ฉบับวันที่ 2-4-51
ผู้จัดการรายวัน – ไทยพีบีเอสปรับใหม่ ยันไม่ชนกับเอ็นบีที แต่ดึงอภิสิทธิ์ออกรายการ “ตอบโจทย์” เวลาชน “ถามจริงตอบตรง” ที่จะมีนายสมัครมาออกอากาศสดตามแผนเดิมของเอ็นบีที ด้านสว.สายสื่อ ยอมรับกฎหมายวิทยุโทรทัศน์ ยังไม่สมบูรณ์ “เพ็ญ” คิดอะไรอยู่ !! แค่คำถามตั้ง บอร์ด อสมท. ลมออกหู พาลถึง “ถนอม –เปรม”
นายเทพชัย หย่อง รักษาการผู้อำนวยการ สถานีโทรทัศน์ทีวีไทย ทีวีสาธารณะ หรือไทยพีบีเอส เปิดเผยว่า เป็นที่รู้กันว่า วานนี้ (1 เม.ย.) ถือเป็นวันที่สถานีโทรทัศน์เอ็นบีที หรือ ช่อง 11 ออกอากาศผังรายการใหม่เป็นวันแรกซึ่งอาจมองดูเหมือนการที่ทีวีไทย มีการเปิดตัวผังรายการใหม่ พร้อมอัตลักษณ์ใหม่ด้วยนั้น จะมีนัยว่า พร้อมเปิดศึกกับทางเอ็นบีทีหรือไม่นั้น
นายเทพชัย กล่าวว่า การเปิดตัวผังรายการและอัตลักษณ์ใหม่นี้เป็นไปตามแผนอยู่แล้ว ไม่ได้เป็นการเปิดศึกกับทาง สถานีโทรทัศน์เอ็นบีทีและไม่ได้กังวลว่าเอ็นบีทีจะมาเป็นคู่แข่ง แต่เป็นเรื่องดีของการแข่งขัน ถึงแม้ว่าเอ็นบีทีประกาศตัวเป็นทีวีสาธารณะ แต่เชื่อว่า คำว่าทีวีสาธารณะ ประชาชนเข้าใจมากพอสมควรแล้ว เพราะในหลักการทีวีสาธารณะ จะไม่อยู่ภายใต้การควบคุมจากอำนาจรัฐ ขณะที่ เอ็นบีที เป็นหน่วยงานหนึ่งของกรมประชาสัมพันธ์ และกรมประชาสัมพันธ์เองก็ขึ้นตรงกับรัฐบาลด้วย
**รายการตอบโจทย์ดึงอภิสิทธ์สู้**
ถึงแม้นายเทพชัย จะกล่าวว่าไม่ได้เปิดศึกกับทาง เอ็นบีทีแต่อย่างไร แต่สำหรับคืนเมื่อวานนี้ การที่ทางสถานีโทรทัศน์เอ็นบีทีได้เชิญนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี มาออกรายการสด “ถามจริง ตอบตรง” ที่มีนายเพ็ชร จอมประดับ เป็นพิธีกร (แต่นายสมัคร เปิดไม่สบายขึ้นมา) สำหรับทางทีวีไทยเองในช่วงเวลาเดียวกันได้เชิญนายอภิสิทธ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ มาออกรายการสัมภาษณ์สดในรายการ “ตอบโจทย์” เช่นเดียวกันนั้น
นายเทพชัย กล่าวว่า การเชิญนายอภิสิทธ์ มาออกรายการครั้งนี้ ถือเป็นส่วนหนึ่งที่ได้เตรียมการไว้นานแล้วเช่นเดียวกัน ไม่ใช่การท้าชนกับทางเอ็นบีทีแต่อย่างไร นอกจากนี้ทางสถานีฯเองก็มีแผนที่จะเชิญนายสมัคร สุนทรเวช มาร่วมรายการด้วยเช่นเดียวกันในอนาคต ขณะที่ที่ผ่านมา ทางสถานีฯเคยส่งหนังสือเชิญ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร มาร่วมราย แต่ได้รับการปฏิเสธ
ในส่วนของพนักงานทีไอทีวีเดิมที่ทำงานกับทาง ทีวีไทย และได้ลาออกไปร่วมงานกับทางเอ็นบีทีนั้น นายเทพชัย กล่าวด้วยว่า จริงๆแล้วมีเพียง 10 คนเท่านั้นที่ลาออกไป ส่วนที่เหลือยังคงทำงานร่วมกันอยู่ เพราะยังคงเชื่อมั่นว่าทีวีไทย จะตอบสนองเจตนารมย์ของการนำเสนอข่าวสารได้
สำหรับช่วง 1 เดือนครึ่งที่ผ่านมา ถือเป็นช่วงทดลองการออกอากาศ โดยรายการที่นำเสนออกไป ส่วนใหญ่ประชาชนให้การตอบรับเป็นอย่างดี โดยเฉพาะช่วงรายการสารคดี และข่าว จากผลสำรวจทั้งจากเอซี นีลสัน และของทางสถานีฯเอง มีเรตติ้งอยู่ในอันดับที่ 3 ซึ่งเป็นการสำรวจในช่วงเดือนที่ผ่านมา จากนี้ไปถือเป็นการก้าวสู่ความเป็นทีวีสาธารณะอย่างแท้จริง โดยได้ปรับผังรายการใหม่ เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. พร้อมเปลี่ยนชื่อสถานีใหม่ว่า “ทีวีไทย ทีวีสาธารณะ” ภายใต้อัตลักษณ์ใหม่ของสถานีฯที่จะนำมาใช้อย่างเต็มรูปแบบตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค.
ผังรายการใหม่แบ่งเป็น รายการข่าว 39.85% สารคดีข่าวและวิเคราะห์ข่าว 6.63% รายการสารคดี 22.63% รายการสาระประโยชน์ 14.37% รายการเด็กและเยาวชน6.74% และสาระบันเทิง 11.94% โดยแบ่งเป็น รายการที่ผลิตโดยสถานีฯ 54.73% รายการจัดซื้อลิขสิทธิ์ เช่น สารคดี 17.64% รายการที่ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอกโดยไม่มีค่าใช้จ่าย 24.37% และรายการจ้างผลิต 3.36%
รายการใหม่ที่เพิ่มขึ้นมาในผังใหม่นี้มีประมาณ 10 รายการ เช่น ข่าวภาคเด็ก เริ่มเม.ย.นี้ ทุกวันเสาร์ –อาทิตย์ เวลา 8.00-8.30 น. รายการสารคดีชุดแผ่นดินไท เริ่มเดือนพ.ค.นี้ เป็นความร่วมมือระหว่างสถานีฯ สสส. และบริษัท ทีวีบูรพา จำกัด รายการเพชฌฆาตเงียบ เริ่มพ.ค.นี้ ละครอิงประวัติศาสตร์เรื่อง “รายากุนิง” ที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์และบริษัท กันตนา กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เริ่ม 2 มิ.ย. นี้
ทั้งนี้รายการส่วนใหญ่ที่จ้างผลิตและจัดซื้อทั้งหมดนี้ ถือเป็นส่วนหนึ่งที่ใช้งบจากส่วนของค่าใช้จ่ายระหว่าง 3 เดือนที่ผ่านมา ที่มีมูลค่าประมาณ 40 ล้านบาท จากงบประมาณค่าใช้จ่ายในช่วงไตรมาสแรก ที่ 122 ล้านบาท โดยส่วนที่เหลือจะเป็น การจ่ายเงินเดือนพนักงาน 40 ล้านบาท ค่าดำเนินการต่างๆ อีก 41 ล้านบาท ซึ่งงบประมาณดังกล่าวนี้ เป็นส่วนหนึ่งของงบประมาณกว่า 233 ล้านบาท ที่ทางกรมสรรพสามิตรส่งมอบให้ ระหว่างเดือนม.ค-ก.พ. ขณะที่งบประมาณของเดือนมี.ค. ยังไม่เข้ามา อย่างไรก็ตามตลอดทั้งปีเชื่อว่าทางสถานีฯจะต้องใช้งบประมาณดำเนินการทั้งหมดไม่ต่ำกว่า 2,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นเงินที่มาจากภาษีของประชาชน
***สว.รับกฎหมายไม่สมบูรณ์
วานนี้ (1 เม.ย. 51) คณะทำงาน 6 องค์กรวิชาชีพสื่อมวลชน ร่วมกับเครือข่ายวิทยุเพื่อการศึกษา ได้จัดการเสวนา เรื่อง “อนาคตวิทยุโทรทัศน์ไทย หลังกฎหมายใหม่ใช้บังคับ” เพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับสาระสำคัญในกฎหมายสำคัญที่จะใช้ในการกำกับดูแลจัดสรรคลื่นความถี่วิทยุและโทรทัศน์คือ พระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ซึ่งได้ประกาศใช้ไปแล้วเมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2551 ที่ผ่านมา
นายสมชาย แสวงการ สมาชิกวุฒิสภา และอดีตรองประธานคนที่ 1 คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ. การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ กล่าวว่า แม้กฎหมายฉบับนี้จะมีส่วนที่ไม่สมบูรณ์อยู่บ้าง เช่น สัมปทานในกลุ่มผู้ประกอบการวิทยุโทรทัศน์เดิม ซึ่งบทเฉพาะกาลในรัฐธรรมนูญใหม่ ปี 2551 ได้ระบุความคุ้มครองไว้ ดังนั้น กฎหมายฉบับนี้ จึงไม่สามารถเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขสัมปทานเดิมที่ได้ให้ไว้แล้วนอกจากนี้ กฎหมายยังระบุเวลาให้ใบอนุญาตวิทยุไม่เกิน 7 ปี โทรทัศน์ไม่เกิน 15 ปี เพื่อแก้ปัญหาเดิมคือ ผู้ประกอบการมีความเสี่ยงในการทำธุรกิจ เพราะระยะเวลาสัมปทานไม่แน่นอนในวิทยุ ในช่วงสุญญากาศ ที่องค์กร กสทช. ยังไม่เกิดขึ้น ทำให้มีการสวมรอยทางธุรกิจจากกลุ่มผลประโยชน์มากมาย
นายกฤษณพร เสริมพานิช รองอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ ซึ่งได้มีบทบาทตั้งแต่ครั้งเป็นผู้อำนวยการ กองงาน กกช. กรมประชาสัมพันธ์ และเกี่ยวข้องกับการปฏิรูปสื่อ กล่าวว่า กฎหมายฉบับนี้ เกิดขึ้นโดยรากฐานยังไม่แข็งแรงเพียงพอ เพราะพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ พ.ศ. 2543 ยังไม่ถูกแก้ไขให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญใหม่ที่ระบุให้มีองค์กรกำกับดูแลเพียงองค์กรเดียว คือ กสทช.ทั้งนี้กรมประชาสัมพันธ์ ได้รับการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ไปก่อนจนกว่าจะมีแผนแม่บทวิทยุโทรทัศน์ แต่ห้ามโฆษณา
นายจรัล พากเพียร คณะกรรมการรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับ พ.ร.บ.การประกอบกิจการฯ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กล่าวว่า ภาคประชาชน วิทยุชุมชน และเครือข่าย มีความห่วงใยในกฎหมายนี้หลายประเด็น โดยเรื่องหลักคือ การไม่เชื่อใจ และไม่เชื่อมั่นวิจารณญาณของคณะกรรมการที่จะมากำกับดูแล ว่าพิจารณาเรื่องต่างๆ ด้วยความเที่ยงธรรมและไม่เลือกปฏิบัติ ซึ่งหลายประเด็น คนไม่เห็นด้วย เช่น มาตรา 37 ที่ให้อำนาจคณะกรรมการสั่งการด้วยวาจาเพื่อระงับรายการ
นายสมชาย กล่าวว่า ส่วนบทลงโทษ ที่กำหนดขั้นสูงสุดไว้ จำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 5 ล้านบาทนั้น เป็นการเปิดช่องให้ผู้พิพากษาและกระบวนการยุติธรรม ได้ใช้ดุลพินิจ ซึ่งอาจไม่ต้องโทษจำคุกเลยก็ได้
นายสุรนันทน์ วงศ์วิทยกำจร เลขาธิการ คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) กล่าวว่า ตามบทเฉพาะกาลกฎหมายฉบับนี้ กทช. จะต้องเป็นฝ่ายเลขาฯ ชั่วคราวในช่วงเปลี่ยนผ่าน เพื่อดูแลให้เป็นไปตามกฎหมาย ขณะนี้รอคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ครม.ต้องแต่งตั้ง เพื่อเป็นอนุกรรมการวิทยุโทรทัศน์ ซึ่งยังไม่มีคำตอบกลับมาสำหรับระยะเวลาที่กทช. ต้องทำงาน ยังไม่แน่นอน อยู่ในช่วงระหว่าง 6 เดือน – 2 ปี ซึ่งภารกิจหลักขณะนี้คือ การเตรียมการ และสร้างกฎกติกา ภายใต้ทรัพยากรที่มีจำกัด เช่น 1. แผนจัดสรรคลื่นความถี่ จะเกลี่ยให้เกิดความเป็นธรรมและทั่วถึงได้ 2. การใช้คลื่นความถี่ที่จัดสรรใหม่อย่างไร
**เพ็ญละลานถึงป๋าอีก
นายจักรภพ เพ็ญแข รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงการให้เอกชนเข้าไปดำเนินการกิจการร่วมใน NBT ที่อาจขัด พรบ.ร่วมทุน 35 ว่า ไม่หวั่นเกรง NBT เป็นหน่วยงานของรัฐ อยู่ภายใต้การตรวจสอบของหน่วยงานทั้งหมดอยู่แล้ว ไม่มีอะไรเป็นพิเศษ ไม่มากกว่าใคร ไม่น้อยกว่าใคร มุ่งหน้าต่อไปเต็มขั้น
ส่วนความคืบหน้าของการตั้งบอร์ด อสมท นายจักรภพ กล่าวว่า อาทิตย์นี้ออกมา เมื่อถามว่าเป็นบุคคลที่เคยอยู่ในชุดเดิมของนายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณบ้างหรือไม่ นายจักรภพ หันมากล่าวอย่างมีอารมณ์ทันทีว่า ทำไมถึงถามอย่างนั้น เหตุผลอะไรที่ถามอย่างนั้น มีอะไรในใจที่ถามอย่างนั้น
ผู้สื่อข่าวบอกว่า เจตนาของคำถามหมายถึงว่าจะมีใครเข้ามาในบอร์ดบ้าง นายจักรภพ กล่าวว่า แล้วทำไมต้องถามถึงชุดเดิมของคุณมิ่งขวัญ มันมีหลักการอะไรที่จะต้องตั้งชุดเดิม ถึงต้องถามประโยคนี้ เหมือนกับชุดสมัยจอมพลถนอมมั้ย เหมือนกับชุดสมัย พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ มั้ย มันก็ตั้งคนใหม่เข้าไปตามเวลาที่เปลี่ยนไป
ผู้จัดการรายวัน – ไทยพีบีเอสปรับใหม่ ยันไม่ชนกับเอ็นบีที แต่ดึงอภิสิทธิ์ออกรายการ “ตอบโจทย์” เวลาชน “ถามจริงตอบตรง” ที่จะมีนายสมัครมาออกอากาศสดตามแผนเดิมของเอ็นบีที ด้านสว.สายสื่อ ยอมรับกฎหมายวิทยุโทรทัศน์ ยังไม่สมบูรณ์ “เพ็ญ” คิดอะไรอยู่ !! แค่คำถามตั้ง บอร์ด อสมท. ลมออกหู พาลถึง “ถนอม –เปรม”
นายเทพชัย หย่อง รักษาการผู้อำนวยการ สถานีโทรทัศน์ทีวีไทย ทีวีสาธารณะ หรือไทยพีบีเอส เปิดเผยว่า เป็นที่รู้กันว่า วานนี้ (1 เม.ย.) ถือเป็นวันที่สถานีโทรทัศน์เอ็นบีที หรือ ช่อง 11 ออกอากาศผังรายการใหม่เป็นวันแรกซึ่งอาจมองดูเหมือนการที่ทีวีไทย มีการเปิดตัวผังรายการใหม่ พร้อมอัตลักษณ์ใหม่ด้วยนั้น จะมีนัยว่า พร้อมเปิดศึกกับทางเอ็นบีทีหรือไม่นั้น
นายเทพชัย กล่าวว่า การเปิดตัวผังรายการและอัตลักษณ์ใหม่นี้เป็นไปตามแผนอยู่แล้ว ไม่ได้เป็นการเปิดศึกกับทาง สถานีโทรทัศน์เอ็นบีทีและไม่ได้กังวลว่าเอ็นบีทีจะมาเป็นคู่แข่ง แต่เป็นเรื่องดีของการแข่งขัน ถึงแม้ว่าเอ็นบีทีประกาศตัวเป็นทีวีสาธารณะ แต่เชื่อว่า คำว่าทีวีสาธารณะ ประชาชนเข้าใจมากพอสมควรแล้ว เพราะในหลักการทีวีสาธารณะ จะไม่อยู่ภายใต้การควบคุมจากอำนาจรัฐ ขณะที่ เอ็นบีที เป็นหน่วยงานหนึ่งของกรมประชาสัมพันธ์ และกรมประชาสัมพันธ์เองก็ขึ้นตรงกับรัฐบาลด้วย
**รายการตอบโจทย์ดึงอภิสิทธ์สู้**
ถึงแม้นายเทพชัย จะกล่าวว่าไม่ได้เปิดศึกกับทาง เอ็นบีทีแต่อย่างไร แต่สำหรับคืนเมื่อวานนี้ การที่ทางสถานีโทรทัศน์เอ็นบีทีได้เชิญนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี มาออกรายการสด “ถามจริง ตอบตรง” ที่มีนายเพ็ชร จอมประดับ เป็นพิธีกร (แต่นายสมัคร เปิดไม่สบายขึ้นมา) สำหรับทางทีวีไทยเองในช่วงเวลาเดียวกันได้เชิญนายอภิสิทธ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ มาออกรายการสัมภาษณ์สดในรายการ “ตอบโจทย์” เช่นเดียวกันนั้น
นายเทพชัย กล่าวว่า การเชิญนายอภิสิทธ์ มาออกรายการครั้งนี้ ถือเป็นส่วนหนึ่งที่ได้เตรียมการไว้นานแล้วเช่นเดียวกัน ไม่ใช่การท้าชนกับทางเอ็นบีทีแต่อย่างไร นอกจากนี้ทางสถานีฯเองก็มีแผนที่จะเชิญนายสมัคร สุนทรเวช มาร่วมรายการด้วยเช่นเดียวกันในอนาคต ขณะที่ที่ผ่านมา ทางสถานีฯเคยส่งหนังสือเชิญ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร มาร่วมราย แต่ได้รับการปฏิเสธ
ในส่วนของพนักงานทีไอทีวีเดิมที่ทำงานกับทาง ทีวีไทย และได้ลาออกไปร่วมงานกับทางเอ็นบีทีนั้น นายเทพชัย กล่าวด้วยว่า จริงๆแล้วมีเพียง 10 คนเท่านั้นที่ลาออกไป ส่วนที่เหลือยังคงทำงานร่วมกันอยู่ เพราะยังคงเชื่อมั่นว่าทีวีไทย จะตอบสนองเจตนารมย์ของการนำเสนอข่าวสารได้
สำหรับช่วง 1 เดือนครึ่งที่ผ่านมา ถือเป็นช่วงทดลองการออกอากาศ โดยรายการที่นำเสนออกไป ส่วนใหญ่ประชาชนให้การตอบรับเป็นอย่างดี โดยเฉพาะช่วงรายการสารคดี และข่าว จากผลสำรวจทั้งจากเอซี นีลสัน และของทางสถานีฯเอง มีเรตติ้งอยู่ในอันดับที่ 3 ซึ่งเป็นการสำรวจในช่วงเดือนที่ผ่านมา จากนี้ไปถือเป็นการก้าวสู่ความเป็นทีวีสาธารณะอย่างแท้จริง โดยได้ปรับผังรายการใหม่ เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. พร้อมเปลี่ยนชื่อสถานีใหม่ว่า “ทีวีไทย ทีวีสาธารณะ” ภายใต้อัตลักษณ์ใหม่ของสถานีฯที่จะนำมาใช้อย่างเต็มรูปแบบตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค.
ผังรายการใหม่แบ่งเป็น รายการข่าว 39.85% สารคดีข่าวและวิเคราะห์ข่าว 6.63% รายการสารคดี 22.63% รายการสาระประโยชน์ 14.37% รายการเด็กและเยาวชน6.74% และสาระบันเทิง 11.94% โดยแบ่งเป็น รายการที่ผลิตโดยสถานีฯ 54.73% รายการจัดซื้อลิขสิทธิ์ เช่น สารคดี 17.64% รายการที่ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอกโดยไม่มีค่าใช้จ่าย 24.37% และรายการจ้างผลิต 3.36%
รายการใหม่ที่เพิ่มขึ้นมาในผังใหม่นี้มีประมาณ 10 รายการ เช่น ข่าวภาคเด็ก เริ่มเม.ย.นี้ ทุกวันเสาร์ –อาทิตย์ เวลา 8.00-8.30 น. รายการสารคดีชุดแผ่นดินไท เริ่มเดือนพ.ค.นี้ เป็นความร่วมมือระหว่างสถานีฯ สสส. และบริษัท ทีวีบูรพา จำกัด รายการเพชฌฆาตเงียบ เริ่มพ.ค.นี้ ละครอิงประวัติศาสตร์เรื่อง “รายากุนิง” ที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์และบริษัท กันตนา กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เริ่ม 2 มิ.ย. นี้
ทั้งนี้รายการส่วนใหญ่ที่จ้างผลิตและจัดซื้อทั้งหมดนี้ ถือเป็นส่วนหนึ่งที่ใช้งบจากส่วนของค่าใช้จ่ายระหว่าง 3 เดือนที่ผ่านมา ที่มีมูลค่าประมาณ 40 ล้านบาท จากงบประมาณค่าใช้จ่ายในช่วงไตรมาสแรก ที่ 122 ล้านบาท โดยส่วนที่เหลือจะเป็น การจ่ายเงินเดือนพนักงาน 40 ล้านบาท ค่าดำเนินการต่างๆ อีก 41 ล้านบาท ซึ่งงบประมาณดังกล่าวนี้ เป็นส่วนหนึ่งของงบประมาณกว่า 233 ล้านบาท ที่ทางกรมสรรพสามิตรส่งมอบให้ ระหว่างเดือนม.ค-ก.พ. ขณะที่งบประมาณของเดือนมี.ค. ยังไม่เข้ามา อย่างไรก็ตามตลอดทั้งปีเชื่อว่าทางสถานีฯจะต้องใช้งบประมาณดำเนินการทั้งหมดไม่ต่ำกว่า 2,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นเงินที่มาจากภาษีของประชาชน
***สว.รับกฎหมายไม่สมบูรณ์
วานนี้ (1 เม.ย. 51) คณะทำงาน 6 องค์กรวิชาชีพสื่อมวลชน ร่วมกับเครือข่ายวิทยุเพื่อการศึกษา ได้จัดการเสวนา เรื่อง “อนาคตวิทยุโทรทัศน์ไทย หลังกฎหมายใหม่ใช้บังคับ” เพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับสาระสำคัญในกฎหมายสำคัญที่จะใช้ในการกำกับดูแลจัดสรรคลื่นความถี่วิทยุและโทรทัศน์คือ พระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ซึ่งได้ประกาศใช้ไปแล้วเมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2551 ที่ผ่านมา
นายสมชาย แสวงการ สมาชิกวุฒิสภา และอดีตรองประธานคนที่ 1 คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ. การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ กล่าวว่า แม้กฎหมายฉบับนี้จะมีส่วนที่ไม่สมบูรณ์อยู่บ้าง เช่น สัมปทานในกลุ่มผู้ประกอบการวิทยุโทรทัศน์เดิม ซึ่งบทเฉพาะกาลในรัฐธรรมนูญใหม่ ปี 2551 ได้ระบุความคุ้มครองไว้ ดังนั้น กฎหมายฉบับนี้ จึงไม่สามารถเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขสัมปทานเดิมที่ได้ให้ไว้แล้วนอกจากนี้ กฎหมายยังระบุเวลาให้ใบอนุญาตวิทยุไม่เกิน 7 ปี โทรทัศน์ไม่เกิน 15 ปี เพื่อแก้ปัญหาเดิมคือ ผู้ประกอบการมีความเสี่ยงในการทำธุรกิจ เพราะระยะเวลาสัมปทานไม่แน่นอนในวิทยุ ในช่วงสุญญากาศ ที่องค์กร กสทช. ยังไม่เกิดขึ้น ทำให้มีการสวมรอยทางธุรกิจจากกลุ่มผลประโยชน์มากมาย
นายกฤษณพร เสริมพานิช รองอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ ซึ่งได้มีบทบาทตั้งแต่ครั้งเป็นผู้อำนวยการ กองงาน กกช. กรมประชาสัมพันธ์ และเกี่ยวข้องกับการปฏิรูปสื่อ กล่าวว่า กฎหมายฉบับนี้ เกิดขึ้นโดยรากฐานยังไม่แข็งแรงเพียงพอ เพราะพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ พ.ศ. 2543 ยังไม่ถูกแก้ไขให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญใหม่ที่ระบุให้มีองค์กรกำกับดูแลเพียงองค์กรเดียว คือ กสทช.ทั้งนี้กรมประชาสัมพันธ์ ได้รับการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ไปก่อนจนกว่าจะมีแผนแม่บทวิทยุโทรทัศน์ แต่ห้ามโฆษณา
นายจรัล พากเพียร คณะกรรมการรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับ พ.ร.บ.การประกอบกิจการฯ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กล่าวว่า ภาคประชาชน วิทยุชุมชน และเครือข่าย มีความห่วงใยในกฎหมายนี้หลายประเด็น โดยเรื่องหลักคือ การไม่เชื่อใจ และไม่เชื่อมั่นวิจารณญาณของคณะกรรมการที่จะมากำกับดูแล ว่าพิจารณาเรื่องต่างๆ ด้วยความเที่ยงธรรมและไม่เลือกปฏิบัติ ซึ่งหลายประเด็น คนไม่เห็นด้วย เช่น มาตรา 37 ที่ให้อำนาจคณะกรรมการสั่งการด้วยวาจาเพื่อระงับรายการ
นายสมชาย กล่าวว่า ส่วนบทลงโทษ ที่กำหนดขั้นสูงสุดไว้ จำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 5 ล้านบาทนั้น เป็นการเปิดช่องให้ผู้พิพากษาและกระบวนการยุติธรรม ได้ใช้ดุลพินิจ ซึ่งอาจไม่ต้องโทษจำคุกเลยก็ได้
นายสุรนันทน์ วงศ์วิทยกำจร เลขาธิการ คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) กล่าวว่า ตามบทเฉพาะกาลกฎหมายฉบับนี้ กทช. จะต้องเป็นฝ่ายเลขาฯ ชั่วคราวในช่วงเปลี่ยนผ่าน เพื่อดูแลให้เป็นไปตามกฎหมาย ขณะนี้รอคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ครม.ต้องแต่งตั้ง เพื่อเป็นอนุกรรมการวิทยุโทรทัศน์ ซึ่งยังไม่มีคำตอบกลับมาสำหรับระยะเวลาที่กทช. ต้องทำงาน ยังไม่แน่นอน อยู่ในช่วงระหว่าง 6 เดือน – 2 ปี ซึ่งภารกิจหลักขณะนี้คือ การเตรียมการ และสร้างกฎกติกา ภายใต้ทรัพยากรที่มีจำกัด เช่น 1. แผนจัดสรรคลื่นความถี่ จะเกลี่ยให้เกิดความเป็นธรรมและทั่วถึงได้ 2. การใช้คลื่นความถี่ที่จัดสรรใหม่อย่างไร
**เพ็ญละลานถึงป๋าอีก
นายจักรภพ เพ็ญแข รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงการให้เอกชนเข้าไปดำเนินการกิจการร่วมใน NBT ที่อาจขัด พรบ.ร่วมทุน 35 ว่า ไม่หวั่นเกรง NBT เป็นหน่วยงานของรัฐ อยู่ภายใต้การตรวจสอบของหน่วยงานทั้งหมดอยู่แล้ว ไม่มีอะไรเป็นพิเศษ ไม่มากกว่าใคร ไม่น้อยกว่าใคร มุ่งหน้าต่อไปเต็มขั้น
ส่วนความคืบหน้าของการตั้งบอร์ด อสมท นายจักรภพ กล่าวว่า อาทิตย์นี้ออกมา เมื่อถามว่าเป็นบุคคลที่เคยอยู่ในชุดเดิมของนายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณบ้างหรือไม่ นายจักรภพ หันมากล่าวอย่างมีอารมณ์ทันทีว่า ทำไมถึงถามอย่างนั้น เหตุผลอะไรที่ถามอย่างนั้น มีอะไรในใจที่ถามอย่างนั้น
ผู้สื่อข่าวบอกว่า เจตนาของคำถามหมายถึงว่าจะมีใครเข้ามาในบอร์ดบ้าง นายจักรภพ กล่าวว่า แล้วทำไมต้องถามถึงชุดเดิมของคุณมิ่งขวัญ มันมีหลักการอะไรที่จะต้องตั้งชุดเดิม ถึงต้องถามประโยคนี้ เหมือนกับชุดสมัยจอมพลถนอมมั้ย เหมือนกับชุดสมัย พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ มั้ย มันก็ตั้งคนใหม่เข้าไปตามเวลาที่เปลี่ยนไป