ครูใต้วิเคราะห์การรบที่ชายแดนใต้ ชี้รัฐบาลไทยยังอ่อนด้อยงานความคิด ทั้งที่ทุ่มเททรัพยากรมหาศาล แต่ไม่สามารถยุติสงครามได้ ซ้ำยังเน้นหนักงานทหารที่อาจหมิ่นเหม่ละเมิดสิทธิฯ หวั่นเข้าทางฝ่ายก่อการที่พยายามบรรลุเป้าขั้น 3 ในการดึงองค์กรระหว่างประเทศเข้าแทรกแซงภายใน
วานนี้ (6 เม.ย.) ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ ได้เผยแพร่บทวิเคราะห์ "ยิ่งรุกทางทหาร ยิ่งตั้งรับทางการเมือง แนวโน้มความรุนแรงเชิงคุณภาพปี 2551" ของนายประสิทธิ์ เมฆสุวรรณ ที่ปรึกษาสมาพันธ์ครูจังหวัดชายแดนภาคใต้ ผ่านเว็บไซต์ www.deepsouthwatch.org โดยประเมินสภาพของสงครามในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ระหว่างฝ่ายรัฐและฝ่ายผู้ก่อความไม่สงบ โดยระบุว่าสถานการณ์ของฝ่ายรัฐในช่วงรัฐบาลที่สามนับตั้งแต่ปี 47 เป็นต้นมายังเสียเปรียบอยู่มาก เพราะยังรู้จักคู่ต่อสู้ไม่ลึกซึ้งเพียงพอและยังไม่สามารถขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ที่กำหนดไว้ได้ การบังคับใช้กฎหมายก็มีช่องโหว่และมักถูกกล่าวหาว่ามีการละเมิดสิทธิมนุษยชนอยู่บ่อยครั้ง ส่วนการต่อสู้ทางความคิดซึ่งเป็นงานการเมืองที่สำคัญที่สุดก็ไม่ไปถึงไหน แม้ว่าจะรุดหน้างานด้านการทหารก็ตาม
ในขณะที่สถานการณ์ของฝ่ายกลุ่มก่อความไม่สงบ แม้จะถูกกดดันอย่างหนักจากยุทธการปิดล้อมตรวจค้นแต่ฝ่ายรัฐก็ไม่สามารถทำให้เสียขบวนได้ สิ่งที่กลุ่มก่อความไม่สงบกุมสภาพได้คืองานมวลชนที่สามารถสภาวะน่าสะพรึงกลัวให้ดำรงอยู่ทั่วทุกพื้นที่ ประชาชนและข้าราชการยังไม่อาจใช้ชีวิตได้อย่างปกติสุข ในส่วนของงานการทหารที่ยังคงไว้ต่อเนื่อง เพื่อทำให้เกิดปัจจัยทางการเมืองที่เกื้อหนุนต่อยุทธศาสตร์แบ่งแยกดินแดน เช่น ปริมาณผู้บาดเจ็บล้มตายจะเป็นเงื่อนไขในการแทรกแซงขององค์กรระหว่างประเทศ การก่อวินาศกรรมจะทำให้ความเชื่อมั่นสั่นคลอนและนำไปสู่เงื่อนไขต่อรองกับรัฐบาลได้
บทความดังกล่าวยังวิเคราะห์ถึงสถานการณ์การต่อสู้ของทั้งสองฝ่าย โดยระบุว่าฝ่ายรัฐบาลยังเน้นหนักยุทธศาสตร์การเมืองนำการทหารทั้งระบบ แต่ในระดับปฏิบัติยังมีการแยกแยะการนำในแต่ละพื้นที่ เช่น หากเป็นพื้นที่อิทธิพลของกลุ่มก่อความไม่สงบ ฝ่ายรัฐบาลจะใช้ปฏิบัติการทางทหารนำ โดยใช้ทหารหลักคลุมพื้นที่ ควบคุมความรุนแรงไม่ให้ขยายวง สุดท้ายคือการสร้างความปลอดภัยแก่ชุมขน
ในขณะที่ฝ่ายกลุ่มก่อความไม่สงบยังเน้นการต่อสู้ด้วยอาวุธก่อความรุนแรงเพื่อกดดันให้รัฐบาลยอมรับการดำรงอยู่และเพิ่มแรงกดดันให้รัฐไทยเดินเข้าสู่กับดักทางการเมืองทีละขั้น จนสามารถทำแนวร่วมกับองค์กรระหว่างประเทศได้ พัฒนาพลังต่อรองจนอยู่ในฐานะเท่าเทียมกับรัฐบาลไทย ในด้านยุทธวิธีแม้จะไม่สามารถเทียบกับศักยภาพกองกำลังกับรัฐไทยได้ แต่เชื่อว่านับจากนี้กลุ่มก่อความไม่สงบจะเน้นการต่อสู้ทางด้านการเมืองและข้อมูลข่าวสารในระดับต่างๆ มากขึ้น
ที่สำคัญ ยุทธวิธีกดดันทางทหารของภาครัฐซึ่งหมิ่นเหม่ต่อประเด็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนก็กลับกลายเป็นเงื่อนไขเชิงบวกให้กับกลุ่มก่อความไม่สงบ ซึ่งจะเห็นได้ว่ามีองค์กรที่สะท้อนปัญหาในประเด็นนี้อย่างกว้างขวางทุกระดับ แม้จะเป็นบทบาทตามธรรมชาติขององค์กรเหล่านี้ที่ตรวจสอบเพื่อให้รัฐใช้ความระมัดระวัง แต่ก็ส่งผลสะเทือนต่อรัฐไม่น้อย กลายเป็นว่า ยิ่งรัฐรุกทางการทหารมากขึ้นเท่าไหร่ ก็ต้องตกเป็นฝ่ายตั้งรับทางการเมืองมากขึ้นเท่านั้น
เมื่อเปรียบเทียบการต่อสู้ของทั้งสองฝ่าย บทความดังกล่าววิเคราะห์ว่า ฝ่ายรัฐไทยได้เปรียบในสนามการต่อสู้ทางสากลและได้เปรียบด้านปริมาณการยุทธ์ ตลอดถึงการโฆษณายุทธศาสตร์ด้านการเมือง ส่วนฝ่ายก่อความไม่สงมีความได้เปรียบในทางยุทธวิธี เนื่องจากรู้พื้นที่ รู้มวลขน มีแนวร่วมที่แน่นอน สามารถหลบหลีก จู่โจม ถอนตัวได้รวดเร็ว โดยเฉพาะระดับชี้นำทางการเมือง ทหารหลัก หรือหน่วยรบพิเศษคอมมานโดจะเป็นกลุ่มที่มีอุดมการณ์มั่นคง พร้อมสละชีวิตเพื่อภารกิจที่ได้รับมอบหมายตลอดเวลา
ทั้งนี้ ในยุทธศาสตร์การทหาร 3 ขั้น ขั้นแรกพวกเขาสามารถบรรลุเป้าหมายการบ่มเพาะแกนนำและกองกำลังในทุกระดับได้และขั้นที่สอง ที่พวกเขาสามารถสร้างสภาวการณ์ให้สังคมเกิดความน่าสะพรึงกลัวจนคนไทยที่นับถือศาสนาพุทธต้องอพยพออกนอกพื้นที่ ซึ่งเรียกได้ว่าทั้งสองขั้นแรก พวกเขาสามารถบรรลุเป้าหมายแล้ว
ส่วนขั้นที่สาม คือ ดึงองค์กรระดับโลกให้เข้ามาแทรกแซงกดดันรัฐไทย ซึ่งแม้ดูเหมือนว่ากลุ่มก่อความไม่สงบจะพ่ายแพ้ แต่ผลในทางปฏิบัติกลับเป็นฝ่ายได้รับชัยชนะทีละขั้นหากปรับยุทธวิธีทางการเมืองเพื่อเป้าหมายในขั้นที่สามสำเร็จ ความสำเร็จในขั้นที่สามมีสิ่งชี้วัดอยู่ที่การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐเอง กล่าวคือ หากฝ่ายรัฐเน้นปฏิบัติการทหารจนลืมงานการเมือง เช่น ย่ามใจจนเข้าขึ้นละเมิดสิทธิมนุษยชน อ่อนประชาสัมพันธ์ พ่ายแพ้ในด้านข้อมูลข่าวสารเมื่อนั้นฝ่ายก่อความไม่สงบจะเป็นต่อด้านการเมือง
ในบทความยังมีข้อพิจารณาว่า การต่อสู้ทางความคิดจากฝ่ายรัฐ ทั้งการสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับรัฐไทย การอยู่ร่วมกันในพหุสังคม ฯลฯ ซึ่งเป็นหนึ่งในงานการเมืองสำคัญกลับทำน้อยมาก ต่างจากฝ่ายก่อความไม่สงบที่การเคลื่อนไหวทางความคิดเกี่ยวกับรัฐไทยล้วนประสบความสำเร็จ ไม่ว่าจะเป็นการโฆษณาชวนเชื่อเกี่ยวกับเชื้อชาติประวัติศาสตร์ที่นำไปสู่แนวคิดการต่อสู้เพื่อแบ่งแยกดินแดนซึ่งส่งต่อผ่านรุ่นได้อย่างไม่ขาดสาย
ส่วนในด้านการทหาร แม้รัฐบาลจะทุ่มเททรัพยากรด้านการทหารทั้งกำลังพล อาวุธยุทโธปกรณ์ และเงินงบประมาณลงพื้นที่มากที่สุดเท่าที่เคยมีมาแต่สถานการณ์กลับไม่ได้ลดลงเท่าที่ควร ความสูญเสียในชีวิตและทรัพย์สินกลับเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ กองทัพเองน่าจะต้องหยุดทบทวนประสิทธิภาพใหม่ในทุกๆ ด้านนับตั้งแต่ปีนี้เป็นต้นไป
ในขณะที่ฝ่ายก่อความไม่สงบนับได้ว่างานด้านการทหารตลอด 4 ปีที่ผ่านมาประสบผลสำเร็จต่อเนื่องในทางปริมาณ แต่หากไม่สามารถยกระดับสร้างเงื่อนไขทางการเมืองเชิงบวกแก่ฝ่ายตนแล้ว ปริมาณความสูญเสียจะลดระดับการเมืองของฝ่ายก่อการเองอย่างรวดเร็วเป็นเงาตามตัว หากยิ่งรบ ยิ่งเสียการเมืองก็เป็นสัญญาณการพ่ายแพ้ในอนาคต ดังนั้นทุกฝ่ายต้องคำนึงถึงการสะสมชัยชนะทางการเมือง เนื่องจากการเมืองเป็นสิ่งชี้ขาดผลแพ้ชนะของสงคราม ไม่ใช่การทหาร
อย่างไรก็ตาม ในบทความยังให้ข้อเสนอว่า การต่อสู้ของฝ่ายรัฐควรเริ่มต้นจากการต่อสู้ทางความคิดโดยการผลิตชุดความคิดขึ้นมาหนึ่งชุดฝ่ายกระบวนการการมีส่วนร่วมจากทุกฝ่ายและอยู่ภายในกรอบของยุทธศาสตร์ใหญ่โดยรวม นอกจากนี้ จะต้องเน้นหนักการต่อสู้ทางการเมืองในความหมายที่ว่าการต่อสู้ทุกๆ อย่างที่ไม่ใช้อาวุธและความรุนแรง ทั้งความคิด การศึกษา เศรษฐกิจ การเยียวยา หรือแม้แต่การบริการที่ดี ในขณะที่งานด้านการทหารจะต้องทำให้ส่งผลบวกต่องานการเมือง
วันเดียวกัน กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน ภาคที่ 4 ส่วนหน้า ได้สรุปรายงานสถานการณ์การก่อความไม่สงบใน 3 จังหวัด 4 อำเภอของจังหวัดชายแดนภาคใต้ว่า ในรอบเดือน มี.ค.51 มีเหตุร้ายเกิดทั้งสิ้น 93 เหตุการณ์ แบ่งเป็นการก่อกวน 10 เหตุการณ์ทำให้ผู้เสียชีวิต 56 คน บาดเจ็บ 1,102 คน โดยผู้เสียชีวิตเป็นราษฎรมากที่สุด ในขณะที่ผู้ก่อความไม่สงบเสียชีวิต 7 ราย
ส่วนสรุปแนวโน้มของสถานการณ์ฝ่ายผู้ก่อความไม่สงบยังเน้นการก่อเหตุต่อเนื่อง โดยเฉพาะในห้วงเดือน เม.ย.ซึ่งเป็นช่วงที่สับเปลี่ยนกำลังทหาร รวมทั้งในทุกอำเภอจะมีการคัดเลือกทหารประจำปี 51 นอกจากนี้ในวันที่ 10 เม.ย.ซึ่งเป็นวันครบรอบการสถาปนาบีอาร์เอ็น คองเกรส ช่วงวันที่ 12 - 16 เม.ย.เป็นวันหยุดเทศกาลสงกรานต์ ส่วนวันที่ 28 เม.ย.เป็นวันครบรอบ 4 ปี เหตุปะทะที่มัสยัดกรือเซะและครบรอบ 60 ปี ของเหตุการณ์ปะทะที่ดุซงญอ
มีรายงานข่าวแจ้งด้วยว่า พบความเคลื่อนไหวของแกนนำและแนวร่วมในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง ทั้งการขนย้ายลำเลียงอาวุธและวัตถุระเบิดที่ประกอบแล้วเพื่อใช้ก่อเหตุร้าย อีกทั้งยังมีการปลุกระดมราษฎรให้เกลียดชังและชุมนุมกดดันเจ้าหน้าที่ มีการดึงกลุ่มนักศึกษาทั้งจากส่วนกลางและในพื้นที่เข้ามาเกี่ยวข้อง โดยนำเอากรณีการเสียชีวิตของนายยะพา กาเซ็ง โต๊ะอิหม่ามบ้านกอตอ อ.รือเสาะ จ.นราธิวาส มาเป็นเงื่อนไข ซึ่ง กอ.รมน.ภาคที่ 4 ได้สั่งการให้กำลังทหารตำรวจ ปกครอง และอื่นๆ ป้องกันเหตุร้ายในช่วงเดือน เม.ย.อย่างเต็มที่แล้ว
วานนี้ (6 เม.ย.) ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ ได้เผยแพร่บทวิเคราะห์ "ยิ่งรุกทางทหาร ยิ่งตั้งรับทางการเมือง แนวโน้มความรุนแรงเชิงคุณภาพปี 2551" ของนายประสิทธิ์ เมฆสุวรรณ ที่ปรึกษาสมาพันธ์ครูจังหวัดชายแดนภาคใต้ ผ่านเว็บไซต์ www.deepsouthwatch.org โดยประเมินสภาพของสงครามในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ระหว่างฝ่ายรัฐและฝ่ายผู้ก่อความไม่สงบ โดยระบุว่าสถานการณ์ของฝ่ายรัฐในช่วงรัฐบาลที่สามนับตั้งแต่ปี 47 เป็นต้นมายังเสียเปรียบอยู่มาก เพราะยังรู้จักคู่ต่อสู้ไม่ลึกซึ้งเพียงพอและยังไม่สามารถขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ที่กำหนดไว้ได้ การบังคับใช้กฎหมายก็มีช่องโหว่และมักถูกกล่าวหาว่ามีการละเมิดสิทธิมนุษยชนอยู่บ่อยครั้ง ส่วนการต่อสู้ทางความคิดซึ่งเป็นงานการเมืองที่สำคัญที่สุดก็ไม่ไปถึงไหน แม้ว่าจะรุดหน้างานด้านการทหารก็ตาม
ในขณะที่สถานการณ์ของฝ่ายกลุ่มก่อความไม่สงบ แม้จะถูกกดดันอย่างหนักจากยุทธการปิดล้อมตรวจค้นแต่ฝ่ายรัฐก็ไม่สามารถทำให้เสียขบวนได้ สิ่งที่กลุ่มก่อความไม่สงบกุมสภาพได้คืองานมวลชนที่สามารถสภาวะน่าสะพรึงกลัวให้ดำรงอยู่ทั่วทุกพื้นที่ ประชาชนและข้าราชการยังไม่อาจใช้ชีวิตได้อย่างปกติสุข ในส่วนของงานการทหารที่ยังคงไว้ต่อเนื่อง เพื่อทำให้เกิดปัจจัยทางการเมืองที่เกื้อหนุนต่อยุทธศาสตร์แบ่งแยกดินแดน เช่น ปริมาณผู้บาดเจ็บล้มตายจะเป็นเงื่อนไขในการแทรกแซงขององค์กรระหว่างประเทศ การก่อวินาศกรรมจะทำให้ความเชื่อมั่นสั่นคลอนและนำไปสู่เงื่อนไขต่อรองกับรัฐบาลได้
บทความดังกล่าวยังวิเคราะห์ถึงสถานการณ์การต่อสู้ของทั้งสองฝ่าย โดยระบุว่าฝ่ายรัฐบาลยังเน้นหนักยุทธศาสตร์การเมืองนำการทหารทั้งระบบ แต่ในระดับปฏิบัติยังมีการแยกแยะการนำในแต่ละพื้นที่ เช่น หากเป็นพื้นที่อิทธิพลของกลุ่มก่อความไม่สงบ ฝ่ายรัฐบาลจะใช้ปฏิบัติการทางทหารนำ โดยใช้ทหารหลักคลุมพื้นที่ ควบคุมความรุนแรงไม่ให้ขยายวง สุดท้ายคือการสร้างความปลอดภัยแก่ชุมขน
ในขณะที่ฝ่ายกลุ่มก่อความไม่สงบยังเน้นการต่อสู้ด้วยอาวุธก่อความรุนแรงเพื่อกดดันให้รัฐบาลยอมรับการดำรงอยู่และเพิ่มแรงกดดันให้รัฐไทยเดินเข้าสู่กับดักทางการเมืองทีละขั้น จนสามารถทำแนวร่วมกับองค์กรระหว่างประเทศได้ พัฒนาพลังต่อรองจนอยู่ในฐานะเท่าเทียมกับรัฐบาลไทย ในด้านยุทธวิธีแม้จะไม่สามารถเทียบกับศักยภาพกองกำลังกับรัฐไทยได้ แต่เชื่อว่านับจากนี้กลุ่มก่อความไม่สงบจะเน้นการต่อสู้ทางด้านการเมืองและข้อมูลข่าวสารในระดับต่างๆ มากขึ้น
ที่สำคัญ ยุทธวิธีกดดันทางทหารของภาครัฐซึ่งหมิ่นเหม่ต่อประเด็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนก็กลับกลายเป็นเงื่อนไขเชิงบวกให้กับกลุ่มก่อความไม่สงบ ซึ่งจะเห็นได้ว่ามีองค์กรที่สะท้อนปัญหาในประเด็นนี้อย่างกว้างขวางทุกระดับ แม้จะเป็นบทบาทตามธรรมชาติขององค์กรเหล่านี้ที่ตรวจสอบเพื่อให้รัฐใช้ความระมัดระวัง แต่ก็ส่งผลสะเทือนต่อรัฐไม่น้อย กลายเป็นว่า ยิ่งรัฐรุกทางการทหารมากขึ้นเท่าไหร่ ก็ต้องตกเป็นฝ่ายตั้งรับทางการเมืองมากขึ้นเท่านั้น
เมื่อเปรียบเทียบการต่อสู้ของทั้งสองฝ่าย บทความดังกล่าววิเคราะห์ว่า ฝ่ายรัฐไทยได้เปรียบในสนามการต่อสู้ทางสากลและได้เปรียบด้านปริมาณการยุทธ์ ตลอดถึงการโฆษณายุทธศาสตร์ด้านการเมือง ส่วนฝ่ายก่อความไม่สงมีความได้เปรียบในทางยุทธวิธี เนื่องจากรู้พื้นที่ รู้มวลขน มีแนวร่วมที่แน่นอน สามารถหลบหลีก จู่โจม ถอนตัวได้รวดเร็ว โดยเฉพาะระดับชี้นำทางการเมือง ทหารหลัก หรือหน่วยรบพิเศษคอมมานโดจะเป็นกลุ่มที่มีอุดมการณ์มั่นคง พร้อมสละชีวิตเพื่อภารกิจที่ได้รับมอบหมายตลอดเวลา
ทั้งนี้ ในยุทธศาสตร์การทหาร 3 ขั้น ขั้นแรกพวกเขาสามารถบรรลุเป้าหมายการบ่มเพาะแกนนำและกองกำลังในทุกระดับได้และขั้นที่สอง ที่พวกเขาสามารถสร้างสภาวการณ์ให้สังคมเกิดความน่าสะพรึงกลัวจนคนไทยที่นับถือศาสนาพุทธต้องอพยพออกนอกพื้นที่ ซึ่งเรียกได้ว่าทั้งสองขั้นแรก พวกเขาสามารถบรรลุเป้าหมายแล้ว
ส่วนขั้นที่สาม คือ ดึงองค์กรระดับโลกให้เข้ามาแทรกแซงกดดันรัฐไทย ซึ่งแม้ดูเหมือนว่ากลุ่มก่อความไม่สงบจะพ่ายแพ้ แต่ผลในทางปฏิบัติกลับเป็นฝ่ายได้รับชัยชนะทีละขั้นหากปรับยุทธวิธีทางการเมืองเพื่อเป้าหมายในขั้นที่สามสำเร็จ ความสำเร็จในขั้นที่สามมีสิ่งชี้วัดอยู่ที่การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐเอง กล่าวคือ หากฝ่ายรัฐเน้นปฏิบัติการทหารจนลืมงานการเมือง เช่น ย่ามใจจนเข้าขึ้นละเมิดสิทธิมนุษยชน อ่อนประชาสัมพันธ์ พ่ายแพ้ในด้านข้อมูลข่าวสารเมื่อนั้นฝ่ายก่อความไม่สงบจะเป็นต่อด้านการเมือง
ในบทความยังมีข้อพิจารณาว่า การต่อสู้ทางความคิดจากฝ่ายรัฐ ทั้งการสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับรัฐไทย การอยู่ร่วมกันในพหุสังคม ฯลฯ ซึ่งเป็นหนึ่งในงานการเมืองสำคัญกลับทำน้อยมาก ต่างจากฝ่ายก่อความไม่สงบที่การเคลื่อนไหวทางความคิดเกี่ยวกับรัฐไทยล้วนประสบความสำเร็จ ไม่ว่าจะเป็นการโฆษณาชวนเชื่อเกี่ยวกับเชื้อชาติประวัติศาสตร์ที่นำไปสู่แนวคิดการต่อสู้เพื่อแบ่งแยกดินแดนซึ่งส่งต่อผ่านรุ่นได้อย่างไม่ขาดสาย
ส่วนในด้านการทหาร แม้รัฐบาลจะทุ่มเททรัพยากรด้านการทหารทั้งกำลังพล อาวุธยุทโธปกรณ์ และเงินงบประมาณลงพื้นที่มากที่สุดเท่าที่เคยมีมาแต่สถานการณ์กลับไม่ได้ลดลงเท่าที่ควร ความสูญเสียในชีวิตและทรัพย์สินกลับเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ กองทัพเองน่าจะต้องหยุดทบทวนประสิทธิภาพใหม่ในทุกๆ ด้านนับตั้งแต่ปีนี้เป็นต้นไป
ในขณะที่ฝ่ายก่อความไม่สงบนับได้ว่างานด้านการทหารตลอด 4 ปีที่ผ่านมาประสบผลสำเร็จต่อเนื่องในทางปริมาณ แต่หากไม่สามารถยกระดับสร้างเงื่อนไขทางการเมืองเชิงบวกแก่ฝ่ายตนแล้ว ปริมาณความสูญเสียจะลดระดับการเมืองของฝ่ายก่อการเองอย่างรวดเร็วเป็นเงาตามตัว หากยิ่งรบ ยิ่งเสียการเมืองก็เป็นสัญญาณการพ่ายแพ้ในอนาคต ดังนั้นทุกฝ่ายต้องคำนึงถึงการสะสมชัยชนะทางการเมือง เนื่องจากการเมืองเป็นสิ่งชี้ขาดผลแพ้ชนะของสงคราม ไม่ใช่การทหาร
อย่างไรก็ตาม ในบทความยังให้ข้อเสนอว่า การต่อสู้ของฝ่ายรัฐควรเริ่มต้นจากการต่อสู้ทางความคิดโดยการผลิตชุดความคิดขึ้นมาหนึ่งชุดฝ่ายกระบวนการการมีส่วนร่วมจากทุกฝ่ายและอยู่ภายในกรอบของยุทธศาสตร์ใหญ่โดยรวม นอกจากนี้ จะต้องเน้นหนักการต่อสู้ทางการเมืองในความหมายที่ว่าการต่อสู้ทุกๆ อย่างที่ไม่ใช้อาวุธและความรุนแรง ทั้งความคิด การศึกษา เศรษฐกิจ การเยียวยา หรือแม้แต่การบริการที่ดี ในขณะที่งานด้านการทหารจะต้องทำให้ส่งผลบวกต่องานการเมือง
วันเดียวกัน กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน ภาคที่ 4 ส่วนหน้า ได้สรุปรายงานสถานการณ์การก่อความไม่สงบใน 3 จังหวัด 4 อำเภอของจังหวัดชายแดนภาคใต้ว่า ในรอบเดือน มี.ค.51 มีเหตุร้ายเกิดทั้งสิ้น 93 เหตุการณ์ แบ่งเป็นการก่อกวน 10 เหตุการณ์ทำให้ผู้เสียชีวิต 56 คน บาดเจ็บ 1,102 คน โดยผู้เสียชีวิตเป็นราษฎรมากที่สุด ในขณะที่ผู้ก่อความไม่สงบเสียชีวิต 7 ราย
ส่วนสรุปแนวโน้มของสถานการณ์ฝ่ายผู้ก่อความไม่สงบยังเน้นการก่อเหตุต่อเนื่อง โดยเฉพาะในห้วงเดือน เม.ย.ซึ่งเป็นช่วงที่สับเปลี่ยนกำลังทหาร รวมทั้งในทุกอำเภอจะมีการคัดเลือกทหารประจำปี 51 นอกจากนี้ในวันที่ 10 เม.ย.ซึ่งเป็นวันครบรอบการสถาปนาบีอาร์เอ็น คองเกรส ช่วงวันที่ 12 - 16 เม.ย.เป็นวันหยุดเทศกาลสงกรานต์ ส่วนวันที่ 28 เม.ย.เป็นวันครบรอบ 4 ปี เหตุปะทะที่มัสยัดกรือเซะและครบรอบ 60 ปี ของเหตุการณ์ปะทะที่ดุซงญอ
มีรายงานข่าวแจ้งด้วยว่า พบความเคลื่อนไหวของแกนนำและแนวร่วมในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง ทั้งการขนย้ายลำเลียงอาวุธและวัตถุระเบิดที่ประกอบแล้วเพื่อใช้ก่อเหตุร้าย อีกทั้งยังมีการปลุกระดมราษฎรให้เกลียดชังและชุมนุมกดดันเจ้าหน้าที่ มีการดึงกลุ่มนักศึกษาทั้งจากส่วนกลางและในพื้นที่เข้ามาเกี่ยวข้อง โดยนำเอากรณีการเสียชีวิตของนายยะพา กาเซ็ง โต๊ะอิหม่ามบ้านกอตอ อ.รือเสาะ จ.นราธิวาส มาเป็นเงื่อนไข ซึ่ง กอ.รมน.ภาคที่ 4 ได้สั่งการให้กำลังทหารตำรวจ ปกครอง และอื่นๆ ป้องกันเหตุร้ายในช่วงเดือน เม.ย.อย่างเต็มที่แล้ว