ธปท.มั่นใจเศรษฐกิจไทยโดยรวมในช่วงไตรมาสแรกจะขยายตัวถึง 6% ระบุในระยะต่อไปต้องใช้มาตรการภาครัฐมาช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ จึงไม่หนักใจค่าครองชีพสูงและอาจส่งผลให้อุปสงค์ในประเทศชะลอ ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจในอีก 3 เดือนข้างหน้าลดลงแตะ 49.6 ลดลงต่ำสุดในรอบ 8 เดือน เหตุต้นทุนการผลิตพุ่งและความสามารถในการปรับราคาได้ยาก ทำให้ผู้ประกอบการกังวลในเรื่องการลงทุนต่อไป
นางอมรา ศรีพยัคฆ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจในประเทศ ธนาคารแห่งประเทศ(ธปท.) เปิดเผยว่า แม้ปัญหาค่าครองชีพที่สูงขึ้นอาจเป็นส่วนหนึ่งในปัจจัยลบที่ผลต่ออุปสงค์ในประเทศให้ฟื้นตัวช้า แต่เชื่อว่าด้วยมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลช่วยชดเชยเรื่องนี้ได้ระดับหนึ่ง จึงมั่นใจว่าเศรษฐกิจไทยโดยรวมในไตรมาสแรกของปีนี้สามารถขยายตัวได้ถึง 6% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนที่ขยายตัว 5.7% และเชื่อว่าเศรษฐกิจไทยยังจำเป็นที่ต้องอาศัยมาตรการจากภาครัฐเข้ามาช่วยดูแลเศรษฐกิจต่อไป
“ในไตรมาส 2 เศรษฐกิจยังขยายตัวได้อย่างต่อเนื่องจากฐานที่ต่ำเหมือนกับไตรมาสแรก และแม้อัตราเงินเฟ้อจะส่งผลต่อค่าครองชีพ แต่รายได้ของประชาชนก็เพิ่มขึ้น ซึ่งภาคเกษตรกรได้รับผลกระทบจากต้นทุนที่เกิดจากแรงงานและปุ๋ยมีไม่มากนัก สะท้อนให้เห็นว่าการบริโภคเพื่อการยังชีพยังมีความสำคัญอยู่ ซึ่งปัจจุบันสัดส่วนการบริโภคมากถึง 50%ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ(จีดีพี)”
ส่วนกรณีที่หากภาครัฐปรับขึ้นอัตราค่าแรงขั้นต่ำอีก 9 บาทนั้นเชื่อว่าเป็นเรื่องที่ดีที่จะช่วยชดเชยค่าครองชีพที่สูงขึ้นและเป็นส่วนหนึ่งกระตุ้นการบริโภคต่อไป และหากมีการปรับค่าแรงขึ้นในระดับนี้ก็ยังอยู่ในระดับใกล้เคียงกับที่ธปท.คาดการณ์ไว้ และเป็นการปรับที่ไม่สูงกว่าอัตราเงินเฟ้อจนสร้างแรงกดดันให้ผู้ผลิตหรือผู้ประกอบการตัดสินใจลงทุนลดลงได้ เพราะขณะนี้ภาพรวมเศรษฐกิจโดยรวมยังเติบโตต่อไปได้
นางอมรา กล่าวว่า สำหรับภาพรวมเศรษฐกิจในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ยังขยายตัวได้ดีต่อเนื่องทั้งภาคเกษตรที่มีรายได้เพิ่มขึ้น เช่นเดียวกับภาคการท่องเที่ยวและภาคอุตสาหกรรม ซึ่งในภาคอุตสาหกรรมในช่วงต่อไปอาจขยายตัวไม่มากนักจากอุปสงค์ชะลอตัว และในช่วงเดือนม.ค.และก.พ.ที่มีฐานที่สูงกว่า นอกจากนี้ธปท.ยังคงเป็นห่วงภาคการลงทุนและการบริโภคที่อาจจะได้รับผลกระทบจากอัตราเงินเฟ้อเร่งตัวสูงจากราคาน้ำมันและพืชผล โดยการลงทุนขยายตัวเพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 7.2% เทียบกับไตรมาสก่อน 4.1% เนื่องจากมูลค่าการนำเข้าสินค้าทุน โดยเฉพาะเครื่องจักรและอุปกรณ์ ส่วนหมวดการก่อสร้างยังคงหดตัวต่อเนื่อง
ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจในเดือนมี.ค.แม้ปรับตัวดีขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 47.3 จากเดือนก่อน 44.8 แต่ก็อยู่ในระดับต่ำกว่า 50 ซึ่งเป็นการปรับขึ้นของทุกองค์ประกอบ ยกเว้นต้นทุนการประกอบการ ซึ่งปรับลงจากเดือนก่อน แต่ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจในอีก 3 เดือนข้างหน้าปรับลดลงอยู่ที่ระดับ 49.6 จาก 51.6 ในเดือนที่แล้ว ถือว่าต่ำสุดในรอบ 8 เดือน ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความกังวลในเรื่องภาวะเงินเฟ้อจากราคาน้ำมันและอาหารที่ปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นและความสามารถในการปรับราคายังเป็นข้อจำกัดในการลงทุนของผู้ประกอบการอยู่
ด้านการอุปโภคบริโภคขยายตัวระดับ 2.4% เทียบกับไตรมาสก่อน 2% สอดคล้องกับดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคโดยรวมในช่วงไตรมาสแรกปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็น 79.4 จากเดือนก่อน 76.3 โดยส่วนหนึ่งเป็นผลจากที่รัฐบาลออกมาตรการต่างๆ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ
ภาคการต่างประเทศมีมูลค่าการนำเข้า 41,494 ล้านเหรียญ เพิ่มขึ้น 34.5% ตามการนำเข้าที่เร่งขึ้นในทุกหมวด ส่วนการส่งออกมีมูลค่า 41,385 ล้านเหรียญ หรือขยายตัว 21.1% ตามการส่งออกสินค้าเกษตรที่ดีทั้งราคาและปริมาณ รวมทั้งการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานในการผลิตสุงเร่งขึ้นมากจากการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับ รวมถึงสินค้าอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีในการผลิตสูงที่ยังคงขยายตัวต่อเนื่อง ทำให้มีดุลการค้าขาดดุล 109 ล้านเหรียญ เมื่อรวมกับดุลบริการ รายได้และเงินโอนที่เกินดุล 3,177 ล้านเหรียญ เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่เกินดุล 1,371 ล้านเหรียญตามการเพิ่มขึ้นของดุลการท่องเที่ยวและรายรับผลประโยชน์จากการลงทุนของภาครัฐที่เพิ่มขึ้นตามการเพิ่มขึ้นของเงินสำรองระหว่างประเทศ ทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 3,068 ล้านเหรียญ ส่วนดุลการชำระเงินเกินดุล 18,483 ล้านเหรียญ
นางอมรา ศรีพยัคฆ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจในประเทศ ธนาคารแห่งประเทศ(ธปท.) เปิดเผยว่า แม้ปัญหาค่าครองชีพที่สูงขึ้นอาจเป็นส่วนหนึ่งในปัจจัยลบที่ผลต่ออุปสงค์ในประเทศให้ฟื้นตัวช้า แต่เชื่อว่าด้วยมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลช่วยชดเชยเรื่องนี้ได้ระดับหนึ่ง จึงมั่นใจว่าเศรษฐกิจไทยโดยรวมในไตรมาสแรกของปีนี้สามารถขยายตัวได้ถึง 6% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนที่ขยายตัว 5.7% และเชื่อว่าเศรษฐกิจไทยยังจำเป็นที่ต้องอาศัยมาตรการจากภาครัฐเข้ามาช่วยดูแลเศรษฐกิจต่อไป
“ในไตรมาส 2 เศรษฐกิจยังขยายตัวได้อย่างต่อเนื่องจากฐานที่ต่ำเหมือนกับไตรมาสแรก และแม้อัตราเงินเฟ้อจะส่งผลต่อค่าครองชีพ แต่รายได้ของประชาชนก็เพิ่มขึ้น ซึ่งภาคเกษตรกรได้รับผลกระทบจากต้นทุนที่เกิดจากแรงงานและปุ๋ยมีไม่มากนัก สะท้อนให้เห็นว่าการบริโภคเพื่อการยังชีพยังมีความสำคัญอยู่ ซึ่งปัจจุบันสัดส่วนการบริโภคมากถึง 50%ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ(จีดีพี)”
ส่วนกรณีที่หากภาครัฐปรับขึ้นอัตราค่าแรงขั้นต่ำอีก 9 บาทนั้นเชื่อว่าเป็นเรื่องที่ดีที่จะช่วยชดเชยค่าครองชีพที่สูงขึ้นและเป็นส่วนหนึ่งกระตุ้นการบริโภคต่อไป และหากมีการปรับค่าแรงขึ้นในระดับนี้ก็ยังอยู่ในระดับใกล้เคียงกับที่ธปท.คาดการณ์ไว้ และเป็นการปรับที่ไม่สูงกว่าอัตราเงินเฟ้อจนสร้างแรงกดดันให้ผู้ผลิตหรือผู้ประกอบการตัดสินใจลงทุนลดลงได้ เพราะขณะนี้ภาพรวมเศรษฐกิจโดยรวมยังเติบโตต่อไปได้
นางอมรา กล่าวว่า สำหรับภาพรวมเศรษฐกิจในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ยังขยายตัวได้ดีต่อเนื่องทั้งภาคเกษตรที่มีรายได้เพิ่มขึ้น เช่นเดียวกับภาคการท่องเที่ยวและภาคอุตสาหกรรม ซึ่งในภาคอุตสาหกรรมในช่วงต่อไปอาจขยายตัวไม่มากนักจากอุปสงค์ชะลอตัว และในช่วงเดือนม.ค.และก.พ.ที่มีฐานที่สูงกว่า นอกจากนี้ธปท.ยังคงเป็นห่วงภาคการลงทุนและการบริโภคที่อาจจะได้รับผลกระทบจากอัตราเงินเฟ้อเร่งตัวสูงจากราคาน้ำมันและพืชผล โดยการลงทุนขยายตัวเพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 7.2% เทียบกับไตรมาสก่อน 4.1% เนื่องจากมูลค่าการนำเข้าสินค้าทุน โดยเฉพาะเครื่องจักรและอุปกรณ์ ส่วนหมวดการก่อสร้างยังคงหดตัวต่อเนื่อง
ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจในเดือนมี.ค.แม้ปรับตัวดีขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 47.3 จากเดือนก่อน 44.8 แต่ก็อยู่ในระดับต่ำกว่า 50 ซึ่งเป็นการปรับขึ้นของทุกองค์ประกอบ ยกเว้นต้นทุนการประกอบการ ซึ่งปรับลงจากเดือนก่อน แต่ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจในอีก 3 เดือนข้างหน้าปรับลดลงอยู่ที่ระดับ 49.6 จาก 51.6 ในเดือนที่แล้ว ถือว่าต่ำสุดในรอบ 8 เดือน ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความกังวลในเรื่องภาวะเงินเฟ้อจากราคาน้ำมันและอาหารที่ปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นและความสามารถในการปรับราคายังเป็นข้อจำกัดในการลงทุนของผู้ประกอบการอยู่
ด้านการอุปโภคบริโภคขยายตัวระดับ 2.4% เทียบกับไตรมาสก่อน 2% สอดคล้องกับดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคโดยรวมในช่วงไตรมาสแรกปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็น 79.4 จากเดือนก่อน 76.3 โดยส่วนหนึ่งเป็นผลจากที่รัฐบาลออกมาตรการต่างๆ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ
ภาคการต่างประเทศมีมูลค่าการนำเข้า 41,494 ล้านเหรียญ เพิ่มขึ้น 34.5% ตามการนำเข้าที่เร่งขึ้นในทุกหมวด ส่วนการส่งออกมีมูลค่า 41,385 ล้านเหรียญ หรือขยายตัว 21.1% ตามการส่งออกสินค้าเกษตรที่ดีทั้งราคาและปริมาณ รวมทั้งการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานในการผลิตสุงเร่งขึ้นมากจากการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับ รวมถึงสินค้าอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีในการผลิตสูงที่ยังคงขยายตัวต่อเนื่อง ทำให้มีดุลการค้าขาดดุล 109 ล้านเหรียญ เมื่อรวมกับดุลบริการ รายได้และเงินโอนที่เกินดุล 3,177 ล้านเหรียญ เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่เกินดุล 1,371 ล้านเหรียญตามการเพิ่มขึ้นของดุลการท่องเที่ยวและรายรับผลประโยชน์จากการลงทุนของภาครัฐที่เพิ่มขึ้นตามการเพิ่มขึ้นของเงินสำรองระหว่างประเทศ ทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 3,068 ล้านเหรียญ ส่วนดุลการชำระเงินเกินดุล 18,483 ล้านเหรียญ