คนเรามักพูดว่า ไม่มีอะไรที่ให้เพื่อนไม่ได้ แต่น้อยคนที่จะพิสูจน์ให้เห็น ยกเว้นหนุ่มใหญ่คนนี้ที่บริจาคไตให้เพื่อนสนิท โดยก่อนหน้านั้น เขาต้องพากเพียรลดน้ำหนักถึง 50 ปอนด์ (22.6 กิโลกรัม) ภายใน 5 เดือน พร้อมทั้งถ่ายทอดประสบการณ์ความมุ่งมั่นนี้ผ่านทางยูทิวบ์
สตีเฟน ก็อตส์ชอล์ก วัย 50 ปี จากฮิลส์โบโร มิสซูรี บอกว่าไมเคิล มัวร์ วัย 51 ปี ช่วยชีวิตเขาไว้อย่างแท้จริง
ปี 2006 ก็อตส์ชอล์กอ่อนแอลง นอนไม่หลับ หมอวินิจฉัยว่าเขาเป็นโรคอัลพอร์ต หรือความผิดปกติทางพันธุกรรมที่อาจทำให้ไตล้มเหลว เขาต้องฟอกไตตั้งแต่ปีนั้น แต่ก็รู้ว่านั่นไม่ใช่วิธีแก้ปัญหาถาวร
มัวร์ เพื่อนตั้งแต่สมัยมัธยมต้น โทรหาก็อตส์ชอล์กเมื่อปีที่แล้ว บอกว่าอยากตรวจว่าจะบริจาคไตให้ได้หรือไม่
“วันที่ 19 พฤศจิกายน เรามีทั้งข่าวดีและข่าวร้าย ไตของพวกคุณเข้ากันได้ แต่คุณมีแนวโน้มเป็นโรคเบาหวาน เพราะฉะนั้น เราจึงรับบริจาคไตจากคุณไม่ได้” มัวร์เล่า
เขาตัดสินใจว่า แนวโน้มการเป็นโรคเบาหวานเป็นสิ่งที่แก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ จึงเริ่มกำหนดแผนการลดน้ำหนักเพื่อกลายเป็นผู้บริจาคที่สมบูรณ์ มัวร์ตั้งหน้าตั้งตารีดไขมันด้วยสูตรโลว์คาร์บ และลดน้ำหนักไปได้ประมาณ 25 ปอนด์ (11.3 กิโลกรัม) และเมื่อน้ำหนักเริ่มลดลงอย่างช้าๆ เขาหันมาออกกำลังช่วยอีกทาง ซึ่งรวมถึงการปั่นจักรยาน
มัวร์เริ่มถ่ายวิดีโอความอุตสาหะพยายามของตนไปโพสต์ในยูทิวบ์ เพียงเพื่อต้องการให้ก็อตส์ชอล์กไม่ท้อถอยและฮึดสู้เหมือนตน แต่เจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลบอกว่า คลิปของมัวร์ช่วยปลุกจิตสำนึกเรื่องการบริจาคอวัยวะของสังคม
ก่อนวันผ่าตัดปลูกถ่ายไตหนึ่งวัน มัวร์มาถึงโรงพยาบาลบาร์นส์-ยิวอิชในเซนต์หลุยส์ ในชุดกีฬาตั้งแต่หัวจรดเท้า น้ำหนักตัวเขาลดจาก 250 ปอนด์ (113 กิโลกรัม) เหลือ 200 ปอนด์ (90 กิโลกรัม) ไม่มีทั้ง ‘เหนียง’ ใต้คอ และ ‘หน้าอกหน้าใจ’
“ถ้าวันที่ 19 พฤศจิกายน คุณบอกผมว่า ‘ไมค์ คุณต้องงดช็อกโกแลต ไม่งั้นคุณตายแน่’ ผมคงตอบกลับไปว่า ‘งั้นสั่งเค้กช็อกโกแลตมาแล้วเตรียมงานศพได้เลย’ ผมคงไม่มีทางลดน้ำหนักเพื่อตัวเองแน่นอน”
แต่สำหรับเพื่อนรัก เขาทำให้ได้ มิตรภาพของทั้งคู่เริ่มต้นตั้งแต่สมัยเล่นฟุตบอลทีมเดียวกันที่โรงเรียนมัธยมฮิลส์โบโร เสาร์-อาทิตย์ก็ไปดูโรดิโอ (แข่งขี่ม้าคล้องวัวแบบโคบาล) และเที่ยวเล่นกับเพื่อนแก๊งเดียวกัน
“เขาเรียนเก่ง ผมไม่เอาไหน เขามีรถขับ แต่ผมไม่มี” มัวร์เล่าถึงมิตรภาพวัยเยาว์อย่างไม่ปิดบัง
หนุ่มน้อยสองคนเริ่มทำงานด้วยกันในทศวรรษ 1970 งานแรกคือบริษัทก่อสร้าง ก่อนจะพยายามขับรถบรรทุกคู่กัน
“มันแย่มาก เท้าเขาเหม็นบรรลัย ส่วนผมก็นอนกรนไปตลอดทาง” มัวร์สำทับ
ปีแล้วปีเล่าผ่านไป ทั้งคู่ยังพบเจอกันสม่ำเสมอแต่อาจจะลดความถี่ลงเรื่อยๆ กระทั่งมัวร์และภรรยาย้ายไปอยู่เวสต์ฟิลด์ รัฐอินเดียนา ที่นั่นเขามีธุรกิจที่ปรึกษาและเวลาว่างไปเป็นอาสาสมัครดับเพลิง
ส่วนก็อตส์ชอล์ก คุณพ่อลูกสามยังปักหลักอยูที่ฮิลส์โบโร โดยทำงานเป็นผู้จัดการด้านเทคโนโลยีของบริษัทโทรคมนาคมแห่งหนึ่ง ทั้งคู่จึงเจอกันน้อยลงแต่ยังคงติดต่อถามไถ่สารทุกข์สุกดิบกันสม่ำเสมอ
หนึ่งวันก่อนรับการผ่าตัดปลูกถ่ายไต ก็อตส์ชอล์กนอนอยู่ที่โรงพยาบาลเพื่อฟอกไต เขาเล่าว่าไม่เคยขอให้มัวร์บริจาคไตให้ แต่เพื่อนอาสาเอง ถือเป็นของขวัญที่ยากจะหาคำมาเปรียบเปรยได้
“เขาช่วยชีวิตผม เป็นคุณ..คุณจะพูดว่าอย่างไร มันยากจะอธิบายออกมาเป็นคำพูดได้”
วันพฤหัสฯ ที่ผ่านมา (3) การผ่าตัดนาน 6 ชั่วโมงเริ่มต้นขึ้น เพื่อนสองคนถูกฉีดยาชาอยู่ในห้องผ่าตัดติดกัน มีศัลยแพทย์ดูแลห้องละคน ดร.เซอเรนดรา ชีนอย กรีดหลังมัวร์ยาว 6-7 เซนติเมตร
หลังจากผ่าไตมัวร์ออกมา ศัลยแพทย์ส่งต่อให้ดร.นิรัช เดไซ รับไปเตรียมปลูกถ่ายให้ก็อตส์ชอล์ก
เคที ฮอลล์แมน โฆษกโรงพยาบาลบาร์นส์-ยิวอิช บอกว่าแต่ละปีโรงพยาบาลทำการผ่าตัดปลูกถ่ายไตให้คนไข้ราว 120-150 ราย สำหรับในสหรัฐฯ มีผู้รับการผ่าตัดประเภทนี้ทั้งสิ้น 16,600 รายเมื่อปีที่แล้ว ทั้งนี้ จากข้อมูลของเครือข่ายสถิติการบริจาคอวัยวะ
การได้รับบริจาคไตจากเพื่อนเป็นเหตุการณ์ที่พบได้ยาก แต่ไม่ถึงขนาดไม่มีเลย ทว่า ที่น่ามหัศจรรย์ไม่ใช่เรื่องทางวิทยาศาสตร์ของการมีไตที่สามารถเข้ากันได้ แต่เป็นเรื่องของมิตรภาพที่แน่นแฟ้นของคนทั้งคู่
หลังการผ่าตัด ทั้งคู่ปลอดภัยดี มัวร์บอกว่า เขามีแผนจะมอบ ‘ความเป็นเจ้าของอวัยวะใหม่อย่างแท้จริง’ ให้ก็อตส์ชอล์ก นั่นก็คือเอกสารหน้าตาเป็นทางการที่มีข้อความว่า ตัวเขาเต็มใจและยินดีอย่างยิ่งในการบริจาคไตข้างขวาให้เพื่อน
มัวร์สำทับติดตลกว่า เขาจะไม่รับผิดชอบไตที่ให้ไปแล้วไม่ว่าในกรณีใด รวมถึงหากร่างกายของเพื่อนปฏิเสธไตของเขาที่ก่อนหน้านี้อิ่มเอมกับอันเฮาเซอร์-บุชหรือน้ำอำพันอื่นๆ
“แล้วถ้าเกิดผมเจ็บแผลขึ้นมา ผมจะไปนั่งบ่นเขาถึงบ้านเลย”
สตีเฟน ก็อตส์ชอล์ก วัย 50 ปี จากฮิลส์โบโร มิสซูรี บอกว่าไมเคิล มัวร์ วัย 51 ปี ช่วยชีวิตเขาไว้อย่างแท้จริง
ปี 2006 ก็อตส์ชอล์กอ่อนแอลง นอนไม่หลับ หมอวินิจฉัยว่าเขาเป็นโรคอัลพอร์ต หรือความผิดปกติทางพันธุกรรมที่อาจทำให้ไตล้มเหลว เขาต้องฟอกไตตั้งแต่ปีนั้น แต่ก็รู้ว่านั่นไม่ใช่วิธีแก้ปัญหาถาวร
มัวร์ เพื่อนตั้งแต่สมัยมัธยมต้น โทรหาก็อตส์ชอล์กเมื่อปีที่แล้ว บอกว่าอยากตรวจว่าจะบริจาคไตให้ได้หรือไม่
“วันที่ 19 พฤศจิกายน เรามีทั้งข่าวดีและข่าวร้าย ไตของพวกคุณเข้ากันได้ แต่คุณมีแนวโน้มเป็นโรคเบาหวาน เพราะฉะนั้น เราจึงรับบริจาคไตจากคุณไม่ได้” มัวร์เล่า
เขาตัดสินใจว่า แนวโน้มการเป็นโรคเบาหวานเป็นสิ่งที่แก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ จึงเริ่มกำหนดแผนการลดน้ำหนักเพื่อกลายเป็นผู้บริจาคที่สมบูรณ์ มัวร์ตั้งหน้าตั้งตารีดไขมันด้วยสูตรโลว์คาร์บ และลดน้ำหนักไปได้ประมาณ 25 ปอนด์ (11.3 กิโลกรัม) และเมื่อน้ำหนักเริ่มลดลงอย่างช้าๆ เขาหันมาออกกำลังช่วยอีกทาง ซึ่งรวมถึงการปั่นจักรยาน
มัวร์เริ่มถ่ายวิดีโอความอุตสาหะพยายามของตนไปโพสต์ในยูทิวบ์ เพียงเพื่อต้องการให้ก็อตส์ชอล์กไม่ท้อถอยและฮึดสู้เหมือนตน แต่เจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลบอกว่า คลิปของมัวร์ช่วยปลุกจิตสำนึกเรื่องการบริจาคอวัยวะของสังคม
ก่อนวันผ่าตัดปลูกถ่ายไตหนึ่งวัน มัวร์มาถึงโรงพยาบาลบาร์นส์-ยิวอิชในเซนต์หลุยส์ ในชุดกีฬาตั้งแต่หัวจรดเท้า น้ำหนักตัวเขาลดจาก 250 ปอนด์ (113 กิโลกรัม) เหลือ 200 ปอนด์ (90 กิโลกรัม) ไม่มีทั้ง ‘เหนียง’ ใต้คอ และ ‘หน้าอกหน้าใจ’
“ถ้าวันที่ 19 พฤศจิกายน คุณบอกผมว่า ‘ไมค์ คุณต้องงดช็อกโกแลต ไม่งั้นคุณตายแน่’ ผมคงตอบกลับไปว่า ‘งั้นสั่งเค้กช็อกโกแลตมาแล้วเตรียมงานศพได้เลย’ ผมคงไม่มีทางลดน้ำหนักเพื่อตัวเองแน่นอน”
แต่สำหรับเพื่อนรัก เขาทำให้ได้ มิตรภาพของทั้งคู่เริ่มต้นตั้งแต่สมัยเล่นฟุตบอลทีมเดียวกันที่โรงเรียนมัธยมฮิลส์โบโร เสาร์-อาทิตย์ก็ไปดูโรดิโอ (แข่งขี่ม้าคล้องวัวแบบโคบาล) และเที่ยวเล่นกับเพื่อนแก๊งเดียวกัน
“เขาเรียนเก่ง ผมไม่เอาไหน เขามีรถขับ แต่ผมไม่มี” มัวร์เล่าถึงมิตรภาพวัยเยาว์อย่างไม่ปิดบัง
หนุ่มน้อยสองคนเริ่มทำงานด้วยกันในทศวรรษ 1970 งานแรกคือบริษัทก่อสร้าง ก่อนจะพยายามขับรถบรรทุกคู่กัน
“มันแย่มาก เท้าเขาเหม็นบรรลัย ส่วนผมก็นอนกรนไปตลอดทาง” มัวร์สำทับ
ปีแล้วปีเล่าผ่านไป ทั้งคู่ยังพบเจอกันสม่ำเสมอแต่อาจจะลดความถี่ลงเรื่อยๆ กระทั่งมัวร์และภรรยาย้ายไปอยู่เวสต์ฟิลด์ รัฐอินเดียนา ที่นั่นเขามีธุรกิจที่ปรึกษาและเวลาว่างไปเป็นอาสาสมัครดับเพลิง
ส่วนก็อตส์ชอล์ก คุณพ่อลูกสามยังปักหลักอยูที่ฮิลส์โบโร โดยทำงานเป็นผู้จัดการด้านเทคโนโลยีของบริษัทโทรคมนาคมแห่งหนึ่ง ทั้งคู่จึงเจอกันน้อยลงแต่ยังคงติดต่อถามไถ่สารทุกข์สุกดิบกันสม่ำเสมอ
หนึ่งวันก่อนรับการผ่าตัดปลูกถ่ายไต ก็อตส์ชอล์กนอนอยู่ที่โรงพยาบาลเพื่อฟอกไต เขาเล่าว่าไม่เคยขอให้มัวร์บริจาคไตให้ แต่เพื่อนอาสาเอง ถือเป็นของขวัญที่ยากจะหาคำมาเปรียบเปรยได้
“เขาช่วยชีวิตผม เป็นคุณ..คุณจะพูดว่าอย่างไร มันยากจะอธิบายออกมาเป็นคำพูดได้”
วันพฤหัสฯ ที่ผ่านมา (3) การผ่าตัดนาน 6 ชั่วโมงเริ่มต้นขึ้น เพื่อนสองคนถูกฉีดยาชาอยู่ในห้องผ่าตัดติดกัน มีศัลยแพทย์ดูแลห้องละคน ดร.เซอเรนดรา ชีนอย กรีดหลังมัวร์ยาว 6-7 เซนติเมตร
หลังจากผ่าไตมัวร์ออกมา ศัลยแพทย์ส่งต่อให้ดร.นิรัช เดไซ รับไปเตรียมปลูกถ่ายให้ก็อตส์ชอล์ก
เคที ฮอลล์แมน โฆษกโรงพยาบาลบาร์นส์-ยิวอิช บอกว่าแต่ละปีโรงพยาบาลทำการผ่าตัดปลูกถ่ายไตให้คนไข้ราว 120-150 ราย สำหรับในสหรัฐฯ มีผู้รับการผ่าตัดประเภทนี้ทั้งสิ้น 16,600 รายเมื่อปีที่แล้ว ทั้งนี้ จากข้อมูลของเครือข่ายสถิติการบริจาคอวัยวะ
การได้รับบริจาคไตจากเพื่อนเป็นเหตุการณ์ที่พบได้ยาก แต่ไม่ถึงขนาดไม่มีเลย ทว่า ที่น่ามหัศจรรย์ไม่ใช่เรื่องทางวิทยาศาสตร์ของการมีไตที่สามารถเข้ากันได้ แต่เป็นเรื่องของมิตรภาพที่แน่นแฟ้นของคนทั้งคู่
หลังการผ่าตัด ทั้งคู่ปลอดภัยดี มัวร์บอกว่า เขามีแผนจะมอบ ‘ความเป็นเจ้าของอวัยวะใหม่อย่างแท้จริง’ ให้ก็อตส์ชอล์ก นั่นก็คือเอกสารหน้าตาเป็นทางการที่มีข้อความว่า ตัวเขาเต็มใจและยินดีอย่างยิ่งในการบริจาคไตข้างขวาให้เพื่อน
มัวร์สำทับติดตลกว่า เขาจะไม่รับผิดชอบไตที่ให้ไปแล้วไม่ว่าในกรณีใด รวมถึงหากร่างกายของเพื่อนปฏิเสธไตของเขาที่ก่อนหน้านี้อิ่มเอมกับอันเฮาเซอร์-บุชหรือน้ำอำพันอื่นๆ
“แล้วถ้าเกิดผมเจ็บแผลขึ้นมา ผมจะไปนั่งบ่นเขาถึงบ้านเลย”