ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ - กอ.รมน.ส่วนหน้า เตือนพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ระวังช่วงเดือนเมษายน หลังพบมีการเคลื่อนไหวของกลุ่มก่อความไม่สงบ มีการขนย้ายลำเลียงอาวุธ และเคลื่อนไหวของกลุ่มก่อการร้อยอย่างต่อเนื่อง
วันนี้ (6 เม.ย.) กอ.รมน.ภาคที่ 4 ส่วนหน้า ได้สรุปรายงานสถานการณ์การก่อความไม่สงบใน 3 จังหวัด 4 อำเภอ ของจังหวัดชายแดนภาคใต้ ว่า ในรอบเดือนมีนาคม 2551 มีเหตุร้ายเกิดทั้งสิ้น 93 เหตุการณ์ แบ่งเป็นการก่อกวน 10 เหตุการณ์ ทำให้ผู้เสียชีวิต 56 คน บาดเจ็บ 102 คน
พื้นที่เกิดเหตุมากที่สุด ได้แก่ จ.ปัตตานี 35 เหตุการณ์ จ.นราธิวาส 29 เหตุการณ์ จ.ยะลา 17 เหตุการณ์ และ จ.สงขลา 2 เหตุการณ์ ผู้เสียชีวิตเป็นราษฏร 32 ราย บาดเจ็บ 59 ราย ทหาร ทหารพราน และ อส. บาดเจ็บ 27 ราย ตำรวจเสียชีวิต 5 ราย นักการเมืองท้องถิ่น 2 ราย ผู้นำท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ตาย 3 เจ็บ 2 เจ้าหน้าที่ดับเพลิง ตาย 1 เจ็บ 4 อส. ชรบ ตาย 6 ผู้ก่อความไม่สงบ ถูกยิงตาย 7 คน
โดยมีการสรุปสถานการณ์มีแนวโน้ม ว่า กลุ่มผู้ก่อความไม่สงบยังพยายามก่อเหตุอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในห้วงเดือน เม.ย.ซึ่งเป็นช่วงที่สับเปลี่ยนกำลัง ทหาร รวมทั้งในทุกอำเภอ จะมีการคัดเลือกทหารประจำปี 2551
นอกจากนั้น ในวันที่ 10 เม.ย.ซึ่งเป็นวันครบรอบการสถาปนาขบวนการบีอาร์เอ็น คองเกรส วันที่ 12-16 เม.ย.เป็นวันหยุดเทศกาลสงกรานต์ วันที่ 28 เม.ย.เป็นวันครบรอบ 4 ปี เหตุร้ายที่มัสยัดกรือเซะ และรอบรอบ 60 ปี ของเหตุการณ์ขบถดุซงญอ
มีรายงานข่าวจากหน่วยข่าวในพื้นที่ ว่า มีความเคลื่อนไหวของแกนนำ และแนวร่วมในพื้นที่อย่างต่อเนื่องในพื้นที่ 3 จังหวัด 4 อำเภอมีการขนย้าย ลำเลียงอาวุธ วัถตุระเบิดที่ประกอบแล้ว ให้กับสมาชิก แนวร่วม เพื่อใช้ก่อเหตุร้าย โดยเฉพาะในเขตชุมชนเมืองในพื้นที่ 3 จังหวัด พื้นที่ จ.สงขลา
นอกจากนั้น ยังมีการปลุกระดมราษฎรให้เกลียดชัง และชุมนุมกดดันเจ้าหน้าที่ มีการดึงกลุ่มนักศึกษาทั้งจากส่วนกลางและในพื้นที่เข้ามาเกี่ยวข้อง โดยนำเอากรณีการเสียชีวิตของ นายยะพา กาเซ็ง โต๊ะอิหม่ามบ้านกอตอ อ.รือเสาะ จ.นราธิวาส มาเป็นเงื่อนไข ซึ่ง กอ.รมน.ภาคที่ 4 ได้สั่งการให้กำลังทหารตำรวจ ปกครอง และอื่นๆ ป้องกันเหตุร้ายในช่วงเดือดเมษายนอย่างเต็มที่แล้ว
วันนี้ (6 เม.ย.) กอ.รมน.ภาคที่ 4 ส่วนหน้า ได้สรุปรายงานสถานการณ์การก่อความไม่สงบใน 3 จังหวัด 4 อำเภอ ของจังหวัดชายแดนภาคใต้ ว่า ในรอบเดือนมีนาคม 2551 มีเหตุร้ายเกิดทั้งสิ้น 93 เหตุการณ์ แบ่งเป็นการก่อกวน 10 เหตุการณ์ ทำให้ผู้เสียชีวิต 56 คน บาดเจ็บ 102 คน
พื้นที่เกิดเหตุมากที่สุด ได้แก่ จ.ปัตตานี 35 เหตุการณ์ จ.นราธิวาส 29 เหตุการณ์ จ.ยะลา 17 เหตุการณ์ และ จ.สงขลา 2 เหตุการณ์ ผู้เสียชีวิตเป็นราษฏร 32 ราย บาดเจ็บ 59 ราย ทหาร ทหารพราน และ อส. บาดเจ็บ 27 ราย ตำรวจเสียชีวิต 5 ราย นักการเมืองท้องถิ่น 2 ราย ผู้นำท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ตาย 3 เจ็บ 2 เจ้าหน้าที่ดับเพลิง ตาย 1 เจ็บ 4 อส. ชรบ ตาย 6 ผู้ก่อความไม่สงบ ถูกยิงตาย 7 คน
โดยมีการสรุปสถานการณ์มีแนวโน้ม ว่า กลุ่มผู้ก่อความไม่สงบยังพยายามก่อเหตุอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในห้วงเดือน เม.ย.ซึ่งเป็นช่วงที่สับเปลี่ยนกำลัง ทหาร รวมทั้งในทุกอำเภอ จะมีการคัดเลือกทหารประจำปี 2551
นอกจากนั้น ในวันที่ 10 เม.ย.ซึ่งเป็นวันครบรอบการสถาปนาขบวนการบีอาร์เอ็น คองเกรส วันที่ 12-16 เม.ย.เป็นวันหยุดเทศกาลสงกรานต์ วันที่ 28 เม.ย.เป็นวันครบรอบ 4 ปี เหตุร้ายที่มัสยัดกรือเซะ และรอบรอบ 60 ปี ของเหตุการณ์ขบถดุซงญอ
มีรายงานข่าวจากหน่วยข่าวในพื้นที่ ว่า มีความเคลื่อนไหวของแกนนำ และแนวร่วมในพื้นที่อย่างต่อเนื่องในพื้นที่ 3 จังหวัด 4 อำเภอมีการขนย้าย ลำเลียงอาวุธ วัถตุระเบิดที่ประกอบแล้ว ให้กับสมาชิก แนวร่วม เพื่อใช้ก่อเหตุร้าย โดยเฉพาะในเขตชุมชนเมืองในพื้นที่ 3 จังหวัด พื้นที่ จ.สงขลา
นอกจากนั้น ยังมีการปลุกระดมราษฎรให้เกลียดชัง และชุมนุมกดดันเจ้าหน้าที่ มีการดึงกลุ่มนักศึกษาทั้งจากส่วนกลางและในพื้นที่เข้ามาเกี่ยวข้อง โดยนำเอากรณีการเสียชีวิตของ นายยะพา กาเซ็ง โต๊ะอิหม่ามบ้านกอตอ อ.รือเสาะ จ.นราธิวาส มาเป็นเงื่อนไข ซึ่ง กอ.รมน.ภาคที่ 4 ได้สั่งการให้กำลังทหารตำรวจ ปกครอง และอื่นๆ ป้องกันเหตุร้ายในช่วงเดือดเมษายนอย่างเต็มที่แล้ว