นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการปรับ ครม.ว่า เรื่องปรับ ครม.เป็นเรื่องที่ต้องแก้กันทีละท่อน เมื่อ นายสุธา ชันแสง ลาออกจากตำแหน่ง รมว.การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม..) ก็จะต้องหาคนมาแทน นายสุธา คนเดียว ส่วนนายไชยา สะสมทรัพย์ รมว.สาธารณสุข และนายวิรุฬ เตชะไพบูลย์ รมช.พาณิชย์ ที่มีปัญหาเรื่องการยื่นบัญชีทรัพย์สินหนี้สินต่อ ป.ป.ช. เขาประกาศจะสู้ให้ถึงชั้นศาล
“ผมก็ต้องมาดูว่าจะนานเท่าไหร่เรื่องของศาล จะตั้งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเสร็จเมื่อไหร่ คือถ้ายาวนานเกินไปผมก็ต้องจัดการไปเปลี่ยนคนเดียว แต่ถ้าหากว่าเร็วๆ นี้ ผมก็จะเปลี่ยนทั้ง 3 คนพร้อมกัน ถ้าเขาจะถอยออกไป แต่ก็ยังไม่ได้พูดจาคาดคั้นเขา เพราะเป็นสิทธิของเขา ถ้าเขาจะสู้ถึงศาล เขาอยากลองก็เท่านั้นเอง”
พปช.ปูดคนนอกนั่ง รมว.พม.
นายไพโรจน์ อิสระเสรีพงษ์ ส.ส.กทม. พรรคพลังประชาชน กล่าวว่า ตำแหน่ง รมว.การพัฒนาสังคมฯที่ว่าเป็นโควต้าของภาค กทม.พรรคพลังประชาชนอาจไม่ใช่แล้ว ตนทราบ่า หลังจากนายสุธา ลาออกจากตำแหน่งใหม่ๆ คณะกรรมการบริหารพรรคพลังประชาชนได้มีการประชุมกัน ซึ่งมีการถกเถียงกันในเรื่องดังกล่าวอย่างกว้างขวางว่า ใครจะมาดำรงตำแหน่งดังกล่าว โดยนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ได้ยืนยันในที่ประชุมว่า จะหาคนที่มีความรู้ความสามารถมาปรับภาพลักษณ์ของครม.ชุดนี้ โดยจะนำผู้เชี่ยวชาญในระดับดอกเตอร์หรือเป็นมืออาชีพมานั่งกระทรวงนี้ อาทิ อดีตผู้ว่าการเคหะแห่งชาติ เป็นต้น
ดังนั้น นายวิชาญ มีนชัยนันต์ ส.ส.กทม. พรรคพลังประชาชน ซึ่งเป็นตัวเก็งอันดับ 1 นั้น อาจจะไม่ได้ตำแหน่งดังกล่าวก็ได้ ซึ่งหากให้ตนเลือกระหว่างนายวิชาญกับบุคคลภายนอกที่มีความสามารถ ขอเลือกยืนอยู่ข้างนายสมัคร เพื่อกอบกู้ภาพลักษณ์ของพรรคพลังประชาชน
“ที่มีข่าวว่าคุณหญิงสุดารัตน์ (เกยุราพันธุ์ อดีตรองหัวหน้าพรรคไทยรักไทย) จัดสรรโควตาในตำแหน่งนี้นั้นก็อาจจะมีบ้าง แต่ผมไม่เชื่อเสียทีเดียว เท่าที่ทราบ โควตานี้ต้องมาจากสายของท่านสมัคร เพราะท่านจะมาควบคุมการคัดสรรด้วยตัวเอง ขณะนี้พรรคกำลังรอคำตอบจากบุคคลภายนอกอยู่”
โปรดเกล้าฯชัยนั่งปธ.สภา
ผู้สื่อข่างรายงานจากรัฐสภาว่า วานนี้ (15 พ.ค.) นางโฉมศรี อารยะศิริ รองเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สภาผู้แทนราษฎร ได้ผู้อันเชิญพระบรมราชโองการฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แต่งตั้งนายชัย ชิดชอบ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานสภาผู้แทนราษฎร ไปยังรัฐสภา โดยมีสมาชิกพรรคพลังประชาชน ร่วมรับพระบรมราชโองการฯจำนวนมาก ซึ่งส่วนใหญ่เป็น ส.ส.และรัฐมนตรีสายจากภาคอีสาน อาทิ นายทรงศักดิ์ ทองศรี รมช.คมนาคม นายสุพล ฟองงามรมช.มหาดไทย นายธีรชัย แสนแก้ว รมช.เกษตรฯ นอกจากนั้นยังมี พ.ต.ท.กานต์ เทียนแก้ว ส.ส.สัดส่วน นพ.ประสงค์ บูรณพงศ์ ส.ส.นครพนม พรรคพลังประชาชนเข้าร่วม
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในระหว่างที่นาย ชัย กำลังจะคุกเข่า เพื่อรับพระบรมราชโองการนั้น เกิดเซจนเกือบคะมำ และหลังเสร็จสิ้นพิธี นายชัยกำลังจะลุกขึ้น แต่นายชัยก็ลุกไม่ขึ้น แต่พยายามที่จะลุกให้ได้ จึงทำให้เซถลาไปข้างหน้า จนนาย นิสิต สินธุไพร ส.ส.ร้องเอ็ด พรรคพลังประชาชน ที่มาร่วมในพิธีด้วย รีบเข้าไปพยุงนายชัยให้ยืนขึ้นเป็นปกติ และเดินกลับไปห้องประชุมได้ ซึ่งในระหว่างที่เดินกลับห้องประชุมนั้น บรรดาสมาชิกพรรคพลังประชาชนก็กรูกันเข้าไปแสดงความยินดีกับนายชัยด้วย ทั้งนี้นายชัย ถือเป็นประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่ 24 และเป็นประธานรัฐสภาคนที่ 28
พปช.ลั่นเปิดวิสามัญแก้รธน.แน่
นายสุนัย จุลพงศธร ส.ส.ระบบสัดส่วน พรรคพลังประชาชน ในฐานะประธานคณะกรรมการประชาสัมพันธ์การแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 ของพรรคพลังประชาชน แถลงว่าการยื่นญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญคาดว่าจะไม่ทันในสัปดาห์นี้ โดยวิปรัฐบาลจะเสนอให้สภาเปิดประชุมสมัยวิสามัญ ในวันที่ 9-30 มิ.ย. เพื่อพิจารณากฎหมายที่ยังคงค้าง และงบประมาณปี 2552 รวมถึงจะพ่วงประเด็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญไปด้วย
“ยืนยันว่ารัฐบาลไม่ได้เร่งรีบในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ส่วนผลโหวตจะออกมาเป็นอย่างไรนั้นผมก็ไม่ได้กังวล เพราะเคยมีประวัติศาสตร์ในปี 2538 สมัยรัฐบาลของนายชวน หลีกภัย ที่โหวตแพ้ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาแล้ว นายชวนก็โยน ให้เป็นเรื่องของสภา”
ส่วนกรณีที่นายเสนาะ เทียนทอง หัวหน้าพรรคประชาราช ระบุว่า ไม่เห็นด้วยที่จะมีการเปิดประชุมสภาสมัยวิสามัญนั้น นายสุนัย กล่าวว่าไม่น่าจะมีปัญหาอะไร ขณะนี้พรรคร่วมรัฐบาลใจตรงกันหมด เพราะรัฐบาลมีภารกิจพิจารณางบประมาณ จึงต้องมีการเปิดสมัยวิสามัญอยู่แล้ว
ปชป.ติงไม่ควรจุดประเด็นให้วุ่นอีก
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร และหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงการที่นายชัย ชิดชอบ ประธานสภาฯ และส.ส.พรรคพลังประชาชน ประกาศจะเปิดประชุมสภาสมัยวิชาสามัญเพื่อพิจารณาญัตติการแก้ไขรัฐธรรมนูญว่า ถ้ามีการใช้สิทธิในการเสนอร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ก็ต้องปฏิบัติตามข้อบังคับและตามกฎหมาย แต่ขณะนี้ยังไม่มีการยื่นร่างแก้ไขโดย ส.ส. แต่เป็นการยื่นโดยประชาชน และอยู่ในขั้นตอนการตรวจสอบรายชื่อผู้มีสิทธิ
ทั้งนี้ ฝ่ายค้านต้องเตรียมดูร่างแก้ไขเพิ่มเติมที่ยื่นต่อสภาฯว่าทางออกขอประเทศที่ดีที่สุดคืออะไร และขอย้ำอีกครั้งว่าบรรยากาศทางการเมืองขณะนี้คลี่คลาย มาพอสมควรในวันที่รัฐบาลมีท่าทีเหมือนกับพักเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญไว้ก่อน ดังนั้น ถ้าทำให้บรรยากาศการเมืองคลี่คลายได้และปลดชนวนความขัดแย้งและเดินหน้าทำงาน ก็เชี่อว่าจะช่วยให้คลี่คลาย
ส.ว.เลือกตั้งพร้อมหนุนรัฐบาลแก้รธน.
นายเกชา ศักดิ์สมบูรณ์ ส.ว. ราชบุรี กล่าวว่า ตนยังไม่เห็นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญที่คณะกรรมการประชาชนเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ (คปพร.) ยื่นเข้าสู่รัฐสภา หากได้เห็นและพิจารณาเนื้อหาการแก้ไขแล้ว ตนและส.ว.เลือกตั้ง เกือบประมาณ 50 คนก็พร้อมจะร่วมยื่นญัตติขอแก้ไขรัฐธรรมนูญ
“เรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญเราเห็นด้วยอยู่แล้ว เพราะเป็นเรื่องที่พูดคุยกันมานานว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้มาจากเผด็จการ แต่ขณะนี้ยังไม่มีส.ส.ติดต่อมา และเรายังไม่ได้อ่านร่างรัฐธรรมนูญที่ยื่นแก้ไข แต่ถ้าได้อ่านและเห็นด้วย ก็จะพร้อมจะให้การสนับสนุน”
นายเกชา ยืนยันว่าหาก ตนและเพื่อนส.ส.พิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญแล้วและเห็นด้วย หาก ส.ส.มีปัญหาเรื่องคะแนนเสียงที่ต้องใช้ 315 เสียง เราก็พร้อมจะสนับสนุน
นปช.แปลงร่างเสนองดใช้รธน.50
วันเดียวกัน นพ. เชาวน์ อารมณ์ดี แกนนำแนวร่วมข้าราชการอาวุโสและพลเรือนเพื่อประชาธิปไตยให้ลูกหลานและคณะ ได้เดินทางมายื่นหนังสือผ่านนายสุนัย จุลพงศธร ส.ส.ระบบสัดส่วน พรรคพลังประชาชน ในฐานะประธานคณะกรรมการประชาสัมพันธ์การแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 ของพรรคพลังประชาชน ไปยังคณะรัฐมนตรี เพื่อขอให้รัฐบาลออกพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) งดใช้รัฐธรรมนูญ 2550 โดยให้นำรัฐธรรมนูญ ฉบับปี 2540 มาบังคับใช้ พร้อมกับออกบทเฉพาะกาลให้ส.ส.จำนวน 480 คน และส.ว.ที่มาจากการเลือกตั้ง 76 คน ยังคงทำหน้าที่ต่อไปเพื่อไม่ให้การบริหาร ด้านนิติบัญญัติเกิดความขัดข้อง
นพ.เชาวน์ ยืนยันว่ากลุ่มฯไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกลุ่มมหาประชาชนเพื่อพิทักษ์ประชาธิปไตย และไม่ใช่กลุ่มของหมออาวุโส เพราะหมออาวุโสไม่อภิวัฒน์ แต่กลุ่มของตนเป็นกลุ่มโลกาภิวัตน์
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เป็นที่น่าสังเกตว่า คณะติดตามกลุ่มแนวร่วมข้าราชการ อาวุโสฯนั้น ส่วนใหญ่เป็นคนกลุ่มเดียวกับแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.)
ประชาขนยื่นแก้ไขรธน.ส่อวืด
นาย ไพบูลย์ ซำศิริพงษ์ ส.ว.ปทุมธานี ประธานคณะกรรมาธิการการพัฒนากรเมือง และการมีส่วนร่วมของประชาชน พร้อมด้วยนายวรินทร์ เทียมจรัส ส.ว.สรรหา แถลงข่าวเรียกร้องให้รัฐบาลออกกฎหมายที่ส่งเสริมการพัฒนาการเมืองและการมีส่วนร่วมของประชาชน เช่นพ.ร.บ.ว่าด้วยการเข่าชื่อ เสนอกฎหมาย หรือการเข้าชื่อถอดถอนบุคคลออกจากตำแหน่ง ตามมาตรา 163, 164 และการออกเสียงประชามติตามมาตรา 165 เพราะกฎหมายเหล่านี้จะเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาการเมืองและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน ซึ่งเมื่อไม่มีกฎหมายดังกล่าว การเสนอรายชื่อ 5 หมื่นชื่อของ น.พ.เหวง โตจิราการ คณะกรรมการประชาชนเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 เพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ ก็ไม่สามารถทำได้ ดังนั้นรัฐบาลควรเร่งรัดการออกกฎหมายดังกล่าวโดยเร็ว
“ผมก็ต้องมาดูว่าจะนานเท่าไหร่เรื่องของศาล จะตั้งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเสร็จเมื่อไหร่ คือถ้ายาวนานเกินไปผมก็ต้องจัดการไปเปลี่ยนคนเดียว แต่ถ้าหากว่าเร็วๆ นี้ ผมก็จะเปลี่ยนทั้ง 3 คนพร้อมกัน ถ้าเขาจะถอยออกไป แต่ก็ยังไม่ได้พูดจาคาดคั้นเขา เพราะเป็นสิทธิของเขา ถ้าเขาจะสู้ถึงศาล เขาอยากลองก็เท่านั้นเอง”
พปช.ปูดคนนอกนั่ง รมว.พม.
นายไพโรจน์ อิสระเสรีพงษ์ ส.ส.กทม. พรรคพลังประชาชน กล่าวว่า ตำแหน่ง รมว.การพัฒนาสังคมฯที่ว่าเป็นโควต้าของภาค กทม.พรรคพลังประชาชนอาจไม่ใช่แล้ว ตนทราบ่า หลังจากนายสุธา ลาออกจากตำแหน่งใหม่ๆ คณะกรรมการบริหารพรรคพลังประชาชนได้มีการประชุมกัน ซึ่งมีการถกเถียงกันในเรื่องดังกล่าวอย่างกว้างขวางว่า ใครจะมาดำรงตำแหน่งดังกล่าว โดยนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ได้ยืนยันในที่ประชุมว่า จะหาคนที่มีความรู้ความสามารถมาปรับภาพลักษณ์ของครม.ชุดนี้ โดยจะนำผู้เชี่ยวชาญในระดับดอกเตอร์หรือเป็นมืออาชีพมานั่งกระทรวงนี้ อาทิ อดีตผู้ว่าการเคหะแห่งชาติ เป็นต้น
ดังนั้น นายวิชาญ มีนชัยนันต์ ส.ส.กทม. พรรคพลังประชาชน ซึ่งเป็นตัวเก็งอันดับ 1 นั้น อาจจะไม่ได้ตำแหน่งดังกล่าวก็ได้ ซึ่งหากให้ตนเลือกระหว่างนายวิชาญกับบุคคลภายนอกที่มีความสามารถ ขอเลือกยืนอยู่ข้างนายสมัคร เพื่อกอบกู้ภาพลักษณ์ของพรรคพลังประชาชน
“ที่มีข่าวว่าคุณหญิงสุดารัตน์ (เกยุราพันธุ์ อดีตรองหัวหน้าพรรคไทยรักไทย) จัดสรรโควตาในตำแหน่งนี้นั้นก็อาจจะมีบ้าง แต่ผมไม่เชื่อเสียทีเดียว เท่าที่ทราบ โควตานี้ต้องมาจากสายของท่านสมัคร เพราะท่านจะมาควบคุมการคัดสรรด้วยตัวเอง ขณะนี้พรรคกำลังรอคำตอบจากบุคคลภายนอกอยู่”
โปรดเกล้าฯชัยนั่งปธ.สภา
ผู้สื่อข่างรายงานจากรัฐสภาว่า วานนี้ (15 พ.ค.) นางโฉมศรี อารยะศิริ รองเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สภาผู้แทนราษฎร ได้ผู้อันเชิญพระบรมราชโองการฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แต่งตั้งนายชัย ชิดชอบ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานสภาผู้แทนราษฎร ไปยังรัฐสภา โดยมีสมาชิกพรรคพลังประชาชน ร่วมรับพระบรมราชโองการฯจำนวนมาก ซึ่งส่วนใหญ่เป็น ส.ส.และรัฐมนตรีสายจากภาคอีสาน อาทิ นายทรงศักดิ์ ทองศรี รมช.คมนาคม นายสุพล ฟองงามรมช.มหาดไทย นายธีรชัย แสนแก้ว รมช.เกษตรฯ นอกจากนั้นยังมี พ.ต.ท.กานต์ เทียนแก้ว ส.ส.สัดส่วน นพ.ประสงค์ บูรณพงศ์ ส.ส.นครพนม พรรคพลังประชาชนเข้าร่วม
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในระหว่างที่นาย ชัย กำลังจะคุกเข่า เพื่อรับพระบรมราชโองการนั้น เกิดเซจนเกือบคะมำ และหลังเสร็จสิ้นพิธี นายชัยกำลังจะลุกขึ้น แต่นายชัยก็ลุกไม่ขึ้น แต่พยายามที่จะลุกให้ได้ จึงทำให้เซถลาไปข้างหน้า จนนาย นิสิต สินธุไพร ส.ส.ร้องเอ็ด พรรคพลังประชาชน ที่มาร่วมในพิธีด้วย รีบเข้าไปพยุงนายชัยให้ยืนขึ้นเป็นปกติ และเดินกลับไปห้องประชุมได้ ซึ่งในระหว่างที่เดินกลับห้องประชุมนั้น บรรดาสมาชิกพรรคพลังประชาชนก็กรูกันเข้าไปแสดงความยินดีกับนายชัยด้วย ทั้งนี้นายชัย ถือเป็นประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่ 24 และเป็นประธานรัฐสภาคนที่ 28
พปช.ลั่นเปิดวิสามัญแก้รธน.แน่
นายสุนัย จุลพงศธร ส.ส.ระบบสัดส่วน พรรคพลังประชาชน ในฐานะประธานคณะกรรมการประชาสัมพันธ์การแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 ของพรรคพลังประชาชน แถลงว่าการยื่นญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญคาดว่าจะไม่ทันในสัปดาห์นี้ โดยวิปรัฐบาลจะเสนอให้สภาเปิดประชุมสมัยวิสามัญ ในวันที่ 9-30 มิ.ย. เพื่อพิจารณากฎหมายที่ยังคงค้าง และงบประมาณปี 2552 รวมถึงจะพ่วงประเด็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญไปด้วย
“ยืนยันว่ารัฐบาลไม่ได้เร่งรีบในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ส่วนผลโหวตจะออกมาเป็นอย่างไรนั้นผมก็ไม่ได้กังวล เพราะเคยมีประวัติศาสตร์ในปี 2538 สมัยรัฐบาลของนายชวน หลีกภัย ที่โหวตแพ้ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาแล้ว นายชวนก็โยน ให้เป็นเรื่องของสภา”
ส่วนกรณีที่นายเสนาะ เทียนทอง หัวหน้าพรรคประชาราช ระบุว่า ไม่เห็นด้วยที่จะมีการเปิดประชุมสภาสมัยวิสามัญนั้น นายสุนัย กล่าวว่าไม่น่าจะมีปัญหาอะไร ขณะนี้พรรคร่วมรัฐบาลใจตรงกันหมด เพราะรัฐบาลมีภารกิจพิจารณางบประมาณ จึงต้องมีการเปิดสมัยวิสามัญอยู่แล้ว
ปชป.ติงไม่ควรจุดประเด็นให้วุ่นอีก
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร และหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงการที่นายชัย ชิดชอบ ประธานสภาฯ และส.ส.พรรคพลังประชาชน ประกาศจะเปิดประชุมสภาสมัยวิชาสามัญเพื่อพิจารณาญัตติการแก้ไขรัฐธรรมนูญว่า ถ้ามีการใช้สิทธิในการเสนอร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ก็ต้องปฏิบัติตามข้อบังคับและตามกฎหมาย แต่ขณะนี้ยังไม่มีการยื่นร่างแก้ไขโดย ส.ส. แต่เป็นการยื่นโดยประชาชน และอยู่ในขั้นตอนการตรวจสอบรายชื่อผู้มีสิทธิ
ทั้งนี้ ฝ่ายค้านต้องเตรียมดูร่างแก้ไขเพิ่มเติมที่ยื่นต่อสภาฯว่าทางออกขอประเทศที่ดีที่สุดคืออะไร และขอย้ำอีกครั้งว่าบรรยากาศทางการเมืองขณะนี้คลี่คลาย มาพอสมควรในวันที่รัฐบาลมีท่าทีเหมือนกับพักเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญไว้ก่อน ดังนั้น ถ้าทำให้บรรยากาศการเมืองคลี่คลายได้และปลดชนวนความขัดแย้งและเดินหน้าทำงาน ก็เชี่อว่าจะช่วยให้คลี่คลาย
ส.ว.เลือกตั้งพร้อมหนุนรัฐบาลแก้รธน.
นายเกชา ศักดิ์สมบูรณ์ ส.ว. ราชบุรี กล่าวว่า ตนยังไม่เห็นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญที่คณะกรรมการประชาชนเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ (คปพร.) ยื่นเข้าสู่รัฐสภา หากได้เห็นและพิจารณาเนื้อหาการแก้ไขแล้ว ตนและส.ว.เลือกตั้ง เกือบประมาณ 50 คนก็พร้อมจะร่วมยื่นญัตติขอแก้ไขรัฐธรรมนูญ
“เรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญเราเห็นด้วยอยู่แล้ว เพราะเป็นเรื่องที่พูดคุยกันมานานว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้มาจากเผด็จการ แต่ขณะนี้ยังไม่มีส.ส.ติดต่อมา และเรายังไม่ได้อ่านร่างรัฐธรรมนูญที่ยื่นแก้ไข แต่ถ้าได้อ่านและเห็นด้วย ก็จะพร้อมจะให้การสนับสนุน”
นายเกชา ยืนยันว่าหาก ตนและเพื่อนส.ส.พิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญแล้วและเห็นด้วย หาก ส.ส.มีปัญหาเรื่องคะแนนเสียงที่ต้องใช้ 315 เสียง เราก็พร้อมจะสนับสนุน
นปช.แปลงร่างเสนองดใช้รธน.50
วันเดียวกัน นพ. เชาวน์ อารมณ์ดี แกนนำแนวร่วมข้าราชการอาวุโสและพลเรือนเพื่อประชาธิปไตยให้ลูกหลานและคณะ ได้เดินทางมายื่นหนังสือผ่านนายสุนัย จุลพงศธร ส.ส.ระบบสัดส่วน พรรคพลังประชาชน ในฐานะประธานคณะกรรมการประชาสัมพันธ์การแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 ของพรรคพลังประชาชน ไปยังคณะรัฐมนตรี เพื่อขอให้รัฐบาลออกพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) งดใช้รัฐธรรมนูญ 2550 โดยให้นำรัฐธรรมนูญ ฉบับปี 2540 มาบังคับใช้ พร้อมกับออกบทเฉพาะกาลให้ส.ส.จำนวน 480 คน และส.ว.ที่มาจากการเลือกตั้ง 76 คน ยังคงทำหน้าที่ต่อไปเพื่อไม่ให้การบริหาร ด้านนิติบัญญัติเกิดความขัดข้อง
นพ.เชาวน์ ยืนยันว่ากลุ่มฯไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกลุ่มมหาประชาชนเพื่อพิทักษ์ประชาธิปไตย และไม่ใช่กลุ่มของหมออาวุโส เพราะหมออาวุโสไม่อภิวัฒน์ แต่กลุ่มของตนเป็นกลุ่มโลกาภิวัตน์
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เป็นที่น่าสังเกตว่า คณะติดตามกลุ่มแนวร่วมข้าราชการ อาวุโสฯนั้น ส่วนใหญ่เป็นคนกลุ่มเดียวกับแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.)
ประชาขนยื่นแก้ไขรธน.ส่อวืด
นาย ไพบูลย์ ซำศิริพงษ์ ส.ว.ปทุมธานี ประธานคณะกรรมาธิการการพัฒนากรเมือง และการมีส่วนร่วมของประชาชน พร้อมด้วยนายวรินทร์ เทียมจรัส ส.ว.สรรหา แถลงข่าวเรียกร้องให้รัฐบาลออกกฎหมายที่ส่งเสริมการพัฒนาการเมืองและการมีส่วนร่วมของประชาชน เช่นพ.ร.บ.ว่าด้วยการเข่าชื่อ เสนอกฎหมาย หรือการเข้าชื่อถอดถอนบุคคลออกจากตำแหน่ง ตามมาตรา 163, 164 และการออกเสียงประชามติตามมาตรา 165 เพราะกฎหมายเหล่านี้จะเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาการเมืองและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน ซึ่งเมื่อไม่มีกฎหมายดังกล่าว การเสนอรายชื่อ 5 หมื่นชื่อของ น.พ.เหวง โตจิราการ คณะกรรมการประชาชนเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 เพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ ก็ไม่สามารถทำได้ ดังนั้นรัฐบาลควรเร่งรัดการออกกฎหมายดังกล่าวโดยเร็ว