เอเอฟพี – ทางการมาเลเซียเตรียมงัดมาตรการต่าง ๆ ขึ้นมากำราบบรรดาสิงห์นักบิดป่วนเมืองโดยกฎหมายจราจรฉบับใหม่ ๆ จะมีบทลงโทษสูงสุดจำคุก 10 ปี สื่อท้องถิ่นระบุเมื่อวันศุกร์ (18)
บรรดาเด็กแว้นป่วนเมืองที่ว่านี้ ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในมาเลเซียว่า “มัตเรมปิตส์” จะจับกลุ่มกันขับขี่มอเตอร์ไซด์ที่ผ่านการดัดแปลงเครื่องยนต์เตร็ดเตร่ไปตามท้องถนนในกรุงกัวลาลัมเปอร์และบริเวณอื่น ๆ ทั่วประเทศช่วงค่ำคืน สร้างความความหวาดกลัวให้บรรดาผู้ใช้รถใช้ถนนคนอื่น ๆ อีกทั้งยังก่อให้เกิดอุบัติเหตุอยู่เป็นประจำ
ภายใต้มาตรการสุดเฮี้ยบดังกล่าว บรรดาสิงห์นักบิดป่วนเมืองที่กระทำความผิดเป็นครั้งแรกจะโดนปรับเป็นเงิน 5,000 ริงกิต (หรือประมาณ 55,000 บาท) และจำคุกสูงสุดไม่เกิน 5 ปี โดยรอลงอาญา 3 ปี หนังสือพิมพ์เดอะสตาร์รายงาน
“โทษทัณฑ์สำหรับพวกนักซิ่งป่วนเมืองที่กระทำความผิดซ้ำสอง จะต้องโทษจำคุกอย่างน้อย 10 ปี และโดนเฆี่ยน 3 ที .... ปรับเป็นเงิน 10,000 ริงกิต (หรือประมาณ 110,000 บาท) พร้อมกับยึดใบขับขี่ไม่น้อยกว่า 5 ปี ฮัมซะ ตาอิบ รองผู้อำนวยการสำนักงานจราจรให้สัมภาษณ์เดอะสตาร์
ผลวิจัยชี้ ทหารผ่านศึกชาวมะกันราว 300,000 ราย มีอาการป่วยทางจิต
รอยเตอร์ – ทหารมะกันราว 300,000 ชีวิตที่กลับจากสมรภูมิรบในอัฟกานิสถานและอิรักต้องทุกข์ทรมานด้วยโรคเครียดผิดปกติภายหลังบาดเจ็บตลอดจนภาวะซึมเศร้า ทว่า ในจำนวนนี้มีเพียงครึ่งต่อครึ่งเท่านั้นที่ได้รับการเหลียวแล ผลศึกษาวิจัยที่เป็นอิสระชิ้นหนึ่งเผยเมื่อวันพฤหัสบดี (17)
การศึกษาวิจัยครั้งนี้ ซึ่งจัดทำโดยแรนด์ คอร์ปประเมินด้วยว่า ยังมีทหารอีก 320,000 ราย ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่จะได้รับบาดเจ็บทางสมองระหว่างประจำการอยู่ในอิรักและอัฟกานิสถาน แต่นักวิจัยก็ไม่สามารถระบุได้ว่ามีกี่รายที่มีอาการสาหัสและจำเป็นต้องได้รับการรักษา
ผลวิจัยชิ้นนี้ ซึ่งประกาศว่าเป็นการสำรวจครั้งใหญ่ครั้งแรกนอกภาครัฐเผยว่า 18.5 เปอร์เซ็นต์ของทหารสหรัฐฯ จำนวนกว่า 1,500,000 ชีวิตที่ประจำการอยู่ในสมรภูมิรบทั้ง 2 แห่งมีอาการเครียดและซึมเศร้า
ตัวเลขคร่าว ๆ จากผลวิจัยชิ้นนี้สอดคล้องกับการศึกษาเมื่อเดือนกุมพาพันธ์ที่ผ่านมาของกองทัพสหรัฐฯ ที่ระบุว่า ในปี 2007 ร้อยละ17.9 ของทหารมะกันที่ประจำการอยู่ ณ อิรักและอัฟกานิสถานมีอาการเครียดอย่างรุนแรง ซึมเศร้าและวิตกกังวล โดยลดลงจาก 19.1 เปอร์เซ็นต์เมื่อปี 2006
ทว่า จากผลวิจัยความยาว 500 หน้าของแรนด์คอร์ปชิ้นนี้ ซึ่งประเมินการสัมภาษณ์ทหารบก, ทหารเรือและนาวิกโยธินกว่า 1,900 คน ชี้ว่า มีทหารสหรัฐฯ ที่ป่วยทางจิตเพียงครึ่งเดียวเท่านั้นที่ได้รับการดูแล แถมพวกที่ได้รับการดูแลดังกล่าว มีถึงครึ่งหนึ่งได้รับการดูแลแบบตามมีตามเกิดเท่านั้น
บรรดาเด็กแว้นป่วนเมืองที่ว่านี้ ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในมาเลเซียว่า “มัตเรมปิตส์” จะจับกลุ่มกันขับขี่มอเตอร์ไซด์ที่ผ่านการดัดแปลงเครื่องยนต์เตร็ดเตร่ไปตามท้องถนนในกรุงกัวลาลัมเปอร์และบริเวณอื่น ๆ ทั่วประเทศช่วงค่ำคืน สร้างความความหวาดกลัวให้บรรดาผู้ใช้รถใช้ถนนคนอื่น ๆ อีกทั้งยังก่อให้เกิดอุบัติเหตุอยู่เป็นประจำ
ภายใต้มาตรการสุดเฮี้ยบดังกล่าว บรรดาสิงห์นักบิดป่วนเมืองที่กระทำความผิดเป็นครั้งแรกจะโดนปรับเป็นเงิน 5,000 ริงกิต (หรือประมาณ 55,000 บาท) และจำคุกสูงสุดไม่เกิน 5 ปี โดยรอลงอาญา 3 ปี หนังสือพิมพ์เดอะสตาร์รายงาน
“โทษทัณฑ์สำหรับพวกนักซิ่งป่วนเมืองที่กระทำความผิดซ้ำสอง จะต้องโทษจำคุกอย่างน้อย 10 ปี และโดนเฆี่ยน 3 ที .... ปรับเป็นเงิน 10,000 ริงกิต (หรือประมาณ 110,000 บาท) พร้อมกับยึดใบขับขี่ไม่น้อยกว่า 5 ปี ฮัมซะ ตาอิบ รองผู้อำนวยการสำนักงานจราจรให้สัมภาษณ์เดอะสตาร์
ผลวิจัยชี้ ทหารผ่านศึกชาวมะกันราว 300,000 ราย มีอาการป่วยทางจิต
รอยเตอร์ – ทหารมะกันราว 300,000 ชีวิตที่กลับจากสมรภูมิรบในอัฟกานิสถานและอิรักต้องทุกข์ทรมานด้วยโรคเครียดผิดปกติภายหลังบาดเจ็บตลอดจนภาวะซึมเศร้า ทว่า ในจำนวนนี้มีเพียงครึ่งต่อครึ่งเท่านั้นที่ได้รับการเหลียวแล ผลศึกษาวิจัยที่เป็นอิสระชิ้นหนึ่งเผยเมื่อวันพฤหัสบดี (17)
การศึกษาวิจัยครั้งนี้ ซึ่งจัดทำโดยแรนด์ คอร์ปประเมินด้วยว่า ยังมีทหารอีก 320,000 ราย ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่จะได้รับบาดเจ็บทางสมองระหว่างประจำการอยู่ในอิรักและอัฟกานิสถาน แต่นักวิจัยก็ไม่สามารถระบุได้ว่ามีกี่รายที่มีอาการสาหัสและจำเป็นต้องได้รับการรักษา
ผลวิจัยชิ้นนี้ ซึ่งประกาศว่าเป็นการสำรวจครั้งใหญ่ครั้งแรกนอกภาครัฐเผยว่า 18.5 เปอร์เซ็นต์ของทหารสหรัฐฯ จำนวนกว่า 1,500,000 ชีวิตที่ประจำการอยู่ในสมรภูมิรบทั้ง 2 แห่งมีอาการเครียดและซึมเศร้า
ตัวเลขคร่าว ๆ จากผลวิจัยชิ้นนี้สอดคล้องกับการศึกษาเมื่อเดือนกุมพาพันธ์ที่ผ่านมาของกองทัพสหรัฐฯ ที่ระบุว่า ในปี 2007 ร้อยละ17.9 ของทหารมะกันที่ประจำการอยู่ ณ อิรักและอัฟกานิสถานมีอาการเครียดอย่างรุนแรง ซึมเศร้าและวิตกกังวล โดยลดลงจาก 19.1 เปอร์เซ็นต์เมื่อปี 2006
ทว่า จากผลวิจัยความยาว 500 หน้าของแรนด์คอร์ปชิ้นนี้ ซึ่งประเมินการสัมภาษณ์ทหารบก, ทหารเรือและนาวิกโยธินกว่า 1,900 คน ชี้ว่า มีทหารสหรัฐฯ ที่ป่วยทางจิตเพียงครึ่งเดียวเท่านั้นที่ได้รับการดูแล แถมพวกที่ได้รับการดูแลดังกล่าว มีถึงครึ่งหนึ่งได้รับการดูแลแบบตามมีตามเกิดเท่านั้น