ผู้จัดการรายวัน - "สุภัค ศิวะรักษ์"ตัดใจทิ้งเก้าอี้กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหารธนาคารทหารไทย พร้อมผู้2ผู้บริหาร "ไกรทิพย์ ไกรฤกษ์"และ"ธเนศ ภู่ตระกูล" เปิดใจคิดเรื่องลาออกตั้งแต่ปีก่อน แต่ต้องทำภารกิจใหญ่ให้สำเร็จ ทั้งเพิ่มทุนและดึงกลุ่มไอเอ็นจีเข้าร่วมทุนเรียบร้อยตามเป้าแล้ว จึงลาออก
รายงานข่าวจากธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) หรือ TMB แจ้งว่า เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2551 นายสุภัค ศิวะรักษ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหารของธนาคาร พร้อมด้วยนายไกรทิพย์ ไกรฤกษ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านปฏิบัติการ และนายธเนศ ภู่ตระกูล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านการเงิน ได้ยื่นหนังสือลาออกจากตำแหน่งต่อธนาคาร
นายสุภัค ศิวะรักษ์ ได้กล่าวว่า ตนได้พิจารณาถึงการลาออกจากตำแหน่งตั้งแต่ปีกลาย หากแต่ได้ตระหนักว่าผมและผู้บริหารระดับสูง ยังต้องช่วยดูแลสถานะและความมั่นคงของธนาคารในช่วงการเพิ่มทุน ซึ่งอยู่ภายใต้ภาวะการณ์ที่ยุ่งยาก โดยในช่วง 4 เดือนที่ผ่านมา การดำเนินการต่างๆ ได้ผ่านไปด้วยดี ทั้งความสำเร็จในการเพิ่มทุน มีกรรมการใหม่ๆเข้ามาสานต่อการเปลี่ยนแปลงต่างๆ โดยมีกรรมการท่านเดิม ช่วยแนะนำและให้ข้อคิดเห็น ทำให้ขณะนี้ คณะกรรมการธนาคารพร้อมที่จะนำธนาคารก้าวไปข้างหน้า ยิ่งกว่านั้น ไอเอ็นจี (ING) ก็เริ่มการเป็นพันธมิตรทางธุรกิจกับธนาคารอย่างเต็มตัว รวมทั้งการสนับสนุนการปฏิบัติงานในด้านต่างๆ การดำเนินการต่างๆ ได้ลุล่วงตามเป้าหมายและตามระยะเวลาที่ได้ตั้งใจไว้ตั้งแต่ปีกลายโดยครบถ้วน
“เมื่อเสร็จสิ้นแล้ว ผมและผู้บริหารระดับสูงจึงได้ยื่นหนังสือลาออก และขอขอบคุณคณะกรรมการที่ได้ให้การสนับสนุนเรามาโดยตลอด และหวังว่าธนาคารจะประสบความสำเร็จทุกๆ ด้านในอนาคต”นายสุภัค กล่าว
ด้าน นายสถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ ประธานกรรมการธนาคาร กล่าวว่า ตนขอขอบคุณ นายสุภัคและคณะผู้บริหารที่ประสบความสำเร็จในการบริหารธนาคารภายหลังการรวมกิจการกับบรรษัทเงินทุนอุตสากรรมแห่งประเทศไทย(หรือ ชื่อเดิม IFCT) และธนาคารดีบีเอสไทยทนุ ซึ่งเป็นช่วงที่ธนาคารต้องดำเนินธุรกิจภายใต้ภาวะการณ์ที่ยากลำบาก
"นายสุภัคและคณะผู้บริหาร ได้วางรากฐานที่มีความแข็งแกร่งให้แก่ธนาคาร ไม่ว่าด้วยความสำเร็จจากการเพิ่มทุน หรือการวางแนวทางการบริหารในด้านอื่นๆ ก็ตาม ซึ่งจะเป็นปัจจัยสำคัญที่เสริมสร้างและนำธนาคารให้ก้าวหน้าเติบโตต่อไป"นายสถิตย์ กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ผ่านมา มีกระแสข่าวการลาออกหรือปลดนายสุภัค ศิวะรักษ์ จากตำแหน่งดังกล่าว ซึ่งเริ่มเห็นความเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่กลุ่มไอเอ็นจีได้เข้ามาถือหุ้นธนาคาร จำนวน 30.1% จากการเพิ่มทุนจำนวน 35,000 ล้านบาทเสร็จสิ้น ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากผลการดำเนินงานของธนาคารในปี 2550 ประสบผลขาดทุนจำนวน 43,657 ล้านบาท ขณะที่ยอดขาดทุนสะสมของธนาคาร ณ สิ้นไตรมาส 3 อยู่ที่ประมาณ 80,000 ล้านบาท และหลังจากเพิ่มทุนแล้ว ธนาคารต้องตั้งสำรองเพิ่มอีก 25,000 ล้านบาทในช่วงไตรมาส 4/50 ทำให้ในปีที่ผ่านมา ธนาคารมีขาดทุนสะสมเพิ่มเป็น 1 แสนล้านบาท ประกอบกับ กลุ่มผู้ถือหุ้นใหม่คือ ไอเอ็นจี ยังต้องการเปลี่ยนแปลงการดำเนินงาน เพื่อให้มีความเกื้อหนุนกับธุรกิจหลักของตนได้แก่ธุรกิจและจัดการกองทุน จึงคาดว่า น่าจะมีการปรับเปลี่ยนตัวผู้บริหารในตำแหน่งสำคัญ
โดยผู้บริหารตำแหน่งสำคัญแรกที่ได้ลาออกภายหลังกระบวนการเพิ่มทุนเสร็จสิ้นในช่วงสิ้นปี 2550 คือ นายสมใจนึก เองตระกูล ประธานคณะกรรมการ ธนาคารทหารไทย ได้ยื่นลาออกเมื่อวันที่ 28 มการาคม 2551 และมีผลวันที่ 31 มกราคม 2551 โดยให้เหตุผลว่า ได้ดำเนินการเรื่องเพิ่มทุนได้เสร็จสิ้นแล้ว โดยได้มอบหมายให้นายสถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธ์ รองปลัดกระทรวงการคลัง รักษาการในตำแหน่งประธาน
สำหรับ ผู้ที่จะมาดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ แทนนายสุภัคนั้น ได้มีการคาดการณ์ว่าจะเป็นนายบุญทักษ์ หวังเจริญ อดีตรองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย ที่ได้ลาออกจากตำแหน่งมาในช่วงปลายปี 2550 มาดำรงตำแหน่ง เนื่องจากมีประสบการณ์ด้านธนาคารพาณิชย์มานาน รวมถึง นายขรรค์ ประจวบเหมาะ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.)แต่นายขรรค์ได้ปฏิเสธข่าวดังกล่าว
อนึ่ง ธนาคารทหารไทยเป็นธนาคารพาณิชย์ไทยที่มีขนาดใหญ่เป็นลำดับที่ 6 โดยในปีที่ผ่านมา ธนาคารได้ประสบความสำเร็จในการเพิ่มทุนจำนวน 37,600 ล้านบาท โดยการสนับสนุนของผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ซึ่งได้แก่ กระทรวงการคลัง และกลุ่มไอเอ็นจี (ING) โดยปัจจุบันกระทรวงการคลัง ถือหุ้นในธนาคารทหารไทยประมาณ 26% ในขณะที่กลุ่มไอเอ็นจี (ING) ถือหุ้นที่มีสิทธิในการออกเสียงประมาณ 25.1% และหุ้นที่ไม่มีสิทธิออกเสียงประมาณ 4.9 %
รายงานข่าวจากธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) หรือ TMB แจ้งว่า เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2551 นายสุภัค ศิวะรักษ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหารของธนาคาร พร้อมด้วยนายไกรทิพย์ ไกรฤกษ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านปฏิบัติการ และนายธเนศ ภู่ตระกูล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านการเงิน ได้ยื่นหนังสือลาออกจากตำแหน่งต่อธนาคาร
นายสุภัค ศิวะรักษ์ ได้กล่าวว่า ตนได้พิจารณาถึงการลาออกจากตำแหน่งตั้งแต่ปีกลาย หากแต่ได้ตระหนักว่าผมและผู้บริหารระดับสูง ยังต้องช่วยดูแลสถานะและความมั่นคงของธนาคารในช่วงการเพิ่มทุน ซึ่งอยู่ภายใต้ภาวะการณ์ที่ยุ่งยาก โดยในช่วง 4 เดือนที่ผ่านมา การดำเนินการต่างๆ ได้ผ่านไปด้วยดี ทั้งความสำเร็จในการเพิ่มทุน มีกรรมการใหม่ๆเข้ามาสานต่อการเปลี่ยนแปลงต่างๆ โดยมีกรรมการท่านเดิม ช่วยแนะนำและให้ข้อคิดเห็น ทำให้ขณะนี้ คณะกรรมการธนาคารพร้อมที่จะนำธนาคารก้าวไปข้างหน้า ยิ่งกว่านั้น ไอเอ็นจี (ING) ก็เริ่มการเป็นพันธมิตรทางธุรกิจกับธนาคารอย่างเต็มตัว รวมทั้งการสนับสนุนการปฏิบัติงานในด้านต่างๆ การดำเนินการต่างๆ ได้ลุล่วงตามเป้าหมายและตามระยะเวลาที่ได้ตั้งใจไว้ตั้งแต่ปีกลายโดยครบถ้วน
“เมื่อเสร็จสิ้นแล้ว ผมและผู้บริหารระดับสูงจึงได้ยื่นหนังสือลาออก และขอขอบคุณคณะกรรมการที่ได้ให้การสนับสนุนเรามาโดยตลอด และหวังว่าธนาคารจะประสบความสำเร็จทุกๆ ด้านในอนาคต”นายสุภัค กล่าว
ด้าน นายสถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ ประธานกรรมการธนาคาร กล่าวว่า ตนขอขอบคุณ นายสุภัคและคณะผู้บริหารที่ประสบความสำเร็จในการบริหารธนาคารภายหลังการรวมกิจการกับบรรษัทเงินทุนอุตสากรรมแห่งประเทศไทย(หรือ ชื่อเดิม IFCT) และธนาคารดีบีเอสไทยทนุ ซึ่งเป็นช่วงที่ธนาคารต้องดำเนินธุรกิจภายใต้ภาวะการณ์ที่ยากลำบาก
"นายสุภัคและคณะผู้บริหาร ได้วางรากฐานที่มีความแข็งแกร่งให้แก่ธนาคาร ไม่ว่าด้วยความสำเร็จจากการเพิ่มทุน หรือการวางแนวทางการบริหารในด้านอื่นๆ ก็ตาม ซึ่งจะเป็นปัจจัยสำคัญที่เสริมสร้างและนำธนาคารให้ก้าวหน้าเติบโตต่อไป"นายสถิตย์ กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ผ่านมา มีกระแสข่าวการลาออกหรือปลดนายสุภัค ศิวะรักษ์ จากตำแหน่งดังกล่าว ซึ่งเริ่มเห็นความเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่กลุ่มไอเอ็นจีได้เข้ามาถือหุ้นธนาคาร จำนวน 30.1% จากการเพิ่มทุนจำนวน 35,000 ล้านบาทเสร็จสิ้น ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากผลการดำเนินงานของธนาคารในปี 2550 ประสบผลขาดทุนจำนวน 43,657 ล้านบาท ขณะที่ยอดขาดทุนสะสมของธนาคาร ณ สิ้นไตรมาส 3 อยู่ที่ประมาณ 80,000 ล้านบาท และหลังจากเพิ่มทุนแล้ว ธนาคารต้องตั้งสำรองเพิ่มอีก 25,000 ล้านบาทในช่วงไตรมาส 4/50 ทำให้ในปีที่ผ่านมา ธนาคารมีขาดทุนสะสมเพิ่มเป็น 1 แสนล้านบาท ประกอบกับ กลุ่มผู้ถือหุ้นใหม่คือ ไอเอ็นจี ยังต้องการเปลี่ยนแปลงการดำเนินงาน เพื่อให้มีความเกื้อหนุนกับธุรกิจหลักของตนได้แก่ธุรกิจและจัดการกองทุน จึงคาดว่า น่าจะมีการปรับเปลี่ยนตัวผู้บริหารในตำแหน่งสำคัญ
โดยผู้บริหารตำแหน่งสำคัญแรกที่ได้ลาออกภายหลังกระบวนการเพิ่มทุนเสร็จสิ้นในช่วงสิ้นปี 2550 คือ นายสมใจนึก เองตระกูล ประธานคณะกรรมการ ธนาคารทหารไทย ได้ยื่นลาออกเมื่อวันที่ 28 มการาคม 2551 และมีผลวันที่ 31 มกราคม 2551 โดยให้เหตุผลว่า ได้ดำเนินการเรื่องเพิ่มทุนได้เสร็จสิ้นแล้ว โดยได้มอบหมายให้นายสถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธ์ รองปลัดกระทรวงการคลัง รักษาการในตำแหน่งประธาน
สำหรับ ผู้ที่จะมาดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ แทนนายสุภัคนั้น ได้มีการคาดการณ์ว่าจะเป็นนายบุญทักษ์ หวังเจริญ อดีตรองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย ที่ได้ลาออกจากตำแหน่งมาในช่วงปลายปี 2550 มาดำรงตำแหน่ง เนื่องจากมีประสบการณ์ด้านธนาคารพาณิชย์มานาน รวมถึง นายขรรค์ ประจวบเหมาะ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.)แต่นายขรรค์ได้ปฏิเสธข่าวดังกล่าว
อนึ่ง ธนาคารทหารไทยเป็นธนาคารพาณิชย์ไทยที่มีขนาดใหญ่เป็นลำดับที่ 6 โดยในปีที่ผ่านมา ธนาคารได้ประสบความสำเร็จในการเพิ่มทุนจำนวน 37,600 ล้านบาท โดยการสนับสนุนของผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ซึ่งได้แก่ กระทรวงการคลัง และกลุ่มไอเอ็นจี (ING) โดยปัจจุบันกระทรวงการคลัง ถือหุ้นในธนาคารทหารไทยประมาณ 26% ในขณะที่กลุ่มไอเอ็นจี (ING) ถือหุ้นที่มีสิทธิในการออกเสียงประมาณ 25.1% และหุ้นที่ไม่มีสิทธิออกเสียงประมาณ 4.9 %