วิกฤติแก้รัฐธรรมนูญ ทำรัฐบาลหมักปั่นป่วน 51 ส.ส.อีสาน พปช.ออกโรงค้าน แฉ กก.บริหารพรรคกลัวตาย ประธานวุฒิฯ ย้ำต้องฟังเสียงประชาชน ควรใช้อย่างน้อย 1 ปี ก่อนแก้ไข ส.ว.เตรียมตั้ง กมธ.ศึกษาความจำเป็นในการแก้ไข "เนวิน" สั่งล่าชื่อประชาชนลุย "สมัคร" ถอยกรูดไม่แก้ ม.309 ขณะที่เวทีสัมมนา "ยามเฝ้าแผ่นดินภาคพิเศษ" เย็นวันนี้ มีเซอร์ไพร้ส์ 2 ศิลปินแห่งชาติและกวีซีไรต์ "อังคาร-เนาวรัตน์" ผนึกกำลังพันธมิตรฯ ขึ้นร่ายบทกวี "ตั้ว-ศรัณยู" ร่วมขับขานบทเพลงเคียงคู่ "หงา คาราวาน" ด้าน "เป็ดเหลิม" หยามถ้าไม่จ้าง ไม่มีคนมาร่วม
หลังจากคณะทำงานพรรคร่วมรัฐบาล ได้มีการหารือกันถึงเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญแล้วสรุปความเห็นในเบื้องต้นว่า จะมีการแก้ไขใน 4 มาตรา ได้แก่ มาตรา 190 เกี่ยวกับการทำสัญญาใดๆ ระหว่างประเทศ ต้องให้รับฟังความคิดเห็นจากประชาชน มาตรา 237 เกี่ยวกับการยุบพรรค มาตรา 266 เกี่ยวกับการห้ามไม่ให้ส.ส.-ส.ว.ใช้สถานะ หรือตำแหน่งก้าวก่าย หรือแทรกแซงเพื่อประโยชน์ของตัวเอง ของผู้อื่นหรือพรรคการเมือง ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม และมาตรา 309 เกี่ยวกับประกาศ และคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองฯรวมทั้งการนิรโทษกรรม คมช.
51 ส.ส.อีสาน พปช.ค้านแก้ รธน.
เมื่อวานนี้ (27 มี.ค.) นายปัญญา ศรีปัญญา ส.ส.ขอนแก่น พรรคพลังประชาชน เปิดเผยว่า หลังจากการประชุมพรรค เมื่อวันอังคารที่ 25 มี.ค.ที่ ผ่านมา ซึ่งมีการเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญ ปรากฏว่า มีเสียงแตกเป็นสองส่วน ส่วนหนึ่งต้องการให้มีการแก้ไข และอีกส่วนไม่ต้องการให้แก้ไข โดยจากการหารือกันระหว่าง ส.ส.อีสานในพรรคพลังประชาชน มีประมาณ 51 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นส.ส.หน้าใหม่ เห็นว่าไม่ควรเร่งรีบแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพราะเชื่อว่าจะยังไม่มีการยุบพรรคในเวลานี้ แต่ควรพิจารณาหาเหตุที่จะนำไปสู่การยุบพรรค คือ กรณีคดีที่ นายยงยุทธ ติยะไพรัช ที่ศาลรับคำร้องให้ใบแดงของ กกต. โดยทีมกฎหมายของพรรคควรช่วยกันดูแล อย่าเพิ่งวิตกกับการพิจารณาในชั้นศาลว่าจะไม่มีความยุติธรรม การพิจารณาอาจไม่ถึงขั้นยุบพรรคก็ได้ และยังต้องใช้เวลาอีกนานกว่าจะมีการพิจารณายุบพรรค รวมทั้งจะต้องรอดูผลคดียุบพรรคชาติไทย และพรรคมัชฌิมาธิปไตย ด้วย
นายปัญญากล่าวอีกว่า ชาวบ้านในพื้นที่ส่วนใหญ่ไม่ค่อยเห็นด้วยที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพราะต้องการให้ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร กลับมาต่อสู้คดี และแก้ข้อกล่าวหา และยังอยากให้โอกาสรัฐบาลในการทำงาน
วันนี้ราคาข้าวเปลือกก็ดีขึ้น ถูกใจชาวบ้าน และยังมีการอัดฉีดงบเอสเอ็มแอลลงไปอีก จึงไม่อยากให้เร่งรีบแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพราะเหตุยังไม่เกิด โดยเฉพาะคดียุบพรรค หากเกิดจริง ส.ส.ก็ยังอยู่ แค่ต้องหาพรรคสังกัดใหม่เท่านั้น
"คนที่เคลื่อนไหวแก้ไขรัฐธรรมนูญ ส่วนใหญ่อยู่ในกรรมการบริหารพรรค เราไม่อยากให้วิตกเกินไป เพราะมีมติให้ไปศึกษาว่า จะแก้ไขมาตราใดบ้าง ยังไม่ใช่มติให้แก้ไข ซึ่งวันนี้ถูกมองว่าฝ่ายการเมืองแก้เพื่อตัวเอง หนียุบพรรค ดังนั้นหากจะทำอะไรก็ต้องตอบประชาชนได้ ควรสนใจต่อการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนและปัญหาปากท้องของประชาชนจะดีกว่า" นายปัญญากล่าว
เสนอร่างแก้ไขต่อสภา 11-12 เม.ย.
ด้าน นายสามารถ แก้วมีชัย ส.ส.เชียงราย พรรคพลังประชาชน ในฐานะโฆษกคณะทำงานพรรคร่วมรัฐบาล เพื่อศึกษาประเด็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญ กล่าวว่า ที่ประชุมได้มีมติให้ตัวแทนแต่ละพรรคไปพิจารณาว่า จะแก้ไขในประเด็นใดบ้าง ก่อนมาแจ้งให้ที่ประชุมทราบในวันที่ 31 มี.ค.นี้ จากนั้นจะส่งให้เจ้าหน้าที่กฤษฎีกาไปดู และในวันที่ 2 เม.ย. จะมีการประชุมอีกครั้ง ก็น่าจะมีข้อสรุปว่าจะแก้ไขประเด็นใดบ้าง
ส่วน กรณีที่นายปัญญา ศรีปัญญา ระบุว่ามี 51 ส.ส. อีสาน ของพรรคไม่เห็นด้วยที่จะแก้รัฐธรรมนูญนั้น เรื่องนี้หลังเป็นข่าวออกมา ก็มีส.ส.อีสานหลายคน มาสอบถาม นายชัย ชิดชอบ ในฐานะประธานวิปรัฐบาล โดยนายชัย บอกว่า มีที่ไหน เมื่อคืน (วันที่ 26 มี.ค.) มีส.ส.อีสานกว่า 100 คน ยังมารับประทานอาหารด้วยกันเลย
"เนวิน" สั่งล่าชื่อประชาชนร่วมแก้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อช่วงหัวค่ำวันที่ 26 มี.ค. ที่ผ่านมา นายเนวิน ชิดชอบ อดีตกรรมการพรรคไทยรักไทย ได้นัด ส.ส.อีสาน พรรคพลังประชาชน ประมาณ 100 คน ไปรับประทานอาหารที่ ร้านบัว ย่านถนนศรีนครินทร์ โดยได้มีการหารือ และประเมินสถานการณ์การเมือง โดยกลุ่มนายเนวิน อ้างว่ามีกลุ่มมือที่มองไม่เห็น และนายทหารที่เกษียณอายุราชการนั่งหัวโต๊ะ ประชุมกันเพื่อที่จะยุบพรรคพลังประชาชน ชาติไทย และมัชฌิมาฯ ให้ได้ ภายใน 3 เดือน
ดังนั้นพวกเราไม่ควรงอมืองอเท้า ต้องลุกขึ้นมาต่อสู้ โดยการเร่งแก้ไขรัฐธรรมนูญให้เสร็จก่อนที่จะมีการยุบพรรค และขอให้ ส.ส. เดินสาย และใช้เครือข่ายจัดสัมมนาในพื้นที่จังหวัดต่างๆ เพื่อทำความเข้าใจกับประชาชน และขอให้รวบรวมรายชื่อให้ได้เขตละ 3-5 พันคน เพื่อเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญ ในนามภาคประชาชนคาดว่าภายใน 2 สัปดาห์จะได้รายชื่อกว่า แสนคน โดยวิธีการนี้จะทำควบคู่กับที่ ส.ส.ทำอยู่ ทั้งนี้ คาดว่าเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญต่อรัฐสภาได้ในวันที่ 11 หรือ 12 เม.ย.นี้
"หมัก" ถอยไม่แก้ ม.309
นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ให้สมัภาษณ์ หลังเดินทางกลับจากการเยือนอินโดนีเซีย อย่างเป็นทางการ ถึงกรณีจะมีการแก้รัฐธรรมนูญ มาตรา 309 ว่า แก้ให้เขาด่าทำไม มาตรา 309 เขาป้องกันพวกปฏิวัติ ก็เขาจบเรื่องไปแล้ว จะไปแก้มันทำไม แก้แล้วมันย้อนหลังได้ไหม พูดขึ้นมาเขาก็หัวเราะแล้ว
เมื่อถามว่า จะไปคุยกับคนในพรรคหรือไม่ เพราะมีบางคนต้องการให้แก้ นายสมัคร กล่าวว่า เขาพูดภาษาไทยเหมือนกับตน ไม่เป็นไรหรอก เป็นคนเหมือนกัน คงพูดกันเข้าใจ ประชุมพรรคที่ผ่านมาสมาชิกก็ไม่กล้าว่าตน ตนก็ไม่กล้าว่า ก็ไม่เป็นไรต่างคนต่างคิด แต่รมว.ต่างประเทศ (นายนพดล ปัทมะ) ยังบอกเลยว่า ไม่เห็นด้วยกับการแก้ มาตรา 309 ตนก็บอกว่าไม่เห็นด้วย แต่ทำไงได้ เขาประชุมกันไปแล้ว ออกความเห็นแล้ว เราจะไปว่าอะไรเขา แต่ต้องค่อยๆพูดกัน เพราะยังไม่ถึงเวลาที่จะแก้ มันต้องไปจัดการรวบหัวรวบหางอะไรกันอีก
ปธ.วุฒิย้ำต้องฟังเสียงประชาชน
นายประสพสุข บุญเดช ประธานวุฒิสภา กล่าวถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญว่า วุฒิสภาไม่ได้เป็นผู้ริเริ่มในการจุดประเด็นนี้ แต่ถ้าเรื่องผ่านมายังวุฒิสภา ก็ต้องมีการประชุมร่วมกันซึ่งถือเป็นเรื่องธรรมดา
ส่วนที่พรรคพลังประชาชน จะมีการเสนอให้มีการแก้บางมาตรา อาทิ มาตรา 237 และ 309 นั้น ก็แล้วแต่ทางรัฐบาลจะแก้ เพราะกฏหมายสามารถใช้บังคับ แก้ไขเปลี่ยนแปลงได้
อย่างไรก็ตาม การจะแก้ไขรัฐธรรมนูญ ต้องอยู่ในกรอบของกฏหมาย ฟังเสียงของประชาชนเป็นหลัก ทั้งนี้ ทั้งประชาชนรวมทั้งและฝ่ายที่จะแก้ ต้องมีวุฒิภาวะดีพอทั้ง 2 ฝ่ายด้วยว่า ประเทศชาติจะได้ หรือเสียประโยชน์อย่างไร
ส่วนที่มี ส.ว.บางคนเสนอให้วุฒิสภาเป็นตัวกลาง เพื่อให้มีการทำประชาพิจารณ์ในเรื่องนี้ นายประสพสุข กล่าวว่า สามารถทำได้ เพราะไม่ถือเป็นเรื่องที่ต้องเสียสตางค์ หรือถ้ามีการเสนอมาเพื่อให้ ส.ว. เป็นตัวกลางทำประชาพิจารณ์จริง ทางส.ว. ก็มีความพร้อม เพราะเป็นกฏหมายที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับประชาชน
"จุดยืนของผมคือว่ารัฐธรรมนูญปี 50 ถือเป็นนวัตรกรรมใหม่ ลองใช้ไปก่อนปีหนึ่ง แต่ถ้าจะมาถามว่าแก้ได้หรือไม่ แก้ก็แก้ได้" ประธานวุฒิสภา กล่าว
แนะให้ผู้ตรวจการฯ เป็นเจ้าภาพ
นายสุรชัย ดนัยตั้งตระกูล อดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญปี 2550 และ ส.ว.สรรหา กล่าวว่าการที่รัฐบาลเตรียมแก้ มาตรา 309 เป็นการตอกย้ำว่า นอกจากรัฐบาลจะแก้รัฐธรรมนูญเพื่อตนเองแล้ว ยังเป็นการแก้เพื่อตอบโต้คมช. ด้วย และการหยิบยกมาตรา 309 ขึ้นมาแบบนี้ จะทำให้สถานการณ์การเมืองตึงเครียดขึ้นมาอีกครั้ง และอาจจะนำไปสู่วิกฤตครั้งใหญ่อีก
นายสุรชัย กล่าวว่า มีประเด็นหนึ่งที่นักฏหมาย และอดีต ส.ส.ร รวมถึงรัฐบาล ลืมไปคือ รัฐธรรมนูญฉบับนี้ ได้หาทางออกในปัญหาของรัฐธรรมนูญ ที่กำหนดหน่วยงานขึ้นมาตรวจสอบรัฐธรรมนูญ และคอยดูแลรัฐธรรมนูญเมื่อมีปัญหา คือ มาตรา 244 (3) ในหมวดผู้ตรวจการแผ่นดิน ที่ระบุว่า ผู้ตรวจการแผ่นดิน มีอำนาจหน้าที่ในการติดตามประเมินผล และจัดทำข้อเสนอแนะในการปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ รวมตลอดถึงข้อพิจารณาเพื่อแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ในกรณีที่เห็นว่าจำเป็น ซึ่งจากรัฐธรรมนูญมาตรานี้ แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนแล้ว่า หน่วยงานที่จะรับเป็นเจ้าภาพในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่รัฐบาล แต่เป็นผู้ตรวจการแผ่นดินต่างหาก ที่มีอำนาจแก้รัฐธรรมนูญ นั่นคือสิ่งที่หลายคนมองข้ามประเด็นนี้ไป
ส.ว.เตรียมตั้ง กมธ.ศึกษาแก้ไข
นายตวง อันทะไชย ส.ว.สรรหา กล่าวว่า ในการประชุมวุฒฺสภา วันนี้ ( 28 มี.ค.) ตนจะเสนอญัตติขอตั้งกรรมมาธิการวิสามัญ ศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยมีความตั้งใจว่า กรรมาธิการชุดนี้ ต้องการบอกให้ประชาชนได้รู้ว่า วุฒิสภามีความเป็นกลาง โดยจะมีประเด็นเกี่ยวกับช่วงระยะเวลา ว่า ถึงเวลาแก้ไขรัฐธรรมนูญหรือไม่ และหากแก้ ต้องแก้เรื่องอะไรบ้าง และต้องการบอกให้สังคมทราบว่า การที่รัฐบาลเร่งแก้ไขรัฐธรรมนูญ เป็นวาระเร่งด่วนนั้น จำเป็นหรือไม่ เพราะตนเห็นว่า ยังมีเรื่องอื่นที่เร่งด่วนกว่า ไม่ว่าจะเป็นปัญหาด้านเศรษฐกิจ สังคม ปัญหาเหล่านี้ควรรีบแก้
"รัฐธรรมนูญ เสมือนศีลของพระ ถ้าพระปฏิบัติผิดศีล ก็ถือว่าอาบัติ เช่น เดียวกับรัฐบาล หากปฏิบัติกฏหมายรัฐธรรมนูญ ก็ผิดที่ตัวเอง และมาตรา 237 เจตนาของผู้ร่างมาตรานี้ เพื่อต้องการให้ กกต.มีบทบาทอำนาจอย่างชัดเจน เพราะที่ผ่านมาจะมีปัญหาการเลือกตั้ง โดยเฉพาะการซื้อสิทธิ์ ขายเสียง ดังนั้นผู้เขียนกฏหมายนี้ จึงยึดเจตนารมณ์ดังกล่าว เพิ่มอำนาจให้ กกต.เพื่อป้องกันการซื้อสิทธิ์ขายเสียง ให้กกต. สามารถจัดการเลือกตั้งอย่างยุติธรรม ไม่ใช่เสือกระดาษ ที่ถูกกล่าวหามาโดยตลอด และหากจะแก้ ต้องไปแก้ในมาตรา 329 ด้วยซ้ำ" นายตวง กล่าว
แนะฟังความเห็นอย่างเป็นระบบ
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร และหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ถ้ามีการนำประเด็นในรัฐธรรมนูญมาแก้ไขเพียง 1-2 มาตรา เพื่อหวังผลทางการเมือง พรรคประชาธิปัตย์ ยืนยันว่าไม่เห็นด้วย และฝ่ายรัฐบาลก็ยังไม่มีข้อยุติถึงประเด็นที่จะแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ดังนั้นทางที่ดีที่สุดคือ การตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญขึ้นมา ตามที่พรรคพลังประชาชนเสนอเป็นญัตติ เพื่อให้ทุกพรรค และคนภายนอกเข้ามาร่วมแสดงความคิดเห็น ทำให้เป็นระบบจะดีกว่า เพราะถ้าพูดกันรายวัน จะยิ่งเกิดความสับสน และเป็นเงื่อนไขสร้างความขัดแย้งในสังคมมากขึ้น
"การที่รัฐบาลยังมีท่าทีที่ปรับเปลี่ยนประเด็นที่จะแก้ไขนั้น ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากกระแสสังคมด้วย และการรีบเร่งทำเรื่องนี้จึงเหมือนไม่มีความชัดเจนว่า เป้าหมายของการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อส่วนรวม คืออะไร นอกจากเป็นการแก้ปัญหาความรู้สึกส่วนตัวว่า ตรงนี้ไม่ชอบ ตรงนี้เป็นปัญหากับตัวเอง และรัฐบาลควรคิดว่า เวลาในขณะนี้ มันใช่เวลาที่จะหยิบเรื่องนี้ขึ้นมามากกว่าการไปแก้ปัญหาเร่งด่วนของประเทศหรือไม่ และการหยิบเรื่องดังกล่าวขึ้นมา เมื่อในที่สุดได้สร้างปัญหาความขัดแย้งในสังคมแล้ว ทำให้การแก้ปัญหาของบ้านเมืองทำได้ยากขึ้นหรือไม่ น่าจะยึดประโยชน์ส่วนรวมนี้เป็นหลัก" นายอภิสิทธิ์กล่าว
ส่วนที่ นายสมัคร สุนทรเวช เคยระบุว่าจะแก้ไขรัฐธรรมนูญในช่วง 3 เดือนสุดท้ายก่อนที่รัฐบาลจะหมดวาระนั้น ตรงนี้ยิ่งฟ้องว่า การคิดเรื่องนี้ไม่ได้เพื่อประโยชน์ส่วนรวม แต่เป็นความพยายามแก้ปัญหาของตัวเอง ทั้งที่กรณีของพรรคพลังประชาชน ยังห่างไกลมาก เพราะกรณีใบแดงของ นายยงยุทธ ติยะไพรัช ยังต้องไปต่อสู้คดีในศาลฎีกา
"สุเทพ" เชื่อพันธมิตรฯ ค้านสุดลิ่ม
นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า การที่รัฐบาลพยายามผลักดันอย่างเร่งด่วนเรื่องแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น คนส่วนใหญ่ในประเทศรู้สึกว่า รัฐบาลพยายามดิ้นรนให้พ้นผิดมากกว่า ดังนั้นกลุ่มพันธมิตรฯ คงไม่เห็นด้วยอย่างแน่นอน
เมื่อถามว่า จะเป็นจุดเริ่มต้นให้ประชาชนออกมาเดินประท้วงในท้องถนนอีกรอบหรือไม่ นายสุเทพ กล่าวว่า ไม่ทราบ แล้วแต่ความรู้สึกของประชาชน ถ้าคนส่วนใหญ่รู้สึกเช่นนั้นมากๆ ก็อาจจะเป็นสาเหตุได้
"อังคาร-เนาวรัตน์"ผนึกพันธมิตรฯ
นายสุริยะใส กตะศิลา ผู้ประสานงานกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เปิดเผยว่า เวทีสัมมนายามเฝ้าแผ่นดินภาคพิเศษ ที่จะมีขึ้นในเย็นวันนี้ (28 มี.ค.) ที่หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นอกจากจะมีการอภิปรายทางวิชาการแล้ว จะมีรายการเซอร์ไพรส์ผู้เข้าร่วมรับฟัง โดยจะมีศิลปินแห่งชาติ และกวีซีไรต์ 2 ท่าน คือ "อังคาร กัลยาณพงศ์" และ"เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์" ขึ้นเวทีร่ายบทกวีสะท้อนสังคม การเมืองของไทย ในช่วงก่อนที่จะมีการแสดงงิ้วธรรมศาสตร์ ตอน "2551 อันธพาลครองเมือง" ช่วงเวลาประมาณ 20.20 น.
นอกจากนั้น ดาราขวัญใจประชาชน "ศรัณยู วงศ์กระจ่าง" ยังจะร่วมขับร้องบทเพลง"กำลังใจ" ในช่วงที่"หงา คาราวาน" แสดงดนตรีเพื่อชีวิต ช่วงเวลา 17.40 น. ด้วย
พันธมิตรฯ ภูมิภาคคึกคัก
สำหรับในส่วนภูมิภาคนั้น ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา เครือข่ายพันธมิตรสงขลา ได้จัดตั้งเวทีขนาดใหญ่ไว้บริเวณหน้าสถานีรถไฟหาดใหญ่ พร้อมทั้งนำแผ่นผ้าเชิญชวนประชาชนไปร่วมชุมนุมในวันนี้ นอกจากเวทีดังกล่าวแล้ว มีรายงานว่า ประชาชนบางส่วนจะเดินทางไปร่วมชุมนุมในกรุงเทพฯ ด้วย ทั้งนี้ เพื่อคัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญของรัฐบาล
ส่วนที่เกาะสมุย แกนนำกลุ่มยามเฝ้าแผ่นดินสมุย อ.เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี เปิดเผยว่า นอกจากจะมีการติดตามทางสถานีโทรทัศน์ เอเอสทีวีแล้ว ขณะนี้สมาชิกบางส่วนได้เดินทางถึงกรุงเทพฯ แล้ว เพื่อเข้าร่วมเวทีใหญ่ที่ ม.ธรรมศาสตร์ อีกบางส่วนจะทยอยเดินทางไปเช้าในวันนี้ โดยสมาชิกทุกคนที่เดินทางมา จะสวมเสื้อสกรีนโลโก้ "ยามเฝ้าแผ่นดินสมุย" เพื่อความเป็นหนึ่งเดียวในการแสดงพลังบริสุทธิ์ร่วมกับ 5 แกนนำพันธมิตรฯ
ส่วนที่ อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช ก็จะมีการตั้งเต้นท์ พร้อมจอโปรเจกเตอร์ ที่บริเวณสถานีรถไฟ เพื่อถ่ายทอดรายการ ยามเฝ้าแผ่นดิน ภาคพิเศษ ด้วย
ที่ จ.ภูเก็ต กลุ่มยามเฝ้าแผ่นดินภูเก็ต จะติดตั้งจอโปรเจกเตอร์ ขนาดใหญ่ที่ บริเวณปลายแหลมสะพานหิน (พื้นที่ว่างฝั่งตรงข้ามศาลเจ้ากิ้วเทียนเก้ง) อ.เมือง จ.ภูเก็ต
เช่นเดียวกับกลุ่มยามเฝ้าแผ่นดิน ที่ จ. ชลบุรี ระยอง จันทบุรี นครสวรรค์ ก็มีการจับกลุ่ม เพื่อดิตตามการถ่ายทอดรายการผ่านทางเคเบิ้ลทีวี และบางส่วนก็ยืนยันจะเดินทางมาที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แน่นอน
"เหลิม" หยามพันธมิตรฯ มาไม่มาก
ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รมว. มหาดไทย กล่าวถึงการสัมมนาของกลุ่มพันธมิตรฯ ในวันนี้ว่า ไม่ทราบว่าจะมีคนมาร่วมจำนวนมากหรือไม่ แต่ถ้าไม่ขนคนมา ก็คงไม่มี เพราะพันธมิตรฯไม่มีใครพูดน่าฟัง พวกนี้ต้องเอาไว้สลายม็อบ พูดแล้วคนกลับบ้านหมด ทั้งนี้ไม่หวั่นว่าจะมีมือที่ 3 มาทำให้เหตุการณ์บานปลาย และตนจะไม่ยุ่งด้วย อยากด่าก็ด่าไป ถ้าผิดกฎหมายก็แจ้งจับ
"ขอถามว่านายสนธิ เคยประโยชน์อะไรให้กับประเทศชาติบ้าง ยกตัวอย่างมาสิ ผมจะชั่วดีถี่ห่าง ก็ยังจับโจรผู้ร้ายมาตลอดชีวิต นายสนธิ ที่ออกมาพูดปาวๆ ได้ทำประโยชน์อะไรที่เป็นคุณูปการให้กับประเทศชาติบ้าง ที่กล่าวหาท่านทักษิณ ไว้ก็เท็จหมด " ร.ต.อ.เฉลิมกล่าว
ร.ต.อ.เฉลิม ยังกล่าวถึงความเคลื่อนไหวของกลุ่มนายประชา ประสพดี ว่า เขาไม่ได้เคลื่อนไหวด่าพรรคการเมือง แต่เขาด่าพวกพันธมิตรฯ เพราะหมั่นไส้ที่มาด่าพรรคเขาทุกวัน แต่ นายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ ร่วมกับคนที่ไม่ได้เป็นม็อบการเมือง ทั้งนี้การกระทำของนายประชา ก็ไม่เกี่ยวข้องกับพรรค ส.ส.เก่งกันทั้งนั้น จะไปห้าม ก็ไม่ได้
"ผมไม่ว่าพรรคประชาธิปัตย์ เพราะทำอะไรก็ผิดอยู่แล้ว ตั้งแต่เรื่องแจกที่ดินสปก.ให้เศรษฐีภูเก็ต ก็ยังลอยหน้าลอยตาอยู่ในสังคมได้ พรรคการเมืองพรรคนี้ ปกติมันต้องลงโทษตัวเองได้แล้ว อย่างนายสุเทพ เทือกสุบรรณ และนายชวน หลีกภัย ควรหยุดเล่นการเมืองได้แล้ว นายสุเทพ และนายชวน มีความรับผิดชอบบ้างหรือไม่ สังคมยังเชื่อถือ ผมไม่แปลกใจกับคนเหล่านี้ เพราะผมไม่ให้ความเชื่อถือมานานแล้ว" รมว.มหาดไทยกล่าว
ตร.เตรียมพร้อมดูแลความสงบ
พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี รอง ผบ.ตร.ประจำ ตร. พร้อมด้วย พล.ต.ท.อัศวิน ขวัญเมือง ผบช.น. เรียกประชุมนายตำรวจระดับ รอง ผบช.น. ผบก.น.1 และตำรวจที่เกี่ยวข้อง เพื่อประเมินสถานการณ์การจัดเสวนา"ยามเฝ้าแผ่นดิน ภาคพิเศษ" ของกลุ่มพันธมิตรฯ ที่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่ง พล.ต.อ.พัชรวาท วงศ์สุวรรณ รักษาราชการแทนผบ.ตร. ได้กำชับดูแลการชุมนุมให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย เบื้องต้นทราบความพร้อมทุกอย่าง ไม่มีอะไรน่าเป็นห่วง
พล.ต.อ.วิเชียร กล่าวว่า การสัมมนาของกลุ่มพันธมิตรฯ จัดในห้องประชุม การดูแลเป็นไปโดยง่าย และในการชุมนุมนี้เป็นสิทธิตามรัฐธรรมนูญที่พึงกระทำโดยไม่ใช้ความรุนแรง ซึ่งเราเชื่อว่าทุกอย่างจะเป็นไปได้ด้วยดี
ทั้งนี้ จะมีการจัดกำลังเจ้าหน้าที่ บก.น.1 และตำรวจจราจร จาก บก.จร. ตั้งด่านตรวจบริเวณแยกผ่านพิภพลีลา ประตูทางเข้าม.ธรรมศาสตร์ ด้านท่าพระจันทร์ และ ท้องสนามหลวง เน้นตรวจสอบรถจักรยานยนต์ที่อาจจะไม่หวังดีเข้ามาก่อความวุ่นวาย รวมถึงตรวจค้นอาวุธต่างๆ ด้วย และจัดกำลังปราบจลาจล จาก บก.ตปพ. อีกจำนวน 150 นาย เตรียมพร้อม ณ ที่ตั้งหากเกิดเหตุการณ์รุนแรงขึ้น
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในช่วงเช้าวันเดียวกัน นายสัมพันธ์ เลิศนุวัฒน์ ส.ส.สัดส่วน กลุ่ม 1 พรรคพลังประชาชน และรองหัวหน้าพรรค เดินทางเข้าพบ พล.ต.ท.อัศวิน ขวัญเมือง ก่อนเข้าประชุม โดยคาดว่า น่าจะปรึกษาหารือเกี่ยวกับการดูแลความเรียบร้อยของการเสวนา “กลุ่มพันธมิตรฯ”
ด้าน พล.ต.ท.วัชรพล ประสารราชกิจ ผู้ช่วย ผบ.ตร. ในฐานะ โฆษก ตร. กล่าวว่า ตร.ได้สั่งการให้ตำรวจนครบาลจัดแผนเตรียมรับมือสถานการณ์ไว้แล้ว โดยมีการจัดกำลังตำรวจทั้งนอก และในเครื่องแบบ ของตำรวจนครบาล บช.ก. และ บช.ส. ดูแลความเรีบร้อย ซึ่งจากรายงานทางการข่าวเบื้องต้น ประเมินว่า กลุ่มพันธมิตรฯ น่าจะมีผู้เข้าร่วมประมาณ 5 พันคน ส่วนกลุ่มประชาชนเพื่อพิทักษ์ประชาธิปไตยไม่เกิน 1 พันคน เชื่อว่าสามารถดูแลสถานการณ์ได้
หลังจากคณะทำงานพรรคร่วมรัฐบาล ได้มีการหารือกันถึงเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญแล้วสรุปความเห็นในเบื้องต้นว่า จะมีการแก้ไขใน 4 มาตรา ได้แก่ มาตรา 190 เกี่ยวกับการทำสัญญาใดๆ ระหว่างประเทศ ต้องให้รับฟังความคิดเห็นจากประชาชน มาตรา 237 เกี่ยวกับการยุบพรรค มาตรา 266 เกี่ยวกับการห้ามไม่ให้ส.ส.-ส.ว.ใช้สถานะ หรือตำแหน่งก้าวก่าย หรือแทรกแซงเพื่อประโยชน์ของตัวเอง ของผู้อื่นหรือพรรคการเมือง ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม และมาตรา 309 เกี่ยวกับประกาศ และคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองฯรวมทั้งการนิรโทษกรรม คมช.
51 ส.ส.อีสาน พปช.ค้านแก้ รธน.
เมื่อวานนี้ (27 มี.ค.) นายปัญญา ศรีปัญญา ส.ส.ขอนแก่น พรรคพลังประชาชน เปิดเผยว่า หลังจากการประชุมพรรค เมื่อวันอังคารที่ 25 มี.ค.ที่ ผ่านมา ซึ่งมีการเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญ ปรากฏว่า มีเสียงแตกเป็นสองส่วน ส่วนหนึ่งต้องการให้มีการแก้ไข และอีกส่วนไม่ต้องการให้แก้ไข โดยจากการหารือกันระหว่าง ส.ส.อีสานในพรรคพลังประชาชน มีประมาณ 51 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นส.ส.หน้าใหม่ เห็นว่าไม่ควรเร่งรีบแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพราะเชื่อว่าจะยังไม่มีการยุบพรรคในเวลานี้ แต่ควรพิจารณาหาเหตุที่จะนำไปสู่การยุบพรรค คือ กรณีคดีที่ นายยงยุทธ ติยะไพรัช ที่ศาลรับคำร้องให้ใบแดงของ กกต. โดยทีมกฎหมายของพรรคควรช่วยกันดูแล อย่าเพิ่งวิตกกับการพิจารณาในชั้นศาลว่าจะไม่มีความยุติธรรม การพิจารณาอาจไม่ถึงขั้นยุบพรรคก็ได้ และยังต้องใช้เวลาอีกนานกว่าจะมีการพิจารณายุบพรรค รวมทั้งจะต้องรอดูผลคดียุบพรรคชาติไทย และพรรคมัชฌิมาธิปไตย ด้วย
นายปัญญากล่าวอีกว่า ชาวบ้านในพื้นที่ส่วนใหญ่ไม่ค่อยเห็นด้วยที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพราะต้องการให้ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร กลับมาต่อสู้คดี และแก้ข้อกล่าวหา และยังอยากให้โอกาสรัฐบาลในการทำงาน
วันนี้ราคาข้าวเปลือกก็ดีขึ้น ถูกใจชาวบ้าน และยังมีการอัดฉีดงบเอสเอ็มแอลลงไปอีก จึงไม่อยากให้เร่งรีบแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพราะเหตุยังไม่เกิด โดยเฉพาะคดียุบพรรค หากเกิดจริง ส.ส.ก็ยังอยู่ แค่ต้องหาพรรคสังกัดใหม่เท่านั้น
"คนที่เคลื่อนไหวแก้ไขรัฐธรรมนูญ ส่วนใหญ่อยู่ในกรรมการบริหารพรรค เราไม่อยากให้วิตกเกินไป เพราะมีมติให้ไปศึกษาว่า จะแก้ไขมาตราใดบ้าง ยังไม่ใช่มติให้แก้ไข ซึ่งวันนี้ถูกมองว่าฝ่ายการเมืองแก้เพื่อตัวเอง หนียุบพรรค ดังนั้นหากจะทำอะไรก็ต้องตอบประชาชนได้ ควรสนใจต่อการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนและปัญหาปากท้องของประชาชนจะดีกว่า" นายปัญญากล่าว
เสนอร่างแก้ไขต่อสภา 11-12 เม.ย.
ด้าน นายสามารถ แก้วมีชัย ส.ส.เชียงราย พรรคพลังประชาชน ในฐานะโฆษกคณะทำงานพรรคร่วมรัฐบาล เพื่อศึกษาประเด็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญ กล่าวว่า ที่ประชุมได้มีมติให้ตัวแทนแต่ละพรรคไปพิจารณาว่า จะแก้ไขในประเด็นใดบ้าง ก่อนมาแจ้งให้ที่ประชุมทราบในวันที่ 31 มี.ค.นี้ จากนั้นจะส่งให้เจ้าหน้าที่กฤษฎีกาไปดู และในวันที่ 2 เม.ย. จะมีการประชุมอีกครั้ง ก็น่าจะมีข้อสรุปว่าจะแก้ไขประเด็นใดบ้าง
ส่วน กรณีที่นายปัญญา ศรีปัญญา ระบุว่ามี 51 ส.ส. อีสาน ของพรรคไม่เห็นด้วยที่จะแก้รัฐธรรมนูญนั้น เรื่องนี้หลังเป็นข่าวออกมา ก็มีส.ส.อีสานหลายคน มาสอบถาม นายชัย ชิดชอบ ในฐานะประธานวิปรัฐบาล โดยนายชัย บอกว่า มีที่ไหน เมื่อคืน (วันที่ 26 มี.ค.) มีส.ส.อีสานกว่า 100 คน ยังมารับประทานอาหารด้วยกันเลย
"เนวิน" สั่งล่าชื่อประชาชนร่วมแก้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อช่วงหัวค่ำวันที่ 26 มี.ค. ที่ผ่านมา นายเนวิน ชิดชอบ อดีตกรรมการพรรคไทยรักไทย ได้นัด ส.ส.อีสาน พรรคพลังประชาชน ประมาณ 100 คน ไปรับประทานอาหารที่ ร้านบัว ย่านถนนศรีนครินทร์ โดยได้มีการหารือ และประเมินสถานการณ์การเมือง โดยกลุ่มนายเนวิน อ้างว่ามีกลุ่มมือที่มองไม่เห็น และนายทหารที่เกษียณอายุราชการนั่งหัวโต๊ะ ประชุมกันเพื่อที่จะยุบพรรคพลังประชาชน ชาติไทย และมัชฌิมาฯ ให้ได้ ภายใน 3 เดือน
ดังนั้นพวกเราไม่ควรงอมืองอเท้า ต้องลุกขึ้นมาต่อสู้ โดยการเร่งแก้ไขรัฐธรรมนูญให้เสร็จก่อนที่จะมีการยุบพรรค และขอให้ ส.ส. เดินสาย และใช้เครือข่ายจัดสัมมนาในพื้นที่จังหวัดต่างๆ เพื่อทำความเข้าใจกับประชาชน และขอให้รวบรวมรายชื่อให้ได้เขตละ 3-5 พันคน เพื่อเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญ ในนามภาคประชาชนคาดว่าภายใน 2 สัปดาห์จะได้รายชื่อกว่า แสนคน โดยวิธีการนี้จะทำควบคู่กับที่ ส.ส.ทำอยู่ ทั้งนี้ คาดว่าเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญต่อรัฐสภาได้ในวันที่ 11 หรือ 12 เม.ย.นี้
"หมัก" ถอยไม่แก้ ม.309
นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ให้สมัภาษณ์ หลังเดินทางกลับจากการเยือนอินโดนีเซีย อย่างเป็นทางการ ถึงกรณีจะมีการแก้รัฐธรรมนูญ มาตรา 309 ว่า แก้ให้เขาด่าทำไม มาตรา 309 เขาป้องกันพวกปฏิวัติ ก็เขาจบเรื่องไปแล้ว จะไปแก้มันทำไม แก้แล้วมันย้อนหลังได้ไหม พูดขึ้นมาเขาก็หัวเราะแล้ว
เมื่อถามว่า จะไปคุยกับคนในพรรคหรือไม่ เพราะมีบางคนต้องการให้แก้ นายสมัคร กล่าวว่า เขาพูดภาษาไทยเหมือนกับตน ไม่เป็นไรหรอก เป็นคนเหมือนกัน คงพูดกันเข้าใจ ประชุมพรรคที่ผ่านมาสมาชิกก็ไม่กล้าว่าตน ตนก็ไม่กล้าว่า ก็ไม่เป็นไรต่างคนต่างคิด แต่รมว.ต่างประเทศ (นายนพดล ปัทมะ) ยังบอกเลยว่า ไม่เห็นด้วยกับการแก้ มาตรา 309 ตนก็บอกว่าไม่เห็นด้วย แต่ทำไงได้ เขาประชุมกันไปแล้ว ออกความเห็นแล้ว เราจะไปว่าอะไรเขา แต่ต้องค่อยๆพูดกัน เพราะยังไม่ถึงเวลาที่จะแก้ มันต้องไปจัดการรวบหัวรวบหางอะไรกันอีก
ปธ.วุฒิย้ำต้องฟังเสียงประชาชน
นายประสพสุข บุญเดช ประธานวุฒิสภา กล่าวถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญว่า วุฒิสภาไม่ได้เป็นผู้ริเริ่มในการจุดประเด็นนี้ แต่ถ้าเรื่องผ่านมายังวุฒิสภา ก็ต้องมีการประชุมร่วมกันซึ่งถือเป็นเรื่องธรรมดา
ส่วนที่พรรคพลังประชาชน จะมีการเสนอให้มีการแก้บางมาตรา อาทิ มาตรา 237 และ 309 นั้น ก็แล้วแต่ทางรัฐบาลจะแก้ เพราะกฏหมายสามารถใช้บังคับ แก้ไขเปลี่ยนแปลงได้
อย่างไรก็ตาม การจะแก้ไขรัฐธรรมนูญ ต้องอยู่ในกรอบของกฏหมาย ฟังเสียงของประชาชนเป็นหลัก ทั้งนี้ ทั้งประชาชนรวมทั้งและฝ่ายที่จะแก้ ต้องมีวุฒิภาวะดีพอทั้ง 2 ฝ่ายด้วยว่า ประเทศชาติจะได้ หรือเสียประโยชน์อย่างไร
ส่วนที่มี ส.ว.บางคนเสนอให้วุฒิสภาเป็นตัวกลาง เพื่อให้มีการทำประชาพิจารณ์ในเรื่องนี้ นายประสพสุข กล่าวว่า สามารถทำได้ เพราะไม่ถือเป็นเรื่องที่ต้องเสียสตางค์ หรือถ้ามีการเสนอมาเพื่อให้ ส.ว. เป็นตัวกลางทำประชาพิจารณ์จริง ทางส.ว. ก็มีความพร้อม เพราะเป็นกฏหมายที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับประชาชน
"จุดยืนของผมคือว่ารัฐธรรมนูญปี 50 ถือเป็นนวัตรกรรมใหม่ ลองใช้ไปก่อนปีหนึ่ง แต่ถ้าจะมาถามว่าแก้ได้หรือไม่ แก้ก็แก้ได้" ประธานวุฒิสภา กล่าว
แนะให้ผู้ตรวจการฯ เป็นเจ้าภาพ
นายสุรชัย ดนัยตั้งตระกูล อดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญปี 2550 และ ส.ว.สรรหา กล่าวว่าการที่รัฐบาลเตรียมแก้ มาตรา 309 เป็นการตอกย้ำว่า นอกจากรัฐบาลจะแก้รัฐธรรมนูญเพื่อตนเองแล้ว ยังเป็นการแก้เพื่อตอบโต้คมช. ด้วย และการหยิบยกมาตรา 309 ขึ้นมาแบบนี้ จะทำให้สถานการณ์การเมืองตึงเครียดขึ้นมาอีกครั้ง และอาจจะนำไปสู่วิกฤตครั้งใหญ่อีก
นายสุรชัย กล่าวว่า มีประเด็นหนึ่งที่นักฏหมาย และอดีต ส.ส.ร รวมถึงรัฐบาล ลืมไปคือ รัฐธรรมนูญฉบับนี้ ได้หาทางออกในปัญหาของรัฐธรรมนูญ ที่กำหนดหน่วยงานขึ้นมาตรวจสอบรัฐธรรมนูญ และคอยดูแลรัฐธรรมนูญเมื่อมีปัญหา คือ มาตรา 244 (3) ในหมวดผู้ตรวจการแผ่นดิน ที่ระบุว่า ผู้ตรวจการแผ่นดิน มีอำนาจหน้าที่ในการติดตามประเมินผล และจัดทำข้อเสนอแนะในการปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ รวมตลอดถึงข้อพิจารณาเพื่อแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ในกรณีที่เห็นว่าจำเป็น ซึ่งจากรัฐธรรมนูญมาตรานี้ แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนแล้ว่า หน่วยงานที่จะรับเป็นเจ้าภาพในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่รัฐบาล แต่เป็นผู้ตรวจการแผ่นดินต่างหาก ที่มีอำนาจแก้รัฐธรรมนูญ นั่นคือสิ่งที่หลายคนมองข้ามประเด็นนี้ไป
ส.ว.เตรียมตั้ง กมธ.ศึกษาแก้ไข
นายตวง อันทะไชย ส.ว.สรรหา กล่าวว่า ในการประชุมวุฒฺสภา วันนี้ ( 28 มี.ค.) ตนจะเสนอญัตติขอตั้งกรรมมาธิการวิสามัญ ศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยมีความตั้งใจว่า กรรมาธิการชุดนี้ ต้องการบอกให้ประชาชนได้รู้ว่า วุฒิสภามีความเป็นกลาง โดยจะมีประเด็นเกี่ยวกับช่วงระยะเวลา ว่า ถึงเวลาแก้ไขรัฐธรรมนูญหรือไม่ และหากแก้ ต้องแก้เรื่องอะไรบ้าง และต้องการบอกให้สังคมทราบว่า การที่รัฐบาลเร่งแก้ไขรัฐธรรมนูญ เป็นวาระเร่งด่วนนั้น จำเป็นหรือไม่ เพราะตนเห็นว่า ยังมีเรื่องอื่นที่เร่งด่วนกว่า ไม่ว่าจะเป็นปัญหาด้านเศรษฐกิจ สังคม ปัญหาเหล่านี้ควรรีบแก้
"รัฐธรรมนูญ เสมือนศีลของพระ ถ้าพระปฏิบัติผิดศีล ก็ถือว่าอาบัติ เช่น เดียวกับรัฐบาล หากปฏิบัติกฏหมายรัฐธรรมนูญ ก็ผิดที่ตัวเอง และมาตรา 237 เจตนาของผู้ร่างมาตรานี้ เพื่อต้องการให้ กกต.มีบทบาทอำนาจอย่างชัดเจน เพราะที่ผ่านมาจะมีปัญหาการเลือกตั้ง โดยเฉพาะการซื้อสิทธิ์ ขายเสียง ดังนั้นผู้เขียนกฏหมายนี้ จึงยึดเจตนารมณ์ดังกล่าว เพิ่มอำนาจให้ กกต.เพื่อป้องกันการซื้อสิทธิ์ขายเสียง ให้กกต. สามารถจัดการเลือกตั้งอย่างยุติธรรม ไม่ใช่เสือกระดาษ ที่ถูกกล่าวหามาโดยตลอด และหากจะแก้ ต้องไปแก้ในมาตรา 329 ด้วยซ้ำ" นายตวง กล่าว
แนะฟังความเห็นอย่างเป็นระบบ
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร และหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ถ้ามีการนำประเด็นในรัฐธรรมนูญมาแก้ไขเพียง 1-2 มาตรา เพื่อหวังผลทางการเมือง พรรคประชาธิปัตย์ ยืนยันว่าไม่เห็นด้วย และฝ่ายรัฐบาลก็ยังไม่มีข้อยุติถึงประเด็นที่จะแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ดังนั้นทางที่ดีที่สุดคือ การตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญขึ้นมา ตามที่พรรคพลังประชาชนเสนอเป็นญัตติ เพื่อให้ทุกพรรค และคนภายนอกเข้ามาร่วมแสดงความคิดเห็น ทำให้เป็นระบบจะดีกว่า เพราะถ้าพูดกันรายวัน จะยิ่งเกิดความสับสน และเป็นเงื่อนไขสร้างความขัดแย้งในสังคมมากขึ้น
"การที่รัฐบาลยังมีท่าทีที่ปรับเปลี่ยนประเด็นที่จะแก้ไขนั้น ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากกระแสสังคมด้วย และการรีบเร่งทำเรื่องนี้จึงเหมือนไม่มีความชัดเจนว่า เป้าหมายของการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อส่วนรวม คืออะไร นอกจากเป็นการแก้ปัญหาความรู้สึกส่วนตัวว่า ตรงนี้ไม่ชอบ ตรงนี้เป็นปัญหากับตัวเอง และรัฐบาลควรคิดว่า เวลาในขณะนี้ มันใช่เวลาที่จะหยิบเรื่องนี้ขึ้นมามากกว่าการไปแก้ปัญหาเร่งด่วนของประเทศหรือไม่ และการหยิบเรื่องดังกล่าวขึ้นมา เมื่อในที่สุดได้สร้างปัญหาความขัดแย้งในสังคมแล้ว ทำให้การแก้ปัญหาของบ้านเมืองทำได้ยากขึ้นหรือไม่ น่าจะยึดประโยชน์ส่วนรวมนี้เป็นหลัก" นายอภิสิทธิ์กล่าว
ส่วนที่ นายสมัคร สุนทรเวช เคยระบุว่าจะแก้ไขรัฐธรรมนูญในช่วง 3 เดือนสุดท้ายก่อนที่รัฐบาลจะหมดวาระนั้น ตรงนี้ยิ่งฟ้องว่า การคิดเรื่องนี้ไม่ได้เพื่อประโยชน์ส่วนรวม แต่เป็นความพยายามแก้ปัญหาของตัวเอง ทั้งที่กรณีของพรรคพลังประชาชน ยังห่างไกลมาก เพราะกรณีใบแดงของ นายยงยุทธ ติยะไพรัช ยังต้องไปต่อสู้คดีในศาลฎีกา
"สุเทพ" เชื่อพันธมิตรฯ ค้านสุดลิ่ม
นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า การที่รัฐบาลพยายามผลักดันอย่างเร่งด่วนเรื่องแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น คนส่วนใหญ่ในประเทศรู้สึกว่า รัฐบาลพยายามดิ้นรนให้พ้นผิดมากกว่า ดังนั้นกลุ่มพันธมิตรฯ คงไม่เห็นด้วยอย่างแน่นอน
เมื่อถามว่า จะเป็นจุดเริ่มต้นให้ประชาชนออกมาเดินประท้วงในท้องถนนอีกรอบหรือไม่ นายสุเทพ กล่าวว่า ไม่ทราบ แล้วแต่ความรู้สึกของประชาชน ถ้าคนส่วนใหญ่รู้สึกเช่นนั้นมากๆ ก็อาจจะเป็นสาเหตุได้
"อังคาร-เนาวรัตน์"ผนึกพันธมิตรฯ
นายสุริยะใส กตะศิลา ผู้ประสานงานกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เปิดเผยว่า เวทีสัมมนายามเฝ้าแผ่นดินภาคพิเศษ ที่จะมีขึ้นในเย็นวันนี้ (28 มี.ค.) ที่หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นอกจากจะมีการอภิปรายทางวิชาการแล้ว จะมีรายการเซอร์ไพรส์ผู้เข้าร่วมรับฟัง โดยจะมีศิลปินแห่งชาติ และกวีซีไรต์ 2 ท่าน คือ "อังคาร กัลยาณพงศ์" และ"เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์" ขึ้นเวทีร่ายบทกวีสะท้อนสังคม การเมืองของไทย ในช่วงก่อนที่จะมีการแสดงงิ้วธรรมศาสตร์ ตอน "2551 อันธพาลครองเมือง" ช่วงเวลาประมาณ 20.20 น.
นอกจากนั้น ดาราขวัญใจประชาชน "ศรัณยู วงศ์กระจ่าง" ยังจะร่วมขับร้องบทเพลง"กำลังใจ" ในช่วงที่"หงา คาราวาน" แสดงดนตรีเพื่อชีวิต ช่วงเวลา 17.40 น. ด้วย
พันธมิตรฯ ภูมิภาคคึกคัก
สำหรับในส่วนภูมิภาคนั้น ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา เครือข่ายพันธมิตรสงขลา ได้จัดตั้งเวทีขนาดใหญ่ไว้บริเวณหน้าสถานีรถไฟหาดใหญ่ พร้อมทั้งนำแผ่นผ้าเชิญชวนประชาชนไปร่วมชุมนุมในวันนี้ นอกจากเวทีดังกล่าวแล้ว มีรายงานว่า ประชาชนบางส่วนจะเดินทางไปร่วมชุมนุมในกรุงเทพฯ ด้วย ทั้งนี้ เพื่อคัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญของรัฐบาล
ส่วนที่เกาะสมุย แกนนำกลุ่มยามเฝ้าแผ่นดินสมุย อ.เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี เปิดเผยว่า นอกจากจะมีการติดตามทางสถานีโทรทัศน์ เอเอสทีวีแล้ว ขณะนี้สมาชิกบางส่วนได้เดินทางถึงกรุงเทพฯ แล้ว เพื่อเข้าร่วมเวทีใหญ่ที่ ม.ธรรมศาสตร์ อีกบางส่วนจะทยอยเดินทางไปเช้าในวันนี้ โดยสมาชิกทุกคนที่เดินทางมา จะสวมเสื้อสกรีนโลโก้ "ยามเฝ้าแผ่นดินสมุย" เพื่อความเป็นหนึ่งเดียวในการแสดงพลังบริสุทธิ์ร่วมกับ 5 แกนนำพันธมิตรฯ
ส่วนที่ อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช ก็จะมีการตั้งเต้นท์ พร้อมจอโปรเจกเตอร์ ที่บริเวณสถานีรถไฟ เพื่อถ่ายทอดรายการ ยามเฝ้าแผ่นดิน ภาคพิเศษ ด้วย
ที่ จ.ภูเก็ต กลุ่มยามเฝ้าแผ่นดินภูเก็ต จะติดตั้งจอโปรเจกเตอร์ ขนาดใหญ่ที่ บริเวณปลายแหลมสะพานหิน (พื้นที่ว่างฝั่งตรงข้ามศาลเจ้ากิ้วเทียนเก้ง) อ.เมือง จ.ภูเก็ต
เช่นเดียวกับกลุ่มยามเฝ้าแผ่นดิน ที่ จ. ชลบุรี ระยอง จันทบุรี นครสวรรค์ ก็มีการจับกลุ่ม เพื่อดิตตามการถ่ายทอดรายการผ่านทางเคเบิ้ลทีวี และบางส่วนก็ยืนยันจะเดินทางมาที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แน่นอน
"เหลิม" หยามพันธมิตรฯ มาไม่มาก
ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รมว. มหาดไทย กล่าวถึงการสัมมนาของกลุ่มพันธมิตรฯ ในวันนี้ว่า ไม่ทราบว่าจะมีคนมาร่วมจำนวนมากหรือไม่ แต่ถ้าไม่ขนคนมา ก็คงไม่มี เพราะพันธมิตรฯไม่มีใครพูดน่าฟัง พวกนี้ต้องเอาไว้สลายม็อบ พูดแล้วคนกลับบ้านหมด ทั้งนี้ไม่หวั่นว่าจะมีมือที่ 3 มาทำให้เหตุการณ์บานปลาย และตนจะไม่ยุ่งด้วย อยากด่าก็ด่าไป ถ้าผิดกฎหมายก็แจ้งจับ
"ขอถามว่านายสนธิ เคยประโยชน์อะไรให้กับประเทศชาติบ้าง ยกตัวอย่างมาสิ ผมจะชั่วดีถี่ห่าง ก็ยังจับโจรผู้ร้ายมาตลอดชีวิต นายสนธิ ที่ออกมาพูดปาวๆ ได้ทำประโยชน์อะไรที่เป็นคุณูปการให้กับประเทศชาติบ้าง ที่กล่าวหาท่านทักษิณ ไว้ก็เท็จหมด " ร.ต.อ.เฉลิมกล่าว
ร.ต.อ.เฉลิม ยังกล่าวถึงความเคลื่อนไหวของกลุ่มนายประชา ประสพดี ว่า เขาไม่ได้เคลื่อนไหวด่าพรรคการเมือง แต่เขาด่าพวกพันธมิตรฯ เพราะหมั่นไส้ที่มาด่าพรรคเขาทุกวัน แต่ นายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ ร่วมกับคนที่ไม่ได้เป็นม็อบการเมือง ทั้งนี้การกระทำของนายประชา ก็ไม่เกี่ยวข้องกับพรรค ส.ส.เก่งกันทั้งนั้น จะไปห้าม ก็ไม่ได้
"ผมไม่ว่าพรรคประชาธิปัตย์ เพราะทำอะไรก็ผิดอยู่แล้ว ตั้งแต่เรื่องแจกที่ดินสปก.ให้เศรษฐีภูเก็ต ก็ยังลอยหน้าลอยตาอยู่ในสังคมได้ พรรคการเมืองพรรคนี้ ปกติมันต้องลงโทษตัวเองได้แล้ว อย่างนายสุเทพ เทือกสุบรรณ และนายชวน หลีกภัย ควรหยุดเล่นการเมืองได้แล้ว นายสุเทพ และนายชวน มีความรับผิดชอบบ้างหรือไม่ สังคมยังเชื่อถือ ผมไม่แปลกใจกับคนเหล่านี้ เพราะผมไม่ให้ความเชื่อถือมานานแล้ว" รมว.มหาดไทยกล่าว
ตร.เตรียมพร้อมดูแลความสงบ
พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี รอง ผบ.ตร.ประจำ ตร. พร้อมด้วย พล.ต.ท.อัศวิน ขวัญเมือง ผบช.น. เรียกประชุมนายตำรวจระดับ รอง ผบช.น. ผบก.น.1 และตำรวจที่เกี่ยวข้อง เพื่อประเมินสถานการณ์การจัดเสวนา"ยามเฝ้าแผ่นดิน ภาคพิเศษ" ของกลุ่มพันธมิตรฯ ที่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่ง พล.ต.อ.พัชรวาท วงศ์สุวรรณ รักษาราชการแทนผบ.ตร. ได้กำชับดูแลการชุมนุมให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย เบื้องต้นทราบความพร้อมทุกอย่าง ไม่มีอะไรน่าเป็นห่วง
พล.ต.อ.วิเชียร กล่าวว่า การสัมมนาของกลุ่มพันธมิตรฯ จัดในห้องประชุม การดูแลเป็นไปโดยง่าย และในการชุมนุมนี้เป็นสิทธิตามรัฐธรรมนูญที่พึงกระทำโดยไม่ใช้ความรุนแรง ซึ่งเราเชื่อว่าทุกอย่างจะเป็นไปได้ด้วยดี
ทั้งนี้ จะมีการจัดกำลังเจ้าหน้าที่ บก.น.1 และตำรวจจราจร จาก บก.จร. ตั้งด่านตรวจบริเวณแยกผ่านพิภพลีลา ประตูทางเข้าม.ธรรมศาสตร์ ด้านท่าพระจันทร์ และ ท้องสนามหลวง เน้นตรวจสอบรถจักรยานยนต์ที่อาจจะไม่หวังดีเข้ามาก่อความวุ่นวาย รวมถึงตรวจค้นอาวุธต่างๆ ด้วย และจัดกำลังปราบจลาจล จาก บก.ตปพ. อีกจำนวน 150 นาย เตรียมพร้อม ณ ที่ตั้งหากเกิดเหตุการณ์รุนแรงขึ้น
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในช่วงเช้าวันเดียวกัน นายสัมพันธ์ เลิศนุวัฒน์ ส.ส.สัดส่วน กลุ่ม 1 พรรคพลังประชาชน และรองหัวหน้าพรรค เดินทางเข้าพบ พล.ต.ท.อัศวิน ขวัญเมือง ก่อนเข้าประชุม โดยคาดว่า น่าจะปรึกษาหารือเกี่ยวกับการดูแลความเรียบร้อยของการเสวนา “กลุ่มพันธมิตรฯ”
ด้าน พล.ต.ท.วัชรพล ประสารราชกิจ ผู้ช่วย ผบ.ตร. ในฐานะ โฆษก ตร. กล่าวว่า ตร.ได้สั่งการให้ตำรวจนครบาลจัดแผนเตรียมรับมือสถานการณ์ไว้แล้ว โดยมีการจัดกำลังตำรวจทั้งนอก และในเครื่องแบบ ของตำรวจนครบาล บช.ก. และ บช.ส. ดูแลความเรีบร้อย ซึ่งจากรายงานทางการข่าวเบื้องต้น ประเมินว่า กลุ่มพันธมิตรฯ น่าจะมีผู้เข้าร่วมประมาณ 5 พันคน ส่วนกลุ่มประชาชนเพื่อพิทักษ์ประชาธิปไตยไม่เกิน 1 พันคน เชื่อว่าสามารถดูแลสถานการณ์ได้