที่อังกฤษใช้อยู่ปัจจุบันด้วย" บราวน์กล่าวเมื่อวันพุธ
และเมื่อวันศุกร์ที่แล้ว(23) ฝรั่งเศสก็ประกาศว่าจะยกเลิกการใช้ระเบิดพวงชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นชนิดที่มีอยู่ในคลังอาวุธระเบิดพวงของประเทศตนถึง 90 เปอร์เซ็นต์เช่นกัน
นักการทูตและกลุ่มเคลื่อนไหวต่างๆ บอกว่าเนื้อหาในร่างสนธิสัญญาห้ามใช้ระเบิดพวงทุกประเภท จัดทำขึ้นจากการสรุปบทเรียนของสนธิสัญญาห้ามวางกับระเบิดใต้ดินปี 1997 โดยในวันนี้(30) จะมีการเสนอร่างสนธิสัญญาต่อที่ประชุมใหญ่ และคาดว่าจะมีการลงนามในสนธิสัญญาดังกล่าวที่กรุงออสโลในเดือนธันวาคมนี้ หากไม่มีข้อคัดค้านใดๆ มาชะลอกระบวนการอีก
ระเบิดพวง (cluster bomb) เป็นอาวุธระเบิดที่แตกตัวกลางอากาศและส่งทุ่นระเบิดขนาดย่อมๆ กระจัดกระจายไปตกในพื้นที่เป็นวงกว้าง ทุ่นระเบิดเหล่านี้มักจะไม่ระเบิดในทันที แต่การที่ไปตกตามที่ต่างๆ ทำให้เกิดพื้นที่ซึ่งมีทุ่นระเบิดอันอาจจะคร่าชีวิตผู้ที่ถูกระเบิดเหล่านี้ในภายหลัง หรือไม่ก็ทำให้ได้รับบาดเจ็บ และส่วนใหญ่แล้วเหยื่อที่รับเคราะห์จะเป็นเด็กๆ ที่อยากรู้อยากเห็น
ทว่า สหรัฐฯ ให้ความเห็นว่าอาวุธดังกล่าวนั้นเป็น "อุปกรณ์ในทางการทหารที่สำคัญ" และแม้ว่าจะมีการร่างสนธิสัญญาดังกล่าวขึ้นมา สหรัฐฯ ก็จะขอคัดค้านการห้ามใช้
"ผมไม่คิดว่าสิ่งที่พูดกันในวันนี้ที่อังกฤษหรือที่อื่นๆ จะเปลี่ยนแปลงนโยบายดังกล่าวได้" ทอม เคซีย์ โฆษกกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ กล่าว
นอกจากสหรัฐฯแล้ว ประเทศอื่นๆ ที่เป็นผู้ผลิตและมีอาวุธชนิดนี้อยู่ในครอบครองเป็นจำนวนมากๆ อาทิ รัสเซีย, จีน, อินเดีย, อิสราเอล, และปากีสถาน ก็ไม่เข้าร่วมการประชุมคราวนี้เหมือนกัน
อย่างไรก็ตาม กลุ่มเคลื่อนไหวรณรงค์ พากันกล่าวหาสหรัฐฯ ว่ายังได้ใช้ความพยายามกดดันชาติพันธมิตรเช่นอังกฤษ แคนาดา ฝรั่งเศส เยอรมนี และออสเตรเลียให้พยายามลดทอนความหนักแน่นของสนธิสัญญา
จวบจนกระทั่ง เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา กอร์ดอน บราวน์ นายกรัฐมนตรีของอังกฤษ ได้ตัดสินใจเด็ดขาด สั่งห้ามทหารใช้ระเบิดพวง รวมทั้งสั่งการให้รัฐมนตรีกลาโหมทบทวนนโยบายเรื่องนี้ แม้ว่าฝ่ายทหารจะไม่สู้เต็มใจนักก็ตาม
"เพื่อที่จะรักษาไว้ซึ่งความสำคัญของการประชุมให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ในช่วงท้ายของการเจรจา เราได้เสนอแนะว่าเราควรสนับสนุนการห้ามใช้ระเบิดพวงทุกประเภท รวมทั้งชนิดที่อังกฤษใช้อยู่ปัจจุบันด้วย" บราวน์กล่าวเมื่อวันพุธ
และเมื่อวันศุกร์ที่แล้ว(23) ฝรั่งเศสก็ประกาศว่าจะยกเลิกการใช้ระเบิดพวงชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นชนิดที่มีอยู่ในคลังอาวุธระเบิดพวงของประเทศตนถึง 90 เปอร์เซ็นต์เช่นกัน