ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ – เจ้าของปั๊มน้ำมันในหาดใหญ่ เรียกร้องเจ้าหน้าที่เร่งปราบปรามขบวนการลักลอบขนน้ำมันเถื่อนจากประเทศมาเลเซียอย่างจริงจัง แฉเปิดปั๊มเถื่อนเย้ยกฎหมาย มีนักการเมืองใหญ่หนุนหลัง บางรายต่อท่อส่งข้ามแทน จนท.เก็บส่วยเพลิน ขณะปั๊มถูกกฎหมายเจ๊งระนาว
นายธานี ทรัพย์จำรูญ เจ้าของปั๊มน้ำมันใน อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา เปิดเผยว่า หลังจากที่น้ำมันในประเทศปรับราคาขึ้นสัปดาห์ละ 2 ครั้ง ทำให้ขบวนการค้าน้ำมันเถื่อน นำน้ำมันเถื่อนจากประเทศมาเลเซียเข้ามาขายให้กับผู้ประกอบการขนส่ง โรงงานอุตสาหกรรมโดยตรง รวมทั้งการเปิดเป็นปั๊มหลอดในทุกหมู่บ้าน และเรียงรายริมถนนกาญจนวนิช ตั้งแต่ อ.สะเดา จ.ถึง อ.เมือง จ.สงขลา ซึ่งราคาถูกกว่าน้ำมันในปั๊มที่ถูกต้องลิตรละ 7 บาท ทำให้ยอดขายน้ำมันที่ปั๊มของตนจากที่เคยขายได้วันละ 15,000 ลิตร หายไปถึงร้อยละ 60 ซึ่งไม่ใช่เฉพาะปั๊มของตนเพียงแห่งเดียว แต่ได้รับผลกระทบทั่วทุกปั๊ม โดยเฉพาะใน อ.สะเดา บางแห่งยอดขายเหลือเพียงร้อยละ 20 หลายปั้มต้องขายรถบรรทุกน้ำมันทิ้ง เพราะไม่คุ้มกับค่าจ้างและเบี้ยเลี้ยงคนขับ เพราะเคยบรรทุกวันละเที่ยว กลายเป็นอาทิตย์ละเที่ยว
นายศุภเกียรติ ก้องธารากุล เจ้าของปั๊มใน อ.สะเดา เปิดเผยว่า มีขบวนการใหญ่ระดับหัวหน้าเป็นนักการเมืองท้องถิ่นใน จ.สงขลาหลายคน ที่เป็นนายทุนค้าน้ำมันเถื่อน และคุ้มครองกลุ่มผู้ค้าน้ำมันเถื่อน โดยทำหน้าที่เคลียร์เส้นทาง กับเจ้าหน้าที่ทุกหน่วย ขณะนี้นักการเมืองท้องถิ่นผู้หนึ่ง ได้เดินท่อจากโกดังที่เก็บน้ำมันซึ่งตั้งอยู่ฝั่งมาเลเซียเข้ามายังฝั่งไทยที่ตลาดปาดังเบซาร์ เพื่อความสะดวกในการขนน้ำมันจากมาเลเซียเข้ามายังฝั่งไทย
นายศุภเกียรติกล่าวต่อว่า เจ้าของปั๊มหลายแห่งได้ร้องเรียนไปยังเจ้าหน้าที่หลายหน่วยงาน เช่น ศุลกากร สรรพสามิต สำนักงานพลังงาน และเจ้าหน้าที่ตำรวจ แต่ไม่มีหน่วยงานไหนให้ความสนใจเข้าจับกุม โดยบางหน่วยงานอ้างว่าไม่มีกำลังในการตรวจจับปั๊มหลอด ในขณะที่บางหน่วยงานไปตรวจสอบและรับเงินจากเจ้าของปั๊มแทนการจับกุม
นายราฆพ ศรีศุภอรรค ผอ.ศุลกากร ภูมิภาคที่ 1 เปิดเผยว่า เจ้าหน้าที่ศุลกากรไม่ได้นิ่งนอนใจ มีการจัดกำลังตรวจจับการลักลอบนำน้ำมันจากประเทศมาเซียเข้ามาในราชอาณาจักรอยู่ตลอดเวลา โดยเน้นในแนวชายแดนและรถบรรทุกดัดแปลงที่วิ่งขนน้ำมันบนถนนสายหลัก แต่กำลังของเรามีจำกัด ไม่สามารถทำได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ โดยเฉพาะการตรวจจับปั๊มหลอดที่เปิดกันเป็นร้อยๆ ปั๊มควรเป็นหน้าที่ของหน่วยอื่นๆ ยอมรับว่ามีการดัดแปลงรถยนต์เพื่อขนน้ำมันเถื่อนนับร้อยคัน และการค้ำน้ำมันเถื่อนมีการทำกันมากเป็นขบวนการ เพราะผู้ค้ามีกำไรถึงลิตรละ 7-10 บาท รวมทั้งมีผู้มีอิทธิพลท้องถิ่นหนุนหลัง หลายครั้งที่ศุลการกร จับกุม ปิดแนวชายแดนอย่างเข้มงวด ผู้มีอิทธิพลก็จะจัดม็อบมาปิดล ้อมขับไล่เจ้าหน้าที่
ในขณะที่เจ้าของปั๊มอิสระแห่งหนึ่งใน อ.สะเดา จ.สงขลา เปิดเผยว่า ตนเองไม่ได้สั่งน้ำมันจากคลังน้ำมันมาขายเป็นเวลากว่า 3 เดือนแล้ว แต่รับซื้อน้ำมันเถื่อนจากประเทศมาเลเซียมาขายแทน เหตุผลเนื่องจากน้ำมันจากคลังที่ขายให้กับปั๊มอิสระแพงกว่าราคาที่ขายหน้าปั๊มที่มีแบรนด์ ทำให้รับการขาดทุนไม่ไหว จึงต้องเอาตัวรอดด้วยการซื้อน้ำมันเถื่อนมาขาย ซึ่งจะมีเจ้าหน้าที่สรรพสามิตมาจับกุมเดือนละ 2-3 ครั้ง โดยทุกครั้งตนต้องจ่ายเงินให้เจ้าหน้าที่ และเสียค่าปรับ ส่วนตำรวจท้องที่จะมีเจ้าหน้าที่หัวหน้าสายตรวจมาเก็บเงิน 15 ครั้ง การจ่ายจะเป็นเท่าไหร่แล้วแต่ตกลงกันโดยจะดูว่าเป็นปั๊มเล็กหรือปั๊มใหญ่
ในขณะที่เจ้าหน้าที่สรรพสามิตผู้หนึ่งเปิดเผยว่า กฎหมายของสรรพสามิต ไม่เอื้ออำนวยต่อการจับกุม เพราะไม่มีอำนาจในการสั่งปิดปั๊มหรือยึดของกลาง ทำได้เพียงให้เจ้าของน้ำมันไปจ่ายค่าปรับและคืนของกลางให้ ไม่เหมือนกฎหมายของศุลกากรที่ยึดของกลาง ยึดรถที่บรรทุกได้ หรือกฎหมายของสำนักพลังงานที่สั่งปิดปั๊มได้ การปราบปราบจะได้ผล ต่อเมื่อเจ้าหน้าที่ทุกหน่วยต้องบูรณาการกัน โดยต้องมีเจ้าภาพ แต่ปัจจุบันไม่มี ทุกหน่วยต่างคนต่างทำ และยอมรับว่ามีการหาผลประโยชน์จากกลุ่มผู้ค้าและผู้จำหน่ายน้ำมันเถื่อนกันอย่างเป็นล่ำเป็นสัน
ผู้สื่อข่าวได้รายงานเพิ่มเติมว่าจากการสำรวจจาก อ.สะเดา จ.ถึง อ.สิงหนคร จ.สงขลา พบว่ามีปั๊มน้ำมันเถื่อนที่เปิดริมถนนใหญ่อย่างไม่เกรงกลัวกฎหมายดังนี้ ริมถนนกาญจนวนิชในพื้นที่ ต.สำนักขาม 4 แห่ง ในเขตเทศบาลเมืองสะเดา 12 แห่ง ใน ต.ปาดังเบซาร์ 10 แห่ง ต.เขามีเกียรติ 4 แห่ง ต.พะตง อ.หาดใหญ่ 10 แห่ง เขตเทศบาลนครหาดใหญ่ 10 แห่ง อ.สิงหนคร 10 แห่ง และบริเวณหน้าคลังน้ำมัน ปตท.ยังมีคอกรับซื้อน้ำมันเถื่อนอีก 4 แห่ง ซึ่งในแต่ละแห่งมีรถยนต์เข้าไปเติมน้ำมันกันอย่างมากมาย โดยที่เจ้าหน้าที่ไม่มีการตรวจสอบจับกุมแต่อย่างใด
นายธานี ทรัพย์จำรูญ เจ้าของปั๊มน้ำมันใน อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา เปิดเผยว่า หลังจากที่น้ำมันในประเทศปรับราคาขึ้นสัปดาห์ละ 2 ครั้ง ทำให้ขบวนการค้าน้ำมันเถื่อน นำน้ำมันเถื่อนจากประเทศมาเลเซียเข้ามาขายให้กับผู้ประกอบการขนส่ง โรงงานอุตสาหกรรมโดยตรง รวมทั้งการเปิดเป็นปั๊มหลอดในทุกหมู่บ้าน และเรียงรายริมถนนกาญจนวนิช ตั้งแต่ อ.สะเดา จ.ถึง อ.เมือง จ.สงขลา ซึ่งราคาถูกกว่าน้ำมันในปั๊มที่ถูกต้องลิตรละ 7 บาท ทำให้ยอดขายน้ำมันที่ปั๊มของตนจากที่เคยขายได้วันละ 15,000 ลิตร หายไปถึงร้อยละ 60 ซึ่งไม่ใช่เฉพาะปั๊มของตนเพียงแห่งเดียว แต่ได้รับผลกระทบทั่วทุกปั๊ม โดยเฉพาะใน อ.สะเดา บางแห่งยอดขายเหลือเพียงร้อยละ 20 หลายปั้มต้องขายรถบรรทุกน้ำมันทิ้ง เพราะไม่คุ้มกับค่าจ้างและเบี้ยเลี้ยงคนขับ เพราะเคยบรรทุกวันละเที่ยว กลายเป็นอาทิตย์ละเที่ยว
นายศุภเกียรติ ก้องธารากุล เจ้าของปั๊มใน อ.สะเดา เปิดเผยว่า มีขบวนการใหญ่ระดับหัวหน้าเป็นนักการเมืองท้องถิ่นใน จ.สงขลาหลายคน ที่เป็นนายทุนค้าน้ำมันเถื่อน และคุ้มครองกลุ่มผู้ค้าน้ำมันเถื่อน โดยทำหน้าที่เคลียร์เส้นทาง กับเจ้าหน้าที่ทุกหน่วย ขณะนี้นักการเมืองท้องถิ่นผู้หนึ่ง ได้เดินท่อจากโกดังที่เก็บน้ำมันซึ่งตั้งอยู่ฝั่งมาเลเซียเข้ามายังฝั่งไทยที่ตลาดปาดังเบซาร์ เพื่อความสะดวกในการขนน้ำมันจากมาเลเซียเข้ามายังฝั่งไทย
นายศุภเกียรติกล่าวต่อว่า เจ้าของปั๊มหลายแห่งได้ร้องเรียนไปยังเจ้าหน้าที่หลายหน่วยงาน เช่น ศุลกากร สรรพสามิต สำนักงานพลังงาน และเจ้าหน้าที่ตำรวจ แต่ไม่มีหน่วยงานไหนให้ความสนใจเข้าจับกุม โดยบางหน่วยงานอ้างว่าไม่มีกำลังในการตรวจจับปั๊มหลอด ในขณะที่บางหน่วยงานไปตรวจสอบและรับเงินจากเจ้าของปั๊มแทนการจับกุม
นายราฆพ ศรีศุภอรรค ผอ.ศุลกากร ภูมิภาคที่ 1 เปิดเผยว่า เจ้าหน้าที่ศุลกากรไม่ได้นิ่งนอนใจ มีการจัดกำลังตรวจจับการลักลอบนำน้ำมันจากประเทศมาเซียเข้ามาในราชอาณาจักรอยู่ตลอดเวลา โดยเน้นในแนวชายแดนและรถบรรทุกดัดแปลงที่วิ่งขนน้ำมันบนถนนสายหลัก แต่กำลังของเรามีจำกัด ไม่สามารถทำได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ โดยเฉพาะการตรวจจับปั๊มหลอดที่เปิดกันเป็นร้อยๆ ปั๊มควรเป็นหน้าที่ของหน่วยอื่นๆ ยอมรับว่ามีการดัดแปลงรถยนต์เพื่อขนน้ำมันเถื่อนนับร้อยคัน และการค้ำน้ำมันเถื่อนมีการทำกันมากเป็นขบวนการ เพราะผู้ค้ามีกำไรถึงลิตรละ 7-10 บาท รวมทั้งมีผู้มีอิทธิพลท้องถิ่นหนุนหลัง หลายครั้งที่ศุลการกร จับกุม ปิดแนวชายแดนอย่างเข้มงวด ผู้มีอิทธิพลก็จะจัดม็อบมาปิดล ้อมขับไล่เจ้าหน้าที่
ในขณะที่เจ้าของปั๊มอิสระแห่งหนึ่งใน อ.สะเดา จ.สงขลา เปิดเผยว่า ตนเองไม่ได้สั่งน้ำมันจากคลังน้ำมันมาขายเป็นเวลากว่า 3 เดือนแล้ว แต่รับซื้อน้ำมันเถื่อนจากประเทศมาเลเซียมาขายแทน เหตุผลเนื่องจากน้ำมันจากคลังที่ขายให้กับปั๊มอิสระแพงกว่าราคาที่ขายหน้าปั๊มที่มีแบรนด์ ทำให้รับการขาดทุนไม่ไหว จึงต้องเอาตัวรอดด้วยการซื้อน้ำมันเถื่อนมาขาย ซึ่งจะมีเจ้าหน้าที่สรรพสามิตมาจับกุมเดือนละ 2-3 ครั้ง โดยทุกครั้งตนต้องจ่ายเงินให้เจ้าหน้าที่ และเสียค่าปรับ ส่วนตำรวจท้องที่จะมีเจ้าหน้าที่หัวหน้าสายตรวจมาเก็บเงิน 15 ครั้ง การจ่ายจะเป็นเท่าไหร่แล้วแต่ตกลงกันโดยจะดูว่าเป็นปั๊มเล็กหรือปั๊มใหญ่
ในขณะที่เจ้าหน้าที่สรรพสามิตผู้หนึ่งเปิดเผยว่า กฎหมายของสรรพสามิต ไม่เอื้ออำนวยต่อการจับกุม เพราะไม่มีอำนาจในการสั่งปิดปั๊มหรือยึดของกลาง ทำได้เพียงให้เจ้าของน้ำมันไปจ่ายค่าปรับและคืนของกลางให้ ไม่เหมือนกฎหมายของศุลกากรที่ยึดของกลาง ยึดรถที่บรรทุกได้ หรือกฎหมายของสำนักพลังงานที่สั่งปิดปั๊มได้ การปราบปราบจะได้ผล ต่อเมื่อเจ้าหน้าที่ทุกหน่วยต้องบูรณาการกัน โดยต้องมีเจ้าภาพ แต่ปัจจุบันไม่มี ทุกหน่วยต่างคนต่างทำ และยอมรับว่ามีการหาผลประโยชน์จากกลุ่มผู้ค้าและผู้จำหน่ายน้ำมันเถื่อนกันอย่างเป็นล่ำเป็นสัน
ผู้สื่อข่าวได้รายงานเพิ่มเติมว่าจากการสำรวจจาก อ.สะเดา จ.ถึง อ.สิงหนคร จ.สงขลา พบว่ามีปั๊มน้ำมันเถื่อนที่เปิดริมถนนใหญ่อย่างไม่เกรงกลัวกฎหมายดังนี้ ริมถนนกาญจนวนิชในพื้นที่ ต.สำนักขาม 4 แห่ง ในเขตเทศบาลเมืองสะเดา 12 แห่ง ใน ต.ปาดังเบซาร์ 10 แห่ง ต.เขามีเกียรติ 4 แห่ง ต.พะตง อ.หาดใหญ่ 10 แห่ง เขตเทศบาลนครหาดใหญ่ 10 แห่ง อ.สิงหนคร 10 แห่ง และบริเวณหน้าคลังน้ำมัน ปตท.ยังมีคอกรับซื้อน้ำมันเถื่อนอีก 4 แห่ง ซึ่งในแต่ละแห่งมีรถยนต์เข้าไปเติมน้ำมันกันอย่างมากมาย โดยที่เจ้าหน้าที่ไม่มีการตรวจสอบจับกุมแต่อย่างใด