“แสงแดด” ตอนแรกตั้งใจจะวิพากษ์วิจารณ์การเมืองที่เกิดขึ้นอยู่ขณะนี้ ว่ากำลังเดินหน้าสู่ “การเผชิญหน้า” และมีแนวโน้มค่อนข้างสูงจะ “ต้องชน!” กันอย่างแน่นอน พร้อมกับความรู้สึกสังหรณ์ใจลึกๆ ว่า “การเผชิญหน้า-ชน” กันในครั้งนี้ “แตกหัก-นองเลือด” ค่อนข้างแน่นอน และขอฟันธงเลยว่า อาจถึงขั้น “วิกฤต” และ “อาเพศ” ก็เป็นได้ นอกเสียจากว่า “พระสยามเทวาธิราช” จะ “ทรงเมตตา” ประเทศชาติ!
อย่างไรก็ตาม ต้องขอสารภาพเลยว่า “เบื่อ-เอือมระอา” พร้อมทั้ง “ขอสาปแช่ง” อยู่ในใจว่า “กลุ่มคนคิดชั่วร้าย!” กับประเทศชาติ น่าจะถึงเวลาแล้วที่จะต้องมีอันเป็นไป เพื่อชาติบ้านเมืองจะได้สงบสุขกันเสียที!
เอาล่ะ! ขอวกกลับมาเรื่องของคอลัมน์ที่ “แสงแดด” เขียนไปช่วงเทศกาลสงกรานต์เกี่ยวกับ “ถนนวิทยุพัง!” เนื่องด้วยพี่น้องพร้อมแฟนๆ ของ “แสงแดด” บ่นรำพึงรำพันมาโดยตลอดว่า น่าจะมีใครคอยสะกิด “หน่วยงานรัฐ” ถึงสภาพผิวจราจรโดยทั่วไป โดยเฉพาะที่ “ถนนวิทยุ” ตลอดสายและบางช่วงบนถนนเพลินจิต
แฟนๆ ท่านผู้อ่านต่างเอือมระอากับสภาพถนนวิทยุและถนนเพลินจิต ตลอดจนถนนเพชรบุรีตัดใหม่ช่วงลงจากสะพานลอยประตูน้ำ ก่อนเลี้ยวขวาเข้าถนนชิดลมที่ “ดูไม่จืด” เลย แต่ที่สำคัญไปมากกว่านั้นเลยคือ ถนนย่านนี้เป็น “ศูนย์กลาง” อยู่ใจกลางของกรุงเทพมหานคร
และขอย้ำว่า โดยเฉพาะ “ถนนวิทยุ” นั้นเป็น “ถนนหน้าตา” ของกรุงเทพฯ มาช้านาน ต้นไม้ร่มเย็น เขียว แต่การก่อสร้างวางระบบท่อบนถนนวิทยุนานนับปี ยังก่อสร้างไม่เสร็จ ผิวถนนยิ่งกว่าถนนต่างจังหวัดเสียอีก!
ถนนวิทยุปัจจุบันตั้งแต่ช่วงถนนเพลินจิตยาวตลอดไปจนถึงถนนพระราม 4 แทบจะขับได้ยากมาก เนื่องด้วยถนนเป็นหลุมเป็นบ่อ แต่ขอย้ำอีกครั้งกับ “แผ่นเหล็ก-แผ่นปูน” ที่ปิดกว้างยาวประมาณ 4 เมตรคูณ 5 เมตร ดังภาพที่ “ฟ้อง” มานี้ ส่วนฟุตปาธและเกาะกลางถนนน่าจะเป็นการเร่งปรับปรุงให้สวยงาม ซึ่งทางกรุงเทพมหานครรับผิดชอบอยู่ คาดว่าอีกประมาณ 1 เดือนน่าจะแล้วเสร็จ
ทั้งนี้ ต้องขอขอบพระคุณทาง “การประปานครหลวง” ที่เขียนจดหมายชี้แจงมาทางหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ โดย คุณขัตติยะ เหราบัตย์ ผู้จัดการโครงการก่อสร้างระบบจ่ายน้ำ
คุณขัตติยะ ได้ให้ความกรุณาชี้แจงมาอย่างสุภาพ ซึ่ง “แสงแดด” ต้องขอน้อมรับคำชี้แจงต่างๆ เกี่ยวกับ “โครงการก่อสร้างวางท่อประปาขนาดใหญ่” ซึ่งเป็นการก่อสร้างร่วมโครงการกับ “การไฟฟ้านครหลวง-กสท.โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)” โดยมี “บริษัทดาตั้มไทย คอนสตรัคชั่น จำกัด” เป็นบริษัทรับเหมาก่อสร้างแบบเทรินคีย์ (Turnkey) หรือ “ครบวงจร” ทั้งหมด
ทั้ง 4 ข้อ ที่ชี้แจงมานั้น นับว่า “ชัดเจนที่สุด” ซึ่งอย่างน้อยได้แสดงถึง “การรับรู้” และ “ความรับผิดชอบ” ของ “การประปานครหลวง” ที่แสดงถึง “ความใส่ใจในความเดือดร้อน” ของประชาชน
อย่างไรก็ตาม “ภาพทั้งหมด” ที่นำเสนอสู่สายตาสาธารณชนเป็นภาพที่เพิ่งถ่ายไปเมื่อวันอาทิตย์ที่ 27 เมษายน ที่ผ่านมา ซึ่งต้องขอเรียนอย่างตรงไปตรงมาว่า สภาพถนนวิทยุเป็นลักษณะเช่นนี้นานเกือบปี แต่ “แผ่นปูน-แผ่นเหล็ก” เป็นเช่นนี้นานแรมปี โดยไม่ได้มีการปรับปรุงแก้ไขแต่อย่างใด
ความจริงที่เราต้องยอมรับว่า หน่วยงานของรัฐที่เป็นเจ้าของโครงการนั้นต้องการที่จะปรับปรุงและพัฒนา “สาธารณูปการ-สาธารณูปโภค” ให้แก่ประชาชนโดยทั่วไป ซึ่งเป็นเป้าหมายและกรณีที่ถูกต้อง เนื่องด้วยการขยายตัวของสังคมที่ต้องมีการขยายการบริการอย่างต่อเนื่อง
เพียงแต่ปัญหาสำคัญของการก่อสร้างโครงการใหญ่เช่นนี้ สามารถแยกแยะเป็นข้อๆ ได้ดังต่อไปนี้
หนึ่ง หน่วยงานไม่สามารถดำเนินการก่อสร้างได้เอง จึงต้องจัดให้มีบริษัทมารับเหมาก่อสร้างแบบครบวงจร โดยมีการกำหนดระยะเวลาก่อสร้างให้แล้วเสร็จว่ากี่เดือนกี่ปี เพียงแต่ปัญหาสำคัญคือ “บริษัทรับเหมาก่อสร้าง” ไม่เคยรับผิดชอบในการก่อสร้างให้เสร็จตามกำหนดระยะเวลา
สอง บริษัทรับเหมาก่อสร้างจะยอมเสียค่าปรับ และที่สำคัญ เมื่อการก่อสร้างล่าช้าแล้วจะ “ปล่อยปละละเลย!” ไม่รับผิดชอบและไม่คำนึงถึงประชาชนที่ใช้ถนนสัญจรไปมา
สาม เมื่อเป็นโครงการก่อสร้างที่เป็น “โครงการร่วม” เช่นนี้ ทุกหน่วยงานจะปล่อยให้บริษัทรับเหมาก่อสร้างไปดำเนินการทุกอย่าง หรือกล่าวอย่างง่ายๆ ก็หมายความว่า บริษัทรับเหมาก่อสร้างไม่รับผิดชอบประสานงานกับทุกหน่วยงานเอง ทางหน่วยงานจะไม่ค่อยสนใจในการตรวจสอบการก่อสร้างเป็นไปตามกำหนดการและเงื่อนไขหรือไม่อย่างไร
สี่ หน่วยราชการที่ต้องดูแลไม่ว่าสถานีตำรวจ แต่ที่สำคัญที่สุดคือ สำนักการโยธาฯ และเขต สมควรจะต้องตรวจสอบและเร่งให้หน่วยงานต่างๆ คอยเข้มงวดกับบริษัทรับเหมาก่อสร้างให้ดำเนินการเป็นไปตามสัญญา และ
ห้า ความจริงที่ปรากฏทุกครั้งคือ ทั้งหน่วยงานที่รับผิดชอบ ตลอดจนกรุงเทพมหานครสมควรอย่างยิ่งที่ต้องกดดันให้โครงการก่อสร้างไม่ไปสร้างความเดือดร้อนแก่ประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บริษัทรับเหมาก่อสร้างที่ “ขาดความรับผิดชอบ” กับ “สารทุกข์สุขดิบ” ของประชาชน
ปัญหาทั้งหมดของการก่อสร้างบนถนนวิทยุ ขณะนี้ขอเรียนอีกครั้งว่า เป็นปัญหาเช่นนี้ดังภาพมายาวนานนับปีทีเดียว โดยแทบจะไม่มีหน่วยงานใดมารับผิดชอบ เปรียบเสมือนว่า “ประชาชนเดือดร้อนเช่นไร พวกฉันไม่เกี่ยว!”
“แสงแดด” จึง ขอ “ฟ้องด้วยภาพ” ล่าสุดก็แล้วกัน ทั้งนี้ต้องขอขอบพระคุณสำหรับการชี้แจงมา และต้องขออนุญาตปฏิบัติหน้าที่ “สื่อกลาง” ตลอดไป!
อย่างไรก็ตาม ต้องขอสารภาพเลยว่า “เบื่อ-เอือมระอา” พร้อมทั้ง “ขอสาปแช่ง” อยู่ในใจว่า “กลุ่มคนคิดชั่วร้าย!” กับประเทศชาติ น่าจะถึงเวลาแล้วที่จะต้องมีอันเป็นไป เพื่อชาติบ้านเมืองจะได้สงบสุขกันเสียที!
เอาล่ะ! ขอวกกลับมาเรื่องของคอลัมน์ที่ “แสงแดด” เขียนไปช่วงเทศกาลสงกรานต์เกี่ยวกับ “ถนนวิทยุพัง!” เนื่องด้วยพี่น้องพร้อมแฟนๆ ของ “แสงแดด” บ่นรำพึงรำพันมาโดยตลอดว่า น่าจะมีใครคอยสะกิด “หน่วยงานรัฐ” ถึงสภาพผิวจราจรโดยทั่วไป โดยเฉพาะที่ “ถนนวิทยุ” ตลอดสายและบางช่วงบนถนนเพลินจิต
แฟนๆ ท่านผู้อ่านต่างเอือมระอากับสภาพถนนวิทยุและถนนเพลินจิต ตลอดจนถนนเพชรบุรีตัดใหม่ช่วงลงจากสะพานลอยประตูน้ำ ก่อนเลี้ยวขวาเข้าถนนชิดลมที่ “ดูไม่จืด” เลย แต่ที่สำคัญไปมากกว่านั้นเลยคือ ถนนย่านนี้เป็น “ศูนย์กลาง” อยู่ใจกลางของกรุงเทพมหานคร
และขอย้ำว่า โดยเฉพาะ “ถนนวิทยุ” นั้นเป็น “ถนนหน้าตา” ของกรุงเทพฯ มาช้านาน ต้นไม้ร่มเย็น เขียว แต่การก่อสร้างวางระบบท่อบนถนนวิทยุนานนับปี ยังก่อสร้างไม่เสร็จ ผิวถนนยิ่งกว่าถนนต่างจังหวัดเสียอีก!
ถนนวิทยุปัจจุบันตั้งแต่ช่วงถนนเพลินจิตยาวตลอดไปจนถึงถนนพระราม 4 แทบจะขับได้ยากมาก เนื่องด้วยถนนเป็นหลุมเป็นบ่อ แต่ขอย้ำอีกครั้งกับ “แผ่นเหล็ก-แผ่นปูน” ที่ปิดกว้างยาวประมาณ 4 เมตรคูณ 5 เมตร ดังภาพที่ “ฟ้อง” มานี้ ส่วนฟุตปาธและเกาะกลางถนนน่าจะเป็นการเร่งปรับปรุงให้สวยงาม ซึ่งทางกรุงเทพมหานครรับผิดชอบอยู่ คาดว่าอีกประมาณ 1 เดือนน่าจะแล้วเสร็จ
ทั้งนี้ ต้องขอขอบพระคุณทาง “การประปานครหลวง” ที่เขียนจดหมายชี้แจงมาทางหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ โดย คุณขัตติยะ เหราบัตย์ ผู้จัดการโครงการก่อสร้างระบบจ่ายน้ำ
คุณขัตติยะ ได้ให้ความกรุณาชี้แจงมาอย่างสุภาพ ซึ่ง “แสงแดด” ต้องขอน้อมรับคำชี้แจงต่างๆ เกี่ยวกับ “โครงการก่อสร้างวางท่อประปาขนาดใหญ่” ซึ่งเป็นการก่อสร้างร่วมโครงการกับ “การไฟฟ้านครหลวง-กสท.โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)” โดยมี “บริษัทดาตั้มไทย คอนสตรัคชั่น จำกัด” เป็นบริษัทรับเหมาก่อสร้างแบบเทรินคีย์ (Turnkey) หรือ “ครบวงจร” ทั้งหมด
ทั้ง 4 ข้อ ที่ชี้แจงมานั้น นับว่า “ชัดเจนที่สุด” ซึ่งอย่างน้อยได้แสดงถึง “การรับรู้” และ “ความรับผิดชอบ” ของ “การประปานครหลวง” ที่แสดงถึง “ความใส่ใจในความเดือดร้อน” ของประชาชน
อย่างไรก็ตาม “ภาพทั้งหมด” ที่นำเสนอสู่สายตาสาธารณชนเป็นภาพที่เพิ่งถ่ายไปเมื่อวันอาทิตย์ที่ 27 เมษายน ที่ผ่านมา ซึ่งต้องขอเรียนอย่างตรงไปตรงมาว่า สภาพถนนวิทยุเป็นลักษณะเช่นนี้นานเกือบปี แต่ “แผ่นปูน-แผ่นเหล็ก” เป็นเช่นนี้นานแรมปี โดยไม่ได้มีการปรับปรุงแก้ไขแต่อย่างใด
ความจริงที่เราต้องยอมรับว่า หน่วยงานของรัฐที่เป็นเจ้าของโครงการนั้นต้องการที่จะปรับปรุงและพัฒนา “สาธารณูปการ-สาธารณูปโภค” ให้แก่ประชาชนโดยทั่วไป ซึ่งเป็นเป้าหมายและกรณีที่ถูกต้อง เนื่องด้วยการขยายตัวของสังคมที่ต้องมีการขยายการบริการอย่างต่อเนื่อง
เพียงแต่ปัญหาสำคัญของการก่อสร้างโครงการใหญ่เช่นนี้ สามารถแยกแยะเป็นข้อๆ ได้ดังต่อไปนี้
หนึ่ง หน่วยงานไม่สามารถดำเนินการก่อสร้างได้เอง จึงต้องจัดให้มีบริษัทมารับเหมาก่อสร้างแบบครบวงจร โดยมีการกำหนดระยะเวลาก่อสร้างให้แล้วเสร็จว่ากี่เดือนกี่ปี เพียงแต่ปัญหาสำคัญคือ “บริษัทรับเหมาก่อสร้าง” ไม่เคยรับผิดชอบในการก่อสร้างให้เสร็จตามกำหนดระยะเวลา
สอง บริษัทรับเหมาก่อสร้างจะยอมเสียค่าปรับ และที่สำคัญ เมื่อการก่อสร้างล่าช้าแล้วจะ “ปล่อยปละละเลย!” ไม่รับผิดชอบและไม่คำนึงถึงประชาชนที่ใช้ถนนสัญจรไปมา
สาม เมื่อเป็นโครงการก่อสร้างที่เป็น “โครงการร่วม” เช่นนี้ ทุกหน่วยงานจะปล่อยให้บริษัทรับเหมาก่อสร้างไปดำเนินการทุกอย่าง หรือกล่าวอย่างง่ายๆ ก็หมายความว่า บริษัทรับเหมาก่อสร้างไม่รับผิดชอบประสานงานกับทุกหน่วยงานเอง ทางหน่วยงานจะไม่ค่อยสนใจในการตรวจสอบการก่อสร้างเป็นไปตามกำหนดการและเงื่อนไขหรือไม่อย่างไร
สี่ หน่วยราชการที่ต้องดูแลไม่ว่าสถานีตำรวจ แต่ที่สำคัญที่สุดคือ สำนักการโยธาฯ และเขต สมควรจะต้องตรวจสอบและเร่งให้หน่วยงานต่างๆ คอยเข้มงวดกับบริษัทรับเหมาก่อสร้างให้ดำเนินการเป็นไปตามสัญญา และ
ห้า ความจริงที่ปรากฏทุกครั้งคือ ทั้งหน่วยงานที่รับผิดชอบ ตลอดจนกรุงเทพมหานครสมควรอย่างยิ่งที่ต้องกดดันให้โครงการก่อสร้างไม่ไปสร้างความเดือดร้อนแก่ประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บริษัทรับเหมาก่อสร้างที่ “ขาดความรับผิดชอบ” กับ “สารทุกข์สุขดิบ” ของประชาชน
ปัญหาทั้งหมดของการก่อสร้างบนถนนวิทยุ ขณะนี้ขอเรียนอีกครั้งว่า เป็นปัญหาเช่นนี้ดังภาพมายาวนานนับปีทีเดียว โดยแทบจะไม่มีหน่วยงานใดมารับผิดชอบ เปรียบเสมือนว่า “ประชาชนเดือดร้อนเช่นไร พวกฉันไม่เกี่ยว!”
“แสงแดด” จึง ขอ “ฟ้องด้วยภาพ” ล่าสุดก็แล้วกัน ทั้งนี้ต้องขอขอบพระคุณสำหรับการชี้แจงมา และต้องขออนุญาตปฏิบัติหน้าที่ “สื่อกลาง” ตลอดไป!