ผู้จัดการรายวัน – วีระศักดิ์ยื่นคำขาด ต้องได้งบกลางกระตุ้นเศรษฐกิจ เตรียมเสนอ 2 ทางเลือกต่อที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติของบ 3.4 พันล้านบาท หรือ 1 0,000 ล้านบาท อัดฉีดอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว อ้างรัฐบาลประกาศเป็นปีแห่งการลงทุนและการท่องเที่ยว จึงต้องได้งบดำเนินการเพิ่ม ขู่ถ้าไม่ได้ ความหวังรายได้ 6 แสนล้านบาทก็ยังริบหรี่
นายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เปิดเผยว่า ได้สั่งการให้ การท่องเที่ยวเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานปลัด และหน่วยงานในสังกัด ที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว จัดทำแผนการทำงานกระตุ้นตลาดช่วงครึ่งปีหลัง เพื่อจะยื่นเสนอของบกลางในการดำเนินงาน โดยจะนำแผนงานยื่นเสนอต่อคณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ ให้ร่วมพิจารณาก่อนนำเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เป็นลำดับต่อไป
โดยจะเสนอ 2 ทางเลือกให้พิจารณา คือ 1.เสนอของบ 10,000 ล้านบาท หรือคิดเป็น 1% ของรายได้ปีนี้ เพื่อนำไปใช้เป็นงบกระตุ้นตลาด หรือทางเลือกที่ 2. ของบ 3,492 ล้านบาท เพื่อทำเมกกะโปรเจค 1,260 ล้านบาท กระจายทั่วประเทศ และโครงการประทับใจไทยแลนด์ อีกกว่า 900 ล้านบาท ที่เหลือก็จะนำไปพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวและบุคคลากร ตามแผนของบกลางฉุกเฉิน เพื่อจัดทำโครงการต่างๆ ซึ่งแผนนี้ เบื้องต้น สำนักงบประมาณ และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้พิจารณาและเห็นชอบในเบื้องต้นแล้ว
“ที่ต้องนำเข้าที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวฯพิจารณาก่อน เพราะมีตัวแทนจากทุกภาคส่วน ร่วมเป็นกรรมการ ทั้งจากกระทรวงต่างๆ ภาคเอกชนและองค์กรส่วนท้องถิ่น หากทุกคนเห็นตรงกันว่าควรจะได้งบกลาง ก็แสดงว่าเป็นแผนงานที่เหมาะสม น้ำหนักที่เราจะไปคุยต่อกันในที่ประชุม ครม.ก็จะมีมากขึ้น ถึงตอนนั้นจะยื่นเสนอครม.ในนามคณะกรรมการนโยบายฯไม่ใช่แค่กระทรวงการท่องเที่ยวฯ”
นายวีระศักดิ์ กล่าวว่า เดิมทีกระทรวงฯของบดังกล่าวผ่านงบกลางปีประจำปีงบประมาณ 2551 ซึ่งทุกกระทรวงก็ยื่นขอ แต่ ครม. มีมติไม่อนุมัติ แต่ให้ทุกหน่วยราชการไปปรับใช้งบประมาณประจำปี 2551 ที่ได้รับไปแล้ว เฉลี่ยใช้ให้เพียงพอนั้น จึงทำให้ กระทรวงการท่องเที่ยว ต้องนำเรื่องของบกลางดังกล่าวข้างต้นมาทดแทน เพราะงบกลางจะใช้เมื่อเกิดภาวะฉุกเฉินหรือเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจแบบเร่งด่วน โดยมองว่า หากรัฐบาลประกาศให้ปีนี้เป็นปีแห่งการลงทุน และปีแห่งการท่องเที่ยวไทย โดยคาดหวังจะมีรายได้จากอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว มาช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ ก็มีความจำเป็นต้องจัดสรรงบประมาณให้เพื่อนำมาอัดฉีด เพิ่มการทำงานด้านการตลาด การจัดกิจกรรม ตลอดจนการปรับปรุงแหล่งท่องเที่ยว ให้พร้อมต้อนรับนักท่องเที่ยว หรือ โครงการบิ๊กคลีนอัพนั่นเอง
อย่างไรก็ตาม แม้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเพิ่งจะเริ่มเติบโต แต่เป็นการเติบโตที่รวดเร็ว และมีผู้ประกอบการทั้งรายใหญ่และเอสเอ็มอี โดยททท.ตั้งเป้ารายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติไว้ที่ 6 แสนล้านบาท ซึ่งผมมองว่า หากเรามีการจัดการที่ดี น่าจะทำได้ถึง 8 แสนล้านบาท แต่หากไม่มีเงินอัดฉีด รายได้ 6 แสนล้านบาท ก็อาจไปไม่ถึง เพราะทุกวันนี้กระแสการแข่งขันในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวมีสูง
นายวีระศักดิ์ กล่าวว่า จากการเดินทางไปร่วมงาน ไอทีบี ที่เยอรมัน พบว่า ต่างประเทศทั่วโลกให้ความสนใจที่จะเข้ามาเที่ยวในประเทศไทย เพราะคุ้มค่าเงินและยังได้บริการที่ดี สถานที่ท่องเที่ยวหลากหลาย สอบถามจากผู้ประกอบการ ระบุว่า เฉพาะงานนี้ สามารถสร้างรายได้เข้าประเทศได้กว่า 3 หมื่นล้านบาท ดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่กระทรวงการท่องเที่ยว ต้องเข้าไปดูแลเรื่องระบบการจัดการให้พร้อมต้อนรับนักท่องเที่ยว เพื่อให้เขาประทับใจและกลับมาซ้ำอีก
นายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เปิดเผยว่า ได้สั่งการให้ การท่องเที่ยวเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานปลัด และหน่วยงานในสังกัด ที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว จัดทำแผนการทำงานกระตุ้นตลาดช่วงครึ่งปีหลัง เพื่อจะยื่นเสนอของบกลางในการดำเนินงาน โดยจะนำแผนงานยื่นเสนอต่อคณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ ให้ร่วมพิจารณาก่อนนำเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เป็นลำดับต่อไป
โดยจะเสนอ 2 ทางเลือกให้พิจารณา คือ 1.เสนอของบ 10,000 ล้านบาท หรือคิดเป็น 1% ของรายได้ปีนี้ เพื่อนำไปใช้เป็นงบกระตุ้นตลาด หรือทางเลือกที่ 2. ของบ 3,492 ล้านบาท เพื่อทำเมกกะโปรเจค 1,260 ล้านบาท กระจายทั่วประเทศ และโครงการประทับใจไทยแลนด์ อีกกว่า 900 ล้านบาท ที่เหลือก็จะนำไปพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวและบุคคลากร ตามแผนของบกลางฉุกเฉิน เพื่อจัดทำโครงการต่างๆ ซึ่งแผนนี้ เบื้องต้น สำนักงบประมาณ และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้พิจารณาและเห็นชอบในเบื้องต้นแล้ว
“ที่ต้องนำเข้าที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวฯพิจารณาก่อน เพราะมีตัวแทนจากทุกภาคส่วน ร่วมเป็นกรรมการ ทั้งจากกระทรวงต่างๆ ภาคเอกชนและองค์กรส่วนท้องถิ่น หากทุกคนเห็นตรงกันว่าควรจะได้งบกลาง ก็แสดงว่าเป็นแผนงานที่เหมาะสม น้ำหนักที่เราจะไปคุยต่อกันในที่ประชุม ครม.ก็จะมีมากขึ้น ถึงตอนนั้นจะยื่นเสนอครม.ในนามคณะกรรมการนโยบายฯไม่ใช่แค่กระทรวงการท่องเที่ยวฯ”
นายวีระศักดิ์ กล่าวว่า เดิมทีกระทรวงฯของบดังกล่าวผ่านงบกลางปีประจำปีงบประมาณ 2551 ซึ่งทุกกระทรวงก็ยื่นขอ แต่ ครม. มีมติไม่อนุมัติ แต่ให้ทุกหน่วยราชการไปปรับใช้งบประมาณประจำปี 2551 ที่ได้รับไปแล้ว เฉลี่ยใช้ให้เพียงพอนั้น จึงทำให้ กระทรวงการท่องเที่ยว ต้องนำเรื่องของบกลางดังกล่าวข้างต้นมาทดแทน เพราะงบกลางจะใช้เมื่อเกิดภาวะฉุกเฉินหรือเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจแบบเร่งด่วน โดยมองว่า หากรัฐบาลประกาศให้ปีนี้เป็นปีแห่งการลงทุน และปีแห่งการท่องเที่ยวไทย โดยคาดหวังจะมีรายได้จากอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว มาช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ ก็มีความจำเป็นต้องจัดสรรงบประมาณให้เพื่อนำมาอัดฉีด เพิ่มการทำงานด้านการตลาด การจัดกิจกรรม ตลอดจนการปรับปรุงแหล่งท่องเที่ยว ให้พร้อมต้อนรับนักท่องเที่ยว หรือ โครงการบิ๊กคลีนอัพนั่นเอง
อย่างไรก็ตาม แม้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเพิ่งจะเริ่มเติบโต แต่เป็นการเติบโตที่รวดเร็ว และมีผู้ประกอบการทั้งรายใหญ่และเอสเอ็มอี โดยททท.ตั้งเป้ารายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติไว้ที่ 6 แสนล้านบาท ซึ่งผมมองว่า หากเรามีการจัดการที่ดี น่าจะทำได้ถึง 8 แสนล้านบาท แต่หากไม่มีเงินอัดฉีด รายได้ 6 แสนล้านบาท ก็อาจไปไม่ถึง เพราะทุกวันนี้กระแสการแข่งขันในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวมีสูง
นายวีระศักดิ์ กล่าวว่า จากการเดินทางไปร่วมงาน ไอทีบี ที่เยอรมัน พบว่า ต่างประเทศทั่วโลกให้ความสนใจที่จะเข้ามาเที่ยวในประเทศไทย เพราะคุ้มค่าเงินและยังได้บริการที่ดี สถานที่ท่องเที่ยวหลากหลาย สอบถามจากผู้ประกอบการ ระบุว่า เฉพาะงานนี้ สามารถสร้างรายได้เข้าประเทศได้กว่า 3 หมื่นล้านบาท ดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่กระทรวงการท่องเที่ยว ต้องเข้าไปดูแลเรื่องระบบการจัดการให้พร้อมต้อนรับนักท่องเที่ยว เพื่อให้เขาประทับใจและกลับมาซ้ำอีก