ประวัติความเป็นมาของขบวนการกรรมกร ก่อน ค.ศ. 1760 ทวีปยุโรปยังมีระบบเศรษฐกิจแบบเกษตรกรรม ประชาชนส่วนใหญ่มีอาชีทำไร่ทำนา ต่อมาใน ค.ศ. 1760 (พ.ศ. 2303) เกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรมเหล็กในยุโรป และใน ค.ศ. 1765 เจมวัต ชาวสกอตแลนด์ สามารถผลิตเครื่องจักรไอน้ำ เจ้าของโรงงานต่างก็นำเครื่องจักรไอน้ำไปใช้ประโยชน์ เช่น เป็นเครื่องจักรรถไฟ เครื่องจักรเรือ เกิดการเดินเรือ เอาไปเป็นเครื่องจักรกลในโรงงาน มีโรงงานทอผ้า โรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ มากมาย
กรรมกรต้องทำงานอย่างหนักถึงวันละไม่ต่ำกว่า 14 - 16 ชั่วโมง โดยไม่มีวันหยุด การกดขี่ ขูดรีดอย่างหนักนี่เองจึงเกิดขบวนการต่อสู้ของกรรมกรในยุโรปขึ้น เช่น ขบวนการ กรรมกรชาดิสต์ (Chatist) ได้หยุดงานทั่วไปผลักดันสร้างการปกครองประชาธิปไตย เป็นผลสำเร็จในประเทศอังกฤษ และพัฒนาเป็นพรรคแรงงาน (Labors Party) จวบจนปัจจุบัน
ใน ค.ศ. 1789 มหาปฏิวัติประชาธิปไตยฝรั่งเศสแบบรุนแรง มีสาเหตุมาจากความยากจน และความไม่เป็นธรรมจากการกดขี่ ขูดรีดของนายทุนและสภาการเมืองที่ล้าหลังของชาวฝรั่งเศสเองเป็นสำคัญ การปฏิวัติประชาธิปไตยในฝรั่งเศสมีผลสะเทือนต่อการตื่นตัวของกรรมกร และประชาชนทั่วทั้งยุโรปและขยายผลไปยังอเมริกา ญี่ปุ่น ฯลฯ
ใน ค.ศ. 1886 คนงานเหมืองแห่งเมืองชิคาโก ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้นัดหยุดงานครั้งใหญ่ (General strike) จัดชุมนุมเดินขบวนอย่างขนานใหญ่เพื่อเรียกร้องระบบสามแปด คือทำงาน 8 ชั่วโมง พักผ่อน 8 ชั่วโมง และการศึกษา 8 ชั่วโมง ต่อมาสหพันธ์กรรมกรแห่งสหรัฐอเมริกาก็ได้ลุกขึ้นต่อสู้เดินขบวนทั่วประเทศขึ้นในวันที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 1890 เพื่อเรียกร้องระบบสามแปด เป็นผลสำเร็จและเรียกร้องสวัสดิการต่างๆ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ขบวนการกรรมกรขึ้นเป็นลำดับ
ในที่ประชุมของสภากรรมกรสากล ณ กรุงปารีส ฝรั่งเศส ได้มีมติกำหนดให้วันที่ 1 พฤษภาคม ของทุกปีเป็นวันกรรมกรสากล ถือว่าเป็นวันที่กรรมกรลุกขึ้นต่อสู้ลดชั่วโมงทำงานและสวัสดิการต่างๆ ดังนั้น วันที่ 1 พฤษภาคม เป็นวันกรรมกรสากล จึงเป็นวันระลึกถึงการต่อสู้อย่างยิ่งใหญ่ทั้งทางการเมืองและเพื่อเรียกร้องสิทธิและสวัสดิการที่เป็นธรรม
มีข้อสังเกตว่าความสำเร็จของขบวนการกรรมกรสากลในประเทศต่างๆ ไม่ได้เป็นเพียงกลุ่มผลประโยชน์ (Interest group) เพียงอย่างเดียว แต่จะต้องเป็นกลุ่มผลักดัน (Pressure group) ที่มีประสิทธิภาพสูงด้วย มีการศึกษาวางแผน ผลักดันและต่อสู้ทางการเมืองร่วมอยู่ด้วย จะมีนักคิด นักปรัชญา ปัญญาชนทางการเมืองอยู่เบื้องหลัง พร้อมๆ กับการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในยุโรปจากระบอบเก่าเป็นระบอบประชาธิปไตยในรูปแบบต่างๆ ตามลักษณะพิเศษของประเทศนั้นๆ เช่น อังกฤษมีการปกครองแบบประชาธิปไตยระบบรัฐสภา ฝรั่งเศสมีการปกครองแบบประชาธิปไตยระบบกึ่งประธานาธิบดี ประเทศสหรัฐอเมริกามีการปกครองแบบประชาธิปไตยระบบประธานาธิบดี เป็นต้น
ซึ่งต่างจากประเทศในแถบเอเชีย พระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้ที่ก้าวหน้าและเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงการเมืองให้เป็นประชาธิปไตย คือเมื่อมีการพัฒนาอุตสาหกรรมเกิดขึ้น ก็จะมีการกดขี่ ขูดรีดกรรมกรและความขัดแย้งต่างๆ ทางชนชั้น เช่น ประเทศญี่ปุ่น ในสมัยเมจิ พระเจ้าจักรพรรดิมัตสุฮิโต ก็ทรงนำทำการเปลี่ยนแปลงการเมืองให้เป็นระบอบประชาธิปไตย โดยมีพวกซามูไรหนุ่มเป็นฝ่ายสนับสนุน
ประเทศไทย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ก็ทรงทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบบจตุสดมภ์ เวียง วัง คลัง นา มาเป็น 12 กระทรวง เพื่อให้สอดคล้องกับความผันแปรของสถานการณ์และความอยู่รอดของประเทศ การปรับปรุงการปกครองนับเป็นการเริ่มต้นพัฒนาการเมืองของประเทศให้ทันสมัย ทรงเลิกทาส ใน พ.ศ. 2417 ทรงเห็นสิทธิเสรีภาพ และความเสมอภาคของประชาชน ก่อตั้งรัฐวิสาหกิจต่างๆ ช่วยให้ประเทศรอดพ้นจากการจลาจล และความไม่สงบเรียบร้อยอันเกิดจากความล้าสมัยของระบบการเมืองที่ไม่สามารถตอบสนองของประเทศชาติและประชาชนได้
แต่ก็ทรงทำได้เพียงครึ่งเดียว คือเปลี่ยนรูปแบบการปกครองเท่านั้น รัชกาลที่ 6 ทรงสืบทอดภารกิจอันสำคัญนี้ จนถึงรัชกาลที่ 7 พระราชภารกิจที่ทรงทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย ที่แฝงไว้ด้วยลักษณะธรรมาธิปไตยอย่างเป็นขั้นเป็นตอน ก็ต้องสะดุดหยุดลงด้วยรัฐประหาร 2475 นับจากนั้นมาถึงปัจจุบันก็มีแต่รูปแบบการปกครองกับวิธีการปกครอง แต่ไม่มีหลักการปกครองโดยธรรมอันเป็นรากฐานของชาติและเป็นศูนย์กลางความเป็นธรรมของปวงชนไทย
ประเทศจีนพระเจ้า กว่างสู ทรงเป็นผู้ริเริ่มเปลี่ยนแปลงทางการเมือง แต่ถูก ซูสีไทเฮา กล่าวหาว่าเป็นกบฏ และจับขังไว้จนพระเจ้ากวางสู ตรอมใจสิ้นพระชนม์ในที่สุด จากนั้น ดร.ซุนยัดเซน นำการปฏิวัติประเทศเป็นสาธารณรัฐ แต่ไม่เสร็จสมบูรณ์ ต่อมา เหมา เจ๋อ ตุง ทำการปฏิวัติคอมมิวนิสต์เป็นผลสำเร็จจวบจนปัจจุบัน
ประวัติขบวนการกรรมกรไทย อุตสาหกรรมไทยในระยะแรกนายทุนเป็นชาวต่างชาติจากยุโรปและกรรมกรไทยมักจะเป็นชาวจีนจากโพ้นทะเล ส่วนคนไทยยังเป็นผู้ใช้แรงงานทั่วไปในทุ่งไร่ ทุ่งนา ต่อมาเมื่อมีการพัฒนาอุตสาหกรรมมากขึ้น คนจีนได้พัฒนาตนเองยกระดับเป็นนายจ้างหรือนายทุน ส่วนคนไทยจากท้องไร่ ทุ่งนา ก็เข้ามาเป็นกรรมกร และมีการจัดงานวันกรรมกรสากลอย่างเปิดเผยเมื่อ พ.ศ. 2489 คือการจัดงานกรรมกรสากล ที่พระราชวังสราญรมณ์ โดยกรรมกรสามล้อจีนเป็นผู้ริเริ่ม
ต่อมาใน พ.ศ. 2490 เป็นการฉลอง “สมาคมสหอาชีวะกรรมกรแห่งประเทศไทย” มีการจัดชุมนุมกรรมกรสากลขึ้นที่ท้องสนามหลวง มีผู้เข้าร่วมงานหลายแสนคน ภายใต้คำขวัญ “กรรมกรทั้งหลายจงสามัคคีกัน”
ในยุคเผด็จการรัฐประหาร 2500 ได้เปลี่ยนวันกรรมกรสากล เป็นวันแรงงานแห่งชาติ นับแต่นั้นมารัฐบาลในระบอบเผด็จการแบบต่างๆ ก็จะเข้ามาควบคุมครอบงำแบ่งแยกสลายขบวนการกรรมกรไทยให้อ่อนแอลงๆ ไม่มีทิศทางการต่อสู้ที่เป็นเหตุแห่งความไม่เป็นธรรม จมปรักอยู่กับการเรียกร้องค่าแรงขั้นต่ำ ได้ลดตัวลงเป็นเพียงกลุ่มผลประโยชน์เฉพาะหน้าอย่างแคบๆ กิจกรรมต่างๆ ในวันกรรมกรสากล ก็เป็นเพียงกิจกรรมร้องรำทำเพลง พักผ่อน ความสำคัญของผู้นำกรรมกรก็ค่อยจางลงๆ และหมดพลังในการต่อรองเพื่อประโยชน์โดยรวมของประเทศชาติและประชาชนอย่างแท้จริง ทั้งองค์กรกรรมกรทั้งหลายต่างก็ถูกจัดตั้งขึ้นตามเงื่อนไขของรัฐบาลนายทุนคนส่วนน้อยผู้ได้เปรียบในสังคม
กรรมกรส่วนใหญ่จึงติดกับกรงขังของระบอบเผด็จการด้วยกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ฉบับต่างๆ ตามยุคสมัย กรรมกรจึงมีแต่ความแตกแยก ความอยากใหญ่ของผู้นำกรรมกรบางคนที่เห็นแต่เฉพาะประโยชน์เฉพาะหน้า
แท้จริงกรรมกรในฐานะเป็นผู้ร่วมสร้างระบบทุนนิยม นายจ้างเป็นผู้ลงทุน กรรมกรเป็นผู้ลงแรง ทั้งสองฝ่ายต้องร่วมกันอย่างแยกกันไม่ได้ เสมือนเหรียญหัวกับก้อย เพื่อพัฒนากระบวนการผลิตในระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมอันเป็นอุตสาหกรรมสมัยใหม่ ถ้าขาดข้างใดข้างหนึ่งก็จะไม่เกิดระบบการผลิตแบบทุนนิยม คำว่า นายทุนและกรรมกร เป็นคำที่พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงษ์ประพันธ์ เป็นผู้บัญญัติศัพท์ จึงกล่าวว่า นายทุนและกรรมกรเป็นคำที่มีเกียรติ ฉะนั้นกรรมกรเป็นผู้มีเกียรติเช่นเดียวกับนายทุน กรรมกรจึงไม่ใช่ทาสของนายจ้าง แต่จะอยู่ร่วมกันอย่างสร้างสรรค์ประเทศชาติอย่างเคียงบ่าเคียงไหล่ได้นั้น จะต้องมีหลักการปกครองที่เป็นธรรมหรือเป็นธรรมาธิปไตยเท่านั้น
ขบวนการกรรมกรแห่งชาติ จะอยู่เฉยอีกต่อไปไม่ได้แล้ว จะต้องพัฒนาตนเองด้วยการศึกษา แสวงหาความเป็นธรรมให้แก่ปวงชนในแผ่นดิน เพราะพวกเราส่วนใหญ่เป็นชาวพุทธ มีพระธรรมคำสอน มีคุณธรรมอยู่ในใจเป็นพื้นฐานกันทุกคน การต่อยอดโดยระลึกอยู่เสมอว่า “ปัญญาอันยิ่งใหญ่ต้องมาจากพระพุทธเจ้า” เรียนรู้การวิปัสสนาเพื่อให้รู้แจ้งตามความเป็นจริง รู้กฎเกณฑ์ของธรรมชาติ จะรู้กฎความสัมพันธ์ของเหตุและผล รู้จักเหตุปัจจัยต่างๆ รู้กฎแห่งกรรม ว่าทำดีย่อมได้ดี ทำชั่วย่อมได้ชั่ว หรือผลย่อมเกิดจากเหตุเสมอไป ผลเลว ย่อมเกิดจากเหตุเลว ชีวิตเราเลือกเกิดไม่ได้ แต่มีสิทธิที่จะพัฒนาได้ตามใจปรารถนา ความเลวความดี ความยากจนไม่ได้อยู่ที่กรรมเก่าเสมอไป แต่อยู่ที่เงื่อนไขของสังคมด้วย
กรรมกรไทยและนายจ้างส่วนใหญ่เป็นชาวพุทธโดยทั่วไปนายจ้างมีจิตใจดี จะไม่กดขี่ จะมีบ้างก็จำนวนน้อย ความไม่เป็นธรรมเกิดจากระบอบการปกครอง กรรมกรยังมีจุดอ่อนคือเป็นผู้คิด ค้น สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ยังน้อยอยู่ ส่วนใหญ่เป็นผู้ใช้เครื่องจักรตามคู่มือที่มาจากต่างประเทศ ไม่ได้คิดค้นด้วยตนเอง ฉะนั้นจุดอ่อนนี้แก้ไขด้วยการศึกษาพระพุทธศาสนาแล้วปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานกันอย่างทั่วหน้า กรรมกรก็จะเป็นผู้ฉลาด รู้เท่าทัน จะรู้ว่าอะไรคือเหตุแห่งความไม่เป็นธรรมที่แท้จริง และไม่ตกเป็นเครื่องมือของระบอบการเมืองมิจฉาทิฐิ โดยที่กรรมกรไม่มีสิทธิที่จะเข้าสู่การเมืองได้เลย
ถ้ากรรมกรไทยจะเลือกแนวทางลัทธิมาร์กซ์ โค่นนายทุนก็เป็นไปไม่ได้ในแผ่นดินนี้ เพราะนายทุนเมืองไทยหรือนายทุนชาติมีความเมตตา ไม่ได้โหดร้ายอย่างในยุโรปหรือรัสเซีย หรือจะเลือกแนวทางลัทธิประชาธิปไตย ก็ดีงามแต่เป็นรถเมล์เที่ยวสุดท้ายพัฒนาไม่ทันประเทศมาเลเซีย
แสวงหาแนวทางใหม่ คือ เลือกแนวทางธรรมาธิปไตยที่อยู่ในสายเลือดของคนไทยทั่วไปทุกสาขาอาชีพอยู่แล้ว "ภูเขายังตั้ง ตะวันยังฉาย ธรรมาธิปไตยไม่สลายจากใจมนุษยชาติ" เจริญรอยตามองค์พระศาสดา และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในพระปฐมบรมราชโองการ "เราจะครองแผ่นดินโดยธรรมเพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม"
จุดมุ่งหมาย และภารกิจหลักของขบวนการกรรมกรไทย คือต่อสู้ผลักดันสร้างการปกครองที่เป็นธรรมอย่างสันติ สมดังคำขวัญที่ว่า "กรรมกรสามัคคีกันผลักดันสร้างสรรค์ ธรรมาธิปไตย ตามแนวทางอุดมการณ์ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์" เพื่อความมั่นคงของชาติและประชาชนสืบไป
กรรมกรต้องทำงานอย่างหนักถึงวันละไม่ต่ำกว่า 14 - 16 ชั่วโมง โดยไม่มีวันหยุด การกดขี่ ขูดรีดอย่างหนักนี่เองจึงเกิดขบวนการต่อสู้ของกรรมกรในยุโรปขึ้น เช่น ขบวนการ กรรมกรชาดิสต์ (Chatist) ได้หยุดงานทั่วไปผลักดันสร้างการปกครองประชาธิปไตย เป็นผลสำเร็จในประเทศอังกฤษ และพัฒนาเป็นพรรคแรงงาน (Labors Party) จวบจนปัจจุบัน
ใน ค.ศ. 1789 มหาปฏิวัติประชาธิปไตยฝรั่งเศสแบบรุนแรง มีสาเหตุมาจากความยากจน และความไม่เป็นธรรมจากการกดขี่ ขูดรีดของนายทุนและสภาการเมืองที่ล้าหลังของชาวฝรั่งเศสเองเป็นสำคัญ การปฏิวัติประชาธิปไตยในฝรั่งเศสมีผลสะเทือนต่อการตื่นตัวของกรรมกร และประชาชนทั่วทั้งยุโรปและขยายผลไปยังอเมริกา ญี่ปุ่น ฯลฯ
ใน ค.ศ. 1886 คนงานเหมืองแห่งเมืองชิคาโก ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้นัดหยุดงานครั้งใหญ่ (General strike) จัดชุมนุมเดินขบวนอย่างขนานใหญ่เพื่อเรียกร้องระบบสามแปด คือทำงาน 8 ชั่วโมง พักผ่อน 8 ชั่วโมง และการศึกษา 8 ชั่วโมง ต่อมาสหพันธ์กรรมกรแห่งสหรัฐอเมริกาก็ได้ลุกขึ้นต่อสู้เดินขบวนทั่วประเทศขึ้นในวันที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 1890 เพื่อเรียกร้องระบบสามแปด เป็นผลสำเร็จและเรียกร้องสวัสดิการต่างๆ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ขบวนการกรรมกรขึ้นเป็นลำดับ
ในที่ประชุมของสภากรรมกรสากล ณ กรุงปารีส ฝรั่งเศส ได้มีมติกำหนดให้วันที่ 1 พฤษภาคม ของทุกปีเป็นวันกรรมกรสากล ถือว่าเป็นวันที่กรรมกรลุกขึ้นต่อสู้ลดชั่วโมงทำงานและสวัสดิการต่างๆ ดังนั้น วันที่ 1 พฤษภาคม เป็นวันกรรมกรสากล จึงเป็นวันระลึกถึงการต่อสู้อย่างยิ่งใหญ่ทั้งทางการเมืองและเพื่อเรียกร้องสิทธิและสวัสดิการที่เป็นธรรม
มีข้อสังเกตว่าความสำเร็จของขบวนการกรรมกรสากลในประเทศต่างๆ ไม่ได้เป็นเพียงกลุ่มผลประโยชน์ (Interest group) เพียงอย่างเดียว แต่จะต้องเป็นกลุ่มผลักดัน (Pressure group) ที่มีประสิทธิภาพสูงด้วย มีการศึกษาวางแผน ผลักดันและต่อสู้ทางการเมืองร่วมอยู่ด้วย จะมีนักคิด นักปรัชญา ปัญญาชนทางการเมืองอยู่เบื้องหลัง พร้อมๆ กับการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในยุโรปจากระบอบเก่าเป็นระบอบประชาธิปไตยในรูปแบบต่างๆ ตามลักษณะพิเศษของประเทศนั้นๆ เช่น อังกฤษมีการปกครองแบบประชาธิปไตยระบบรัฐสภา ฝรั่งเศสมีการปกครองแบบประชาธิปไตยระบบกึ่งประธานาธิบดี ประเทศสหรัฐอเมริกามีการปกครองแบบประชาธิปไตยระบบประธานาธิบดี เป็นต้น
ซึ่งต่างจากประเทศในแถบเอเชีย พระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้ที่ก้าวหน้าและเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงการเมืองให้เป็นประชาธิปไตย คือเมื่อมีการพัฒนาอุตสาหกรรมเกิดขึ้น ก็จะมีการกดขี่ ขูดรีดกรรมกรและความขัดแย้งต่างๆ ทางชนชั้น เช่น ประเทศญี่ปุ่น ในสมัยเมจิ พระเจ้าจักรพรรดิมัตสุฮิโต ก็ทรงนำทำการเปลี่ยนแปลงการเมืองให้เป็นระบอบประชาธิปไตย โดยมีพวกซามูไรหนุ่มเป็นฝ่ายสนับสนุน
ประเทศไทย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ก็ทรงทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบบจตุสดมภ์ เวียง วัง คลัง นา มาเป็น 12 กระทรวง เพื่อให้สอดคล้องกับความผันแปรของสถานการณ์และความอยู่รอดของประเทศ การปรับปรุงการปกครองนับเป็นการเริ่มต้นพัฒนาการเมืองของประเทศให้ทันสมัย ทรงเลิกทาส ใน พ.ศ. 2417 ทรงเห็นสิทธิเสรีภาพ และความเสมอภาคของประชาชน ก่อตั้งรัฐวิสาหกิจต่างๆ ช่วยให้ประเทศรอดพ้นจากการจลาจล และความไม่สงบเรียบร้อยอันเกิดจากความล้าสมัยของระบบการเมืองที่ไม่สามารถตอบสนองของประเทศชาติและประชาชนได้
แต่ก็ทรงทำได้เพียงครึ่งเดียว คือเปลี่ยนรูปแบบการปกครองเท่านั้น รัชกาลที่ 6 ทรงสืบทอดภารกิจอันสำคัญนี้ จนถึงรัชกาลที่ 7 พระราชภารกิจที่ทรงทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย ที่แฝงไว้ด้วยลักษณะธรรมาธิปไตยอย่างเป็นขั้นเป็นตอน ก็ต้องสะดุดหยุดลงด้วยรัฐประหาร 2475 นับจากนั้นมาถึงปัจจุบันก็มีแต่รูปแบบการปกครองกับวิธีการปกครอง แต่ไม่มีหลักการปกครองโดยธรรมอันเป็นรากฐานของชาติและเป็นศูนย์กลางความเป็นธรรมของปวงชนไทย
ประเทศจีนพระเจ้า กว่างสู ทรงเป็นผู้ริเริ่มเปลี่ยนแปลงทางการเมือง แต่ถูก ซูสีไทเฮา กล่าวหาว่าเป็นกบฏ และจับขังไว้จนพระเจ้ากวางสู ตรอมใจสิ้นพระชนม์ในที่สุด จากนั้น ดร.ซุนยัดเซน นำการปฏิวัติประเทศเป็นสาธารณรัฐ แต่ไม่เสร็จสมบูรณ์ ต่อมา เหมา เจ๋อ ตุง ทำการปฏิวัติคอมมิวนิสต์เป็นผลสำเร็จจวบจนปัจจุบัน
ประวัติขบวนการกรรมกรไทย อุตสาหกรรมไทยในระยะแรกนายทุนเป็นชาวต่างชาติจากยุโรปและกรรมกรไทยมักจะเป็นชาวจีนจากโพ้นทะเล ส่วนคนไทยยังเป็นผู้ใช้แรงงานทั่วไปในทุ่งไร่ ทุ่งนา ต่อมาเมื่อมีการพัฒนาอุตสาหกรรมมากขึ้น คนจีนได้พัฒนาตนเองยกระดับเป็นนายจ้างหรือนายทุน ส่วนคนไทยจากท้องไร่ ทุ่งนา ก็เข้ามาเป็นกรรมกร และมีการจัดงานวันกรรมกรสากลอย่างเปิดเผยเมื่อ พ.ศ. 2489 คือการจัดงานกรรมกรสากล ที่พระราชวังสราญรมณ์ โดยกรรมกรสามล้อจีนเป็นผู้ริเริ่ม
ต่อมาใน พ.ศ. 2490 เป็นการฉลอง “สมาคมสหอาชีวะกรรมกรแห่งประเทศไทย” มีการจัดชุมนุมกรรมกรสากลขึ้นที่ท้องสนามหลวง มีผู้เข้าร่วมงานหลายแสนคน ภายใต้คำขวัญ “กรรมกรทั้งหลายจงสามัคคีกัน”
ในยุคเผด็จการรัฐประหาร 2500 ได้เปลี่ยนวันกรรมกรสากล เป็นวันแรงงานแห่งชาติ นับแต่นั้นมารัฐบาลในระบอบเผด็จการแบบต่างๆ ก็จะเข้ามาควบคุมครอบงำแบ่งแยกสลายขบวนการกรรมกรไทยให้อ่อนแอลงๆ ไม่มีทิศทางการต่อสู้ที่เป็นเหตุแห่งความไม่เป็นธรรม จมปรักอยู่กับการเรียกร้องค่าแรงขั้นต่ำ ได้ลดตัวลงเป็นเพียงกลุ่มผลประโยชน์เฉพาะหน้าอย่างแคบๆ กิจกรรมต่างๆ ในวันกรรมกรสากล ก็เป็นเพียงกิจกรรมร้องรำทำเพลง พักผ่อน ความสำคัญของผู้นำกรรมกรก็ค่อยจางลงๆ และหมดพลังในการต่อรองเพื่อประโยชน์โดยรวมของประเทศชาติและประชาชนอย่างแท้จริง ทั้งองค์กรกรรมกรทั้งหลายต่างก็ถูกจัดตั้งขึ้นตามเงื่อนไขของรัฐบาลนายทุนคนส่วนน้อยผู้ได้เปรียบในสังคม
กรรมกรส่วนใหญ่จึงติดกับกรงขังของระบอบเผด็จการด้วยกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ฉบับต่างๆ ตามยุคสมัย กรรมกรจึงมีแต่ความแตกแยก ความอยากใหญ่ของผู้นำกรรมกรบางคนที่เห็นแต่เฉพาะประโยชน์เฉพาะหน้า
แท้จริงกรรมกรในฐานะเป็นผู้ร่วมสร้างระบบทุนนิยม นายจ้างเป็นผู้ลงทุน กรรมกรเป็นผู้ลงแรง ทั้งสองฝ่ายต้องร่วมกันอย่างแยกกันไม่ได้ เสมือนเหรียญหัวกับก้อย เพื่อพัฒนากระบวนการผลิตในระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมอันเป็นอุตสาหกรรมสมัยใหม่ ถ้าขาดข้างใดข้างหนึ่งก็จะไม่เกิดระบบการผลิตแบบทุนนิยม คำว่า นายทุนและกรรมกร เป็นคำที่พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงษ์ประพันธ์ เป็นผู้บัญญัติศัพท์ จึงกล่าวว่า นายทุนและกรรมกรเป็นคำที่มีเกียรติ ฉะนั้นกรรมกรเป็นผู้มีเกียรติเช่นเดียวกับนายทุน กรรมกรจึงไม่ใช่ทาสของนายจ้าง แต่จะอยู่ร่วมกันอย่างสร้างสรรค์ประเทศชาติอย่างเคียงบ่าเคียงไหล่ได้นั้น จะต้องมีหลักการปกครองที่เป็นธรรมหรือเป็นธรรมาธิปไตยเท่านั้น
ขบวนการกรรมกรแห่งชาติ จะอยู่เฉยอีกต่อไปไม่ได้แล้ว จะต้องพัฒนาตนเองด้วยการศึกษา แสวงหาความเป็นธรรมให้แก่ปวงชนในแผ่นดิน เพราะพวกเราส่วนใหญ่เป็นชาวพุทธ มีพระธรรมคำสอน มีคุณธรรมอยู่ในใจเป็นพื้นฐานกันทุกคน การต่อยอดโดยระลึกอยู่เสมอว่า “ปัญญาอันยิ่งใหญ่ต้องมาจากพระพุทธเจ้า” เรียนรู้การวิปัสสนาเพื่อให้รู้แจ้งตามความเป็นจริง รู้กฎเกณฑ์ของธรรมชาติ จะรู้กฎความสัมพันธ์ของเหตุและผล รู้จักเหตุปัจจัยต่างๆ รู้กฎแห่งกรรม ว่าทำดีย่อมได้ดี ทำชั่วย่อมได้ชั่ว หรือผลย่อมเกิดจากเหตุเสมอไป ผลเลว ย่อมเกิดจากเหตุเลว ชีวิตเราเลือกเกิดไม่ได้ แต่มีสิทธิที่จะพัฒนาได้ตามใจปรารถนา ความเลวความดี ความยากจนไม่ได้อยู่ที่กรรมเก่าเสมอไป แต่อยู่ที่เงื่อนไขของสังคมด้วย
กรรมกรไทยและนายจ้างส่วนใหญ่เป็นชาวพุทธโดยทั่วไปนายจ้างมีจิตใจดี จะไม่กดขี่ จะมีบ้างก็จำนวนน้อย ความไม่เป็นธรรมเกิดจากระบอบการปกครอง กรรมกรยังมีจุดอ่อนคือเป็นผู้คิด ค้น สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ยังน้อยอยู่ ส่วนใหญ่เป็นผู้ใช้เครื่องจักรตามคู่มือที่มาจากต่างประเทศ ไม่ได้คิดค้นด้วยตนเอง ฉะนั้นจุดอ่อนนี้แก้ไขด้วยการศึกษาพระพุทธศาสนาแล้วปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานกันอย่างทั่วหน้า กรรมกรก็จะเป็นผู้ฉลาด รู้เท่าทัน จะรู้ว่าอะไรคือเหตุแห่งความไม่เป็นธรรมที่แท้จริง และไม่ตกเป็นเครื่องมือของระบอบการเมืองมิจฉาทิฐิ โดยที่กรรมกรไม่มีสิทธิที่จะเข้าสู่การเมืองได้เลย
ถ้ากรรมกรไทยจะเลือกแนวทางลัทธิมาร์กซ์ โค่นนายทุนก็เป็นไปไม่ได้ในแผ่นดินนี้ เพราะนายทุนเมืองไทยหรือนายทุนชาติมีความเมตตา ไม่ได้โหดร้ายอย่างในยุโรปหรือรัสเซีย หรือจะเลือกแนวทางลัทธิประชาธิปไตย ก็ดีงามแต่เป็นรถเมล์เที่ยวสุดท้ายพัฒนาไม่ทันประเทศมาเลเซีย
แสวงหาแนวทางใหม่ คือ เลือกแนวทางธรรมาธิปไตยที่อยู่ในสายเลือดของคนไทยทั่วไปทุกสาขาอาชีพอยู่แล้ว "ภูเขายังตั้ง ตะวันยังฉาย ธรรมาธิปไตยไม่สลายจากใจมนุษยชาติ" เจริญรอยตามองค์พระศาสดา และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในพระปฐมบรมราชโองการ "เราจะครองแผ่นดินโดยธรรมเพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม"
จุดมุ่งหมาย และภารกิจหลักของขบวนการกรรมกรไทย คือต่อสู้ผลักดันสร้างการปกครองที่เป็นธรรมอย่างสันติ สมดังคำขวัญที่ว่า "กรรมกรสามัคคีกันผลักดันสร้างสรรค์ ธรรมาธิปไตย ตามแนวทางอุดมการณ์ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์" เพื่อความมั่นคงของชาติและประชาชนสืบไป