รอยเตอร์/เอเอฟพี - นายกรัฐมนตรีออสเตรีย อัลเฟรด กูเซนบาวเออร์ แถลงวานนี้(30)ว่า รัฐบาลวางแผนเปิดการรณรงค์ด้านภาพลักษณ์ เพื่อฟื้นฟูชื่อเสียงของออสเตรียในต่างแดน ภายหลังเกิดกรณีพ่อกักขังและข่มขืนบุตรสาวมีลูกด้วยกัน 7 คน ซึ่งสั่นสะเทือนขวัญคนทั่วโลก
ชะตากรรมของ เอลิซาเบธ ฟริตเซิล ผู้ถูกบิดา โจเซฟ ที่เวลานี้อายุ 73 ปี ล่วงละเมิดทางเพศและกักขังเธอไว้ในห้องใต้ดินที่ไม่มีหน้าต่างเป็นเวลา 24 ปี ทำให้เมืองอัมสเต็ตเตน ที่อยู่ทางภาคตะวันออกของออสเตรีย กลายเป็นที่สนใจของสื่อมวลชนระหว่างประเทศ
ในการออกมาแสดงปฏิกิริยาต่อสาธารณชนครั้งแรก กูเซนบาวเออร์กล่าวว่า "มันไม่ใช่ออสเตรียเลยที่เป็นผู้กระทำความชั่วร้าย นี่เป็นคดีอาญาที่ไม่อาจเข้าใจได้ว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร แต่มันก็เป็นคดีที่แยกต่างหากไม่เกี่ยวกับเรื่องอื่นๆ"
"เราจะไม่ยอมให้ทั่วทั้งประเทศต้องตกเป็นตัวประกันจากคนเพียงคนเดียว" เขาบอกพร้อมกับเผยว่ารัฐบาลวางแผนที่จะว่าจ้างที่ปรึกษามาทำแผนรณรงค์ และใช้ "เครื่องมือทางเทคนิคและทางวิชาชีพทุกอย่างที่จะหาได้ เพื่อแก้ไข" ภาพลักษณ์ของออสเตรีย
ขณะเดียวกัน ทางด้านครอบครัวฟริตเซิลได้พบหน้ากันครั้งแรกหลังเหตุร้ายคลี่คลาย โดยต่างฝ่ายต่างปรับตัวเข้าหากันได้ดีอย่าง"น่าทึ่ง"
เบอร์โทลด์ เคปลิงเกอร์ ผู้อำนวยการการแพทย์ของโรงพยาบาลประจำเขตของโลเวอร์ออสเตรีย แถลงวันอังคาร(29)ว่า เอลิซาเบธ ฟริตเซิล ได้พบหน้าลูกอีกสามคนที่ถูกนำออกจากห้องใต้ดิน ซึ่งเป็นสถานที่พวกเขาถูกเลี้ยงดูมาตั้งแต่แรกเกิด
"ครอบครัวได้พบกันพร้อมหน้าพร้อมตาเมื่อเช้าวันอาทิตย์ที่ผ่านมา และเป็นเรื่องน่าทึ่งที่เด็กๆ เข้ากันได้ดีมาก"
คีปลิงเกอร์กล่าวว่าการพบกันระหว่างเอลิซาเบธกับโรสแมรีผู้เป็นแม่นั้นก็ "น่าทึ่ง" เช่นกัน และเขายังเสนอว่าทางโรงพยาบาลสามารถให้การศึกษาแก่ลูกๆ ของเอลิซาเบธ ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการฟื้นฟูให้กับเด็กทั้งสาม ซึ่งแม้อ่านออกเขียนได้ แต่ก็ยังไม่ดีนัก
ทางด้านชาวเมืองอัมสเต็ตเตน ได้มารวมตัวกันที่จตุรัสเมืองในวันอังคาร และจุดเทียนไขแท่งเล็กๆ ณ ที่นั้นท่ามกลางสายฝน เพื่อให้กำลังใจแก่ครอบครัวฟริตเซิล โดยมีผู้ร่วมชุมนุมราวสองร้อยคนด้วยกัน
บาทหลวงปีเตอร์ โบเซนดอร์เฟอร์ ได้เรียกร้องให้ชาวเมืองร่วมมือร่วมใจกันช่วยเหลือแม่และเด็กๆ ที่มีบาดแผลนี้เพื่อให้ดำเนินชีวิตต่อไปได้ ส่วนผู้จัดงานก็ระบุว่าการชุมนุมในครั้งนี้ก็เพื่อให้โลกภายนอกรับรู้ว่า ชาวเมืองไม่ได้ไม่สนใจกันและกันอย่างที่มีการข้อสงสัย
ส่วนผลการตรวจทางพันธุกรรม (ดีเอ็นเอ) ยืนยันว่าฟริตเซิลเป็นพ่อของเด็กทั้งหกคน และเจ้าหน้าที่สืบสวนก็ยังคงตรวจสอบหลักฐานบริเวณห้องใต้ดินของครอบครัวฟริตเซิลอย่างละเอียดต่อไป
นอกจากนั้น อัยการกำลังสอบสวนหาสาเหตุการตายของเด็กคนที่เจ็ดซึ่งถูกเผาในเตาทำความร้อน และอาจตั้งข้อกล่าวหาฆาตกรรม เนื่องจากเขาไม่ได้ให้ความช่วยเหลือแก่เด็ก ส่วนข้อกล่าวหาอื่นๆ ได้แก่ ข่มขืน มีเพศสัมพันธ์กับบุคคลในครอบครัว และบีบบังคับขู่เข็ญผู้อื่น
ฟริตเซิลถูกนำตัวขึ้นศาลในเมืองเซนต์โพเอลเต็นซึ่งเป็นเมืองหลวงของเขตโลเวอร์ออสเตรียเมื่อวันอังคาร และศาลมีคำสั่งให้คุมตัวเขาต่อไปในระหว่างที่เจ้าหน้าที่ตำรวจดำเนินการสืบคดี
ฟริตเซิลทำตามคำแนะนำของทนาย คือ ไม่พูดอะไรทั้งสิ้น เขามีอาการสงบและถูกกักตัวอยู่ในคุกซึ่งมีกล้องจับภาพตลอดเวลา เนื่องจากเกรงว่าเขาอาจพยายามฆ่าตัวตาย
"มีคำถามเป็นล้านที่ต้องหาคำตอบ" ฟรานซ์ โพลเซอร์ หัวหน้าตำรวจสืบสวนบอก "เขาจัดการชีวิตตัวเองอย่างไรกับสิ่งที่ทำลงไป"
"ฟริตเซิลเป็นคนฉลาดมาก เขาไม่เพียงหลอกภรรยา แต่ยังหลอกทางการ หลอกตำรวจ เขาหลอกทุกคนหมดเลย"
ชะตากรรมของ เอลิซาเบธ ฟริตเซิล ผู้ถูกบิดา โจเซฟ ที่เวลานี้อายุ 73 ปี ล่วงละเมิดทางเพศและกักขังเธอไว้ในห้องใต้ดินที่ไม่มีหน้าต่างเป็นเวลา 24 ปี ทำให้เมืองอัมสเต็ตเตน ที่อยู่ทางภาคตะวันออกของออสเตรีย กลายเป็นที่สนใจของสื่อมวลชนระหว่างประเทศ
ในการออกมาแสดงปฏิกิริยาต่อสาธารณชนครั้งแรก กูเซนบาวเออร์กล่าวว่า "มันไม่ใช่ออสเตรียเลยที่เป็นผู้กระทำความชั่วร้าย นี่เป็นคดีอาญาที่ไม่อาจเข้าใจได้ว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร แต่มันก็เป็นคดีที่แยกต่างหากไม่เกี่ยวกับเรื่องอื่นๆ"
"เราจะไม่ยอมให้ทั่วทั้งประเทศต้องตกเป็นตัวประกันจากคนเพียงคนเดียว" เขาบอกพร้อมกับเผยว่ารัฐบาลวางแผนที่จะว่าจ้างที่ปรึกษามาทำแผนรณรงค์ และใช้ "เครื่องมือทางเทคนิคและทางวิชาชีพทุกอย่างที่จะหาได้ เพื่อแก้ไข" ภาพลักษณ์ของออสเตรีย
ขณะเดียวกัน ทางด้านครอบครัวฟริตเซิลได้พบหน้ากันครั้งแรกหลังเหตุร้ายคลี่คลาย โดยต่างฝ่ายต่างปรับตัวเข้าหากันได้ดีอย่าง"น่าทึ่ง"
เบอร์โทลด์ เคปลิงเกอร์ ผู้อำนวยการการแพทย์ของโรงพยาบาลประจำเขตของโลเวอร์ออสเตรีย แถลงวันอังคาร(29)ว่า เอลิซาเบธ ฟริตเซิล ได้พบหน้าลูกอีกสามคนที่ถูกนำออกจากห้องใต้ดิน ซึ่งเป็นสถานที่พวกเขาถูกเลี้ยงดูมาตั้งแต่แรกเกิด
"ครอบครัวได้พบกันพร้อมหน้าพร้อมตาเมื่อเช้าวันอาทิตย์ที่ผ่านมา และเป็นเรื่องน่าทึ่งที่เด็กๆ เข้ากันได้ดีมาก"
คีปลิงเกอร์กล่าวว่าการพบกันระหว่างเอลิซาเบธกับโรสแมรีผู้เป็นแม่นั้นก็ "น่าทึ่ง" เช่นกัน และเขายังเสนอว่าทางโรงพยาบาลสามารถให้การศึกษาแก่ลูกๆ ของเอลิซาเบธ ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการฟื้นฟูให้กับเด็กทั้งสาม ซึ่งแม้อ่านออกเขียนได้ แต่ก็ยังไม่ดีนัก
ทางด้านชาวเมืองอัมสเต็ตเตน ได้มารวมตัวกันที่จตุรัสเมืองในวันอังคาร และจุดเทียนไขแท่งเล็กๆ ณ ที่นั้นท่ามกลางสายฝน เพื่อให้กำลังใจแก่ครอบครัวฟริตเซิล โดยมีผู้ร่วมชุมนุมราวสองร้อยคนด้วยกัน
บาทหลวงปีเตอร์ โบเซนดอร์เฟอร์ ได้เรียกร้องให้ชาวเมืองร่วมมือร่วมใจกันช่วยเหลือแม่และเด็กๆ ที่มีบาดแผลนี้เพื่อให้ดำเนินชีวิตต่อไปได้ ส่วนผู้จัดงานก็ระบุว่าการชุมนุมในครั้งนี้ก็เพื่อให้โลกภายนอกรับรู้ว่า ชาวเมืองไม่ได้ไม่สนใจกันและกันอย่างที่มีการข้อสงสัย
ส่วนผลการตรวจทางพันธุกรรม (ดีเอ็นเอ) ยืนยันว่าฟริตเซิลเป็นพ่อของเด็กทั้งหกคน และเจ้าหน้าที่สืบสวนก็ยังคงตรวจสอบหลักฐานบริเวณห้องใต้ดินของครอบครัวฟริตเซิลอย่างละเอียดต่อไป
นอกจากนั้น อัยการกำลังสอบสวนหาสาเหตุการตายของเด็กคนที่เจ็ดซึ่งถูกเผาในเตาทำความร้อน และอาจตั้งข้อกล่าวหาฆาตกรรม เนื่องจากเขาไม่ได้ให้ความช่วยเหลือแก่เด็ก ส่วนข้อกล่าวหาอื่นๆ ได้แก่ ข่มขืน มีเพศสัมพันธ์กับบุคคลในครอบครัว และบีบบังคับขู่เข็ญผู้อื่น
ฟริตเซิลถูกนำตัวขึ้นศาลในเมืองเซนต์โพเอลเต็นซึ่งเป็นเมืองหลวงของเขตโลเวอร์ออสเตรียเมื่อวันอังคาร และศาลมีคำสั่งให้คุมตัวเขาต่อไปในระหว่างที่เจ้าหน้าที่ตำรวจดำเนินการสืบคดี
ฟริตเซิลทำตามคำแนะนำของทนาย คือ ไม่พูดอะไรทั้งสิ้น เขามีอาการสงบและถูกกักตัวอยู่ในคุกซึ่งมีกล้องจับภาพตลอดเวลา เนื่องจากเกรงว่าเขาอาจพยายามฆ่าตัวตาย
"มีคำถามเป็นล้านที่ต้องหาคำตอบ" ฟรานซ์ โพลเซอร์ หัวหน้าตำรวจสืบสวนบอก "เขาจัดการชีวิตตัวเองอย่างไรกับสิ่งที่ทำลงไป"
"ฟริตเซิลเป็นคนฉลาดมาก เขาไม่เพียงหลอกภรรยา แต่ยังหลอกทางการ หลอกตำรวจ เขาหลอกทุกคนหมดเลย"