ผู้จัดการรายวัน - เคทีซี ชี้ชัดเอ็นพีแอลบัตรเครดิตเพิ่มขึ้นจากปัญหาเงินเฟ้อและการผ่อนชำระขั้นต่ำที่เพิ่มขึ้นจาก 5% เป็น 10% กดความสามารถในการผ่อนชำระ ชี้ภาพรวมตลาดบัตรเครดิตปีนี้ไม่โต เพราะคนรายได้เข้าเกณฑ์15,000 บาทต่อเดือนไม่เพิ่ม หันเจาะกลุ่มลูกค้าพรีเมี่ยมมั่นใจมาถูกทาง
นายนิวัตต์ จิตตาลาน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทบัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ เคทีซี เปิดเผยว่า แนวโน้มหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ของตลาดบัตรเครดิตที่เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน โดยปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 6% นั้น เป็นผลมาจากอัตราเงินเฟ้อที่ได้มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากปัญหาราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นและทำให้อัตราเงินเฟ้อขยับขึ้นไปที่ 6% รวมถึงค่าครองชีพที่สูงขึ้นทำให้ผู้ถือบัตรไม่สามารถที่จะแบกรับภาระค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นได้
นอกจากนี้ ยังมาจากการที่ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ทำการปรับเกณฑ์การชำระขั้นต่ำจาก 5% มาเป็น 10% ทำให้ผู้ถือบัตรต้องจ่ายชำระหนี้เพิ่มขึ้นเท่าตัว จึงทำให้ความสามารถในการชำระหนี้ลดลง และก่อให้เกิดเป็นเอ็นพีแอลตามมา สำหรับยอดเอ็นพีแอลของเคทีซี ในขณะนี้ได้ปรับตัวขึ้นมาเล็กน้อย โดยมาจากกลุ่มคนที่ไม่สามารถชำระได้ ณ ปัจจุบันมีเอ็นพีแอล อยู่ที่ 1.5% ยอดของอัตราการผิดนัดชำระอยู่ที่ 3.3-3.4%
สำหรับภาพรวมตลาดบัตรเครดิตในปีนี้มองว่าจะไม่มีการเติบโตเนื่องจากตลาดดังกล่าวไม่ได้มีการเติบโตมานานแล้ว โดยฐานบัตรเครดิตรวมทั้งตลาดน่าจะอยู่ที่ประมาณ 12 ล้านบัตร ซึ่งผู้ถือบัตร 1 ราย จะถือบัตรเครดิตประมาณ 3-4 บัตร ทำให้ในตลาดมีผู้ที่ถือบัตรเครดิตจริง ๆ อยู่ประมาณ 3 ล้านรายเท่านั้น เนื่องจากการเติบโตของผู้ที่มีรายได้ขั้นต่ำ 15,000 บาทต่อเดือนที่จะสามารถทำบัตรเครดิตได้นั้นไม่ได้มีการขยายตัว ส่วนการเติบโตของยอดการใช้จ่ายผ่านบัตรในปัจจุบันนั้นมาจากลูกค้าในกลุ่มพรีเมี่ยมซึ่งเป็นกลุ่มที่มีรายได้สูง
นายนิวัตต์ กล่าวว่า จากที่ทางบริษัทได้ประเมินภาพรวมของตลาดในช่วงที่ผ่านมา ทำให้บริษัทได้ปรับเปลี่ยนแนวทางการทำตลาดบัตรเครดิต โดยจะไปเน้นลูกค้าในระดับพรีเมี่ยมหรือเป็นกลุ่มลูกค้าที่ถือบัตรทอง ไทเทเนี่ยมและแพลตินัมแทน เนื่องจากกลุ่มดังกล่าวมียอดการใช้จ่ายผ่านบัตรเฉลี่ยเดือนละประมาณ 12,000 บาท และเป็นกลุ่มที่จะชำระหนี้แบบเต็มจำนวนทำให้ไม่เป็นเอ็นพีแอล โดยปัจจุบันฐานบัตรเคทีซีมีอยู่ประมาณ 1.4 ล้านบัตร และเป็นผู้ถือบัตรในระดับพรีเมี่ยมประมาณ 60% และในสิ้นปีนี้คาดว่าจะเพิ่มเป็น 70%
ทั้งนี้ ลูกค้ากลุ่มพรีเมี่ยมยังเป็นกลุ่มที่สร้างรายได้ค่าธรรมเนียมให้กับบริษัทเป็นอย่างมาก เพราะทุกยอดใช้จ่ายที่ลูกค้าใช้จ่ายผ่านร้านค้า เคทีซีจะได้รับค่าธรรมเนียม1.85% ขณะที่ถ้าเป็นบัตรคลาสสิกธรรมดานั้นจะได้รับค่าธรรมเนียมอยู่ที่ 1.2% ดังนั้นการทำกลยุทธ์ทางการตลาดต่อจากนี้จึงจะมุ่งเน้นไปยังกลุ่มพรีเมี่ยมเป็นหลัก ส่วนกลุ่มลูกค้าอื่น ๆ จะยังไม่เน้นกระตุ้นมากนักเพราะหากกระตุ้นให้มีการใช้จ่ายแล้วอาจจะส่งผลต่อความสามารถในการชำระหนี้ได้
"เราได้เน้นการทำโปรโมชั่นให้กับกลุ่มพรีเมี่ยมตั้งแต่เมื่อปลายปีที่ผ่านมา ซึ่งถือว่าได้เดินมาถูกทาง โดยลูกค้ากลุ่มมักจะใช้จ่ายไปกับการท่องเที่ยว ซึ่งถือว่าเป็นทิศทางที่มีการเติบโตได้ดี สังเกตได้จากยอดใช้จ่ายด้านการท่องเที่ยว การเดินทางในอดีตเคยอยู่อันดับที่30 จากประเภทบัตรที่มีอยู่ทั้งสิ้น 33 แบบ โดยในขณะนี้ได้ปรับตัวขึ้นมาอยู่อันดับที่ 7 แล้ว ส่วนอันดับต้นยังคงเป็นเรื่องของน้ำมันซึ่งค่าธรรมเนียมที่เคทีซีจะได้รับอยู่ที่0.8% เท่านั้น ซึ่งน้อยกว่าที่ได้รับจากการใช้จ่ายด้านท่องเที่ยวของกลุ่มพรีเมี่ยมที่อยู่ที่ 1.85%"
นายนิวัตต์ กล่าวว่า สำหรับกรณีที่มาสเตอร์การ์ดได้ปรับค่าธรรมเนียมบัตรเครดิตสำหรับลูกค้าชาวต่างชาติที่มาใช้จ่ายในประเทศไทย จาก 0.2% มาเป็น 0.4%ของยอดการใช้จ่ายและในเดือนก.คนี้วีซ่า ก็จะปรับขึ้นค่าธรรมเนียมดังกล่าวมาอยู่ที่ 0.4% เหมือนกัน และทางชมรมธุรกิจบัตรเครดิตได้ออกมาแสดงความคิดเห็นว่าไม่เห็นด้วยนั้นถือว่าเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง เพราะที่ผ่านมาทางสมาคมได้ทำการหารือกับสมาชิกเพียงไม่กี่รายเท่านั้น และการต่อต้านดังกล่าวนั้นถือว่าเป็นการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ.2542 ซึ่งในสหรัฐอเมริการให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มาก ในส่วนของเคทีซีนั้นได้สั่งห้ามให้ผู้บริหารหรือพนักงานเข้าร่วมประชุมในเรื่องนี้
อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาธุรกิจบัตรเครดิตได้มีการแข่งขันกันมาก โดยไม่ดูต้นทุน พอมีต้นทุนค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น ก็จะไปห้าม หรือ กีดกันไม่ให้ต่างชาติมาใช้จ่ายผ่านบัตรในไทย ถือว่าเป็นเรื่องที่ร้ายแรงมาก ซึ่งเม็ดเงินจากการท่องเที่ยวที่ต่างชาตินำมาใช้จ่ายในเมืองไทยมีมูลค่ามหาศาลหลายแสนล้านบาท และกระจายไปยังทุกกลุ่มและเม็ดเงินถึงท้องถิ่นจริง ๆ หากไปกีดกันต่างชาติโดยไม่รับบัตรเครดิตของต่างชาติด้วยเหตุผลที่มีต้นทุนจากวีซ่าและมาสเตอร์การ์ดเพิ่มนั้นถือว่าผิด
นายนิวัตต์ จิตตาลาน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทบัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ เคทีซี เปิดเผยว่า แนวโน้มหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ของตลาดบัตรเครดิตที่เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน โดยปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 6% นั้น เป็นผลมาจากอัตราเงินเฟ้อที่ได้มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากปัญหาราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นและทำให้อัตราเงินเฟ้อขยับขึ้นไปที่ 6% รวมถึงค่าครองชีพที่สูงขึ้นทำให้ผู้ถือบัตรไม่สามารถที่จะแบกรับภาระค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นได้
นอกจากนี้ ยังมาจากการที่ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ทำการปรับเกณฑ์การชำระขั้นต่ำจาก 5% มาเป็น 10% ทำให้ผู้ถือบัตรต้องจ่ายชำระหนี้เพิ่มขึ้นเท่าตัว จึงทำให้ความสามารถในการชำระหนี้ลดลง และก่อให้เกิดเป็นเอ็นพีแอลตามมา สำหรับยอดเอ็นพีแอลของเคทีซี ในขณะนี้ได้ปรับตัวขึ้นมาเล็กน้อย โดยมาจากกลุ่มคนที่ไม่สามารถชำระได้ ณ ปัจจุบันมีเอ็นพีแอล อยู่ที่ 1.5% ยอดของอัตราการผิดนัดชำระอยู่ที่ 3.3-3.4%
สำหรับภาพรวมตลาดบัตรเครดิตในปีนี้มองว่าจะไม่มีการเติบโตเนื่องจากตลาดดังกล่าวไม่ได้มีการเติบโตมานานแล้ว โดยฐานบัตรเครดิตรวมทั้งตลาดน่าจะอยู่ที่ประมาณ 12 ล้านบัตร ซึ่งผู้ถือบัตร 1 ราย จะถือบัตรเครดิตประมาณ 3-4 บัตร ทำให้ในตลาดมีผู้ที่ถือบัตรเครดิตจริง ๆ อยู่ประมาณ 3 ล้านรายเท่านั้น เนื่องจากการเติบโตของผู้ที่มีรายได้ขั้นต่ำ 15,000 บาทต่อเดือนที่จะสามารถทำบัตรเครดิตได้นั้นไม่ได้มีการขยายตัว ส่วนการเติบโตของยอดการใช้จ่ายผ่านบัตรในปัจจุบันนั้นมาจากลูกค้าในกลุ่มพรีเมี่ยมซึ่งเป็นกลุ่มที่มีรายได้สูง
นายนิวัตต์ กล่าวว่า จากที่ทางบริษัทได้ประเมินภาพรวมของตลาดในช่วงที่ผ่านมา ทำให้บริษัทได้ปรับเปลี่ยนแนวทางการทำตลาดบัตรเครดิต โดยจะไปเน้นลูกค้าในระดับพรีเมี่ยมหรือเป็นกลุ่มลูกค้าที่ถือบัตรทอง ไทเทเนี่ยมและแพลตินัมแทน เนื่องจากกลุ่มดังกล่าวมียอดการใช้จ่ายผ่านบัตรเฉลี่ยเดือนละประมาณ 12,000 บาท และเป็นกลุ่มที่จะชำระหนี้แบบเต็มจำนวนทำให้ไม่เป็นเอ็นพีแอล โดยปัจจุบันฐานบัตรเคทีซีมีอยู่ประมาณ 1.4 ล้านบัตร และเป็นผู้ถือบัตรในระดับพรีเมี่ยมประมาณ 60% และในสิ้นปีนี้คาดว่าจะเพิ่มเป็น 70%
ทั้งนี้ ลูกค้ากลุ่มพรีเมี่ยมยังเป็นกลุ่มที่สร้างรายได้ค่าธรรมเนียมให้กับบริษัทเป็นอย่างมาก เพราะทุกยอดใช้จ่ายที่ลูกค้าใช้จ่ายผ่านร้านค้า เคทีซีจะได้รับค่าธรรมเนียม1.85% ขณะที่ถ้าเป็นบัตรคลาสสิกธรรมดานั้นจะได้รับค่าธรรมเนียมอยู่ที่ 1.2% ดังนั้นการทำกลยุทธ์ทางการตลาดต่อจากนี้จึงจะมุ่งเน้นไปยังกลุ่มพรีเมี่ยมเป็นหลัก ส่วนกลุ่มลูกค้าอื่น ๆ จะยังไม่เน้นกระตุ้นมากนักเพราะหากกระตุ้นให้มีการใช้จ่ายแล้วอาจจะส่งผลต่อความสามารถในการชำระหนี้ได้
"เราได้เน้นการทำโปรโมชั่นให้กับกลุ่มพรีเมี่ยมตั้งแต่เมื่อปลายปีที่ผ่านมา ซึ่งถือว่าได้เดินมาถูกทาง โดยลูกค้ากลุ่มมักจะใช้จ่ายไปกับการท่องเที่ยว ซึ่งถือว่าเป็นทิศทางที่มีการเติบโตได้ดี สังเกตได้จากยอดใช้จ่ายด้านการท่องเที่ยว การเดินทางในอดีตเคยอยู่อันดับที่30 จากประเภทบัตรที่มีอยู่ทั้งสิ้น 33 แบบ โดยในขณะนี้ได้ปรับตัวขึ้นมาอยู่อันดับที่ 7 แล้ว ส่วนอันดับต้นยังคงเป็นเรื่องของน้ำมันซึ่งค่าธรรมเนียมที่เคทีซีจะได้รับอยู่ที่0.8% เท่านั้น ซึ่งน้อยกว่าที่ได้รับจากการใช้จ่ายด้านท่องเที่ยวของกลุ่มพรีเมี่ยมที่อยู่ที่ 1.85%"
นายนิวัตต์ กล่าวว่า สำหรับกรณีที่มาสเตอร์การ์ดได้ปรับค่าธรรมเนียมบัตรเครดิตสำหรับลูกค้าชาวต่างชาติที่มาใช้จ่ายในประเทศไทย จาก 0.2% มาเป็น 0.4%ของยอดการใช้จ่ายและในเดือนก.คนี้วีซ่า ก็จะปรับขึ้นค่าธรรมเนียมดังกล่าวมาอยู่ที่ 0.4% เหมือนกัน และทางชมรมธุรกิจบัตรเครดิตได้ออกมาแสดงความคิดเห็นว่าไม่เห็นด้วยนั้นถือว่าเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง เพราะที่ผ่านมาทางสมาคมได้ทำการหารือกับสมาชิกเพียงไม่กี่รายเท่านั้น และการต่อต้านดังกล่าวนั้นถือว่าเป็นการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ.2542 ซึ่งในสหรัฐอเมริการให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มาก ในส่วนของเคทีซีนั้นได้สั่งห้ามให้ผู้บริหารหรือพนักงานเข้าร่วมประชุมในเรื่องนี้
อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาธุรกิจบัตรเครดิตได้มีการแข่งขันกันมาก โดยไม่ดูต้นทุน พอมีต้นทุนค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น ก็จะไปห้าม หรือ กีดกันไม่ให้ต่างชาติมาใช้จ่ายผ่านบัตรในไทย ถือว่าเป็นเรื่องที่ร้ายแรงมาก ซึ่งเม็ดเงินจากการท่องเที่ยวที่ต่างชาตินำมาใช้จ่ายในเมืองไทยมีมูลค่ามหาศาลหลายแสนล้านบาท และกระจายไปยังทุกกลุ่มและเม็ดเงินถึงท้องถิ่นจริง ๆ หากไปกีดกันต่างชาติโดยไม่รับบัตรเครดิตของต่างชาติด้วยเหตุผลที่มีต้นทุนจากวีซ่าและมาสเตอร์การ์ดเพิ่มนั้นถือว่าผิด