วานนี้ (28 เม.ย.) นายถวิล อินทรักษา ประธานคณะกรรมการสืบสวนสอบสวบกรณี พล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม ประธานที่ปรึกษากระทรวงกลาโหม ได้ร้องต่อ กกต. กล่าวหา นายยงยุทธ ติยะไพรัช กระทำการปราศรัย ใส่ร้าย กล่าวหาว่า ทหารเข้าไปบุกคนบ้านประชาชน (หัวคะแนนของนายยงยุทธ) เปิดเผยว่า คณะกรรมการฯมีมติเป็นเอกฉันท์ 4 เสียง มีความเห็นไปในทิศทางเดียวกัน แต่ไม่สามารถเปิดเผยได้ว่า คณะกรรมการฯมีผลสรุปออกมาว่า สมควรยกคำร้อง หรือให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งแก่นายยงยุทธ ซึ่งจะนำผลสรุปเสนอ กกต.ได้ภายในวันนี้ (28 เม.ย.)
"พบว่า มีนายทหารเข้าไปตรวจค้นบ้านประชาชนจริง แต่การตรวจค้นนั้นเป็นไปอย่างถูกต้องตามกฎหมาย โดยมีหมายศาลให้เข้าไปตรวจค้น การที่ พล.อ.สมเจตน์ มาร้องนั้น ก็ไม่ได้เป็นการกล่าวหานายยงยุทธ แต่เป็นการร้องตามที่มีหนังสือพิมพ์ และเว็ปไซต์ เสนอข่าวว่า มีคนในกองทัพ และบุคคลไปตรวจค้นบ้านประชาชน ซึ่งทำให้กองทัพเสียหาย จึงได้มาร้องกกต. และการสรุปสำนวนส่งเสนอ กกต.ครั้งนี้ ยืนยันว่าเราไม่ได้เอื้อประโยชน์ให้แก่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ส่วนผลการวินิจฉัยจะไปในทิศทางใดนั้น ก็ขึ้นอยู่กับ กกต. โดยเราคิดว่า สำนวนที่เราเสนอนี้ครบถ้วนสมบูรณ์ที่สุดแล้ว ไม่น่าจะต้องสอบสวนเพิ่มเติม" นายถวิล กล่าว และว่าในการเสนอสำนวนให้ กกต.นั้นคณะกรรมการฯได้อ้างอิงการกระทำที่เกิดขึ้นตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย ส.ส.และการได้มาซึ่งส.ว. มาตรา 53 ( 5 ) เพียงมาตราเดียว ที่ระบุว่า ห้ามมิให้ผู้สมัคร หรือผู้ใดกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อจูงใจให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งลงคะแนนเสียงเลือกตั้งให้กับตนเอง หรือผู้สมัครอื่น หรือพรรคการเมืองใด หรือให้งดเว้นการลงคะแนนแก่ผู้สมัคร หรือพรรคการเมืองใด ด้วยการหลอกลวง บังคับ ขู่เข็น หรือใช้อิทธิพลคุกคาม ใส่ร้ายด้วยความเท็จ ให้เข้าใจผิดในคะแนนนิยมของผู้สมัครหรือพรรคการเมือง
เมื่อถามว่านายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีได้ออกมากล่าวในรายการ"สนทนาประสาสมัคร" โดยระบุว่า มีนายทหารยศ พล.อ. ร่วมวางแผนกับกกต.เพื่อให้นายยงยุทธได้ใบแดงซ้ำ 2 นั้นนายถวิล กล่าวว่า ตนไม่ใช่ กกต. และเป็นเพียงคณะกรรมการสืบสวนสอบสวน มีหน้าที่หาความจริงให้ กกต. เท่านั้น และไม่เข้าใจในสิ่งที่นายกรัฐมนตรีพูด ส่วนท่านจะหมายความว่าอย่างไร ต้องไปถามนายกฯ เอง
**คดีหมิ่นกองทัพ ส่อเค้าใบขาว
แหล่งข่าวจาก กกต.เปิดเผยว่า คณะกรรมการสอบสวนเรื่องนี้ เห็นพ้องว่า เรื่องที่ พล.อ.สมเจตน์ มาร้องไม่เข้าข่าย มาตรา 53 (5) ของ พ.ร.บ.การเลือกตั้งส.ส.และการได้มาซึ่ง ส.ว. เนื่องจากคำร้องระบุว่า เป็นเรื่องของการหมิ่นประมาท ใส่ความให้กองทัพเกิดความเสียหาย ซึ่งคณะกรรมการเห็นว่า น่าจะเป็นคดีความทางอาญา และเห็นว่าเป็นเรื่องส่วนตัวของบุคคล 2 คน เป็นการกล่าวหากันไปมา จึงเห็นว่า พล.อ.สมเจตน์ ในฐานะเป็นผู้เสียหาย น่าจะไปแจ้งความดำเนินคดีทางอาญา จะเป็นการถูกต้องกว่ามาร้องที่กกต.
เมื่อถามว่า กรณีที่นายยงยุทธ ระบุว่า ทหารเข้าไปตรวจค้นบ้านหัวคะแนนทำให้เกิดคะแนนสงสาร ต่อพรรคพลังประชาชนหรือไม่ แหล่งข่าว กล่าวว่า กรณีดังกล่าวไม่เข้าตามความผิดกม.เลือกตั้ง ไม่มีผลต่อการทำให้เกิดความสำคัญผิดในคะแนนนิยม จนทำให้คะแนนสูงขึ้น
ด้านนายสุเมธ อุปนิสากร กกต. ด้านกิจการการมีส่วนร่วม กล่าวถึงกรณีนายกรัฐมนตรี ออกมาตั้งข้อสังเกตุล่วงหน้าว่า กกต.จะลงมติให้ใบแดง นายยงยุทธ เป็นใบที่ 2 ว่า เป็นการคาดการณ์กันไป กกต. 5 คน ยังไม่มีใครได้รับสำนวน ซึ่งตามหลักการ การให้ใบแดง ใบที่ 2 สามารถทำได้ เพราะกฎหมายไม่ได้ห้ามไว้ แต่กรณี พล.อ.สมเจตน์ ไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียจากการเลือกตั้ง จึงอาจไม่เข้าข่ายความผิด ตามมาตรา 53 (5) ของกฏหมายเลือกตั้ง ที่ห้ามผู้สมัครใส่ร้ายผู้อื่นด้วยความเท็จ เพื่อจูงใจในคะแนนนิยม แต่หาก กกต. เห็นถึงความผิดที่ชัดเจน ก็อาจนำมาพิจารณาเอาผิดได้
**จวก"หมัก"ไม่คิดปกป้องกองทัพ
พล.อ. สมเจตน์ บุญถนอม ประธานคณะที่ปรึกษากระทรวงกลาโหม กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า ตนไปร้องเรียนเรื่องนี้ กับ กกต. ตั้งแต่ช่วงเลือกตั้ง 23 ธ.ค.50 ไม่ใช่เพิ่งจะร้องเรียน
"ต้องขอบคุณท่านนายกรัฐมนตรี ที่บอกว่านายยงยุทธ จะโดนใบแดงใบที่ 2 ทั้งนี้ อยากตั้งข้อสังเกตว่า ขณะนี้นายสมัคร มี 3 สถานะ คือ 1.นายกรัฐมนตรี 2.รมว.กลาโหม และ 3.หัวหน้าพรรคพลังประชาชน ดังนั้น เมื่อมองในฐานะนายกรัฐมนตรี ข่าวนี้ไม่เห็นเกี่ยวข้องกับความเป็นอยู่ของประชาชน และไม่เห็นว่าประชาชนจะได้ประโยชน์อะไร ซึ่งประชาชนอยากให้นายกรัฐมนตรีพูดในสิ่งที่เกี่ยวข้องกับปากท้องของประชาชนมากกว่า" พล.อ.สมเจตน์ กล่าว
ในฐานะที่นายสมัคร เป็นรมว. กลาโหม มีหน้าที่ปกป้องเกียรติภูมิของกองทัพ แต่นายสมัคร ก็ไม่ทำหน้าที่ แต่ตนทำหน้าที่ในฐานะกองทัพเป็นทหารของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อเห็นการทุจริตและความผิด ก็ไม่อยากให้ลอยนวล หากคนที่ผิดเห็นว่าไม่ถูกต้อง ก็ขอให้มาต่อสู้ในกระบวนการยุติธรรม
"และในฐานะหัวหน้าพรรคพลังประชาชน ยิ่งไม่น่าทำอย่างยิ่ง เพราะใช้สถานีโทรทัศน์มาปกป้องลูกพรรคของตัวเอง อยากถามว่า นายสมัคร พูดในรายการดังกล่าวในฐานะอะไร ผมอยากให้ท่านทำหน้าที่เพื่อประชาชน และประเทศชาติ อย่าทำหน้าที่ปกป้องคนในพรรคและผลประโยชน์ของตนเท่านั้น" พล.อ.สมเจตน์ กล่าว
พล.อ.สมเจตน์ กล่าวด้วยว่า ที่นายสมัคร ระบุว่ามีการจ้องล้มขบวนการนิติบัญญัติ และให้ผู้ที่เป็นประธานรัฐสภาต้องพ้นจากตำแหน่ง ตนอยากบอกว่าเป็นความบกพร่องของคนในพรรคพลังประชาชนเอง ที่เลือกนายยงยุทธ ซึ่งมีมลทิน เป็นประธานสภาฯเอง ทั้งๆที่มีเสียงคัดค้านของสังคม เพราะมีคดีทุจริตอยู่แต่ยังเสนอชื่อขึ้นมา เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วจะไปโทษใคร
**คดีนอมินี ส่อเค้าหลุดอีก
นายถวิล อินทรรักษา ในฐานะประธานคณะกรรมการสืบสวนสอบสวนกรณีที่ นายประสิทธิ์ ดอนโพธิ์งาม อดีต ส.ส.ชัยนาท พรรคประชากรไทย ร้องเรียนให้ กกต. ยุบพรรคพลังประชาชน และดำเนินการกับ นายสมัคร สุนทรเวช หัวหน้าพรรคพลังประชาชน ซึ่งมีพฤติการณ์เป็นนอมินีพรรคไทยรักไทย เปิดเผยถึงความคืบหน้ากรณีดังกล่าวว่า คณะกรรมการสืบสวนสอบสวนได้ส่งสำนวนและมติให้ กกต.ไปแล้ว โดยมีมติเห็นไปในทางเดียวกันเป็นเอกฉันท์ 4 เสียง แต่ไม่สามารถเปิดเผยผลของมติได้ว่า ออกมาเช่นใด
ด้านนายสุเมธ อุปนิสากร กกต.ด้านกิจการการมีส่วนร่วม กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า ปัญหาใหญ่อยู่ที่ไม่มีกฎหมายที่ระบุเรื่องการเอาผิด และบทลงโทษในเรื่องนอมินี ซึ่งเราก็ต้องไปดูในที่ประชุมว่า ผิดหรือเข้ามาตราใดหรือไม่ อย่างไร และคนที่ร้องมาก็ไม่ได้ระบุว่า ผิดมาตราไหน และก็ไม่ได้ระบุว่าได้มีการ กระทำผิดอย่างไร มีเพียงแต่บอกว่าเป็น นอมินี ซึ่งก็ต้องมาแปลความหมายของคำว่า นอมินี กันอีก ที่ตรงกับความหมายว่า เป็นตัวการ ตัวแทน ดังนั้นเราก็ต้องมานั่งดูกันอีกว่า ผิดมาตราอะไร ก็นั่งคิดกันอยู่
"พบว่า มีนายทหารเข้าไปตรวจค้นบ้านประชาชนจริง แต่การตรวจค้นนั้นเป็นไปอย่างถูกต้องตามกฎหมาย โดยมีหมายศาลให้เข้าไปตรวจค้น การที่ พล.อ.สมเจตน์ มาร้องนั้น ก็ไม่ได้เป็นการกล่าวหานายยงยุทธ แต่เป็นการร้องตามที่มีหนังสือพิมพ์ และเว็ปไซต์ เสนอข่าวว่า มีคนในกองทัพ และบุคคลไปตรวจค้นบ้านประชาชน ซึ่งทำให้กองทัพเสียหาย จึงได้มาร้องกกต. และการสรุปสำนวนส่งเสนอ กกต.ครั้งนี้ ยืนยันว่าเราไม่ได้เอื้อประโยชน์ให้แก่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ส่วนผลการวินิจฉัยจะไปในทิศทางใดนั้น ก็ขึ้นอยู่กับ กกต. โดยเราคิดว่า สำนวนที่เราเสนอนี้ครบถ้วนสมบูรณ์ที่สุดแล้ว ไม่น่าจะต้องสอบสวนเพิ่มเติม" นายถวิล กล่าว และว่าในการเสนอสำนวนให้ กกต.นั้นคณะกรรมการฯได้อ้างอิงการกระทำที่เกิดขึ้นตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย ส.ส.และการได้มาซึ่งส.ว. มาตรา 53 ( 5 ) เพียงมาตราเดียว ที่ระบุว่า ห้ามมิให้ผู้สมัคร หรือผู้ใดกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อจูงใจให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งลงคะแนนเสียงเลือกตั้งให้กับตนเอง หรือผู้สมัครอื่น หรือพรรคการเมืองใด หรือให้งดเว้นการลงคะแนนแก่ผู้สมัคร หรือพรรคการเมืองใด ด้วยการหลอกลวง บังคับ ขู่เข็น หรือใช้อิทธิพลคุกคาม ใส่ร้ายด้วยความเท็จ ให้เข้าใจผิดในคะแนนนิยมของผู้สมัครหรือพรรคการเมือง
เมื่อถามว่านายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีได้ออกมากล่าวในรายการ"สนทนาประสาสมัคร" โดยระบุว่า มีนายทหารยศ พล.อ. ร่วมวางแผนกับกกต.เพื่อให้นายยงยุทธได้ใบแดงซ้ำ 2 นั้นนายถวิล กล่าวว่า ตนไม่ใช่ กกต. และเป็นเพียงคณะกรรมการสืบสวนสอบสวน มีหน้าที่หาความจริงให้ กกต. เท่านั้น และไม่เข้าใจในสิ่งที่นายกรัฐมนตรีพูด ส่วนท่านจะหมายความว่าอย่างไร ต้องไปถามนายกฯ เอง
**คดีหมิ่นกองทัพ ส่อเค้าใบขาว
แหล่งข่าวจาก กกต.เปิดเผยว่า คณะกรรมการสอบสวนเรื่องนี้ เห็นพ้องว่า เรื่องที่ พล.อ.สมเจตน์ มาร้องไม่เข้าข่าย มาตรา 53 (5) ของ พ.ร.บ.การเลือกตั้งส.ส.และการได้มาซึ่ง ส.ว. เนื่องจากคำร้องระบุว่า เป็นเรื่องของการหมิ่นประมาท ใส่ความให้กองทัพเกิดความเสียหาย ซึ่งคณะกรรมการเห็นว่า น่าจะเป็นคดีความทางอาญา และเห็นว่าเป็นเรื่องส่วนตัวของบุคคล 2 คน เป็นการกล่าวหากันไปมา จึงเห็นว่า พล.อ.สมเจตน์ ในฐานะเป็นผู้เสียหาย น่าจะไปแจ้งความดำเนินคดีทางอาญา จะเป็นการถูกต้องกว่ามาร้องที่กกต.
เมื่อถามว่า กรณีที่นายยงยุทธ ระบุว่า ทหารเข้าไปตรวจค้นบ้านหัวคะแนนทำให้เกิดคะแนนสงสาร ต่อพรรคพลังประชาชนหรือไม่ แหล่งข่าว กล่าวว่า กรณีดังกล่าวไม่เข้าตามความผิดกม.เลือกตั้ง ไม่มีผลต่อการทำให้เกิดความสำคัญผิดในคะแนนนิยม จนทำให้คะแนนสูงขึ้น
ด้านนายสุเมธ อุปนิสากร กกต. ด้านกิจการการมีส่วนร่วม กล่าวถึงกรณีนายกรัฐมนตรี ออกมาตั้งข้อสังเกตุล่วงหน้าว่า กกต.จะลงมติให้ใบแดง นายยงยุทธ เป็นใบที่ 2 ว่า เป็นการคาดการณ์กันไป กกต. 5 คน ยังไม่มีใครได้รับสำนวน ซึ่งตามหลักการ การให้ใบแดง ใบที่ 2 สามารถทำได้ เพราะกฎหมายไม่ได้ห้ามไว้ แต่กรณี พล.อ.สมเจตน์ ไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียจากการเลือกตั้ง จึงอาจไม่เข้าข่ายความผิด ตามมาตรา 53 (5) ของกฏหมายเลือกตั้ง ที่ห้ามผู้สมัครใส่ร้ายผู้อื่นด้วยความเท็จ เพื่อจูงใจในคะแนนนิยม แต่หาก กกต. เห็นถึงความผิดที่ชัดเจน ก็อาจนำมาพิจารณาเอาผิดได้
**จวก"หมัก"ไม่คิดปกป้องกองทัพ
พล.อ. สมเจตน์ บุญถนอม ประธานคณะที่ปรึกษากระทรวงกลาโหม กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า ตนไปร้องเรียนเรื่องนี้ กับ กกต. ตั้งแต่ช่วงเลือกตั้ง 23 ธ.ค.50 ไม่ใช่เพิ่งจะร้องเรียน
"ต้องขอบคุณท่านนายกรัฐมนตรี ที่บอกว่านายยงยุทธ จะโดนใบแดงใบที่ 2 ทั้งนี้ อยากตั้งข้อสังเกตว่า ขณะนี้นายสมัคร มี 3 สถานะ คือ 1.นายกรัฐมนตรี 2.รมว.กลาโหม และ 3.หัวหน้าพรรคพลังประชาชน ดังนั้น เมื่อมองในฐานะนายกรัฐมนตรี ข่าวนี้ไม่เห็นเกี่ยวข้องกับความเป็นอยู่ของประชาชน และไม่เห็นว่าประชาชนจะได้ประโยชน์อะไร ซึ่งประชาชนอยากให้นายกรัฐมนตรีพูดในสิ่งที่เกี่ยวข้องกับปากท้องของประชาชนมากกว่า" พล.อ.สมเจตน์ กล่าว
ในฐานะที่นายสมัคร เป็นรมว. กลาโหม มีหน้าที่ปกป้องเกียรติภูมิของกองทัพ แต่นายสมัคร ก็ไม่ทำหน้าที่ แต่ตนทำหน้าที่ในฐานะกองทัพเป็นทหารของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อเห็นการทุจริตและความผิด ก็ไม่อยากให้ลอยนวล หากคนที่ผิดเห็นว่าไม่ถูกต้อง ก็ขอให้มาต่อสู้ในกระบวนการยุติธรรม
"และในฐานะหัวหน้าพรรคพลังประชาชน ยิ่งไม่น่าทำอย่างยิ่ง เพราะใช้สถานีโทรทัศน์มาปกป้องลูกพรรคของตัวเอง อยากถามว่า นายสมัคร พูดในรายการดังกล่าวในฐานะอะไร ผมอยากให้ท่านทำหน้าที่เพื่อประชาชน และประเทศชาติ อย่าทำหน้าที่ปกป้องคนในพรรคและผลประโยชน์ของตนเท่านั้น" พล.อ.สมเจตน์ กล่าว
พล.อ.สมเจตน์ กล่าวด้วยว่า ที่นายสมัคร ระบุว่ามีการจ้องล้มขบวนการนิติบัญญัติ และให้ผู้ที่เป็นประธานรัฐสภาต้องพ้นจากตำแหน่ง ตนอยากบอกว่าเป็นความบกพร่องของคนในพรรคพลังประชาชนเอง ที่เลือกนายยงยุทธ ซึ่งมีมลทิน เป็นประธานสภาฯเอง ทั้งๆที่มีเสียงคัดค้านของสังคม เพราะมีคดีทุจริตอยู่แต่ยังเสนอชื่อขึ้นมา เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วจะไปโทษใคร
**คดีนอมินี ส่อเค้าหลุดอีก
นายถวิล อินทรรักษา ในฐานะประธานคณะกรรมการสืบสวนสอบสวนกรณีที่ นายประสิทธิ์ ดอนโพธิ์งาม อดีต ส.ส.ชัยนาท พรรคประชากรไทย ร้องเรียนให้ กกต. ยุบพรรคพลังประชาชน และดำเนินการกับ นายสมัคร สุนทรเวช หัวหน้าพรรคพลังประชาชน ซึ่งมีพฤติการณ์เป็นนอมินีพรรคไทยรักไทย เปิดเผยถึงความคืบหน้ากรณีดังกล่าวว่า คณะกรรมการสืบสวนสอบสวนได้ส่งสำนวนและมติให้ กกต.ไปแล้ว โดยมีมติเห็นไปในทางเดียวกันเป็นเอกฉันท์ 4 เสียง แต่ไม่สามารถเปิดเผยผลของมติได้ว่า ออกมาเช่นใด
ด้านนายสุเมธ อุปนิสากร กกต.ด้านกิจการการมีส่วนร่วม กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า ปัญหาใหญ่อยู่ที่ไม่มีกฎหมายที่ระบุเรื่องการเอาผิด และบทลงโทษในเรื่องนอมินี ซึ่งเราก็ต้องไปดูในที่ประชุมว่า ผิดหรือเข้ามาตราใดหรือไม่ อย่างไร และคนที่ร้องมาก็ไม่ได้ระบุว่า ผิดมาตราไหน และก็ไม่ได้ระบุว่าได้มีการ กระทำผิดอย่างไร มีเพียงแต่บอกว่าเป็น นอมินี ซึ่งก็ต้องมาแปลความหมายของคำว่า นอมินี กันอีก ที่ตรงกับความหมายว่า เป็นตัวการ ตัวแทน ดังนั้นเราก็ต้องมานั่งดูกันอีกว่า ผิดมาตราอะไร ก็นั่งคิดกันอยู่