นายอรรถสิทธิ์ รัตนแคล้ว ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษายะลา เขต 1 เปิดเผยว่า ขณะนี้คณะครูในพื้นที่ จ.ยะลา หลายอำเภอได้มีการประชุมหารือเพื่อวางมาตรการดูแลรักษาความปลอดภัย และประสานงานกับทางเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทหาร และฝ่ายปกครอง ที่เข้ามาดูแลได้มีการทบทวนมาตรการในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา พบว่าคณะครูมีความพึงพอใจในระดับหนึ่ง และในภาคเรียนที่ใกล้จะเปิดนี้ ก็ได้มีการประสานงานขอกำลังเจ้าหน้าที่เพิ่มเติมในการเข้ามาดูแลเส้นทางหลักเส้นทางรองให้มากขึ้น
นายนพพร มากคงแก้ว ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษายะลา เขต 2 เปิดเผยว่า ก่อนเปิดภาคเรียนตนร่วมกับนายอำเภอ ผกก. ผบ.ฉก.ในพื้นที่เรียกประชุมผู้บริหาร และบุคลากรทางการศึกษา ในพื้นที่ เพื่อเตรียมความพร้อมมาตรการรักษาความปลอดภัยให้กับครูโดยกำหนดประชุมในพื้นที่ อ.กาบัง ยะหา และ บันนังสตา ตามลำดับ
สำหรับเขตพื้นที่การศึกษายะลา เขต 2 นั้นมีหน้าที่รับผิดชอบ 3 อำเภอ คือ อ.กาบัง ยะหา และ บันนังสตา มีโรงเรียนที่ต้องดูแล รับผิดชอบ 75 โรง มีบุคลากรครูประมาณ 1,000 คน ซึ่งมาตรการรักษาความปลอดภัย ทางเจ้าหน้าที่ทหาร ตำรวจ และฝ่ายปกครอง มีแผนการปฏิบัติการเรียบร้อยแล้ว สำหรับอัตราครูที่ขอย้ายออกจากพื้นที่พบว่า มีจำนวนลดลงกว่าปีที่ผ่านมา
ด้านพ.อ.อัคร ทิพโรจน์ ผู้อำนวยการกองปฏิบัติการข่าวสารกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 กล่าวว่า ในช่วงที่ผ่านมาทางเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทหาร ยังไม่ได้ใช้กำลังประชาชนอย่างเต็มที่ ไม่ได้รับการอนุมัติให้บรรจุผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน โครงการต่างๆอยู่ในระหว่างการเบิกจ่าย ในวันนี้สิ่งต่างๆ ค่อนข้างจะสมบูรณ์ อัตรากำลังต่างๆ ก็ได้รับการอนุมัติ การจัดตั้ง การดำเนินการฝึก การบริหารและการบูรณาการการใช้กำลังประชาชนในพื้นที่ค่อนข้างที่จะเข้มแข็ง เจ้าหน้าที่สามารถใช้กำลังประชาชนได้ถูกฝาถูกตัวมากขึ้น
ส่วนในพื้นที่ จ.ปัตตานี ตั้งแต่วันที่ 12 พ.ค.ที่ผ่านมามีโรงเรียนบางแห่งได้เปิดการเรียนการสอนแล้ว แต่ก็ยังมีโรงเรียนที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยหลายแห่งต้องเปิดการเรียนการสอนในวันที่ 16 พ.ค.เนื่องจากเป็นมติของสมาพันธ์ครูชายแดนใต้และเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติที่ดูแลความปลอดภัย โดยที่โรงเรียนบ้านดอนรัก อ.หนองจิก ถือเป็นโรงเรียนหนึ่งที่เปิดการเรียนการสอนในวันที่ 12 พ.ค.ที่ผ่านมา เนื่องจากเป็นโรงเรียนที่มีเจ้าหน้าที่ดูแลอย่างใกล้ชิดและครูมีความปลอดภัยมากขึ้น แต่ในความรู้สึกของครูหลาย คนก็ยังหวั่นใจไม่น้อยถึงความปลอดภัยหลังจากเปิดภาคเรียนครั้งนี้ สิ่งหนึ่งที่จะเป็นขวัญกำลังใจให้กับครู นอกจากกำลังใจเรื่องความปลอดภัยแล้ว ก็ยังมีองค์ประกอบหลายสิ่งที่ครูต้องการ
นายสุพล จันทรประดิษฐ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านดอนรัก เปิดเผยว่า สิ่งที่ครูต้องการคือการลดความเข้มในการตรวจผลงานด้านวิชาการเพื่อประเมินในการเลื่อนวิทยฐานะของครูผู้สอน นอกจากที่ครูได้รับความคุ้มครองจากเจ้าหน้าที่ เพราะโอกาสที่ครูจะทำผลงานมีน้อย เนื่องจากเวลาการสอนสั้นลงเหลือ 6 ชั่วโมงเพราะครูต้องมาและกลับตามเวลาที่เจ้าหน้าที่กำหนดเพื่อความปลอดภัย ฉะนั้น การทำผลงานหรืองานวิจัยจึงมีเวลาน้อย ตนในฐานะตัวแทนครูใน 3 จังหวัดมีความเสี่ยงในชีวิต แต่ก็ต้องการขวัญกำลังใจในการทำผลงานเพื่อเลื่อนวิทยฐานะจึงอยากให้ผู้บริหารลดความเข้มในการประเมินตรงจุดนี้
ด้านนายสงวน อินทรักษ์ ประธานสมาพันธ์ครูจังหวัดนราธิวาส กล่าวถึงมาตรการในการดูแลความปลอดภัยของกลุ่มครูในช่วงการเปิดภาคเรียนว่า ขณะนี้ทางกลุ่มครูในแต่ละพื้นที่ยังคงใช้มาตรการเดิมที่ทางครูเคยวางไว้อยู่ โดยเฉพาะการเน้นการดูแลความปลอดภัยให้กับตนเองเป็นหลักทั้งการเดินทางเข้า - ออกโรงเรียน ซึ่งหลังจากเปิดภาคเรียนไปแล้วทางครูจะมีการร่วมประชุมเพื่อหารือถึงการวางมาตรการกันใหม่เพื่อที่จะเพิ่มเติมจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทหาร ที่ได้วางไว้
ส่วนด้านขวัญและกำลังของครูในพื้นที่นั้นขณะนี้ส่วนใหญ่ถือว่าไม่มีขวัญและกำลังใจในการทำงานเท่าที่ควร เนื่องจากตลอดอาทิตย์ที่ผ่านมามีการข่มขู่ด้วยใบปลิวจากกลุ่มก่อความไม่สงบมาโดยตลอด โดยมีใจความว่า "จะมาเอาชีวิตของข้าราชการ" ซึ่งทำให้ครูส่วนใหญ่เกิดความหวาดกลัว
อย่างไรก็ตาม ยอดการขอย้ายของครูออกนอกพื้นที่ ในปีการศึกษานี้ มีครูขอย้ายออกจากพื้นที่จำนวนมาก โดยรวมทั้ง 3 เขตพื้นที่การศึกษามีครูขอย้ายออกจำนวนกว่า 300 คน เฉพาะในเขตพื้นที่การศึกษาเขต 2 นราธิวาสนั้น ก็มียอดขอย้ายออกแล้ว 130 คน ซึ่งหลังจากนี้เขตพื้นที่การศึกษาแต่ละแห่งจะต้องเร่งหากำลังครูเข้ามาทดแทน
นายนพพร มากคงแก้ว ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษายะลา เขต 2 เปิดเผยว่า ก่อนเปิดภาคเรียนตนร่วมกับนายอำเภอ ผกก. ผบ.ฉก.ในพื้นที่เรียกประชุมผู้บริหาร และบุคลากรทางการศึกษา ในพื้นที่ เพื่อเตรียมความพร้อมมาตรการรักษาความปลอดภัยให้กับครูโดยกำหนดประชุมในพื้นที่ อ.กาบัง ยะหา และ บันนังสตา ตามลำดับ
สำหรับเขตพื้นที่การศึกษายะลา เขต 2 นั้นมีหน้าที่รับผิดชอบ 3 อำเภอ คือ อ.กาบัง ยะหา และ บันนังสตา มีโรงเรียนที่ต้องดูแล รับผิดชอบ 75 โรง มีบุคลากรครูประมาณ 1,000 คน ซึ่งมาตรการรักษาความปลอดภัย ทางเจ้าหน้าที่ทหาร ตำรวจ และฝ่ายปกครอง มีแผนการปฏิบัติการเรียบร้อยแล้ว สำหรับอัตราครูที่ขอย้ายออกจากพื้นที่พบว่า มีจำนวนลดลงกว่าปีที่ผ่านมา
ด้านพ.อ.อัคร ทิพโรจน์ ผู้อำนวยการกองปฏิบัติการข่าวสารกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 กล่าวว่า ในช่วงที่ผ่านมาทางเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทหาร ยังไม่ได้ใช้กำลังประชาชนอย่างเต็มที่ ไม่ได้รับการอนุมัติให้บรรจุผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน โครงการต่างๆอยู่ในระหว่างการเบิกจ่าย ในวันนี้สิ่งต่างๆ ค่อนข้างจะสมบูรณ์ อัตรากำลังต่างๆ ก็ได้รับการอนุมัติ การจัดตั้ง การดำเนินการฝึก การบริหารและการบูรณาการการใช้กำลังประชาชนในพื้นที่ค่อนข้างที่จะเข้มแข็ง เจ้าหน้าที่สามารถใช้กำลังประชาชนได้ถูกฝาถูกตัวมากขึ้น
ส่วนในพื้นที่ จ.ปัตตานี ตั้งแต่วันที่ 12 พ.ค.ที่ผ่านมามีโรงเรียนบางแห่งได้เปิดการเรียนการสอนแล้ว แต่ก็ยังมีโรงเรียนที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยหลายแห่งต้องเปิดการเรียนการสอนในวันที่ 16 พ.ค.เนื่องจากเป็นมติของสมาพันธ์ครูชายแดนใต้และเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติที่ดูแลความปลอดภัย โดยที่โรงเรียนบ้านดอนรัก อ.หนองจิก ถือเป็นโรงเรียนหนึ่งที่เปิดการเรียนการสอนในวันที่ 12 พ.ค.ที่ผ่านมา เนื่องจากเป็นโรงเรียนที่มีเจ้าหน้าที่ดูแลอย่างใกล้ชิดและครูมีความปลอดภัยมากขึ้น แต่ในความรู้สึกของครูหลาย คนก็ยังหวั่นใจไม่น้อยถึงความปลอดภัยหลังจากเปิดภาคเรียนครั้งนี้ สิ่งหนึ่งที่จะเป็นขวัญกำลังใจให้กับครู นอกจากกำลังใจเรื่องความปลอดภัยแล้ว ก็ยังมีองค์ประกอบหลายสิ่งที่ครูต้องการ
นายสุพล จันทรประดิษฐ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านดอนรัก เปิดเผยว่า สิ่งที่ครูต้องการคือการลดความเข้มในการตรวจผลงานด้านวิชาการเพื่อประเมินในการเลื่อนวิทยฐานะของครูผู้สอน นอกจากที่ครูได้รับความคุ้มครองจากเจ้าหน้าที่ เพราะโอกาสที่ครูจะทำผลงานมีน้อย เนื่องจากเวลาการสอนสั้นลงเหลือ 6 ชั่วโมงเพราะครูต้องมาและกลับตามเวลาที่เจ้าหน้าที่กำหนดเพื่อความปลอดภัย ฉะนั้น การทำผลงานหรืองานวิจัยจึงมีเวลาน้อย ตนในฐานะตัวแทนครูใน 3 จังหวัดมีความเสี่ยงในชีวิต แต่ก็ต้องการขวัญกำลังใจในการทำผลงานเพื่อเลื่อนวิทยฐานะจึงอยากให้ผู้บริหารลดความเข้มในการประเมินตรงจุดนี้
ด้านนายสงวน อินทรักษ์ ประธานสมาพันธ์ครูจังหวัดนราธิวาส กล่าวถึงมาตรการในการดูแลความปลอดภัยของกลุ่มครูในช่วงการเปิดภาคเรียนว่า ขณะนี้ทางกลุ่มครูในแต่ละพื้นที่ยังคงใช้มาตรการเดิมที่ทางครูเคยวางไว้อยู่ โดยเฉพาะการเน้นการดูแลความปลอดภัยให้กับตนเองเป็นหลักทั้งการเดินทางเข้า - ออกโรงเรียน ซึ่งหลังจากเปิดภาคเรียนไปแล้วทางครูจะมีการร่วมประชุมเพื่อหารือถึงการวางมาตรการกันใหม่เพื่อที่จะเพิ่มเติมจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทหาร ที่ได้วางไว้
ส่วนด้านขวัญและกำลังของครูในพื้นที่นั้นขณะนี้ส่วนใหญ่ถือว่าไม่มีขวัญและกำลังใจในการทำงานเท่าที่ควร เนื่องจากตลอดอาทิตย์ที่ผ่านมามีการข่มขู่ด้วยใบปลิวจากกลุ่มก่อความไม่สงบมาโดยตลอด โดยมีใจความว่า "จะมาเอาชีวิตของข้าราชการ" ซึ่งทำให้ครูส่วนใหญ่เกิดความหวาดกลัว
อย่างไรก็ตาม ยอดการขอย้ายของครูออกนอกพื้นที่ ในปีการศึกษานี้ มีครูขอย้ายออกจากพื้นที่จำนวนมาก โดยรวมทั้ง 3 เขตพื้นที่การศึกษามีครูขอย้ายออกจำนวนกว่า 300 คน เฉพาะในเขตพื้นที่การศึกษาเขต 2 นราธิวาสนั้น ก็มียอดขอย้ายออกแล้ว 130 คน ซึ่งหลังจากนี้เขตพื้นที่การศึกษาแต่ละแห่งจะต้องเร่งหากำลังครูเข้ามาทดแทน