ไฟเขียวเงินภาษีบาป อุดหนุน “ไทยพีบีเอส” เฟสแรก 340 ล้านบาท ขณะที่เงินเดือนผู้บริหาร 9 คน รอกฤษฎีกา ชี้ แต่ได้แน่ๆ ถึงครึ่งแสน พร้อมมีผลถึงกรรมการชั่วคราว 5 คนด้วย เผย โอนทรัพย์สินทีไอทีวี 4 พันล้าน ให้ ทีพีบีเอส แล้ว “เฮลิคอปเตอร์” รอผู้บริหารใหม่ตัดสินใจเช่าต่อ ด้านคณะกรรมการชั่วคราวฯทบทวนคำสั่งศาลประเด็นภาระผูกพัน พร้อมตั้งที่ปรึกษา เผยมีกวีซีไรต์ร่วมด้วย
วานนี้ (22 ม.ค.) นายโชติชัย สุวรรณาภรณ์ ผู้ช่วยโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุม ครม.เห็นชอบตามที่สำนักปลัดนายกรัฐมนตรี (สปน.) เสนอการจัดสรรทุนประเดิม จำนวน 340 ล้านบาท ให้แก่องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) หรือสถานีไทยพีบีเอส ตามมาตรา 60 ของ พ.ร.บ.องค์การฯ โดย สปน.ในฐานะหน่วยงานธุรการของคณะกรรมการนโยบายชั่วคราวตาม พ.ร.บ.องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะ พ.ศ.2551 ได้มีหนังสือแจ้งเลขที่บัญชีธนาคาร เพื่อให้กรมสรรพสามิตและกรมศุลกากรนำส่งเงินให้แก่องค์การฯ ตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม และ 17 มกราคม 2551 ตามลำดับแล้ว
ทั้งนี้ ครม.ยังเห็นชอบตามร่างพระราชกฤษฎีกาค่าตอบแทน และค่าใช้จ่ายอื่นของประธานกรรมการนโยบาย กรรมการนโยบาย และกรรมการบริหารอื่นขององค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย พ.ศ.... ตามมาตรา 30 ของพ.ร.บ.องค์การฯ ทั้งนี้ กำหนดถึงค่าตอบแทน เบี้ยประชุม และค่าใช้จ่ายอื่น ซึ่งเป็นการเทียบเคียงจากอัตราค่าตอบแทนคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย โดยคณะกรรมการนโยบายถาวร 9 คน ประกอบด้วย ประธานกรรมการนโยบาย จะได้รับเงินเดือน 60,000 บาทต่อเดือน กรรมการนโยบาย และกรรมการบริหารอื่น ได้รับเงินเดือน 50,000 บาทต่อเดือน
นอกจากนี้ ยังรวมไปถึงคณะกรรมการนโยบายชั่วคราว จำนวน 5 คน ที่จะทำหน้าที่ในกรอบ พ.ร.บ.องค์การ 180 วัน ก็จะได้รับเงินเดือนและค่าตอบแทนตามกรอบดังกล่าวด้วย โดยคณะกรรมการกฤษฎีกาจะให้ความเห็นชอบต่อไป
***แจงที่มาที่ไปเงินภาษีบาปอุดหนุนทีวีสาธารณะ
รายงานข่าวแจ้งว่า กระทรวงการคลัง ยังมีแผนที่จะลดหย่อนภาษีให้กับเอกชนที่บริจาคอุดหนุนให้กับทีวีสาธารณะ โดยจะต้องนำเสนอให้คณะรัฐมนตรีอนุมัติอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม คลังได้ยอมตัดภาษีสุรา บุหรี่ 1.5% แต่ไม่เกิน 2 พันล้านบาท ให้กับทีวีสาธารณะ ซึ่งการขึ้นภาษีนี้ไม่ได้พ่วงกับอัตราภาษีที่เก็บอยู่เดิม ซึ่งขณะนี้ภาษีบุหรี่ได้มีการเก็บเต็มเพดานอัตราภาษีที่กำหนดไว้แล้วโดยรัฐบาลในฐานะที่เป็นผู้นำเงินไปให้ต้องมีหน้าที่ประเมินผลงานให้มีประสิทธิภาพ
การลดหย่อนภาษีให้เอกชนที่บริจาคอุดหนุนทีวีสาธารณะ จะเป็นลักษณะเดียวกับการบริจาคทั่วไป คือ หักได้ตามจริง 1 เท่า ในส่วนของบุคคลธรรมดาไม่เกิน 10% ของรายได้ และนิติบุคคลไม่เกิน 2% ของกำไรสุทธิ ซึ่งจะต้องขอนโยบายจากกระทรวงการคลังต่อไปว่า จะให้นำไปรวมกับการบริจาคการกุศลทั่วไป หรือจะให้แยกส่วนออกมาต่างหาก เพื่อให้เอกชนหักลดหย่อนภาษีได้มากขึ้น
ทั้งนี้ ผู้มีหน้าที่ไม่ชำระภาษีให้ครบตามจำนวน ถือว่ามีความผิด และต้องเสียเงินเพิ่ม 1.5% ต่อเดือน ของเงินภาษีที่เสียไม่ครบนับตั้งแต่วันที่ต้องชำระ
รายงานข่าวแจ้งอีกว่า สำหรับภาษีที่เก็บเพิ่ม 1.5% เป็นการเก็บเพิ่มจากมูลค่าภาษีที่เสียอยู่ในปัจจุบัน เช่น สุราต้องเสียภาษีสรรพสามิตขวดละ 100 บาท ก็ต้องเสียเพิ่ม 1.5% ของ จำนวน 1.7 พันล้านบาท หากเกิน 2 พันล้านบาท ตามที่กฎหมายกำหนด ให้นำส่งส่วนที่เกินให้กระทรวงการคลัง
ทั้งนี้ นายฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้ลงนามอนุมัติให้กรมสรรพสามิต เก็บภาษีสุรา และยาสูบ เพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 1.5 ของมูลค่าของภาษีที่เสียอยู่ในปัจจุบัน เพื่อนำเงินไปจัดตั้งกองทุนทีวีสาธารณะเมื่อตั้งแต่สัปดห์ที่ ทั้งนี้ การเก็บเงินภาษีดังกล่าวจะส่งผลให้ราคาบุหรี่เพิ่มขึ้น 0.50-1 บาทต่อซอง ขณะที่ราคาเหล้าจะปรับเพิ่มขึ้น 3-5 บาทต่อขวด
**โอนทรัพย์สินทีไอทีวี 4 พันล้าน ให้ไทยทีบีเอสแล้ว
แหล่งข่าวจากทำเนียบรัฐบาล เปิดเผยว่า ขณะนี้ กรมประชาสัมพันธ์ได้โอนทรัพย์สินของสถานีทีไอทีวีให้กับสถานีไทยทีบีเอส ตั้งแต่วันที่ 16 มกราคมแล้ว โดย สปน.ได้รายงานว่า ทรัพย์สินของทีไอทีวี มีมูลค่ารวมกว่า 4,000 ล้านบาท ประกอบไปด้วย รถถ่ายทอดสด (รถโอบี) อุปกรณ์เทคนิค กล้องทีวี ฯลฯ ทั้งบนอาคารชินวัตร 3 และสถานีถ่ายทอดสัญญาณจากภูมิภาค อย่างไรก็ตาม ทรัพย์สินนี้จะไม่ร่วมค่าเช่าเฮลิคอปเตอร์ และรถยนต์ ที่สถานีไอทีวี และสถานีทีไอทีวีเดิม เช่าไว้ แต่ขึ้นอยู่กับผู้บริหารไทยพีบีเอสจะเช่าต่อหรือไม่ นอกจากนี้ ยังมีการโอนเงินจากค่าโฆษณาและรายได้อีกจำนวน 500 ล้านบาทไปแล้วด้วย
**ทบทวนคำสั่งศาล “ภาระผูกพัน”
นายอภิชาติ ทองอยู่ โฆษกและคณะกรรมการนโยบายชั่วคราว ขององค์การแพร่ภาพและกระจายเสียงสาธารณะ หรือไทยพีบีเอส เปิดเผยว่า วานนี้ ทางคณะกรรมการทั้ง 4 ท่าน คือ นายขวัญสรวง อติโพธิ ประธาน นายณรงค์ ใจหาญ นายเทพชัย หย่อง และ นายอภิชาติ ขาดเพียง นางนวลน้อย ตรีรัตน์ ได้เข้าร่วมประชุมกับทางฝ่ายบริหารฝ่ายข่าวของสถานีโทรทัศน์ทีไอทีวีเดิม ที่ตึกชินวัตร 3 เพื่อร่วมกันหารือถึงปัญหาและแนวทางการดำเนินงานต่างๆ ทั้งนี้บรรยากาศเป็นไปด้วยดีแบบสมานฉันท์ เพื่อต้องการให้ปัญหาต่างๆ ยุติลงโดยดี เพื่อให้งานสามารถเดินหน้าต่อไปได้ และให้ทันกับการออกอากาศครั้งแรกของทีพีบีเอสอย่างเป็นทางการในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ศกนี้ โดยสรุปแล้วที่จะใช้ตึกชินวัตร 3 เป็นที่ทำการ
นอกจากนี้ ทางผู้บริหารทีไอทีวีเสนอให้ทางคณะกรมการกลับไปพิจารณาในประเด็นบางส่วนที่ศาลปกครองมีมติออกมา คือ การทบทวนเรื่องประเด็น ภาระผูกพันของพนักงาน เพราะจากข้อมูลที่กรมประชาสัมพันธ์และทีไอทีวีให้มานั้นมีบางส่วนไม่ตรงกัน โดยทางคณะกรรมการทั้ง 5 คนจะประชุมกันในเช้าวันนี้ ก่อนที่จะมีการแถลงข่าวในช่วงบ่ายวันนี้เช่นกัน
ทั้งนี้ ประเด็นดังกล่าวจะส่งผลต่อการพิจารณารับพนักงานใหม่ด้วย ตามที่มีผู้สมัคของทีไอทีวีเดิมมาสมัครจำนวนมาก ซึ่งขณะนี้จำนวนผู้สมัครทั้งหมดมีประมาณ 3,000 กว่าคน โดยทางคณะกรรมการอยู่ระหว่างการพิจารณาบริษัทเฮดฮันเตอร์เอกชนที่ยื่นเสนอเข้ามาหลายรายเพื่อคัดบริษัทที่มีความเหมาะสมเข้ามารับผิดชอบในการคัดเลือกพนักงาน
**ตั้งที่ปรึกษาชุดใหญ่
สำหรับวานนี้ คณะกรรมการได้มีการประชุมกันและได้มีมติแต่งตั้งบุคคลที่จะเข้ามาเป็นคณะกรรมการที่ปรึกษาชุดใหญ่ เช่น นายเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ นายวิชัย โชควิวัฒน์ นายฉัตรชัย เชื้อรามัญ นายมานิตย์ สุขสมจิตร นายวันชัย ตันติวิทยาพิพัฒน์ นางนวพร เรืองสกุล เป็นต้น นอกจากนั้น ยังอยู่ระหว่างการทาบทามและเตรียมแต่งตั้งเพิ่มเติมเช่น นายประยงค์ รณรงค์ ผู้นำชุมชนบ้านไม้เรียง อ.ฉวาง นครศรีธรรมราช ผู้รับรางวัลแมกไซไซ ปี 2547 สาขาผู้นำชุมชน
วานนี้ (22 ม.ค.) นายโชติชัย สุวรรณาภรณ์ ผู้ช่วยโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุม ครม.เห็นชอบตามที่สำนักปลัดนายกรัฐมนตรี (สปน.) เสนอการจัดสรรทุนประเดิม จำนวน 340 ล้านบาท ให้แก่องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) หรือสถานีไทยพีบีเอส ตามมาตรา 60 ของ พ.ร.บ.องค์การฯ โดย สปน.ในฐานะหน่วยงานธุรการของคณะกรรมการนโยบายชั่วคราวตาม พ.ร.บ.องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะ พ.ศ.2551 ได้มีหนังสือแจ้งเลขที่บัญชีธนาคาร เพื่อให้กรมสรรพสามิตและกรมศุลกากรนำส่งเงินให้แก่องค์การฯ ตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม และ 17 มกราคม 2551 ตามลำดับแล้ว
ทั้งนี้ ครม.ยังเห็นชอบตามร่างพระราชกฤษฎีกาค่าตอบแทน และค่าใช้จ่ายอื่นของประธานกรรมการนโยบาย กรรมการนโยบาย และกรรมการบริหารอื่นขององค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย พ.ศ.... ตามมาตรา 30 ของพ.ร.บ.องค์การฯ ทั้งนี้ กำหนดถึงค่าตอบแทน เบี้ยประชุม และค่าใช้จ่ายอื่น ซึ่งเป็นการเทียบเคียงจากอัตราค่าตอบแทนคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย โดยคณะกรรมการนโยบายถาวร 9 คน ประกอบด้วย ประธานกรรมการนโยบาย จะได้รับเงินเดือน 60,000 บาทต่อเดือน กรรมการนโยบาย และกรรมการบริหารอื่น ได้รับเงินเดือน 50,000 บาทต่อเดือน
นอกจากนี้ ยังรวมไปถึงคณะกรรมการนโยบายชั่วคราว จำนวน 5 คน ที่จะทำหน้าที่ในกรอบ พ.ร.บ.องค์การ 180 วัน ก็จะได้รับเงินเดือนและค่าตอบแทนตามกรอบดังกล่าวด้วย โดยคณะกรรมการกฤษฎีกาจะให้ความเห็นชอบต่อไป
***แจงที่มาที่ไปเงินภาษีบาปอุดหนุนทีวีสาธารณะ
รายงานข่าวแจ้งว่า กระทรวงการคลัง ยังมีแผนที่จะลดหย่อนภาษีให้กับเอกชนที่บริจาคอุดหนุนให้กับทีวีสาธารณะ โดยจะต้องนำเสนอให้คณะรัฐมนตรีอนุมัติอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม คลังได้ยอมตัดภาษีสุรา บุหรี่ 1.5% แต่ไม่เกิน 2 พันล้านบาท ให้กับทีวีสาธารณะ ซึ่งการขึ้นภาษีนี้ไม่ได้พ่วงกับอัตราภาษีที่เก็บอยู่เดิม ซึ่งขณะนี้ภาษีบุหรี่ได้มีการเก็บเต็มเพดานอัตราภาษีที่กำหนดไว้แล้วโดยรัฐบาลในฐานะที่เป็นผู้นำเงินไปให้ต้องมีหน้าที่ประเมินผลงานให้มีประสิทธิภาพ
การลดหย่อนภาษีให้เอกชนที่บริจาคอุดหนุนทีวีสาธารณะ จะเป็นลักษณะเดียวกับการบริจาคทั่วไป คือ หักได้ตามจริง 1 เท่า ในส่วนของบุคคลธรรมดาไม่เกิน 10% ของรายได้ และนิติบุคคลไม่เกิน 2% ของกำไรสุทธิ ซึ่งจะต้องขอนโยบายจากกระทรวงการคลังต่อไปว่า จะให้นำไปรวมกับการบริจาคการกุศลทั่วไป หรือจะให้แยกส่วนออกมาต่างหาก เพื่อให้เอกชนหักลดหย่อนภาษีได้มากขึ้น
ทั้งนี้ ผู้มีหน้าที่ไม่ชำระภาษีให้ครบตามจำนวน ถือว่ามีความผิด และต้องเสียเงินเพิ่ม 1.5% ต่อเดือน ของเงินภาษีที่เสียไม่ครบนับตั้งแต่วันที่ต้องชำระ
รายงานข่าวแจ้งอีกว่า สำหรับภาษีที่เก็บเพิ่ม 1.5% เป็นการเก็บเพิ่มจากมูลค่าภาษีที่เสียอยู่ในปัจจุบัน เช่น สุราต้องเสียภาษีสรรพสามิตขวดละ 100 บาท ก็ต้องเสียเพิ่ม 1.5% ของ จำนวน 1.7 พันล้านบาท หากเกิน 2 พันล้านบาท ตามที่กฎหมายกำหนด ให้นำส่งส่วนที่เกินให้กระทรวงการคลัง
ทั้งนี้ นายฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้ลงนามอนุมัติให้กรมสรรพสามิต เก็บภาษีสุรา และยาสูบ เพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 1.5 ของมูลค่าของภาษีที่เสียอยู่ในปัจจุบัน เพื่อนำเงินไปจัดตั้งกองทุนทีวีสาธารณะเมื่อตั้งแต่สัปดห์ที่ ทั้งนี้ การเก็บเงินภาษีดังกล่าวจะส่งผลให้ราคาบุหรี่เพิ่มขึ้น 0.50-1 บาทต่อซอง ขณะที่ราคาเหล้าจะปรับเพิ่มขึ้น 3-5 บาทต่อขวด
**โอนทรัพย์สินทีไอทีวี 4 พันล้าน ให้ไทยทีบีเอสแล้ว
แหล่งข่าวจากทำเนียบรัฐบาล เปิดเผยว่า ขณะนี้ กรมประชาสัมพันธ์ได้โอนทรัพย์สินของสถานีทีไอทีวีให้กับสถานีไทยทีบีเอส ตั้งแต่วันที่ 16 มกราคมแล้ว โดย สปน.ได้รายงานว่า ทรัพย์สินของทีไอทีวี มีมูลค่ารวมกว่า 4,000 ล้านบาท ประกอบไปด้วย รถถ่ายทอดสด (รถโอบี) อุปกรณ์เทคนิค กล้องทีวี ฯลฯ ทั้งบนอาคารชินวัตร 3 และสถานีถ่ายทอดสัญญาณจากภูมิภาค อย่างไรก็ตาม ทรัพย์สินนี้จะไม่ร่วมค่าเช่าเฮลิคอปเตอร์ และรถยนต์ ที่สถานีไอทีวี และสถานีทีไอทีวีเดิม เช่าไว้ แต่ขึ้นอยู่กับผู้บริหารไทยพีบีเอสจะเช่าต่อหรือไม่ นอกจากนี้ ยังมีการโอนเงินจากค่าโฆษณาและรายได้อีกจำนวน 500 ล้านบาทไปแล้วด้วย
**ทบทวนคำสั่งศาล “ภาระผูกพัน”
นายอภิชาติ ทองอยู่ โฆษกและคณะกรรมการนโยบายชั่วคราว ขององค์การแพร่ภาพและกระจายเสียงสาธารณะ หรือไทยพีบีเอส เปิดเผยว่า วานนี้ ทางคณะกรรมการทั้ง 4 ท่าน คือ นายขวัญสรวง อติโพธิ ประธาน นายณรงค์ ใจหาญ นายเทพชัย หย่อง และ นายอภิชาติ ขาดเพียง นางนวลน้อย ตรีรัตน์ ได้เข้าร่วมประชุมกับทางฝ่ายบริหารฝ่ายข่าวของสถานีโทรทัศน์ทีไอทีวีเดิม ที่ตึกชินวัตร 3 เพื่อร่วมกันหารือถึงปัญหาและแนวทางการดำเนินงานต่างๆ ทั้งนี้บรรยากาศเป็นไปด้วยดีแบบสมานฉันท์ เพื่อต้องการให้ปัญหาต่างๆ ยุติลงโดยดี เพื่อให้งานสามารถเดินหน้าต่อไปได้ และให้ทันกับการออกอากาศครั้งแรกของทีพีบีเอสอย่างเป็นทางการในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ศกนี้ โดยสรุปแล้วที่จะใช้ตึกชินวัตร 3 เป็นที่ทำการ
นอกจากนี้ ทางผู้บริหารทีไอทีวีเสนอให้ทางคณะกรมการกลับไปพิจารณาในประเด็นบางส่วนที่ศาลปกครองมีมติออกมา คือ การทบทวนเรื่องประเด็น ภาระผูกพันของพนักงาน เพราะจากข้อมูลที่กรมประชาสัมพันธ์และทีไอทีวีให้มานั้นมีบางส่วนไม่ตรงกัน โดยทางคณะกรรมการทั้ง 5 คนจะประชุมกันในเช้าวันนี้ ก่อนที่จะมีการแถลงข่าวในช่วงบ่ายวันนี้เช่นกัน
ทั้งนี้ ประเด็นดังกล่าวจะส่งผลต่อการพิจารณารับพนักงานใหม่ด้วย ตามที่มีผู้สมัคของทีไอทีวีเดิมมาสมัครจำนวนมาก ซึ่งขณะนี้จำนวนผู้สมัครทั้งหมดมีประมาณ 3,000 กว่าคน โดยทางคณะกรรมการอยู่ระหว่างการพิจารณาบริษัทเฮดฮันเตอร์เอกชนที่ยื่นเสนอเข้ามาหลายรายเพื่อคัดบริษัทที่มีความเหมาะสมเข้ามารับผิดชอบในการคัดเลือกพนักงาน
**ตั้งที่ปรึกษาชุดใหญ่
สำหรับวานนี้ คณะกรรมการได้มีการประชุมกันและได้มีมติแต่งตั้งบุคคลที่จะเข้ามาเป็นคณะกรรมการที่ปรึกษาชุดใหญ่ เช่น นายเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ นายวิชัย โชควิวัฒน์ นายฉัตรชัย เชื้อรามัญ นายมานิตย์ สุขสมจิตร นายวันชัย ตันติวิทยาพิพัฒน์ นางนวพร เรืองสกุล เป็นต้น นอกจากนั้น ยังอยู่ระหว่างการทาบทามและเตรียมแต่งตั้งเพิ่มเติมเช่น นายประยงค์ รณรงค์ ผู้นำชุมชนบ้านไม้เรียง อ.ฉวาง นครศรีธรรมราช ผู้รับรางวัลแมกไซไซ ปี 2547 สาขาผู้นำชุมชน