เอเอฟพี - เกาหลีเหนือขับไล่เจ้าหน้าเกาหลีใต้นับ 10 คนออกจากเขตนิคมอุตสาหกรรมแกซอง ซึ่งเป็นโครงการร่วมลงทุนสำคัญที่สุดของทั้งสองประเทศ เมื่อวานนี้(27) นับเป็นความเคลื่อนไหวก้าวแรกจากโสมแดงเพื่อตอบโต้นโยบายแข็งกร้าวยิ่งขึ้นของรัฐบาลใหม่แดนโสมขาว
โฆษกกระทรวงรวมชาติของเกาหลีใต้ระบุว่า การขับไล่ดังกล่าวเป็นการประท้วงที่คิม ฮา-จูง รัฐมนตรีรวมชาติแดนโสมขาวกล่าวว่า จะไม่ขยายนิคมแกซอง ถ้าไม่มีความก้าวหน้าเรื่องยุติโครงการนิวเคลียร์เกาหลีเหนือ
ด้านสำนักประธานาธิบดีเผยว่า การขับไล่เจ้าหน้าที่เช่นนี้อาจทำลายความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศ ซึ่งเพิ่งเริ่มดีขึ้นเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา
กระทรวงรวมชาติเผยว่า รัฐบาลโซลได้ถอนตัวเจ้าหน้าที่ 11 คน ออกจากนิคมแกซองก่อนรุ่งสางวานนี้ หลังจากที่เกาหลีเหนือออกคำสั่งเมื่อวันจันทร์(24)ให้พวกเขาออกจากนิคมนั้นเสีย
ลีเมียงบัค ประธานาธิบดีคนใหม่ของเกาหลีใต้ ให้คำมั่นว่าจะดำเนินนโยบายซึ่งปฏิบัติได้จริงมากขึ้น และมีความเป็นอุดมคติน้อยลง ต่อเกาหลีเหนือ จากที่ประธานาธิบดีคนก่อนๆใช้นโยบาย "ตะวันฉาย" มานานเป็นสิบปี
ลีได้เรียกเจ้าหน้าที่ด้านความมั่นคงประชุมฉุกเฉิน หลังเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว
"การกระทำอันฉับพลันของเกาหลีเหนือนั้นน่าเสียใจ และอาจเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างเกาหลีอย่างยั่งยืน" ลีดงกวาน โฆษกประธานาธิบดีกล่าวในเวลาต่อมา
"รัฐบาลจะจัดการกับเหตุการณ์ที่แกซองให้สอดคล้องกับนโยบายปฏิบัตินิยม เราจะยึดถือหลักการดังกล่าวอย่างเต็มที่ แต่อาจใช้วิธียืดหยุ่นร่วมด้วย"
การขับไล่เช่นนี้เป็นเพียงการตอบโต้รัฐบาลใหม่ขั้นเริ่มแรกจากโสมแดงเท่านั้น คิมยังซู อาจารย์จากมหาวิทยาลัยโซกัง กล่าวกับเอเอฟพี
"เป็นไปได้ว่า เราจะเห็นความสัมพันธ์ระหว่างสองเกาหลีตึงเครียดขึ้น และตามชายแดนก็จะเกิดความตึงเครียดทางทหารมากขึ้น"
ผู้จัดการนิคมแกซองบอกว่า บรรดาผู้บริหารโรงงานชาวโสมขาวยังสามารถเดินทางเข้าออกนิคมดังกล่าวได้อยู่ แต่กระทรวงรวมชาติเกาหลีใต้บอกว่า การขับไล่เจ้าหน้าที่ในครั้งนี้ อาจทำให้ผู้ที่จะเข้ามาลงทุนเกิดความกังวล
ยูเมียงวาน รัฐมนตรีต่างประเทศของเกาหลีใต้ ซึ่งเดินทางไปเจรจากับคอนโดลีซซา ไรซ์ รัฐมนตรีต่างประเทศของสหรัฐฯที่กรุงวอชิงตัน ระบุว่า เวลาและความอดทนของชาติมหาอำนาจกำลังจะหมดลงแล้ว ต่อการที่เกาหลีเหนือไม่ยอมทำตามข้อตกลงยุติโครงการนิวเคลียร์ที่สัญญาไว้
รัฐบาลชุดใหม่ของเกาหลีใต้ต้องการผูกเงื่อนไขความช่วยเหลือที่ไม่ใช่ด้านมนุษยธรรม เข้ากับการปลดอาวุธนิวเคลียร์ให้มากกว่านี้ รัฐบาลโสมขาวยังให้คำมั่นว่า จะเพิ่มความโปร่งใสในการใช้จ่ายกองทุนความร่วมมือระหว่างเกาหลีด้วย
นอกจากนี้ ประธานาธิบดีลียังบอกว่า เขาจะกดดันให้เกาหลีเหนือปรับปรุงประวัติด้านสิทธิมนุษยชน และรายงานข่าวก็เผยว่า เกาหลีใต้จะสนับสนุนมติขององค์การสหประชาชาติ(ยูเอ็น)ซึ่งวิพากษ์วิจารณ์เกาหลีเหนือเรื่องสิทธิมนุษยชน ในที่ประชุมคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งยูเอ็นที่กรุงเจนีวาในสัปดาห์นี้ด้วย
โฆษกกระทรวงรวมชาติของเกาหลีใต้ระบุว่า การขับไล่ดังกล่าวเป็นการประท้วงที่คิม ฮา-จูง รัฐมนตรีรวมชาติแดนโสมขาวกล่าวว่า จะไม่ขยายนิคมแกซอง ถ้าไม่มีความก้าวหน้าเรื่องยุติโครงการนิวเคลียร์เกาหลีเหนือ
ด้านสำนักประธานาธิบดีเผยว่า การขับไล่เจ้าหน้าที่เช่นนี้อาจทำลายความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศ ซึ่งเพิ่งเริ่มดีขึ้นเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา
กระทรวงรวมชาติเผยว่า รัฐบาลโซลได้ถอนตัวเจ้าหน้าที่ 11 คน ออกจากนิคมแกซองก่อนรุ่งสางวานนี้ หลังจากที่เกาหลีเหนือออกคำสั่งเมื่อวันจันทร์(24)ให้พวกเขาออกจากนิคมนั้นเสีย
ลีเมียงบัค ประธานาธิบดีคนใหม่ของเกาหลีใต้ ให้คำมั่นว่าจะดำเนินนโยบายซึ่งปฏิบัติได้จริงมากขึ้น และมีความเป็นอุดมคติน้อยลง ต่อเกาหลีเหนือ จากที่ประธานาธิบดีคนก่อนๆใช้นโยบาย "ตะวันฉาย" มานานเป็นสิบปี
ลีได้เรียกเจ้าหน้าที่ด้านความมั่นคงประชุมฉุกเฉิน หลังเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว
"การกระทำอันฉับพลันของเกาหลีเหนือนั้นน่าเสียใจ และอาจเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างเกาหลีอย่างยั่งยืน" ลีดงกวาน โฆษกประธานาธิบดีกล่าวในเวลาต่อมา
"รัฐบาลจะจัดการกับเหตุการณ์ที่แกซองให้สอดคล้องกับนโยบายปฏิบัตินิยม เราจะยึดถือหลักการดังกล่าวอย่างเต็มที่ แต่อาจใช้วิธียืดหยุ่นร่วมด้วย"
การขับไล่เช่นนี้เป็นเพียงการตอบโต้รัฐบาลใหม่ขั้นเริ่มแรกจากโสมแดงเท่านั้น คิมยังซู อาจารย์จากมหาวิทยาลัยโซกัง กล่าวกับเอเอฟพี
"เป็นไปได้ว่า เราจะเห็นความสัมพันธ์ระหว่างสองเกาหลีตึงเครียดขึ้น และตามชายแดนก็จะเกิดความตึงเครียดทางทหารมากขึ้น"
ผู้จัดการนิคมแกซองบอกว่า บรรดาผู้บริหารโรงงานชาวโสมขาวยังสามารถเดินทางเข้าออกนิคมดังกล่าวได้อยู่ แต่กระทรวงรวมชาติเกาหลีใต้บอกว่า การขับไล่เจ้าหน้าที่ในครั้งนี้ อาจทำให้ผู้ที่จะเข้ามาลงทุนเกิดความกังวล
ยูเมียงวาน รัฐมนตรีต่างประเทศของเกาหลีใต้ ซึ่งเดินทางไปเจรจากับคอนโดลีซซา ไรซ์ รัฐมนตรีต่างประเทศของสหรัฐฯที่กรุงวอชิงตัน ระบุว่า เวลาและความอดทนของชาติมหาอำนาจกำลังจะหมดลงแล้ว ต่อการที่เกาหลีเหนือไม่ยอมทำตามข้อตกลงยุติโครงการนิวเคลียร์ที่สัญญาไว้
รัฐบาลชุดใหม่ของเกาหลีใต้ต้องการผูกเงื่อนไขความช่วยเหลือที่ไม่ใช่ด้านมนุษยธรรม เข้ากับการปลดอาวุธนิวเคลียร์ให้มากกว่านี้ รัฐบาลโสมขาวยังให้คำมั่นว่า จะเพิ่มความโปร่งใสในการใช้จ่ายกองทุนความร่วมมือระหว่างเกาหลีด้วย
นอกจากนี้ ประธานาธิบดีลียังบอกว่า เขาจะกดดันให้เกาหลีเหนือปรับปรุงประวัติด้านสิทธิมนุษยชน และรายงานข่าวก็เผยว่า เกาหลีใต้จะสนับสนุนมติขององค์การสหประชาชาติ(ยูเอ็น)ซึ่งวิพากษ์วิจารณ์เกาหลีเหนือเรื่องสิทธิมนุษยชน ในที่ประชุมคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งยูเอ็นที่กรุงเจนีวาในสัปดาห์นี้ด้วย