ผู้จัดการรายวัน-- สหรัฐฯ กำลังพิจารณาแผนปฏิบัติการบุกเข้าส่งอาหารและความช่วยเหลือแก่ประชาชนถึงเขตภัยพิบัติ ด้วยการส่งเครื่องบินทิ้งร่มถึงถิ่น โดยไม่แยแสต่อการปฏิเสธรับความช่วยเหลือของคณะปกครองเผด็จการทหารในประเทศนี้
ขณะเดียวกันสหรัฐฯ ได้เคลื่อนกองเรือรบราว 6 ลำ ที่เข้าร่วมการฝึกโคบราโกลด์ออกจากเขตอ่าวไทย มุ่งสู่ทะเลอันดามันแล้ว เตรียมพร้อมสนับสนุนปฏิบัติการกู้ภัยช่วยเหลือชาวพม่าที่ประสบภัยพิบัติ
สหรัฐฯได้ส่งเครื่องบินขนส่งลำเลียงแบบ C-130 กับเฮลิคอปเตอร์เข้าสู่ประเทศไทย พร้อมออกปฏิบัติการกู้ภัยช่วยเหลือชาวพม่าทุกเมื่อที่เป็นไปได้สำนักข่าวเอเอฟพีรายงาน
เจ้าหน้าที่องค์การยูเสด (US Agency for International Development) กล่าวว่า กำลังมีการพิจารณา "ทุกๆ ทางเลือก" ในการให้ความช่วยเหลือแก่พม่าที่ประสบภัยพิบัตินับล้านๆ คน รวมทั้งการส่งอากาศยานไปทิ้งอาหารและส่งของลงในเขตภัยพิบัติ โดยไม่ต้องรอการยินยอมจากรัฐบาลพม่า
แต่รัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐ โรเบิร์ต เกตส์ กล่าวว่า ตนเองนึกไม่ออกว่าสหรัฐฯ จะเข้าไปปฏิบัติการได้อย่างไร หากไม่ได้รับอนุญาตจากทางการพม่า ซึ่งได้ปฏิเสธที่จะรับความช่วยเหลือของสหรัฐฯ ไปแล้ว
"นี่เป็นโอกาสที่จะช่วยชีวิตคนจำนวนมากและเราเตรียมพร้อมอย่างเต็มที่ที่จะช่วยเหลือ..ช่วยเหลือจริงๆ" เกตส์กล่าว
รมว.กลาโหมสหรัฐฯ ยอมรับว่ากองเรือโจมตีและยกพลขึ้นบกที่นำโดยเรือเอ็สเส็ก (USS Essex) ได้ส่งเฮลิคอปเตอร์เข้าประเทศไทย เพื่ออยู่ในตำแหน่งเตรียมพร้อมจะปฏิบัติการได้ในเวลาเพียงไม่กี่ชั่วโมง
ทันทีที่เตรียมพร้อมในประเทศไทยแล้วเสร็จ กองเรือสหรัฐฯ รวมทั้งเรือเอ็สเส็กจะเริ่มเคลื่อนออกจากอ่าวไทยไปประจำในน่านน้ำใกล้พม่า ซึ่งจะใช้เวลาในการเดินทางประมาณ 5 วัน
ตามรายงานของเอเอฟพีนอกจากเรือเอ็สเส็กซึ่งรวมเรือโจมจียกพลขึ้นบกอีก 3 ลำในกลุ่ม กองเรือที่มุ่งหน้าสู่ทะเลอันดามันยังประกอบด้วย เรือฮาร์เพอร์สเฟอร์รี (USS Harpers Ferry) กับเรือพิฆาตมัสติน (USS Mustin) อีก 1 ลำด้วย
นอกจากนั้นสหรัฐฯ ยังมีเครื่องบินลำเลียงขนส่งแบบ C-130 อีกจำนวน 6 ลำประจำในประเทศไทยเช่นเดียวกันและพร้อมออกปฏิบัติการ
ส่วนพลเรือเอกไมเคิล มุลเลน ประธานคณะเสนาธิการผสม กองทัพสหรัฐฯ กล่าวว่า ขณะนี้มีนายทหารระดับนายพลคนหนึ่งประจำอยู่ในประเทศไทย เพื่อเป็นหัวหน้านำปฏิบัติการช่วยเหลือชาวพม่า
เรือเอ็สเส็กมีเฮลิคอปเตอร์ประจำการจำนวน 23 ลำ นาวิกโยธินอีก 1,800 นาย ซึ่งพร้อมจะขึ้นบกเพื่อไปจัดทำน้ำดื่มสะอาดให้แก่ผู้ประสบภัยในเขตภัยพิบัติ พล.ร.อ.มุลเล็นกล่าว
เรือรบกำลังพลและอากาศยานทั้งหมดนี้ ได้เข้าร่วมการฝึกโคบราโกลด์ในอ่าวไทยร่วมกับกองกำลังของไทยกับอีกหลายประเทศ ในช่วงที่พายุนาร์กิสพัดเข้าทำลายล้างเขตอิรวดีกับกรุงย่างกุ้ง
แต่คณะปกครองทหารพม่าที่ไม่เคยไว้ใจใครได้ปฏิเสธที่จะรับการช่วยเหลือจากสหรัฐฯ กับอีกหลายประเทศ ขณะที่รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ คอนโดลีซซา ไรซ์ ได้เรียกร้องให้จีนใช้อำนาจอิทธิพลที่อยู่กดดันทางการพม่า
กระทรวงการต่างประเทศพม่าออกแถลงเมื่อวันศุกร์ (9 พ.ค.) นี้ แจ้งว่าพร้อมและยินดีรับความช่วยเหลือต่างๆ จากภายนอกแต่จะไม่ให้ผู้เชี่ยวชาญและหน่วยปฏิบัติการค้นหาและกู้ภัยจากชาติใดเข้าประเทศ
กี๋ลือว์ (Ky Luu) ผู้อำนวยการสำนักงานช่วยเหลือภัยพิบัติต่างประเทศของยูเสดได้ปฏิเสธครั้งแล้วครั้งเล่าที่จะให้ความเห็นว่า การส่งอากาศยานเข้าไปยังพม่า โดยฝ่ายนั้นไม่ยินยอม จะเป็นไปอย่าง "ถูกต้อง" หรือ "ไม่ถูกต้อง" ตามกฎหมาย
"แต่ในแง่ของการวางแผนเพื่อปฏิบัติการ ไม่ว่ามันอาจจะถูกมองอย่างไรและจะต้องใช้ทรัพยากรอะไรบ้างและเราจะสามารถวางแผนได้อย่างไร สำหรับ (การปฏิบัติการ) ในประเทศหนึ่ง ก็อย่างที่ผมพูด.. เรากำลังเตรียมการในทุกๆ ทางเลือก" ลือว์กล่าว
เจ้าหน้าที่ผู้นี้กล่าวอีกว่า ฝรั่งเศสก็เคยพิจารณาใช้ทางเลือกและใช้วิธีการคล้ายๆ กัน เพื่อเข้าไปช่วยชาวจังหวัดโคโซโวที่แยกตัวออกจากเซอร์เบียในช่วงทศวรรษที่ 1990
อย่างไรก็ตาม ลือว์กล่าวว่า การใช้วิธีทิ้งร่ม "ไม่ใช่วิธีการที่มีประสิทธิภาพในแง่ของการให้ความช่วยเหลือ และ ในที่สุดมันอาจจะเป็นวิธีการที่สร้างอันตรายขึ้นมามากกว่าอย่างอื่นๆ"
ส่วนเกตส์ กับ พล.ร.อ.มุลเลน กล่าวแถลงที่กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ระบุว่า สิ่งของเครื่องใช้ความช่วยเหลือนั้น สามารถที่จะทิ้งร่มลงได้ แต่รัฐบาลพม่าก็ยังคงเป็นตัวขัดขวาง
"มันเป็นเขตอธิปไตยเหนือน่านฟ้า และคุณจะต้องได้รับการยินยอมในการบินเข้าน่านฟ้านั้น" ผู้นำกองทัพสหรัฐฯ กล่าว
"ตอนนี้เรายังไม่มีทางที่จะเข้าไปในน่านฟ้านั้นได้โดยได้รับอนุญาต" พล.ร.อ.มุลเลนกล่าว
ส่วน รมว.กลาโหมสหรัฐฯ กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่สามารถเข้าไป (ในพม่า) โดยตรงได้ "เราอาจจะต้องเตรียมพร้อมที่จะทำงานอย่างสร้างสรรค์กับฝ่ายอื่นๆ ในหนทางที่เราสามารถที่จะช่วยได้"
เกตส์กล่าวว่าหากจำเป็นที่จะต้องใช้ตัวกลางในการเจรจา ซึ่งหมายถึงการติดต่อกับจีน อินเดีย และประเทศเพื่อนบ้านอื่นๆ ที่สามารถเข้าไปในพม่าได้ก็จะต้องทำ
"ความสนใจของเราที่นี่ไม่ได้เป็นเรื่องการเมืองอย่างสิ้นเชิง.. มันเป็นเรื่องความพยายามและช่วยประชาชนพม่า และผมคิดว่าถ้าหากเราไม่สามารถทำได้ตรงๆ เราควรจะต้องเตรียมใช้วิธีการอื่นๆ ในการกระทำดังกล่าว" รมว.กลาโหมสหรัฐฯ กล่าว.
ขณะเดียวกันสหรัฐฯ ได้เคลื่อนกองเรือรบราว 6 ลำ ที่เข้าร่วมการฝึกโคบราโกลด์ออกจากเขตอ่าวไทย มุ่งสู่ทะเลอันดามันแล้ว เตรียมพร้อมสนับสนุนปฏิบัติการกู้ภัยช่วยเหลือชาวพม่าที่ประสบภัยพิบัติ
สหรัฐฯได้ส่งเครื่องบินขนส่งลำเลียงแบบ C-130 กับเฮลิคอปเตอร์เข้าสู่ประเทศไทย พร้อมออกปฏิบัติการกู้ภัยช่วยเหลือชาวพม่าทุกเมื่อที่เป็นไปได้สำนักข่าวเอเอฟพีรายงาน
เจ้าหน้าที่องค์การยูเสด (US Agency for International Development) กล่าวว่า กำลังมีการพิจารณา "ทุกๆ ทางเลือก" ในการให้ความช่วยเหลือแก่พม่าที่ประสบภัยพิบัตินับล้านๆ คน รวมทั้งการส่งอากาศยานไปทิ้งอาหารและส่งของลงในเขตภัยพิบัติ โดยไม่ต้องรอการยินยอมจากรัฐบาลพม่า
แต่รัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐ โรเบิร์ต เกตส์ กล่าวว่า ตนเองนึกไม่ออกว่าสหรัฐฯ จะเข้าไปปฏิบัติการได้อย่างไร หากไม่ได้รับอนุญาตจากทางการพม่า ซึ่งได้ปฏิเสธที่จะรับความช่วยเหลือของสหรัฐฯ ไปแล้ว
"นี่เป็นโอกาสที่จะช่วยชีวิตคนจำนวนมากและเราเตรียมพร้อมอย่างเต็มที่ที่จะช่วยเหลือ..ช่วยเหลือจริงๆ" เกตส์กล่าว
รมว.กลาโหมสหรัฐฯ ยอมรับว่ากองเรือโจมตีและยกพลขึ้นบกที่นำโดยเรือเอ็สเส็ก (USS Essex) ได้ส่งเฮลิคอปเตอร์เข้าประเทศไทย เพื่ออยู่ในตำแหน่งเตรียมพร้อมจะปฏิบัติการได้ในเวลาเพียงไม่กี่ชั่วโมง
ทันทีที่เตรียมพร้อมในประเทศไทยแล้วเสร็จ กองเรือสหรัฐฯ รวมทั้งเรือเอ็สเส็กจะเริ่มเคลื่อนออกจากอ่าวไทยไปประจำในน่านน้ำใกล้พม่า ซึ่งจะใช้เวลาในการเดินทางประมาณ 5 วัน
ตามรายงานของเอเอฟพีนอกจากเรือเอ็สเส็กซึ่งรวมเรือโจมจียกพลขึ้นบกอีก 3 ลำในกลุ่ม กองเรือที่มุ่งหน้าสู่ทะเลอันดามันยังประกอบด้วย เรือฮาร์เพอร์สเฟอร์รี (USS Harpers Ferry) กับเรือพิฆาตมัสติน (USS Mustin) อีก 1 ลำด้วย
นอกจากนั้นสหรัฐฯ ยังมีเครื่องบินลำเลียงขนส่งแบบ C-130 อีกจำนวน 6 ลำประจำในประเทศไทยเช่นเดียวกันและพร้อมออกปฏิบัติการ
ส่วนพลเรือเอกไมเคิล มุลเลน ประธานคณะเสนาธิการผสม กองทัพสหรัฐฯ กล่าวว่า ขณะนี้มีนายทหารระดับนายพลคนหนึ่งประจำอยู่ในประเทศไทย เพื่อเป็นหัวหน้านำปฏิบัติการช่วยเหลือชาวพม่า
เรือเอ็สเส็กมีเฮลิคอปเตอร์ประจำการจำนวน 23 ลำ นาวิกโยธินอีก 1,800 นาย ซึ่งพร้อมจะขึ้นบกเพื่อไปจัดทำน้ำดื่มสะอาดให้แก่ผู้ประสบภัยในเขตภัยพิบัติ พล.ร.อ.มุลเล็นกล่าว
เรือรบกำลังพลและอากาศยานทั้งหมดนี้ ได้เข้าร่วมการฝึกโคบราโกลด์ในอ่าวไทยร่วมกับกองกำลังของไทยกับอีกหลายประเทศ ในช่วงที่พายุนาร์กิสพัดเข้าทำลายล้างเขตอิรวดีกับกรุงย่างกุ้ง
แต่คณะปกครองทหารพม่าที่ไม่เคยไว้ใจใครได้ปฏิเสธที่จะรับการช่วยเหลือจากสหรัฐฯ กับอีกหลายประเทศ ขณะที่รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ คอนโดลีซซา ไรซ์ ได้เรียกร้องให้จีนใช้อำนาจอิทธิพลที่อยู่กดดันทางการพม่า
กระทรวงการต่างประเทศพม่าออกแถลงเมื่อวันศุกร์ (9 พ.ค.) นี้ แจ้งว่าพร้อมและยินดีรับความช่วยเหลือต่างๆ จากภายนอกแต่จะไม่ให้ผู้เชี่ยวชาญและหน่วยปฏิบัติการค้นหาและกู้ภัยจากชาติใดเข้าประเทศ
กี๋ลือว์ (Ky Luu) ผู้อำนวยการสำนักงานช่วยเหลือภัยพิบัติต่างประเทศของยูเสดได้ปฏิเสธครั้งแล้วครั้งเล่าที่จะให้ความเห็นว่า การส่งอากาศยานเข้าไปยังพม่า โดยฝ่ายนั้นไม่ยินยอม จะเป็นไปอย่าง "ถูกต้อง" หรือ "ไม่ถูกต้อง" ตามกฎหมาย
"แต่ในแง่ของการวางแผนเพื่อปฏิบัติการ ไม่ว่ามันอาจจะถูกมองอย่างไรและจะต้องใช้ทรัพยากรอะไรบ้างและเราจะสามารถวางแผนได้อย่างไร สำหรับ (การปฏิบัติการ) ในประเทศหนึ่ง ก็อย่างที่ผมพูด.. เรากำลังเตรียมการในทุกๆ ทางเลือก" ลือว์กล่าว
เจ้าหน้าที่ผู้นี้กล่าวอีกว่า ฝรั่งเศสก็เคยพิจารณาใช้ทางเลือกและใช้วิธีการคล้ายๆ กัน เพื่อเข้าไปช่วยชาวจังหวัดโคโซโวที่แยกตัวออกจากเซอร์เบียในช่วงทศวรรษที่ 1990
อย่างไรก็ตาม ลือว์กล่าวว่า การใช้วิธีทิ้งร่ม "ไม่ใช่วิธีการที่มีประสิทธิภาพในแง่ของการให้ความช่วยเหลือ และ ในที่สุดมันอาจจะเป็นวิธีการที่สร้างอันตรายขึ้นมามากกว่าอย่างอื่นๆ"
ส่วนเกตส์ กับ พล.ร.อ.มุลเลน กล่าวแถลงที่กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ระบุว่า สิ่งของเครื่องใช้ความช่วยเหลือนั้น สามารถที่จะทิ้งร่มลงได้ แต่รัฐบาลพม่าก็ยังคงเป็นตัวขัดขวาง
"มันเป็นเขตอธิปไตยเหนือน่านฟ้า และคุณจะต้องได้รับการยินยอมในการบินเข้าน่านฟ้านั้น" ผู้นำกองทัพสหรัฐฯ กล่าว
"ตอนนี้เรายังไม่มีทางที่จะเข้าไปในน่านฟ้านั้นได้โดยได้รับอนุญาต" พล.ร.อ.มุลเลนกล่าว
ส่วน รมว.กลาโหมสหรัฐฯ กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่สามารถเข้าไป (ในพม่า) โดยตรงได้ "เราอาจจะต้องเตรียมพร้อมที่จะทำงานอย่างสร้างสรรค์กับฝ่ายอื่นๆ ในหนทางที่เราสามารถที่จะช่วยได้"
เกตส์กล่าวว่าหากจำเป็นที่จะต้องใช้ตัวกลางในการเจรจา ซึ่งหมายถึงการติดต่อกับจีน อินเดีย และประเทศเพื่อนบ้านอื่นๆ ที่สามารถเข้าไปในพม่าได้ก็จะต้องทำ
"ความสนใจของเราที่นี่ไม่ได้เป็นเรื่องการเมืองอย่างสิ้นเชิง.. มันเป็นเรื่องความพยายามและช่วยประชาชนพม่า และผมคิดว่าถ้าหากเราไม่สามารถทำได้ตรงๆ เราควรจะต้องเตรียมใช้วิธีการอื่นๆ ในการกระทำดังกล่าว" รมว.กลาโหมสหรัฐฯ กล่าว.