ททท.เพิ่งตื่น ปั้นยุทธศาสตร์รับมือโลกร้อน หวั่นถูกถอดจากการเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจในแผนที่โลก วางงบ กว่า 21 ล้านบาท ประกาศโครงการ “ปฎิญญา รักษาสิ่งแวดล้อม” ผุด 7 Green Project ดึงชุมชน เอกชน ร่วมทำงาน ลั่น สมุย ลันตา เป็นพื้นที่นำร่อง ประเดิมประกาศแผนสร้างภาพในงานประชุม พาต้า ซีอีโอ สัปดาห์นี้
นางศศิอาภา สุคนธรัตน์ ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมสินค้าทางการท่องเที่ยว การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เปิดเผยว่า ททท.ได้ใช้งบ 21.5 ล้านบาท เฉพาะปีงบประมาณ 2551 เพื่อ ดำเนินโครงการ “ปฎิญญารักษาสิ่งแวดล้อม” หรือเที่ยวไทยต้านภัยโลกร้อน โดยโครงการนี้จะเป็นโครงการต่อเนื่อง 3 ปี ระหว่างปีงบประมาณ 2551-2553 เพื่อร่วมเฉลิมฉลองในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระชนมพรรษา 84 พรรรษา ซึ่ง ททท. จะจัดสรรงบประมาณเป็นรายปีให้แก่โครงการนี้ต่อไป
สำหรับปฎิญญารักษาสิ่งแวดล้อมนี้ ททท.ได้กำหนด 7 แนวทางการท่องเที่ยวที่ตระหนักและสนใจต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อช่วยลดปัญหาสภาวะโลกร้อน ภายใต้ชื่อ “ 7 Green Project” ได้แก่ กรีน ฮาร์ท กลุ่มนักท่องเที่ยวที่ใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม ,กรีน ลอจิสติก การคมนาคมที่ช่วยลดโลกร้อน เช่น ปั่นจักรยาน การเดินเท้าระยะสั้น ,กรีน แอคทิวิตี้ กิจกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ,กรีน เซอร์วิส ที่พัก และร้าน อาหาร ที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม ,กรีน เดสติเนชั่น แหล่งท่องเที่ยวที่ตระหนักถึงคุณค่าของสิ่งแวดล้อม ,กรีนคอมมูนิตี้ การท่องเที่ยวในชุมชนที่ใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม และ กรีน พลัส คือ กิจกรรมที่ร่วมกันสร้างพื้นที่สีเขียว ตอบแทนสังคม
จุดประสงค์การดำเนินงาน เพื่อต้องการประกาศความชัดเจนของประเทศไทย ในเรื่องการ ตระหนัก ตื่นตัวรับมือกับสภาวะโลกร้อน โดย การร่วมมือกับระหว่างภาครัฐ เอกชน และชุมชน ที่มีสำนึกรักษาสิ่งแวดล้อม ซึ่งโครงการนี้ จะช่วยให้ประเทศไทย และ ททท. ใช้เป็นแบรนด์ ที่มี จุดขาย และจุดแข็ง ในการแข่งขันในเวทีอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวระดับโลก รวมทั้งขยายฐานตลาดใหม่ไปสู่กลุ่มนักท่องเที่ยวคุณภาพทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ที่ใส่ใจในการรักษาคุณภาพของสิ่งแวดล้อม
การทำงานของโครงการนี้ จะสร้างกระแสการรับรู้เรื่องผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว โดยรณรงค์ และกระตุ้น ให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมกันดำเนินการเพื่อลดสภาวะโลกร้อนที่เกิดขึ้น โดยโครงการ จะแบ่งเป็น 3 เฟส ได้แก่ 1. จัดทำระบบฐานข้อมูลผู้ประกอบการในธุรกิจท่องเที่ยว โรงแรม ร้านอาหาร ฯลฯ ที่ได้มีการตื่นตัวรักษาสิ่งแวดล้อม เช่น การเข้าร่วมโครงการ ใบไม้เขียว เป็นต้น 2. ให้ ททท. ทั้ง 4 ภูมิภาค ทั่วประเทศ สร้างกิจกรรมที่รักษาสิ่งแวดล้อม โดยเร่งหาพันธมิตรในพื้นที่ และ สร้างเส้นทางท่องเที่ยวให้เชื่อมโยงกันระหว่าง จังหวัด และ ภูมิภาคด้วย เน้นโฆษณาประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ ให้ข้อมูล ของการตื่นตัวรักษาสิ่งแวดล้อม
3.จัดทำแหล่งท่องเที่ยวตัวอย่าง ที่ ททท. ภาคเอกชน และ ชุมชน ได้มีส่วนร่วมกันฟื้นฟูและรักษาสิ่งแวดล้อม ล่าสุด ภายในปีนี้ จะประกาศ พื้นที่ ตัวอย่าง ที่ ททท. จะเข้าไปดำเนินการร่วมกับชุมชน ได้แก่ เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี และ เกาะลันตา จ.กระบี่ วิธีการ คือ ททท. จะเข้าไปร่วมบริหารจัดการ ปลุกจิตสำนึกคนในชุมชนให้เข้ามามีส่วนร่วมในการฟื้นฟูพื้นที่ของเขา โดยคำนึงถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก
“ปัจจุบัน ทั่วโลกตระหนักถึงพิษภัยของสภาวะโลกร้อน และ ร่วมกันรณรงค์รักษาสิ่งแวดล้อมกันอย่างจริงจัง และใช้กลยุทธ์นี้เป็นยุทธศาสตร์ทางการแข่งขันในเวทีโลก เช่น ประเทศศรีลังกา ประกาศว่าเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นปอดของโลก เป็นต้น เพราะจากนี้ไป นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่จะให้ความสำคัญเลือกเดินทางไปในประเทศที่ตระหนักในเรื่องนี้ ดังนั้นจึงยังไม่ช้าไปที่ไทยจะเริ่มต้น เพราะหากเราไม่เร่งดำเนินการ และไม่ประกาศให้โลกได้รับรู้ ก็อาจถูกถอดออกจากแผนที่ในการส่งเสริมการท่องเที่ยวของโลกได้”
ดังนั้น นอกจากการดำเนินงานแล้ว สิ่งที่ ททท.จะต้องดำเนินการอีกอย่างหนึ่ง คือ นำข้อมูลไปจัดประชุมสัมมนา โดยจะประกาศตัวอย่างเป็นทางการครั้งแรกในงานประชุม PATA CEO ระหว่างวันที่ 28-30 เม.ย.นี้ ไทยก็จะหยิบยกโครงการนี้บอกเล่าในงานสัมมานาด้วย และ ในงานเทศกาลเที่ยวเมืองไทย เดือนมิถุนายนปีนี้ ก็จะจัดสัมมนาสร้างการรับรู้ให้แก่ผู้ประกอบการเช่นกัน เป็นต้น
นางศศิอาภา สุคนธรัตน์ ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมสินค้าทางการท่องเที่ยว การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เปิดเผยว่า ททท.ได้ใช้งบ 21.5 ล้านบาท เฉพาะปีงบประมาณ 2551 เพื่อ ดำเนินโครงการ “ปฎิญญารักษาสิ่งแวดล้อม” หรือเที่ยวไทยต้านภัยโลกร้อน โดยโครงการนี้จะเป็นโครงการต่อเนื่อง 3 ปี ระหว่างปีงบประมาณ 2551-2553 เพื่อร่วมเฉลิมฉลองในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระชนมพรรษา 84 พรรรษา ซึ่ง ททท. จะจัดสรรงบประมาณเป็นรายปีให้แก่โครงการนี้ต่อไป
สำหรับปฎิญญารักษาสิ่งแวดล้อมนี้ ททท.ได้กำหนด 7 แนวทางการท่องเที่ยวที่ตระหนักและสนใจต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อช่วยลดปัญหาสภาวะโลกร้อน ภายใต้ชื่อ “ 7 Green Project” ได้แก่ กรีน ฮาร์ท กลุ่มนักท่องเที่ยวที่ใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม ,กรีน ลอจิสติก การคมนาคมที่ช่วยลดโลกร้อน เช่น ปั่นจักรยาน การเดินเท้าระยะสั้น ,กรีน แอคทิวิตี้ กิจกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ,กรีน เซอร์วิส ที่พัก และร้าน อาหาร ที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม ,กรีน เดสติเนชั่น แหล่งท่องเที่ยวที่ตระหนักถึงคุณค่าของสิ่งแวดล้อม ,กรีนคอมมูนิตี้ การท่องเที่ยวในชุมชนที่ใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม และ กรีน พลัส คือ กิจกรรมที่ร่วมกันสร้างพื้นที่สีเขียว ตอบแทนสังคม
จุดประสงค์การดำเนินงาน เพื่อต้องการประกาศความชัดเจนของประเทศไทย ในเรื่องการ ตระหนัก ตื่นตัวรับมือกับสภาวะโลกร้อน โดย การร่วมมือกับระหว่างภาครัฐ เอกชน และชุมชน ที่มีสำนึกรักษาสิ่งแวดล้อม ซึ่งโครงการนี้ จะช่วยให้ประเทศไทย และ ททท. ใช้เป็นแบรนด์ ที่มี จุดขาย และจุดแข็ง ในการแข่งขันในเวทีอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวระดับโลก รวมทั้งขยายฐานตลาดใหม่ไปสู่กลุ่มนักท่องเที่ยวคุณภาพทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ที่ใส่ใจในการรักษาคุณภาพของสิ่งแวดล้อม
การทำงานของโครงการนี้ จะสร้างกระแสการรับรู้เรื่องผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว โดยรณรงค์ และกระตุ้น ให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมกันดำเนินการเพื่อลดสภาวะโลกร้อนที่เกิดขึ้น โดยโครงการ จะแบ่งเป็น 3 เฟส ได้แก่ 1. จัดทำระบบฐานข้อมูลผู้ประกอบการในธุรกิจท่องเที่ยว โรงแรม ร้านอาหาร ฯลฯ ที่ได้มีการตื่นตัวรักษาสิ่งแวดล้อม เช่น การเข้าร่วมโครงการ ใบไม้เขียว เป็นต้น 2. ให้ ททท. ทั้ง 4 ภูมิภาค ทั่วประเทศ สร้างกิจกรรมที่รักษาสิ่งแวดล้อม โดยเร่งหาพันธมิตรในพื้นที่ และ สร้างเส้นทางท่องเที่ยวให้เชื่อมโยงกันระหว่าง จังหวัด และ ภูมิภาคด้วย เน้นโฆษณาประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ ให้ข้อมูล ของการตื่นตัวรักษาสิ่งแวดล้อม
3.จัดทำแหล่งท่องเที่ยวตัวอย่าง ที่ ททท. ภาคเอกชน และ ชุมชน ได้มีส่วนร่วมกันฟื้นฟูและรักษาสิ่งแวดล้อม ล่าสุด ภายในปีนี้ จะประกาศ พื้นที่ ตัวอย่าง ที่ ททท. จะเข้าไปดำเนินการร่วมกับชุมชน ได้แก่ เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี และ เกาะลันตา จ.กระบี่ วิธีการ คือ ททท. จะเข้าไปร่วมบริหารจัดการ ปลุกจิตสำนึกคนในชุมชนให้เข้ามามีส่วนร่วมในการฟื้นฟูพื้นที่ของเขา โดยคำนึงถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก
“ปัจจุบัน ทั่วโลกตระหนักถึงพิษภัยของสภาวะโลกร้อน และ ร่วมกันรณรงค์รักษาสิ่งแวดล้อมกันอย่างจริงจัง และใช้กลยุทธ์นี้เป็นยุทธศาสตร์ทางการแข่งขันในเวทีโลก เช่น ประเทศศรีลังกา ประกาศว่าเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นปอดของโลก เป็นต้น เพราะจากนี้ไป นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่จะให้ความสำคัญเลือกเดินทางไปในประเทศที่ตระหนักในเรื่องนี้ ดังนั้นจึงยังไม่ช้าไปที่ไทยจะเริ่มต้น เพราะหากเราไม่เร่งดำเนินการ และไม่ประกาศให้โลกได้รับรู้ ก็อาจถูกถอดออกจากแผนที่ในการส่งเสริมการท่องเที่ยวของโลกได้”
ดังนั้น นอกจากการดำเนินงานแล้ว สิ่งที่ ททท.จะต้องดำเนินการอีกอย่างหนึ่ง คือ นำข้อมูลไปจัดประชุมสัมมนา โดยจะประกาศตัวอย่างเป็นทางการครั้งแรกในงานประชุม PATA CEO ระหว่างวันที่ 28-30 เม.ย.นี้ ไทยก็จะหยิบยกโครงการนี้บอกเล่าในงานสัมมานาด้วย และ ในงานเทศกาลเที่ยวเมืองไทย เดือนมิถุนายนปีนี้ ก็จะจัดสัมมนาสร้างการรับรู้ให้แก่ผู้ประกอบการเช่นกัน เป็นต้น