รอยเตอร์ - บีบีซี เวิลด์เซอร์วิส เผยผลสำรวจภาพลักษณ์ประเทศทั่วโลกล่าสุด ระบุสหรัฐฯ ในสายตาคนภายนอกประเทศมีแนวโน้มดีขึ้นหลังจากตกต่ำมานานหลายปี แต่โดยรวมก็ยังติดลบมากกว่าสหภาพยุโรป บราซิล จีน อินเดีย และรัสเซีย ขณะที่อิหร่านรั้งท้ายถูกมองในแง่ลบจากกรณีนิวเคลียร์
การสำรวจดังกล่าวจัดทำขึ้นในประเทศต่างๆ 34 ประเทศทั่วโลก โดยผลสำรวจในปีนี้พบว่า คะแนนทัศนคติในแง่บวกต่อสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนราว 4 เปอร์เซ็นต์ ทั้งนี้ สหรัฐฯ มีคะแนนทัศนคติในแง่บวกอยู่ที่ราว 35 เปอร์เซ็นต์ เปรียบเทียบกับคะแนนทัศนคติในแง่ลบที่ราว 47 เปอร์เซ็นต์
ในกลุ่มประเทศที่มีการจัดทำการสำรวจต่อเนื่องกันสี่ปี ทัศนคติในแง่บวกต่อสหรัฐฯ อยู่ที่ราว 32 เปอร์เซ็นต์ของประชากร เปรียบเทียบกับ 28 เปอร์เซ็นต์ในการสำรวจเมื่อปีที่แล้ว
ภาพลักษณ์ของสหรัฐฯ นั้นตกต่ำลงทั่วโลกนับแต่กรณีบุกอิรักในปี 2003 แต่รัฐบาลของประธานาธิบดีบุชก็ได้พยายามกู้สถานการณ์ด้วยการจัดตั้งหน่วยการทูตเพื่อสาธารณะขึ้นในกระทรวงการต่างประเทศ
อย่างไรก็ตาม พวกผู้จัดทำการสำรวจในโครงการดังกล่าวให้กับบีบีซี เวิลด์ เซอร์วิส คาดว่าการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในปลายปีนี้คงจะเป็นสาเหตุที่ทำให้ทัศนคติต่อสหรัฐฯ ปรับเปลี่ยนไปจากเดิม
“เป็นไปได้ว่า การเลือกตั้งประธานาธิบดีคนใหม่ของสหรัฐฯ ที่กำลังจะมีขึ้น ทำให้ผู้คนมีมุมมองต่อสหรัฐฯ เปลี่ยนไปโดยหวังว่ารัฐบาลชุดใหม่จะเลิกใช้นโยบายต่างประเทศแบบเดิม ๆ ที่ไม่ได้รับการยอมรับเอาเสียเลยในโลก” สตีเฟน คัลล์ ผู้อำนวยการโครงการว่าด้วยทัศนคติต่อนโยบายต่างประเทศ แห่งมหาวิทยาลัยแมรีแลนด์ กล่าว
มุมมองแง่ลบยังสูงลิ่ว
แม้ว่าภาพลักษณ์ของสหรัฐฯ จะค่อนข้างดีขึ้นกว่าเดิมเป็นครั้งแรกในรอบสี่ปี แต่ความเห็นสาธารณะต่อยักษ์ใหญ่รายนี้ก็ยังติดลบโดยมีสัดส่วนคะแนนในแง่ลบอยู่ที่ราว 47 เปอร์เซ็นต์ เปรียบเทียบกับ 52 เปอร์เซ็นต์เมื่อปีที่แล้ว
ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับสหภาพยุโรปที่มีสัดส่วนทัศนคติในแง่ดีอยู่ที่ 52 เปอร์เซ็นต์ บราซิล 44 เปอร์เซ็นต์ จีน 47 เปอร์เซ็นต์ อินเดีย 42 เปอร์เซ็นต์ และรัสเซีย 35 เปอร์เซ็นต์ สหรัฐฯ ยังจัดว่ามีภาพลักษณ์ดีกว่าเกาหลีเหนือ แต่คะแนนในแง่ลบก็สูงกว่าเช่นกัน
ประเทศที่มีมุมมองเชิงบวกต่ออิทธิพลของสหรัฐฯ ในเวทีโลก มีเคนยา ฟิลิปปินส์ อิสราเอล ไนจีเรีย กานา และอเมริกากลาง โดยกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบแบบสำรวจมองสหรัฐฯ ในแง่ดี
ขณะเดียวกันประเทศที่มีมุมมองต่อสหรัฐฯ ในแง่ดีในสัดส่วนต่ำที่สุด ได้แก่ เม็กซิโก อาร์เจนตินา อียิปต์ อินเดีย และรัสเซีย โดยมีผู้ตอบแบบสำรวจไม่ถึง 20 เปอร์เซ็นต์ที่มองสหรัฐฯ ในแง่ดี
ประเทศที่มีมุมมองเชิงลบอย่างยิ่งต่อสหรัฐฯ ได้แก่ ตุรกี และอียิปต์ โดยมีผู้แสดงความคิดเห็นว่ามีความรู้สึกไม่ดีกับอิทธิพลของสหรัฐฯสูงถึง 73 เปอร์เซ็นต์ ตามมาด้วยเยอรมนี 72 เปอร์เซ็นต์ เลบานอน 67 เปอร์เซ็นต์ แคนาดา 62 เปอร์เซ็นต์ ออสเตรเลีย 58 เปอร์เซ็นต์ และอาร์เจนตินากับเม็กซิโก 56 เปอร์เซ็นต์เท่ากัน
ส่วนประเทศที่ติดอันดับรั้งท้ายสุดใน 14 ประเทศจากการสำรวจของบีบีซี เวิลด์ เซอร์วิสคืออิหร่าน โดยมีเพียงราว 20 เปอร์เซ็นต์ที่มองอิทธิพลของอิหร่านในเวทีโลกในแง่บวก ในขณะที่ 54 เปอร์เซ็นต์มองอิทธิพลของอิหร่านในเชิงลบที่สุด
พวกผู้ดำเนินการสำรวจระบุว่าแผนการขยายการผลิตนิวเคลียร์ของอิหร่านคือสาเหตุที่ทำให้ผลการจัดอันดับออกมาในเชิงลบ และที่ผ่านมาทั้งสหรัฐฯ และประเทศในยุโรปต่างหวาดกลัวว่าอิหร่านต้องการเพิ่มความเข้มข้นแร่ยูเรเนียมเพื่อนำไปสร้างอาวุธนิวเคลียร์ แต่รัฐบาลเตหะรานก็ยืนกรานว่าแผนการดังกล่าวมีจุดประสงค์ทางด้านพลังงานเพื่อสันติ
การสำรวจดังกล่าวจัดทำขึ้นในประเทศต่างๆ 34 ประเทศทั่วโลก โดยผลสำรวจในปีนี้พบว่า คะแนนทัศนคติในแง่บวกต่อสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนราว 4 เปอร์เซ็นต์ ทั้งนี้ สหรัฐฯ มีคะแนนทัศนคติในแง่บวกอยู่ที่ราว 35 เปอร์เซ็นต์ เปรียบเทียบกับคะแนนทัศนคติในแง่ลบที่ราว 47 เปอร์เซ็นต์
ในกลุ่มประเทศที่มีการจัดทำการสำรวจต่อเนื่องกันสี่ปี ทัศนคติในแง่บวกต่อสหรัฐฯ อยู่ที่ราว 32 เปอร์เซ็นต์ของประชากร เปรียบเทียบกับ 28 เปอร์เซ็นต์ในการสำรวจเมื่อปีที่แล้ว
ภาพลักษณ์ของสหรัฐฯ นั้นตกต่ำลงทั่วโลกนับแต่กรณีบุกอิรักในปี 2003 แต่รัฐบาลของประธานาธิบดีบุชก็ได้พยายามกู้สถานการณ์ด้วยการจัดตั้งหน่วยการทูตเพื่อสาธารณะขึ้นในกระทรวงการต่างประเทศ
อย่างไรก็ตาม พวกผู้จัดทำการสำรวจในโครงการดังกล่าวให้กับบีบีซี เวิลด์ เซอร์วิส คาดว่าการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในปลายปีนี้คงจะเป็นสาเหตุที่ทำให้ทัศนคติต่อสหรัฐฯ ปรับเปลี่ยนไปจากเดิม
“เป็นไปได้ว่า การเลือกตั้งประธานาธิบดีคนใหม่ของสหรัฐฯ ที่กำลังจะมีขึ้น ทำให้ผู้คนมีมุมมองต่อสหรัฐฯ เปลี่ยนไปโดยหวังว่ารัฐบาลชุดใหม่จะเลิกใช้นโยบายต่างประเทศแบบเดิม ๆ ที่ไม่ได้รับการยอมรับเอาเสียเลยในโลก” สตีเฟน คัลล์ ผู้อำนวยการโครงการว่าด้วยทัศนคติต่อนโยบายต่างประเทศ แห่งมหาวิทยาลัยแมรีแลนด์ กล่าว
มุมมองแง่ลบยังสูงลิ่ว
แม้ว่าภาพลักษณ์ของสหรัฐฯ จะค่อนข้างดีขึ้นกว่าเดิมเป็นครั้งแรกในรอบสี่ปี แต่ความเห็นสาธารณะต่อยักษ์ใหญ่รายนี้ก็ยังติดลบโดยมีสัดส่วนคะแนนในแง่ลบอยู่ที่ราว 47 เปอร์เซ็นต์ เปรียบเทียบกับ 52 เปอร์เซ็นต์เมื่อปีที่แล้ว
ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับสหภาพยุโรปที่มีสัดส่วนทัศนคติในแง่ดีอยู่ที่ 52 เปอร์เซ็นต์ บราซิล 44 เปอร์เซ็นต์ จีน 47 เปอร์เซ็นต์ อินเดีย 42 เปอร์เซ็นต์ และรัสเซีย 35 เปอร์เซ็นต์ สหรัฐฯ ยังจัดว่ามีภาพลักษณ์ดีกว่าเกาหลีเหนือ แต่คะแนนในแง่ลบก็สูงกว่าเช่นกัน
ประเทศที่มีมุมมองเชิงบวกต่ออิทธิพลของสหรัฐฯ ในเวทีโลก มีเคนยา ฟิลิปปินส์ อิสราเอล ไนจีเรีย กานา และอเมริกากลาง โดยกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบแบบสำรวจมองสหรัฐฯ ในแง่ดี
ขณะเดียวกันประเทศที่มีมุมมองต่อสหรัฐฯ ในแง่ดีในสัดส่วนต่ำที่สุด ได้แก่ เม็กซิโก อาร์เจนตินา อียิปต์ อินเดีย และรัสเซีย โดยมีผู้ตอบแบบสำรวจไม่ถึง 20 เปอร์เซ็นต์ที่มองสหรัฐฯ ในแง่ดี
ประเทศที่มีมุมมองเชิงลบอย่างยิ่งต่อสหรัฐฯ ได้แก่ ตุรกี และอียิปต์ โดยมีผู้แสดงความคิดเห็นว่ามีความรู้สึกไม่ดีกับอิทธิพลของสหรัฐฯสูงถึง 73 เปอร์เซ็นต์ ตามมาด้วยเยอรมนี 72 เปอร์เซ็นต์ เลบานอน 67 เปอร์เซ็นต์ แคนาดา 62 เปอร์เซ็นต์ ออสเตรเลีย 58 เปอร์เซ็นต์ และอาร์เจนตินากับเม็กซิโก 56 เปอร์เซ็นต์เท่ากัน
ส่วนประเทศที่ติดอันดับรั้งท้ายสุดใน 14 ประเทศจากการสำรวจของบีบีซี เวิลด์ เซอร์วิสคืออิหร่าน โดยมีเพียงราว 20 เปอร์เซ็นต์ที่มองอิทธิพลของอิหร่านในเวทีโลกในแง่บวก ในขณะที่ 54 เปอร์เซ็นต์มองอิทธิพลของอิหร่านในเชิงลบที่สุด
พวกผู้ดำเนินการสำรวจระบุว่าแผนการขยายการผลิตนิวเคลียร์ของอิหร่านคือสาเหตุที่ทำให้ผลการจัดอันดับออกมาในเชิงลบ และที่ผ่านมาทั้งสหรัฐฯ และประเทศในยุโรปต่างหวาดกลัวว่าอิหร่านต้องการเพิ่มความเข้มข้นแร่ยูเรเนียมเพื่อนำไปสร้างอาวุธนิวเคลียร์ แต่รัฐบาลเตหะรานก็ยืนกรานว่าแผนการดังกล่าวมีจุดประสงค์ทางด้านพลังงานเพื่อสันติ