สาดน้ำสงกรานต์รวม 5 วัน มียอดสถิติผู้เสียชีวิต 276 ศพ ผู้บาดเจ็บ รวม 3,992 ราย พิษณุโลก ครองแชมป์ยอดตายสูงสุด 15 ศพ ในขณะที่ไม่มียานพาหนะไหนแซงสถิติรถจักรยานยนต์ที่ประสบอุบัติเหตุมากที่สุดได้ ด้านรมว.สาธารณะสุข สั่งล้อมคอก หน่วยกู้ชีพภาคเอกชนเปิดศึกแย่งคนเจ็บข้ามถิ่นส่งโรงพยาบาล หลังเกิดเหตุถึงขั้นดวลปืนเดือด
วานนี้ (16 เม.ย.) นายอนุชา โมกขะเวส อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ในฐานะเลขานุการศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน แถลงข่าวสถิติผู้เสียชีวิต บาดเจ็บ จากอุบัติเหตุทางถนนในช่วง 7 วันอันตรายของเทศกาลสงกรานต์ โดยวันที่ 15 เม.ย. ที่ผ่านมา มีอุบัติเหตุเกิดขึ้น 588 ครั้ง เสียชีวิต 47 ราย บาดเจ็บ 677 ราย สาเหตุเมาสุราทำให้เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ร้อยละ 42.18 ยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ รถจักรยานยนต์ ร้อยละ 82.26 อุบัติเหตุส่วนใหญ่เกิดขึ้นบนถนนใน อบต.หรือหมู่บ้าน ร้อยละ 43.71 รองลงมา ได้แก่ ถนนกรมทางหลวง ร้อยละ 29.25 จุดที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ ทางตรง ร้อยละ 60.71 สำหรับ ช่วงเวลาที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ยังเป็นช่วงพลบค่ำ เวลา 16.01-20.00 น.
สำหรับจังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ พิษณุโลก 25 ครั้ง จังหวัดที่ไม่เกิดอุบัติเหตุ มี 5 จังหวัด ได้แก่ กระบี่ กาฬสินธุ์ ยโสธร สตูล สมุทรปราการ จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตสูงสุด ได้แก่ พิษณุโลก จำนวน 5 ราย รองลงมา ได้แก่ กาญจนบุรี ตาก ร้อยเอ็ด สระบุรี จังหวัดละ 3 ราย จังหวัดที่ไม่มีผู้เสียชีวิต รวม 47 จังหวัด จังหวัดที่มีผู้บาดเจ็บมากที่สุด ได้แก่ พิษณุโลก จำนวน 24 ราย รองลงมา ได้แก่ เชียงราย นครสวรรค์ เพชรบูรณ์ จังหวัดละ 23 ราย จังหวัดที่ไม่มีผู้บาดเจ็บ มี 6 จังหวัด ได้แก่ กระบี่ กาฬสินธุ์ ชุมพร ยโสธร สตูล สมุทรปราการ
ทั้งนี้ ทั่วประเทศมีการจัดตั้งจุดตรวจ รวม 3,054 จุด มีผู้ปฏิบัติงาน รวม 90,257 คน และได้เรียกตรวจยานพาหนะ 782,234 คัน พบผู้กระทำผิด รวม 45,594 คน ส่วนใหญ่ถูกดำเนินคดีเนื่องจากไม่มีใบขับขี่มากที่สุด 16,238 คน รองลงมา ได้แก่ ไม่สวมหมวกนิรภัย 15,783 คน
“ในส่วนของอุบัติเหตุทางถนนสะสม 5 วัน ตั้งแต่วันที่ 11-15 เม.ย. มีอุบัติเหตุเกิดขึ้น รวม 3,537 ครั้ง มากกว่าสงกรานต์ปี 2550 จำนวน 131 ครั้ง มีผู้เสียชีวิตรวม 276 ราย มีผู้บาดเจ็บ รวม 3,992 ราย จังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสะสมสูงสุด ได้แก่ เชียงราย 153 ครั้ง รองลงมา ได้แก่ เพชรบูรณ์ 146 ครั้ง จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตสะสมสูงสุด ได้แก่ พิษณุโลก 15 ราย รองลงมา ได้แก่ เพชรบูรณ์ 11 ราย จังหวัดที่ยังไม่มีผู้เสียชีวิต รวม 9 จังหวัด จังหวัดที่มีผู้บาดเจ็บสะสมสูงสุด ได้แก่ เชียงราย 159 ราย รองลงมา ได้แก่ เพชรบูรณ์ 157 ราย” นายอนุชากล่าว
นายอนุชา กล่าวต่อไปว่า แม้ว่าประชาชนบางส่วนจะเริ่มทยอยเดินทางกลับบ้างแล้ว แต่ คาดว่า ปริมาณรถในถนนสายหลัก ที่มุ่งสู่กรุงเทพฯ จะเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งบริเวณสถานีขนส่งของจังหวัดต่างๆ จะมีประชาชนใช้บริการอย่างหนาแน่น เนื่องจากวันสุดท้ายของวันหยุดในช่วงเทศกาลสงกรานต์ จะมีประชาชนเดินทางกลับเป็นจำนวนมาก ศปถ.จึงได้ประสานจุดตรวจ ด่านตรวจ บนถนนสายหลัก ให้เข้มงวดการตรวจจับตามมาตรการ 3ม. 2ข. 1ร. การเมาแล้วขับ การขับรถเร็วเกินกำหนดและรถปิกอัพไม่มีหลังคาที่บรรทุกคนจำนวนมาก รวมทั้งรถโดยสารที่วิ่งระยะทางไกลข้ามจังหวัด
โดยเฉพาะรถรับจ้างวิ่ง ไม่ประจำทาง ซึ่งผู้ขับขี่ไม่มีความชำนาญทาง ตลอดจนให้จังหวัดปรับแผนการตั้งจุดตรวจ โดยเน้นหนักในถนนสายหลัก ขาล่องเข้ากรุงเทพฯ เพิ่มขึ้น รวมทั้งขอให้ตำรวจทางหลวงประสานกับกรมทางหลวง เปิดช่องทางเดินรถพิเศษเพิ่มเพื่อรองรับปริมาณรถในการเดินทางกลับ และให้เตรียมพร้อมเรื่องจุดบริการเพื่อพักรถและดื่มน้ำ เนื่องจากผู้ขับขี่อาจเหนื่อยล้าจากกิจกรรมวันสงกรานต์ที่ผ่านมา ทำให้มีอาการง่วงนอน และอ่อนเพลีย ส่งผลให้เพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุจากการหลับในขึ้นได้
นายอนุชา กล่าวด้วยว่า ปภ.ยังได้ให้ประสานสำนักขนส่งจังหวัด ตรวจสอบสภาพความพร้อมรถโดยสาร สาธารณะ และพนักงานขับรถก่อนออกให้บริการทุกคันและเพื่อให้การเดินทางเป็นไปด้วยความสะดวกปลอดภัย ขอแนะนำให้ประชาชนใช้บริการรถโดยสารสาธารณะจากบริษัทที่ได้รับการรับรองจากบริษัทขนส่ง จำกัด อย่าซื้อตั๋วผีอย่างเด็ดขาดเนื่องจากอาจมีผู้ประกอบการนำรถที่ไม่มีใบอนุญาตเดินรถและไม่ได้รับการตรวจสอบสภาพตามมาตรฐาน ที่กรมการขนส่งทางบกกำหนดออกให้บริการ ตลอดจนให้ระมัดระวังมิจฉาชีพในรูปแบบต่างๆ ระหว่างรอการเดินทางบริเวณสถานีขนส่งหรือสถานีรถไฟ เช่น การล้วงกระเป๋า การรับฝากของจากคนแปลกหน้า ซึ่งอาจเป็นสิ่งของที่ผิดกฎหมาย เป็นต้น
ด้านนายไชยา สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับกรณีที่หน่วยกู้ชีพภาคเอกชนเปิดศึกแย่งคนเจ็บข้ามถิ่นเพื่อส่งโรงพยาบาล และใช้อาวุธปืนยิงกันจนเสียชีวิต เหตุเกิดที่จังหวัดสิงห์บุรี และอีกรายเกิดที่เขตประเวศ กทม.แย่งคนเจ็บส่งโรงพยาบาลเช่นเดียวกัน ว่า ขณะนี้กระทรวงสาธารณสุข ได้เร่งบังคับใช้พระราชบัญญัติการแพทย์ฉุกเฉิน พ.ศ.2551 ที่ประกาศลงราชกิจจานุเบกษาและมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 7 มีนาคม 2551 เป็นต้นมา ซึ่งหลังจากผ่านบทเฉพาะกาล 120 วัน คือวันที่ 7 กรกฎาคม 2551 จะมีผลมากขึ้น
นายไชยากล่าวว่า การจัดระเบียบแบ่งเขตการรับผิดชอบของหน่วยกู้ชีพ ช่วยเหลือผู้เจ็บป่วยฉุกเฉิน จะทำให้การทะเลาะเบาะแว้ง แย่งคนเจ็บคนป่วย ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายบ้านเมือง มีการทำร้ายกันทั้งใช้อาวุธและไม่ใช้อาวุธ จะถูกกวดขันและประเมินคุณภาพ พฤติกรรมการบริการ อันเป็นที่ศรัทธาของสังคมอย่างใกล้ชิด เพราะถือเป็นรัฐสวัสดิการบนความเป็นความตายของผู้ป่วย หากหน่วยกู้ชีพหรือพนักงานกู้ชีพใดไม่ปฏิบัติตาม จะเพิกถอนทะเบียนทันที และจะมีโทษปรับไม่เกิน 1 แสนบาท มั่นใจว่าหากกฎหมายนี้มีผลใช้จริงจังปัญหาเหล่านี้จะหมดไป
‘เหลิม’ย้ำต้องคุมขายเหล้า
ที่บ้านพักริมคลอง ย่านบางบอน ร.ต.อเฉลิม อยู่บำรุง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย แถลงถึงมาตรการเฝ้าระวังอุบัติเหตุในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ว่าจากการลงพื้นที่พบว่าสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุ โดยเฉพาะบนท้องถนน คือการดื่มสุรา ดังนั้นวิธีแก้มีเพียงวิธีเดียว คือการ ควบคุมการจำหน่ายสุรา ซึ่งกระทรวงมหาดไทยมีแนวคิดในการดำเนินการควบคุมการจำหน่ายสุราในช่วงเทศกาลสงกรานต์ปี 2552 ซึ่งมาตรการการดำเนินการจะยาวไปจนถึงช่วงเทศกาลปีใหม่ โดยอาจจำเป็นต้องมีการออกกฎหมายขึ้นมาบังคับ ควบคุมการจำหน่ายทั้งการงดการจำหน่ายในช่วงวันเดินทาง หรือจำหน่ายเป็นช่วงเวลา ส่วนรายละเอียดนั้นจะมีการหารือกันอีกครั้งระหว่างองค์กรรณรงค์เมาไม่ขับ งดดื่ม ต่างๆ รวมทั้งรับฟังความคิดเห็นประชาชนผ่านการทำประชาพิจารณ์
ส่วนผู้ประกอบการค้า ตนขอไม่คุยด้วย เพราะคงไม่เห็นด้วย และอยากขายทุกวัน เพราะเป็นเรื่องธุรกิจ แต่เมื่อเป็นนโยบายและเพื่อความปลอดภัยของประชาชน คงขัดไม่ได้ นอกจากนี้ สาเหตุหนึ่งของอุบัติเหตุที่พบคือ การไม่สวมหมวกนิรภัย ซึ่งจุดนี้จะร่วมประชุมกับผู้ว่าราชการจังหวัดโดยจะกำชับดำเนินการอย่างจริงจัง รวมถึงการเคารพกฎจราจรด้วย
ร.ต.อ.เฉลิมกล่าวว่าไม่ได้มองเรื่องตัวเลขผู้เสียชีวิตเป็นเรื่องสำคัญในการเทียบเคียงกับยอดปีที่ผ่านมา และไม่ได้คาดโทษผู้ว่าราชการจังหวัดที่มียอดผู้เสียชีวิตสูง แต่จะดำเนินการในสิ่งที่ว่าข้างต้นเป็นหลัก เพราะทุกหน่วยงานต่างก็ช่วยกันเต็มที่ แต่เพราะประชาชนไม่ให้ความร่วมมือ
วานนี้ (16 เม.ย.) นายอนุชา โมกขะเวส อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ในฐานะเลขานุการศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน แถลงข่าวสถิติผู้เสียชีวิต บาดเจ็บ จากอุบัติเหตุทางถนนในช่วง 7 วันอันตรายของเทศกาลสงกรานต์ โดยวันที่ 15 เม.ย. ที่ผ่านมา มีอุบัติเหตุเกิดขึ้น 588 ครั้ง เสียชีวิต 47 ราย บาดเจ็บ 677 ราย สาเหตุเมาสุราทำให้เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ร้อยละ 42.18 ยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ รถจักรยานยนต์ ร้อยละ 82.26 อุบัติเหตุส่วนใหญ่เกิดขึ้นบนถนนใน อบต.หรือหมู่บ้าน ร้อยละ 43.71 รองลงมา ได้แก่ ถนนกรมทางหลวง ร้อยละ 29.25 จุดที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ ทางตรง ร้อยละ 60.71 สำหรับ ช่วงเวลาที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ยังเป็นช่วงพลบค่ำ เวลา 16.01-20.00 น.
สำหรับจังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ พิษณุโลก 25 ครั้ง จังหวัดที่ไม่เกิดอุบัติเหตุ มี 5 จังหวัด ได้แก่ กระบี่ กาฬสินธุ์ ยโสธร สตูล สมุทรปราการ จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตสูงสุด ได้แก่ พิษณุโลก จำนวน 5 ราย รองลงมา ได้แก่ กาญจนบุรี ตาก ร้อยเอ็ด สระบุรี จังหวัดละ 3 ราย จังหวัดที่ไม่มีผู้เสียชีวิต รวม 47 จังหวัด จังหวัดที่มีผู้บาดเจ็บมากที่สุด ได้แก่ พิษณุโลก จำนวน 24 ราย รองลงมา ได้แก่ เชียงราย นครสวรรค์ เพชรบูรณ์ จังหวัดละ 23 ราย จังหวัดที่ไม่มีผู้บาดเจ็บ มี 6 จังหวัด ได้แก่ กระบี่ กาฬสินธุ์ ชุมพร ยโสธร สตูล สมุทรปราการ
ทั้งนี้ ทั่วประเทศมีการจัดตั้งจุดตรวจ รวม 3,054 จุด มีผู้ปฏิบัติงาน รวม 90,257 คน และได้เรียกตรวจยานพาหนะ 782,234 คัน พบผู้กระทำผิด รวม 45,594 คน ส่วนใหญ่ถูกดำเนินคดีเนื่องจากไม่มีใบขับขี่มากที่สุด 16,238 คน รองลงมา ได้แก่ ไม่สวมหมวกนิรภัย 15,783 คน
“ในส่วนของอุบัติเหตุทางถนนสะสม 5 วัน ตั้งแต่วันที่ 11-15 เม.ย. มีอุบัติเหตุเกิดขึ้น รวม 3,537 ครั้ง มากกว่าสงกรานต์ปี 2550 จำนวน 131 ครั้ง มีผู้เสียชีวิตรวม 276 ราย มีผู้บาดเจ็บ รวม 3,992 ราย จังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสะสมสูงสุด ได้แก่ เชียงราย 153 ครั้ง รองลงมา ได้แก่ เพชรบูรณ์ 146 ครั้ง จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตสะสมสูงสุด ได้แก่ พิษณุโลก 15 ราย รองลงมา ได้แก่ เพชรบูรณ์ 11 ราย จังหวัดที่ยังไม่มีผู้เสียชีวิต รวม 9 จังหวัด จังหวัดที่มีผู้บาดเจ็บสะสมสูงสุด ได้แก่ เชียงราย 159 ราย รองลงมา ได้แก่ เพชรบูรณ์ 157 ราย” นายอนุชากล่าว
นายอนุชา กล่าวต่อไปว่า แม้ว่าประชาชนบางส่วนจะเริ่มทยอยเดินทางกลับบ้างแล้ว แต่ คาดว่า ปริมาณรถในถนนสายหลัก ที่มุ่งสู่กรุงเทพฯ จะเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งบริเวณสถานีขนส่งของจังหวัดต่างๆ จะมีประชาชนใช้บริการอย่างหนาแน่น เนื่องจากวันสุดท้ายของวันหยุดในช่วงเทศกาลสงกรานต์ จะมีประชาชนเดินทางกลับเป็นจำนวนมาก ศปถ.จึงได้ประสานจุดตรวจ ด่านตรวจ บนถนนสายหลัก ให้เข้มงวดการตรวจจับตามมาตรการ 3ม. 2ข. 1ร. การเมาแล้วขับ การขับรถเร็วเกินกำหนดและรถปิกอัพไม่มีหลังคาที่บรรทุกคนจำนวนมาก รวมทั้งรถโดยสารที่วิ่งระยะทางไกลข้ามจังหวัด
โดยเฉพาะรถรับจ้างวิ่ง ไม่ประจำทาง ซึ่งผู้ขับขี่ไม่มีความชำนาญทาง ตลอดจนให้จังหวัดปรับแผนการตั้งจุดตรวจ โดยเน้นหนักในถนนสายหลัก ขาล่องเข้ากรุงเทพฯ เพิ่มขึ้น รวมทั้งขอให้ตำรวจทางหลวงประสานกับกรมทางหลวง เปิดช่องทางเดินรถพิเศษเพิ่มเพื่อรองรับปริมาณรถในการเดินทางกลับ และให้เตรียมพร้อมเรื่องจุดบริการเพื่อพักรถและดื่มน้ำ เนื่องจากผู้ขับขี่อาจเหนื่อยล้าจากกิจกรรมวันสงกรานต์ที่ผ่านมา ทำให้มีอาการง่วงนอน และอ่อนเพลีย ส่งผลให้เพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุจากการหลับในขึ้นได้
นายอนุชา กล่าวด้วยว่า ปภ.ยังได้ให้ประสานสำนักขนส่งจังหวัด ตรวจสอบสภาพความพร้อมรถโดยสาร สาธารณะ และพนักงานขับรถก่อนออกให้บริการทุกคันและเพื่อให้การเดินทางเป็นไปด้วยความสะดวกปลอดภัย ขอแนะนำให้ประชาชนใช้บริการรถโดยสารสาธารณะจากบริษัทที่ได้รับการรับรองจากบริษัทขนส่ง จำกัด อย่าซื้อตั๋วผีอย่างเด็ดขาดเนื่องจากอาจมีผู้ประกอบการนำรถที่ไม่มีใบอนุญาตเดินรถและไม่ได้รับการตรวจสอบสภาพตามมาตรฐาน ที่กรมการขนส่งทางบกกำหนดออกให้บริการ ตลอดจนให้ระมัดระวังมิจฉาชีพในรูปแบบต่างๆ ระหว่างรอการเดินทางบริเวณสถานีขนส่งหรือสถานีรถไฟ เช่น การล้วงกระเป๋า การรับฝากของจากคนแปลกหน้า ซึ่งอาจเป็นสิ่งของที่ผิดกฎหมาย เป็นต้น
ด้านนายไชยา สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับกรณีที่หน่วยกู้ชีพภาคเอกชนเปิดศึกแย่งคนเจ็บข้ามถิ่นเพื่อส่งโรงพยาบาล และใช้อาวุธปืนยิงกันจนเสียชีวิต เหตุเกิดที่จังหวัดสิงห์บุรี และอีกรายเกิดที่เขตประเวศ กทม.แย่งคนเจ็บส่งโรงพยาบาลเช่นเดียวกัน ว่า ขณะนี้กระทรวงสาธารณสุข ได้เร่งบังคับใช้พระราชบัญญัติการแพทย์ฉุกเฉิน พ.ศ.2551 ที่ประกาศลงราชกิจจานุเบกษาและมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 7 มีนาคม 2551 เป็นต้นมา ซึ่งหลังจากผ่านบทเฉพาะกาล 120 วัน คือวันที่ 7 กรกฎาคม 2551 จะมีผลมากขึ้น
นายไชยากล่าวว่า การจัดระเบียบแบ่งเขตการรับผิดชอบของหน่วยกู้ชีพ ช่วยเหลือผู้เจ็บป่วยฉุกเฉิน จะทำให้การทะเลาะเบาะแว้ง แย่งคนเจ็บคนป่วย ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายบ้านเมือง มีการทำร้ายกันทั้งใช้อาวุธและไม่ใช้อาวุธ จะถูกกวดขันและประเมินคุณภาพ พฤติกรรมการบริการ อันเป็นที่ศรัทธาของสังคมอย่างใกล้ชิด เพราะถือเป็นรัฐสวัสดิการบนความเป็นความตายของผู้ป่วย หากหน่วยกู้ชีพหรือพนักงานกู้ชีพใดไม่ปฏิบัติตาม จะเพิกถอนทะเบียนทันที และจะมีโทษปรับไม่เกิน 1 แสนบาท มั่นใจว่าหากกฎหมายนี้มีผลใช้จริงจังปัญหาเหล่านี้จะหมดไป
‘เหลิม’ย้ำต้องคุมขายเหล้า
ที่บ้านพักริมคลอง ย่านบางบอน ร.ต.อเฉลิม อยู่บำรุง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย แถลงถึงมาตรการเฝ้าระวังอุบัติเหตุในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ว่าจากการลงพื้นที่พบว่าสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุ โดยเฉพาะบนท้องถนน คือการดื่มสุรา ดังนั้นวิธีแก้มีเพียงวิธีเดียว คือการ ควบคุมการจำหน่ายสุรา ซึ่งกระทรวงมหาดไทยมีแนวคิดในการดำเนินการควบคุมการจำหน่ายสุราในช่วงเทศกาลสงกรานต์ปี 2552 ซึ่งมาตรการการดำเนินการจะยาวไปจนถึงช่วงเทศกาลปีใหม่ โดยอาจจำเป็นต้องมีการออกกฎหมายขึ้นมาบังคับ ควบคุมการจำหน่ายทั้งการงดการจำหน่ายในช่วงวันเดินทาง หรือจำหน่ายเป็นช่วงเวลา ส่วนรายละเอียดนั้นจะมีการหารือกันอีกครั้งระหว่างองค์กรรณรงค์เมาไม่ขับ งดดื่ม ต่างๆ รวมทั้งรับฟังความคิดเห็นประชาชนผ่านการทำประชาพิจารณ์
ส่วนผู้ประกอบการค้า ตนขอไม่คุยด้วย เพราะคงไม่เห็นด้วย และอยากขายทุกวัน เพราะเป็นเรื่องธุรกิจ แต่เมื่อเป็นนโยบายและเพื่อความปลอดภัยของประชาชน คงขัดไม่ได้ นอกจากนี้ สาเหตุหนึ่งของอุบัติเหตุที่พบคือ การไม่สวมหมวกนิรภัย ซึ่งจุดนี้จะร่วมประชุมกับผู้ว่าราชการจังหวัดโดยจะกำชับดำเนินการอย่างจริงจัง รวมถึงการเคารพกฎจราจรด้วย
ร.ต.อ.เฉลิมกล่าวว่าไม่ได้มองเรื่องตัวเลขผู้เสียชีวิตเป็นเรื่องสำคัญในการเทียบเคียงกับยอดปีที่ผ่านมา และไม่ได้คาดโทษผู้ว่าราชการจังหวัดที่มียอดผู้เสียชีวิตสูง แต่จะดำเนินการในสิ่งที่ว่าข้างต้นเป็นหลัก เพราะทุกหน่วยงานต่างก็ช่วยกันเต็มที่ แต่เพราะประชาชนไม่ให้ความร่วมมือ