ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ - แฉนายทุนน้ำมันเถื่อนยึดพื้นที่ 4 อำเภอในเขตอิทธิพลขบวนการแบ่งแยกดินแดนจังหวัดสงขลา เป็นที่กักเก็บน้ำมันเถื่อนก่อนส่งขาย ขณะที่ปั๊มน้ำมันหลายแห่งปิดตัวไปบ้างแล้วเนื่องจากสู้ราคาไม่ไหว
จากกรณีที่น้ำมันดีเซลและเบนซินในประเทศมาเลเซีย มีราคาถูกกว่าในประเทศไทยถึงลิตรละ 7 บาท ทำให้นายทุนผู้ค้าของเถื่อน และกองทัพมดใน จ.สงขลา หันมาค้าน้ำมันเถื่อนอย่างเป็นล่ำเป็นสัน ส่งผลให้ปั๊มน้ำมันหลายแห่ง ยอดขายตกไปถึงร้อยละ 80 ปั๊มหลายแห่งต้องปิดกิจการ บางรายยอมรับรับน้ำมันเถื่อนมาขายแทน โดยยอมจ่ายเงินใต้โต๊ะให้แก่เจ้าหน้าที่
ผู้สื่อข่าวได้รับการเปิดเผยจากนายอาบีดิง (ขอสงวนนามสกุล) เจ้าของปั๊มน้ำมันแห่งหนึ่งในพื้นที่ อ.สะบ้าย้อย จ.สงขลา ว่า ตนกำลังจะปิดปั๊มน้ำมันเป็นการชั่วคราวในสิ้นเดือนนี้ เพราะสู้กับปั๊มที่นำน้ำมันเถื่อนจากมาเลเซียไม่ไหว เนื่องจากในพื้นที่ 4 อำเภอของ จ.สงขลา คือ อ.สะบ้าย้อย เทพา นาทวี และจะนะ ปั๊มน้ำมันขนาดกลางและขนาดเล็ก ต่างหันไปขายน้ำมันเถื่อนกันหมดแล้ว
เหลือเพียงปั๊มขนาดใหญ่ที่ใช้เครื่องหมายการค้าของบริษัทเพียงไม่กี่แห่ง ที่ยังขายน้ำมันถูกต้อง ส่วนปั๊มของตนตั้งอยู่ในหมู่บ้าน จึงสู้ราคาน้ำมันเถื่อนที่ขายถูกกว่าลิตรละ 2-3 บาทไม่ไหว ประกอบกับขณะนี้น้ำมันหนึ่งคันรถ 10 ล้อ ต้องใช้เงินสดถึง 520,000 บาท และหากขายหมดได้กำไรเพียง 4,000 บาท จึงเห็นว่าหยุดกิจการดีกว่า
จากการตรวจสอบของผู้สื่อข่าว พบว่านายทุนในพื้นที่ จ.สงขลา ซึ่งเป็นกลุ่มผู้ค้าน้ำมันเถื่อนที่มีปั๊มน้ำมันบังหน้า ได้ทำการเช่าปั๊มน้ำมันขนาดกลางและขนาดเล็กในพื้นที่ 4 อำเภอของ จ.สงขลา ที่เป็นพื้นที่เสี่ยง คือ อ.จะนะ เทพา สะบ้าย้อย และนาทวี เพื่อใช้เป็นที่กักเก็บน้ำมันเถื่อน จากประเทศมาเลเซีย
ในแต่ละวันจะมีการนำน้ำมันเถื่อนจากประเทศมาเลเซีย ผ่านทาง ต.สำนักขาม และ ต.ปาดังเบซาร์ โดยบรรจุถัง 200 ลิตรในรถกระบะ ครั้งละ 6 ถัง รวมทั้งมีรถปิกอัพ ที่ดัดแปลงให้มีถังเก็บน้ำมัน 1,200 ลิตร ขนน้ำมันไปกักเก็บในปั๊มที่เช่าเอาไว้ เพื่อรอลูกค้ามารับซื้อ โดยจะมีเจ้าของปั๊มในพื้นที่ จ.สงขลา และจาก จ.ปัตตานี ยะลา มาซื้อเพื่อไปขายต่อในปั๊มของตนเอง ซึ่งแต่ละปั๊มสามารถกักเก็บน้ำมันได้ทั้งดีเซล และเบนซินปั๊มละประมาณ 15,000 ลิตร สามารถทำกำไรให้แก่นายทุนเจ้าของปั๊ม ไม่ต่ำกว่า 10,000 บาท หากเช่าไว้ 10 ปั๊มก็จะมีกำไรวันละ 100,000 บาท
นอกจากนี้ จากการตรวจสอบยังพบว่ามีนักการเมืองท้องถิ่น 3 คนได้ลงทุนถึง 10 ล้านบาท ทำการซื้อปั๊มน้ำมันเก่าขนาด 6 หัวจ่าย ในพื้นที่รอยต่อระหว่าง จ.สงขลากับพัทลุง เพื่อนำน้ำมันเถื่อนจาก จ.สตูล มาเก็บกักในเวลากลางคืนๆ ละ 2 คันรถ 10 ล้อ จำนวน 30,000 ลิตร เพื่อขายให้แก่ลูกค้าใน จ.พัทลุง ตรัง และสงขลา สร้างกำไรให้กลุ่มนายทุนเป็นจำนวนเงินมหาศาลในแต่ละวัน
นอกจากนั้นยังพบว่ากลุ่มผู้ค้าน้ำมันเถื่อน ยังร่วมมือกับเจ้าหน้าที่สรรพสามิตบางกลุ่มโดยเฉพาะกลุ่มที่เดินทางมาจาก ส่วนกลาง โดยนำน้ำมันเข้ามาจากประเทศมาเลเซีย แล้วแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทำการจับกุม เพื่อฟอกน้ำมันเถื่อนให้เป็นน้ำมันที่ถูกต้อง เนื่องจากกฎหมายของสรรพสามิต เมื่อจับกุมน้ำมันเถื่อนได้ก็จะให้เจ้าของนำไปเสียภาษี ซึ่งอัตราการจ่ายภาษี มีการต่อรองจ่ายเพียงเล็กน้อย
หลังจากนั้นสรรพสามิตก็จะคืนของกลางให้ เจ้าของน้ำมัน ก็จะได้น้ำมันเถื่อนที่ถูกต้องตามกฎหมายมาจำหน่าย และสามารถใช้ใบเสร็จมาหมุนเวียนในปั๊ม ในการนำน้ำมันเถื่อนมาขาย เมื่อมีเจ้าหน้าที่หน่วยอื่นๆ มาตรวจสอบก็จะแจ้งว่า มีใบเสร็จที่เสียภาษีสรรพสามิตแล้ว ซึ่งวิธีนี้ สร้างความหนักใจให้แก่เจ้าหน้าที่อื่นๆ
เจ้าของปั๊มรายหนึ่งใน อ.สิงหนคร จ.สงขลา เปิดเผยว่า ขณะนี้มีปั๊มน้ำมันขนาดเล็ก ขนาดกลาง เป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นปั๊มอิสระ จ่ายเงินให้แก่เจ้าหน้าที่สรรพสามิตบางกลุ่ม เดือนละ 10,000 บาท เพื่อขอให้จับกุมน้ำมันในปั๊มเดือนละครั้ง เพื่อที่จะได้ใบเสร็จในการเสียภาษีมาใช้ในการนำน้ำมันเถื่อนมาขายอย่างถูกต้อง
ในขณะเดียวกัน นอกจากจะมีน้ำมันเถื่อนจากประเทศมาเลเซีย ทะลักเข้ามาขายวันละเป็นแสนลิตรในพื้นที่ จ.สงขลาแล้ว ยังมีการนำน้ำมันจาก 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งผู้นำมาขายให้กับปั๊มน้ำมันต่างๆ ใน จ.สงขลา และพัทลุงว่า เป็นน้ำมันของกองทัพ ที่มีการทุจริตจากหน่วยทหารมาขายให้กับผู้ต้องการ โดยขายในราคาลิตรละ 27 บาทถูกกว่าราคาหน้าปั๊มลิตรละ 5 บาทกว่า
ทั้งนี้ มีกลุ่มน้ำมันเถื่อนเป็นผู้รับซื้อก่อนที่ส่งไปจำหน่ายให้แก่ปั๊มน้ำมันในพื้นที่ ซึ่งได้รับความนิยมจากปั๊มน้ำมันที่มีแบรนด์เพราะเป็นน้ำมันจากคลัง ปตท. ซึ่งเป็นผู้จัดส่งน้ำมันให้แก่หน่วยงานความมั่นคงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
จากกรณีที่น้ำมันดีเซลและเบนซินในประเทศมาเลเซีย มีราคาถูกกว่าในประเทศไทยถึงลิตรละ 7 บาท ทำให้นายทุนผู้ค้าของเถื่อน และกองทัพมดใน จ.สงขลา หันมาค้าน้ำมันเถื่อนอย่างเป็นล่ำเป็นสัน ส่งผลให้ปั๊มน้ำมันหลายแห่ง ยอดขายตกไปถึงร้อยละ 80 ปั๊มหลายแห่งต้องปิดกิจการ บางรายยอมรับรับน้ำมันเถื่อนมาขายแทน โดยยอมจ่ายเงินใต้โต๊ะให้แก่เจ้าหน้าที่
ผู้สื่อข่าวได้รับการเปิดเผยจากนายอาบีดิง (ขอสงวนนามสกุล) เจ้าของปั๊มน้ำมันแห่งหนึ่งในพื้นที่ อ.สะบ้าย้อย จ.สงขลา ว่า ตนกำลังจะปิดปั๊มน้ำมันเป็นการชั่วคราวในสิ้นเดือนนี้ เพราะสู้กับปั๊มที่นำน้ำมันเถื่อนจากมาเลเซียไม่ไหว เนื่องจากในพื้นที่ 4 อำเภอของ จ.สงขลา คือ อ.สะบ้าย้อย เทพา นาทวี และจะนะ ปั๊มน้ำมันขนาดกลางและขนาดเล็ก ต่างหันไปขายน้ำมันเถื่อนกันหมดแล้ว
เหลือเพียงปั๊มขนาดใหญ่ที่ใช้เครื่องหมายการค้าของบริษัทเพียงไม่กี่แห่ง ที่ยังขายน้ำมันถูกต้อง ส่วนปั๊มของตนตั้งอยู่ในหมู่บ้าน จึงสู้ราคาน้ำมันเถื่อนที่ขายถูกกว่าลิตรละ 2-3 บาทไม่ไหว ประกอบกับขณะนี้น้ำมันหนึ่งคันรถ 10 ล้อ ต้องใช้เงินสดถึง 520,000 บาท และหากขายหมดได้กำไรเพียง 4,000 บาท จึงเห็นว่าหยุดกิจการดีกว่า
จากการตรวจสอบของผู้สื่อข่าว พบว่านายทุนในพื้นที่ จ.สงขลา ซึ่งเป็นกลุ่มผู้ค้าน้ำมันเถื่อนที่มีปั๊มน้ำมันบังหน้า ได้ทำการเช่าปั๊มน้ำมันขนาดกลางและขนาดเล็กในพื้นที่ 4 อำเภอของ จ.สงขลา ที่เป็นพื้นที่เสี่ยง คือ อ.จะนะ เทพา สะบ้าย้อย และนาทวี เพื่อใช้เป็นที่กักเก็บน้ำมันเถื่อน จากประเทศมาเลเซีย
ในแต่ละวันจะมีการนำน้ำมันเถื่อนจากประเทศมาเลเซีย ผ่านทาง ต.สำนักขาม และ ต.ปาดังเบซาร์ โดยบรรจุถัง 200 ลิตรในรถกระบะ ครั้งละ 6 ถัง รวมทั้งมีรถปิกอัพ ที่ดัดแปลงให้มีถังเก็บน้ำมัน 1,200 ลิตร ขนน้ำมันไปกักเก็บในปั๊มที่เช่าเอาไว้ เพื่อรอลูกค้ามารับซื้อ โดยจะมีเจ้าของปั๊มในพื้นที่ จ.สงขลา และจาก จ.ปัตตานี ยะลา มาซื้อเพื่อไปขายต่อในปั๊มของตนเอง ซึ่งแต่ละปั๊มสามารถกักเก็บน้ำมันได้ทั้งดีเซล และเบนซินปั๊มละประมาณ 15,000 ลิตร สามารถทำกำไรให้แก่นายทุนเจ้าของปั๊ม ไม่ต่ำกว่า 10,000 บาท หากเช่าไว้ 10 ปั๊มก็จะมีกำไรวันละ 100,000 บาท
นอกจากนี้ จากการตรวจสอบยังพบว่ามีนักการเมืองท้องถิ่น 3 คนได้ลงทุนถึง 10 ล้านบาท ทำการซื้อปั๊มน้ำมันเก่าขนาด 6 หัวจ่าย ในพื้นที่รอยต่อระหว่าง จ.สงขลากับพัทลุง เพื่อนำน้ำมันเถื่อนจาก จ.สตูล มาเก็บกักในเวลากลางคืนๆ ละ 2 คันรถ 10 ล้อ จำนวน 30,000 ลิตร เพื่อขายให้แก่ลูกค้าใน จ.พัทลุง ตรัง และสงขลา สร้างกำไรให้กลุ่มนายทุนเป็นจำนวนเงินมหาศาลในแต่ละวัน
นอกจากนั้นยังพบว่ากลุ่มผู้ค้าน้ำมันเถื่อน ยังร่วมมือกับเจ้าหน้าที่สรรพสามิตบางกลุ่มโดยเฉพาะกลุ่มที่เดินทางมาจาก ส่วนกลาง โดยนำน้ำมันเข้ามาจากประเทศมาเลเซีย แล้วแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทำการจับกุม เพื่อฟอกน้ำมันเถื่อนให้เป็นน้ำมันที่ถูกต้อง เนื่องจากกฎหมายของสรรพสามิต เมื่อจับกุมน้ำมันเถื่อนได้ก็จะให้เจ้าของนำไปเสียภาษี ซึ่งอัตราการจ่ายภาษี มีการต่อรองจ่ายเพียงเล็กน้อย
หลังจากนั้นสรรพสามิตก็จะคืนของกลางให้ เจ้าของน้ำมัน ก็จะได้น้ำมันเถื่อนที่ถูกต้องตามกฎหมายมาจำหน่าย และสามารถใช้ใบเสร็จมาหมุนเวียนในปั๊ม ในการนำน้ำมันเถื่อนมาขาย เมื่อมีเจ้าหน้าที่หน่วยอื่นๆ มาตรวจสอบก็จะแจ้งว่า มีใบเสร็จที่เสียภาษีสรรพสามิตแล้ว ซึ่งวิธีนี้ สร้างความหนักใจให้แก่เจ้าหน้าที่อื่นๆ
เจ้าของปั๊มรายหนึ่งใน อ.สิงหนคร จ.สงขลา เปิดเผยว่า ขณะนี้มีปั๊มน้ำมันขนาดเล็ก ขนาดกลาง เป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นปั๊มอิสระ จ่ายเงินให้แก่เจ้าหน้าที่สรรพสามิตบางกลุ่ม เดือนละ 10,000 บาท เพื่อขอให้จับกุมน้ำมันในปั๊มเดือนละครั้ง เพื่อที่จะได้ใบเสร็จในการเสียภาษีมาใช้ในการนำน้ำมันเถื่อนมาขายอย่างถูกต้อง
ในขณะเดียวกัน นอกจากจะมีน้ำมันเถื่อนจากประเทศมาเลเซีย ทะลักเข้ามาขายวันละเป็นแสนลิตรในพื้นที่ จ.สงขลาแล้ว ยังมีการนำน้ำมันจาก 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งผู้นำมาขายให้กับปั๊มน้ำมันต่างๆ ใน จ.สงขลา และพัทลุงว่า เป็นน้ำมันของกองทัพ ที่มีการทุจริตจากหน่วยทหารมาขายให้กับผู้ต้องการ โดยขายในราคาลิตรละ 27 บาทถูกกว่าราคาหน้าปั๊มลิตรละ 5 บาทกว่า
ทั้งนี้ มีกลุ่มน้ำมันเถื่อนเป็นผู้รับซื้อก่อนที่ส่งไปจำหน่ายให้แก่ปั๊มน้ำมันในพื้นที่ ซึ่งได้รับความนิยมจากปั๊มน้ำมันที่มีแบรนด์เพราะเป็นน้ำมันจากคลัง ปตท. ซึ่งเป็นผู้จัดส่งน้ำมันให้แก่หน่วยงานความมั่นคงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้