ผู้จัดการรายวัน - ภาษีกองทุนส่วนบุคคลได้ข้อสรุป หลังสรรพากรใจอ่อน ยอมให้บุคคลธรรมดาที่ออกไปลงทุนเมืองนอก แต่ไม่ได้นำเงินกลับมาในปีนั้นๆ ถือเงินข้ามปีได้โดยไม่ต้องเสียภาษี ส่วนนิติบุคคลไม่ยกเว้น ต้องแจ้งสถานะการลงทุน เพื่อยื่นแบบแสดงการเสียภาษีทุกปี ด้านสมาคมบลจ.มั่นใจ กระตุ้นการลงทุนมากขึ้น ขณะเดียวกัน เตรียมเจรจา ก.ล.ต. เปิดทางลงทุนในกองทุนป้องกันความเสี่ยงได้ ด้านก.ล.ต. เผย บลจ.ส่งรายชื่อลูกค้าที่แจ้งความจำนงออกไปลงทุนต่างประเทศมาแล้ว 10-30 ราย ส่วนโบรกเกอร์ใส่เงินไปแล้วกว่า 1 พันล้านบาท
นายธีรพันธุ์ จิตตาลาน รองกรรมการผู้จัดการ สายงานจัดการลงทุน บลจ.กรุงไทย ในฐานะอุปนายกและประธานกลุ่มธุรกิจกองทุนส่วนบุคคล สมาคมบริษัทจัดการลงทุน (สมาคม บลจ.) เปิดเผยว่า ประเด็นเรื่องภาษีที่นักลงทุนซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาจะออกไปลงทุนต่างประเทศผ่านกองทุนส่วนบุคคลได้ข้อสรุปแล้ว โดยกรมสรรพากรแจ้งว่าหากนักลงทุนออกไปลงทุนต่างประเทศและยังไม่ได้นำเงินกลับมาในปีนั้นๆ ก็ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ แม้กฎหมายจะระบุว่าถ้าออกไปลงทุนต่างประเทศและได้กำไรก็ต้องเสียภาษีเงินได้ประจำปี แต่หากนักลงทุนซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาถือข้ามปีก็ไม่ต้องเสียภาษี ซึ่งหลังจากเรื่องนี้ชัดเจนแล้วทำให้นักลงทุนสบายใจมากขึ้น อย่างไรก็ตามในส่วนของนักลงทุนสถาบันที่เป็นนิติบุคคลนั้น จะต้องแจ้งสถานะการลงทุนเพื่อยื่นแบบแสดงการเสียภาษีทุกปีไม่ว่าในปีที่ไปลงทุนนั้นจะมีการนำเงินกำไรกลับมาในปีนั้นหรือไม่ก็ตาม
“เมื่อประเด็นเรื่องภาษีชัดเจนขึ้น เชื่อว่าจะมีนักลงทุนให้ความสนใจออกไปลงทุนในต่างประเทศผ่านกองทุนส่วนบุคคลมากขึ้น แต่ปัจจุบันเท่าที่ทราบยังไม่มีการนำเงินออกไปลงทุนโดยผ่านกองทุนส่วนบุคคลที เพราะเข้าใจว่านักลงทุนยังห่วงประเด็นเรื่องของภาษีอยู่ โดยนักลงทุนกลุ่มแรกๆ ที่จะออกไปลงทุนน่าจะเป็นกลุ่มนักลงทุนที่เคยลงทุนในต่างประเทศอยู่ก่อนแล้วเป็นหลัก ซึ่งจากนี้ไปน่าจะมีการมาใช้บริการกองทุนส่วนบุคคลมากขึ้นตามลำดับ”นายธีรพันธุ์กล่าว
นอกจากนี้ สมาคมบลจ. กำลังอยู่ระหว่างร่างรายละเอียดในการออกไปลงทุนเพื่อให้กว้างขึ้นเท่าที่กฎหมายเปิดให้ลงทุนได้ จากเดิมกำหนดกรอบลงทุนในหุ้น, ตราสารหนี้, หน่วยลงทุน, ตราสารหนี้ที่การซื้อขายสัญญาล่วงหน้าแฝง(Structure Note), ตราสารอนุพันธ์, สินค้าโภคภัณฑ์ ก็เพิ่มตราสารประเภทที่ให้ผลตอบแทนสูงอื่นๆ เข้าไปอีก โดยเรื่องดังกล่าวทางสมาคมบริษัทจัดการลงทุนได้หารือกับสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) แล้ว ซึ่งทางสมาคมอยากเปิดโอกาสการลงทุนในสินทรัพย์ประเภทต่างๆ ในส่วนของกองทุนส่วนบุคคลให้ครอบคลุมทุกอย่างที่ถูกต้องตามกฎหมายและสามารถที่จะทำได้ รวมถึงการลงทุนในกองทุนป้องกันความเสี่ยง(Hedge Fund)ด้วย
“คนอาจมองว่าในช่วงที่สหรัฐวิกฤตเศรษฐกิจ เป็นจังหวะในการลงทุนหลายอย่าง ดังนั้นการเปิดกว้างให้ลงทุนได้หลากหลายก็น่าจะเป็นการดี นอกจากนี้ทางสมาคมบริษัทจัดการลงทุนยังเตรียมร่างละเอียดเพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกันในการเก็บหลักฐานต่างๆ ในการออกไปลงทุนต่างประเทศ ขณะเดียวกันเตรียมจัดงานสัมมนาเริ่มต้นการออกไปลงทุนต่างประเทศ โดยเชิญเจ้าหน้าที่การตลาด ลูกค้าและผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อรับทราบถึงกฎเกณฑ์ต่างๆ รวมถึงเรื่องภาษีด้วย”
นายประเวช องอาจสิทธิกุล รองเลขาธิการอาวุโส สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดเผยว่า ตั้งแต่ก.ล.ต.เปิดให้กองทุนส่วนบุคคลออกไปลงทุนต่างประเทศได้ ตั้งแต่ 14 มี.ค.ที่ผ่านมา จนถึงขณะนี้บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม (บลจ.) ส่งรายชื่อลูกค้าบุคคลธรรมดาที่จัดตั้งกองทุนส่วนบุคคลประมาณ 10-20 ราย เพื่อขอนำเงินออกไปลงทุนต่างประเทศ
“ตอนนี้อยู่ในขั้นตอนที่ก.ล.ต.ยื่นรายชื่อไปยังธนาคารแห่งประเทศ (ธปท.) เพื่อตรวจสอบแหล่งที่มาของเงิน ดูความเหมาะสมและความรู้ในการลงทุน”นายประเวช กล่าว
หลังจากผ่านขั้นตอนจากธปท.แล้ว นักลงทุนก็จะได้รับวงเงินออกไปลงทุนเบื้องต้น 5 แสนเหรียญสหรัฐ ซึ่งหากนำเงินไปลงทุนแล้วประมาณ 80% หรือ 4 แสนเหรียญสหรัฐ ทางก.ล.ต.ก็จะเพิ่มวงเงินให้อีก 5 แสนเหรียญสหรัฐต่อคน โดยรวมแล้วแต่รายจะได้วงเงินไม่เกิน 5 ล้านเหรียญสหรัฐ
สำหรับบริษัทหลักทรัพย์ ที่มีพอร์ตการลงทุนนั้นได้เริ่มออกไปลงทุนต่างประเทศแล้วคิดเป็นมูลค่ารวม 30-40 ล้านเหรียญสหรัฐหรือประมาณ 930-1,240 ล้านบาท ส่วนพอร์ตลงทุนของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) นั้นไม่ค่อยมี
นายประเวช กล่าวว่า สำหรับวงเงินที่ออกไปลงทุนต่างประเทศผ่านกองทุนรวม กองทุนสำรองเลี้ยงชีพในปัจจุบันมีทั้งสิ้น 1 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 3.10 แสนล้านบาท ซึ่งเป็นวงเงินลงทุนรวมทุกประเภททั้งผ่านกองทุนเพื่อไปลงทุนต่างประเทศ (FIF) และกองทุนตราสารหนี้ที่ไปลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลเกาหลี,ออสเตรเลีย,นิวซีแลนด์
อย่างไรก็ตาม อยากเตือนนักลงทุนให้ระมัดระวังในการไปลงทุนต่างประเทศ โดยต้องพิจารณาจาก 3 ข้อ ข้อแรกต้องดูค่าธรรมเนียมที่บลจ.แต่ละรายคิดว่าเป็นเท่าไร เพราะแต่ละบลจ.เก็บไม่เท่ากัน ข้อสอง ต้องดูว่าผลตอบแทนที่กองทุนไปลงทุนนั้นเป็นเงินสกุลใดและมีการคุ้มครองอัตราแลกเปลี่ยนหรือไม่ และข้อสาม ตราสารที่จะไปลงทุนประเภทใด โดยก.ล.ต.ไม่อยากให้นักลงทุนดูเฉพาะผลตอบแทนที่บลจ.คาดการณ์ไว้เท่านั้น ซึ่งตั้งแต่กองทุน FIF ออกไปลงทุนเมื่อปี 2546 ส่วนใหญ่จะคุ้มครองเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนแต่ระยะหลังไม่ปิดความเสี่ยงค่าเงิน นักลงทุนจึงต้องระวัง
สำหรับกองทุนที่ออกไปลงทุนในกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ 4 แห่ง ได้แก่ บราซิล รัสเซีย อินเดียและจีน (BRIC) ต้องยอมรับว่าช่วงที่ผ่านมาราคาหน่วยลงทุนลดลงไปพอสมควร ซึ่งมีบางกองทุนที่เข้าไปลงทุนตอนที่หุ้นบูมและบางกองก็ลงทุนตอนที่ราคาเริ่มปรับลดลง อย่างไรก็ตามก.ล.ต.ไม่ห่วงเรื่องนี้มากนัก เนื่องจากกองทุนที่ได้รับผลกระทบมีไม่มากและคิดเป็นเม็ดเงินลงทุนเพียงส่วนน้อย
กองทุนส่วนบุคคลจบQ1โต3พันล้าน
สมาคมบริษัทจัดการลงทุน (สมาคมบลจ.) เปิดเผยว่า ภาพรวมของเงินลงทุนผ่านกองทุนส่วนบุคคลในช่วงไตรมาส 1 ของปี 2551 ที่ผ่านมา ยังคงขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง เป็นเป็นการขายตัวเพียวเล็กน้อยเท่านั้น โดยกองทุนส่วนบุคคลมีตัวเลขการลงทุนรวมกันทั้งระบบ จำนวน 178,987.06 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากจำนวน 175,480.71 ของช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 เป็นจำนวน 3,506.35 ล้านบาทหรือคิดเป็น 1.99%
สำหรับปัจจัยที่ทำให้กองทุนส่วนบุคคลขยายตัวไม่สูงมากนัก ส่วนหนึ่งมาจากภาวะการลงทุนในตลาดหุ้นที่ค่อนข้างผันผวน จากปัจจัยภายในและภายนอกประเทศ โดยปัจจัยภายนอกเป็นผลมาจากปัญหาสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ด้อยคุณภาพ (ซับไพรม์) ที่ยังคงมีความกังวลต่อเนื่อง จนกดดันภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐให้เข้าสู่ภาวะถอถอย ขณะเดียวกัน ยังมีปัญหาราคาน้ำมันที่ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่วนปัจจัยภายในยังคงเป็นเรื่องของการเมืองในประเทศที่ยังไม่มีความชัดเจน ขณะเดียวกัน การลงทุนในตราสารหนี้เองยังไม่น่าสนใจมากนัก เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยยังอยู่ในช่วงขาลง
อย่างไรก็ตาม ภาพรวมการลงทุนของกองทุนส่วนบุคคลทั้งปีนี้ น่าจะขยายตัวได้มากขึ้นหลังจากนี้ เนื่องจากทางการเองเปิดทางให้ผู้ลงทุนสามารถออกไปลงทุนในต่างประเทศได้ ทั้งนักลงทุนสถาบันและนักลงทุนรายย่อย ซึ่งเชื่อว่านักลงทุนหลายคนจะเลือกช่องทางนี้ในการกระจายความเสี่ยงให้เงินลงทุน
นายธีรพันธุ์ จิตตาลาน รองกรรมการผู้จัดการ สายงานจัดการลงทุน บลจ.กรุงไทย ในฐานะอุปนายกและประธานกลุ่มธุรกิจกองทุนส่วนบุคคล สมาคมบริษัทจัดการลงทุน (สมาคม บลจ.) เปิดเผยว่า ประเด็นเรื่องภาษีที่นักลงทุนซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาจะออกไปลงทุนต่างประเทศผ่านกองทุนส่วนบุคคลได้ข้อสรุปแล้ว โดยกรมสรรพากรแจ้งว่าหากนักลงทุนออกไปลงทุนต่างประเทศและยังไม่ได้นำเงินกลับมาในปีนั้นๆ ก็ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ แม้กฎหมายจะระบุว่าถ้าออกไปลงทุนต่างประเทศและได้กำไรก็ต้องเสียภาษีเงินได้ประจำปี แต่หากนักลงทุนซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาถือข้ามปีก็ไม่ต้องเสียภาษี ซึ่งหลังจากเรื่องนี้ชัดเจนแล้วทำให้นักลงทุนสบายใจมากขึ้น อย่างไรก็ตามในส่วนของนักลงทุนสถาบันที่เป็นนิติบุคคลนั้น จะต้องแจ้งสถานะการลงทุนเพื่อยื่นแบบแสดงการเสียภาษีทุกปีไม่ว่าในปีที่ไปลงทุนนั้นจะมีการนำเงินกำไรกลับมาในปีนั้นหรือไม่ก็ตาม
“เมื่อประเด็นเรื่องภาษีชัดเจนขึ้น เชื่อว่าจะมีนักลงทุนให้ความสนใจออกไปลงทุนในต่างประเทศผ่านกองทุนส่วนบุคคลมากขึ้น แต่ปัจจุบันเท่าที่ทราบยังไม่มีการนำเงินออกไปลงทุนโดยผ่านกองทุนส่วนบุคคลที เพราะเข้าใจว่านักลงทุนยังห่วงประเด็นเรื่องของภาษีอยู่ โดยนักลงทุนกลุ่มแรกๆ ที่จะออกไปลงทุนน่าจะเป็นกลุ่มนักลงทุนที่เคยลงทุนในต่างประเทศอยู่ก่อนแล้วเป็นหลัก ซึ่งจากนี้ไปน่าจะมีการมาใช้บริการกองทุนส่วนบุคคลมากขึ้นตามลำดับ”นายธีรพันธุ์กล่าว
นอกจากนี้ สมาคมบลจ. กำลังอยู่ระหว่างร่างรายละเอียดในการออกไปลงทุนเพื่อให้กว้างขึ้นเท่าที่กฎหมายเปิดให้ลงทุนได้ จากเดิมกำหนดกรอบลงทุนในหุ้น, ตราสารหนี้, หน่วยลงทุน, ตราสารหนี้ที่การซื้อขายสัญญาล่วงหน้าแฝง(Structure Note), ตราสารอนุพันธ์, สินค้าโภคภัณฑ์ ก็เพิ่มตราสารประเภทที่ให้ผลตอบแทนสูงอื่นๆ เข้าไปอีก โดยเรื่องดังกล่าวทางสมาคมบริษัทจัดการลงทุนได้หารือกับสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) แล้ว ซึ่งทางสมาคมอยากเปิดโอกาสการลงทุนในสินทรัพย์ประเภทต่างๆ ในส่วนของกองทุนส่วนบุคคลให้ครอบคลุมทุกอย่างที่ถูกต้องตามกฎหมายและสามารถที่จะทำได้ รวมถึงการลงทุนในกองทุนป้องกันความเสี่ยง(Hedge Fund)ด้วย
“คนอาจมองว่าในช่วงที่สหรัฐวิกฤตเศรษฐกิจ เป็นจังหวะในการลงทุนหลายอย่าง ดังนั้นการเปิดกว้างให้ลงทุนได้หลากหลายก็น่าจะเป็นการดี นอกจากนี้ทางสมาคมบริษัทจัดการลงทุนยังเตรียมร่างละเอียดเพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกันในการเก็บหลักฐานต่างๆ ในการออกไปลงทุนต่างประเทศ ขณะเดียวกันเตรียมจัดงานสัมมนาเริ่มต้นการออกไปลงทุนต่างประเทศ โดยเชิญเจ้าหน้าที่การตลาด ลูกค้าและผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อรับทราบถึงกฎเกณฑ์ต่างๆ รวมถึงเรื่องภาษีด้วย”
นายประเวช องอาจสิทธิกุล รองเลขาธิการอาวุโส สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดเผยว่า ตั้งแต่ก.ล.ต.เปิดให้กองทุนส่วนบุคคลออกไปลงทุนต่างประเทศได้ ตั้งแต่ 14 มี.ค.ที่ผ่านมา จนถึงขณะนี้บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม (บลจ.) ส่งรายชื่อลูกค้าบุคคลธรรมดาที่จัดตั้งกองทุนส่วนบุคคลประมาณ 10-20 ราย เพื่อขอนำเงินออกไปลงทุนต่างประเทศ
“ตอนนี้อยู่ในขั้นตอนที่ก.ล.ต.ยื่นรายชื่อไปยังธนาคารแห่งประเทศ (ธปท.) เพื่อตรวจสอบแหล่งที่มาของเงิน ดูความเหมาะสมและความรู้ในการลงทุน”นายประเวช กล่าว
หลังจากผ่านขั้นตอนจากธปท.แล้ว นักลงทุนก็จะได้รับวงเงินออกไปลงทุนเบื้องต้น 5 แสนเหรียญสหรัฐ ซึ่งหากนำเงินไปลงทุนแล้วประมาณ 80% หรือ 4 แสนเหรียญสหรัฐ ทางก.ล.ต.ก็จะเพิ่มวงเงินให้อีก 5 แสนเหรียญสหรัฐต่อคน โดยรวมแล้วแต่รายจะได้วงเงินไม่เกิน 5 ล้านเหรียญสหรัฐ
สำหรับบริษัทหลักทรัพย์ ที่มีพอร์ตการลงทุนนั้นได้เริ่มออกไปลงทุนต่างประเทศแล้วคิดเป็นมูลค่ารวม 30-40 ล้านเหรียญสหรัฐหรือประมาณ 930-1,240 ล้านบาท ส่วนพอร์ตลงทุนของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) นั้นไม่ค่อยมี
นายประเวช กล่าวว่า สำหรับวงเงินที่ออกไปลงทุนต่างประเทศผ่านกองทุนรวม กองทุนสำรองเลี้ยงชีพในปัจจุบันมีทั้งสิ้น 1 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 3.10 แสนล้านบาท ซึ่งเป็นวงเงินลงทุนรวมทุกประเภททั้งผ่านกองทุนเพื่อไปลงทุนต่างประเทศ (FIF) และกองทุนตราสารหนี้ที่ไปลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลเกาหลี,ออสเตรเลีย,นิวซีแลนด์
อย่างไรก็ตาม อยากเตือนนักลงทุนให้ระมัดระวังในการไปลงทุนต่างประเทศ โดยต้องพิจารณาจาก 3 ข้อ ข้อแรกต้องดูค่าธรรมเนียมที่บลจ.แต่ละรายคิดว่าเป็นเท่าไร เพราะแต่ละบลจ.เก็บไม่เท่ากัน ข้อสอง ต้องดูว่าผลตอบแทนที่กองทุนไปลงทุนนั้นเป็นเงินสกุลใดและมีการคุ้มครองอัตราแลกเปลี่ยนหรือไม่ และข้อสาม ตราสารที่จะไปลงทุนประเภทใด โดยก.ล.ต.ไม่อยากให้นักลงทุนดูเฉพาะผลตอบแทนที่บลจ.คาดการณ์ไว้เท่านั้น ซึ่งตั้งแต่กองทุน FIF ออกไปลงทุนเมื่อปี 2546 ส่วนใหญ่จะคุ้มครองเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนแต่ระยะหลังไม่ปิดความเสี่ยงค่าเงิน นักลงทุนจึงต้องระวัง
สำหรับกองทุนที่ออกไปลงทุนในกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ 4 แห่ง ได้แก่ บราซิล รัสเซีย อินเดียและจีน (BRIC) ต้องยอมรับว่าช่วงที่ผ่านมาราคาหน่วยลงทุนลดลงไปพอสมควร ซึ่งมีบางกองทุนที่เข้าไปลงทุนตอนที่หุ้นบูมและบางกองก็ลงทุนตอนที่ราคาเริ่มปรับลดลง อย่างไรก็ตามก.ล.ต.ไม่ห่วงเรื่องนี้มากนัก เนื่องจากกองทุนที่ได้รับผลกระทบมีไม่มากและคิดเป็นเม็ดเงินลงทุนเพียงส่วนน้อย
กองทุนส่วนบุคคลจบQ1โต3พันล้าน
สมาคมบริษัทจัดการลงทุน (สมาคมบลจ.) เปิดเผยว่า ภาพรวมของเงินลงทุนผ่านกองทุนส่วนบุคคลในช่วงไตรมาส 1 ของปี 2551 ที่ผ่านมา ยังคงขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง เป็นเป็นการขายตัวเพียวเล็กน้อยเท่านั้น โดยกองทุนส่วนบุคคลมีตัวเลขการลงทุนรวมกันทั้งระบบ จำนวน 178,987.06 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากจำนวน 175,480.71 ของช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 เป็นจำนวน 3,506.35 ล้านบาทหรือคิดเป็น 1.99%
สำหรับปัจจัยที่ทำให้กองทุนส่วนบุคคลขยายตัวไม่สูงมากนัก ส่วนหนึ่งมาจากภาวะการลงทุนในตลาดหุ้นที่ค่อนข้างผันผวน จากปัจจัยภายในและภายนอกประเทศ โดยปัจจัยภายนอกเป็นผลมาจากปัญหาสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ด้อยคุณภาพ (ซับไพรม์) ที่ยังคงมีความกังวลต่อเนื่อง จนกดดันภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐให้เข้าสู่ภาวะถอถอย ขณะเดียวกัน ยังมีปัญหาราคาน้ำมันที่ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่วนปัจจัยภายในยังคงเป็นเรื่องของการเมืองในประเทศที่ยังไม่มีความชัดเจน ขณะเดียวกัน การลงทุนในตราสารหนี้เองยังไม่น่าสนใจมากนัก เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยยังอยู่ในช่วงขาลง
อย่างไรก็ตาม ภาพรวมการลงทุนของกองทุนส่วนบุคคลทั้งปีนี้ น่าจะขยายตัวได้มากขึ้นหลังจากนี้ เนื่องจากทางการเองเปิดทางให้ผู้ลงทุนสามารถออกไปลงทุนในต่างประเทศได้ ทั้งนักลงทุนสถาบันและนักลงทุนรายย่อย ซึ่งเชื่อว่านักลงทุนหลายคนจะเลือกช่องทางนี้ในการกระจายความเสี่ยงให้เงินลงทุน