เอเอฟพี - รัฐบาลสหรัฐฯ ขึ้นบัญชีรายชื่อให้หมีขั้วโลกเป็นสัตว์ที่เสี่ยงต่อการถูกคุกคาม อันเนื่องมาจากน้ำแข็งในทวีปอาร์กติกมีการละลายอย่างมหาศาล นับเป็นครั้งแรกที่อเมริกาอาศัยอำนาจตามรัฐบัญญัติสัตว์ใกล้สูญพันธุ์(อีเอสเอ) มายืนยันรับรองว่ามีสัตว์ป่าที่กำลังสูญเสียถิ่นที่อยู่ เพราะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก
เดิร์ก เคมป์ธอร์น รัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทยสหรัฐฯ แถลงประกาศการขึ้นบัญชีนี้เมื่อวันพุธ(14) พร้อมกับเผยแพร่ภาพถ่ายดาวเทียมที่แสดงให้เห็นว่าน้ำแข็งในทะเลอาร์กติกได้ลดระดับลงมาอยู่ในระดับต่ำที่สุดเท่าที่เคยมีการบันทึกไว้ โดยอยู่ต่ำกว่าระดับความสูงเฉลี่ยของช่วงระหว่างปี 1979-2000 ถึง 39 เปอร์เซ็นต์
แต่ขณะเดียวกัน เขาก็ยืนยันว่าการประกาศคราวนี้ไม่ได้หมายความว่า สหรัฐฯมีการปรับเปลี่ยนนโยบายในเรื่องภาวะโลกร้อน ซึ่งถูกนักสิ่งแวดล้อมทั่วโลกประณามโจมตีอย่างหนักหน่วง
"ขณะที่มาตรฐานทางกฎหมายที่กำหนดไว้ในกฎหมายอีเอสเอ บังคับให้ผมต้องขึ้นบัญชีรายชื่อให้หมีขั้วโลกเป็นสัตว์ที่ถูกคุกคาม ผมก็ต้องขอทำความกระจ่างด้วยว่า การขึ้นบัญชีนี้จะไม่ได้หยุดยั้งการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก หรือป้องกันไม่ให้น้ำแข็งในทะเลละลายมากขึ้นแต่อย่างใด" เคมป์ธอว์นบอก
เขายังกล่าวด้วยว่า "ทางแก้ปัญหาที่แท้จริงนั้นจะต้องอาศัยการลงมือปฏิบัติของบรรดาระบบเศรษฐกิจสำคัญทั้งหมด จึงจะมีประสิทธิภาพ" ซึ่งเป็นเสียงสะท้อนเหตุผลท่าทีซึ่งประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช ใช้อ้างในการไม่ลงนามพิธีสารโตเกียวเพื่อแก้ปัญหาภาวะโลกร้อน
กระทรวงมหาดไทยของเคมป์ธอร์นอธิบายว่า การขึ้นบัญชีรายชื่อเป็น "สัตว์ที่ถูกคุกคาม" (threatened) หมายความว่าสัตว์ชนิดดังกล่าวเสี่ยงต่อการเป็น "สัตว์ใกล้สูญพันธุ์" ในอนาคตอันใกล้ และหากขึ้นทะเบียนเป็น "สัตว์ใกล้สูญพันธุ์" (endangered) ก็หมายความว่าสัตว์ชนิดนั้นจวนเจียนจะสูญพันธุ์อย่างยิ่ง
จากการขึ้นบัญชีคราวนี้ ทำให้ในเวลานี้หมีขั้วโลกอยู่ภายใต้การคุ้มครองของกฎหมายสหรัฐฯ แต่เจ้าหน้าที่รับผิดชอบเห็นว่ายังมีความคลุมเครืออยู่ในแง่ของการปฏิบัติ อีกทั้งที่ผ่านมา รัฐบาลบุชก็สนับสนุนให้มีการสำรวจแหล่งพลังงานในเขตที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าในอะแลสกา โดยยืนกรานว่ากฎข้อบังคับทางด้านอุตสาหกรรมที่มีอยู่นั้นให้ความคุ้มครองสัตว์หลายชนิดได้อยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นหมีขั้วโลก วาฬ แมวน้ำ และวอลรัส
เคมป์ธอร์นแถลงรายละเอียดเกี่ยวกับมาตรการขั้นต่อไปที่จะต้องทำตามกฎหมายอีเอสเอ อาทิ การตรวจสอบจำนวนประชากรหมีขั้วโลกในอะแลสกา และตามเกาะต่างๆ ที่ห่างไกลออกไปในทะเลบิวฟอร์ตและทะเลชุกชี ซึ่งรัฐบาลเพิ่งให้สัมปทานการขุดเจาะน้ำมันและก๊าซธรรมชาติในบริเวณนี้ไปในปีนี้
เขาบอกด้วยว่าการที่น้ำแข็งละลายนั้นเป็นอันตรายร้ายแรงที่สุดต่อหมีขั้วโลก ไม่ใช่การขุดเจาะน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ หรือการล่าหมีของคนพื้นเมือง
อย่างไรก็ตาม กองทุนสัตว์ป่าโลกและกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอีกหลายกลุ่มย้ำว่ารัฐบาลสหรัฐฯ ต้องกล่าวถึงสาเหตุหลักที่ทำให้น้ำแข็งละลายด้วย นั่นคือ การปล่อยก๊าซเรือนกระจก และบางกลุ่มก็เห็นว่าการคุ้มครองของรัฐบาลเป็นเพียงส่วนยอดของภูเขาน้ำแข็ง ขณะที่การขึ้นบัญชีรายชื่อให้หมีขั้วโลกเป็นสัตว์ถูกคุกคามก็ไม่ใช่การอนุรักษ์หมีเลย หากยังคงปล่อยให้น้ำแข็งละลายต่อไป ตลอดจนยังมีทำลายถิ่นที่อยู่ของพวกมัน
เดิร์ก เคมป์ธอร์น รัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทยสหรัฐฯ แถลงประกาศการขึ้นบัญชีนี้เมื่อวันพุธ(14) พร้อมกับเผยแพร่ภาพถ่ายดาวเทียมที่แสดงให้เห็นว่าน้ำแข็งในทะเลอาร์กติกได้ลดระดับลงมาอยู่ในระดับต่ำที่สุดเท่าที่เคยมีการบันทึกไว้ โดยอยู่ต่ำกว่าระดับความสูงเฉลี่ยของช่วงระหว่างปี 1979-2000 ถึง 39 เปอร์เซ็นต์
แต่ขณะเดียวกัน เขาก็ยืนยันว่าการประกาศคราวนี้ไม่ได้หมายความว่า สหรัฐฯมีการปรับเปลี่ยนนโยบายในเรื่องภาวะโลกร้อน ซึ่งถูกนักสิ่งแวดล้อมทั่วโลกประณามโจมตีอย่างหนักหน่วง
"ขณะที่มาตรฐานทางกฎหมายที่กำหนดไว้ในกฎหมายอีเอสเอ บังคับให้ผมต้องขึ้นบัญชีรายชื่อให้หมีขั้วโลกเป็นสัตว์ที่ถูกคุกคาม ผมก็ต้องขอทำความกระจ่างด้วยว่า การขึ้นบัญชีนี้จะไม่ได้หยุดยั้งการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก หรือป้องกันไม่ให้น้ำแข็งในทะเลละลายมากขึ้นแต่อย่างใด" เคมป์ธอว์นบอก
เขายังกล่าวด้วยว่า "ทางแก้ปัญหาที่แท้จริงนั้นจะต้องอาศัยการลงมือปฏิบัติของบรรดาระบบเศรษฐกิจสำคัญทั้งหมด จึงจะมีประสิทธิภาพ" ซึ่งเป็นเสียงสะท้อนเหตุผลท่าทีซึ่งประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช ใช้อ้างในการไม่ลงนามพิธีสารโตเกียวเพื่อแก้ปัญหาภาวะโลกร้อน
กระทรวงมหาดไทยของเคมป์ธอร์นอธิบายว่า การขึ้นบัญชีรายชื่อเป็น "สัตว์ที่ถูกคุกคาม" (threatened) หมายความว่าสัตว์ชนิดดังกล่าวเสี่ยงต่อการเป็น "สัตว์ใกล้สูญพันธุ์" ในอนาคตอันใกล้ และหากขึ้นทะเบียนเป็น "สัตว์ใกล้สูญพันธุ์" (endangered) ก็หมายความว่าสัตว์ชนิดนั้นจวนเจียนจะสูญพันธุ์อย่างยิ่ง
จากการขึ้นบัญชีคราวนี้ ทำให้ในเวลานี้หมีขั้วโลกอยู่ภายใต้การคุ้มครองของกฎหมายสหรัฐฯ แต่เจ้าหน้าที่รับผิดชอบเห็นว่ายังมีความคลุมเครืออยู่ในแง่ของการปฏิบัติ อีกทั้งที่ผ่านมา รัฐบาลบุชก็สนับสนุนให้มีการสำรวจแหล่งพลังงานในเขตที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าในอะแลสกา โดยยืนกรานว่ากฎข้อบังคับทางด้านอุตสาหกรรมที่มีอยู่นั้นให้ความคุ้มครองสัตว์หลายชนิดได้อยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นหมีขั้วโลก วาฬ แมวน้ำ และวอลรัส
เคมป์ธอร์นแถลงรายละเอียดเกี่ยวกับมาตรการขั้นต่อไปที่จะต้องทำตามกฎหมายอีเอสเอ อาทิ การตรวจสอบจำนวนประชากรหมีขั้วโลกในอะแลสกา และตามเกาะต่างๆ ที่ห่างไกลออกไปในทะเลบิวฟอร์ตและทะเลชุกชี ซึ่งรัฐบาลเพิ่งให้สัมปทานการขุดเจาะน้ำมันและก๊าซธรรมชาติในบริเวณนี้ไปในปีนี้
เขาบอกด้วยว่าการที่น้ำแข็งละลายนั้นเป็นอันตรายร้ายแรงที่สุดต่อหมีขั้วโลก ไม่ใช่การขุดเจาะน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ หรือการล่าหมีของคนพื้นเมือง
อย่างไรก็ตาม กองทุนสัตว์ป่าโลกและกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอีกหลายกลุ่มย้ำว่ารัฐบาลสหรัฐฯ ต้องกล่าวถึงสาเหตุหลักที่ทำให้น้ำแข็งละลายด้วย นั่นคือ การปล่อยก๊าซเรือนกระจก และบางกลุ่มก็เห็นว่าการคุ้มครองของรัฐบาลเป็นเพียงส่วนยอดของภูเขาน้ำแข็ง ขณะที่การขึ้นบัญชีรายชื่อให้หมีขั้วโลกเป็นสัตว์ถูกคุกคามก็ไม่ใช่การอนุรักษ์หมีเลย หากยังคงปล่อยให้น้ำแข็งละลายต่อไป ตลอดจนยังมีทำลายถิ่นที่อยู่ของพวกมัน