พ่อแม่โวยเกมใหม่ในอินเทอร์เน็ต มอมเมาเด็กหญิงวัยแค่ 9 ขวบโดยการแข่งจับตุ๊กตาเสมือนจริงแต่งตัว เสริมเต้า ทำหน้า กินยาลดน้ำหนัก ประกวดนางงามเพื่อหาเงินมาซื้อเสื้อผ้าและเที่ยวเตร่ กระทั่งหาแฟนรวยๆ
โจทย์สำหรับผู้เล่มเกม ‘มิสบิมโบ’ คือการปั้นสาวน้อยที่เนี้ยบ รวย และเด่นดังที่สุด โดยได้รับมอบหมายภารกิจ อาทิ จับตุ๊กตาเสมือนจริงตัวเปล่าเปลือยแต่งตัว พาไปเสริมหน้าอก ทำหน้า หาแฟนมีสตางค์
ผู้เล่นยังต้องคอยดูว่าตุ๊กตาหิวข้าว หิวน้ำ และมีความสุขแค่ไหน รวมถึงต้องคอยควบคุมหุ่นด้วยยาลดน้ำหนัก
นอกจากนั้น ผู้เล่นยังต้องแข่งขันกันเพื่อให้ ‘บิมโบ’ มีเงินไปซื้อเสื้อผ้าเซ็กซี่ และออกเที่ยวสังสรรค์ โดยทางหนึ่งคือส่งเข้าประกวดนางงาม
แม้เล่นฟรีในอินเทอร์เน็ต แต่เมื่อเงินเสมือนจริงหมด ผู้เล่นจะต้องส่งข้อความสั้นไปให้บริษัทผู้พัฒนาเกมโอนเงินเข้าบัญชีเพิ่มโดยเสียค่าบริการครั้งละ 1.5 ปอนด์ (95 บาท) หรือใช้บริการเพย์พาล
ปัจจุบัน เกมนี้มีผู้เล่นเกือบ 200,000 คนในอังกฤษ หลังจากเพิ่งเปิดตัวเมื่อเดือนที่แล้ว ส่วนใหญ่เป็นเด็กอายุ 9-16 ปี ขณะที่เว็บไซต์คล้ายกันในฝรั่งเศสดึงดูดผู้เล่นถึง 1.2 ล้านคนในปีที่ผ่านมา ท่ามกลางเสียงประณามของพ่อแม่และนักโภชนาการ
ปีที่แล้ว เด็กทั่วโลกมากมายถูกชักนำเข้าสู่โลกเสมือนจริง ไม่ว่าจะเป็นเว็บไซต์ตุ๊กตาบาร์บี้ หรือแบรตซ์ ผู้พัฒนาเกมมิสบิมโบอ้างว่าเกมของตนสนุกสนานไร้พิษภัย และสร้างโดยอิงจากความสำเร็จของสัตว์เลี้ยงเสมือนจริง ‘ทามาก็อตจิ’
แต่สำหรับพ่อแม่ไม่สามารถสบายใจได้ เนื่องจากกลัวว่าลูกจะได้รับข้อมูลผิดๆ เกี่ยวกับความผิดปกติในการกินอาหาร และการทำศัลยกรรมความงาม
บิลล์ ฮิบเบิร์ด โฆษกกลุ่มพิทักษ์สิทธิ์ผู้ปกครอง พาเรนต์ไคนด์ วิจารณ์มิสบิมโบว่า ‘ปัญญาอ่อนและน่าเวทนา’
“แต่เด็กจะคิดแบบนั้นหรือเปล่า ที่น่ากลัวคือ เด็กอายุ 9 ขวบอาจหลงเชื่อว่าบิมโบเป็นต้นแบบที่ควรเอาอย่าง
“ความไร้เดียงสาของเด็กควรได้รับการปกป้องไว้ให้นานที่สุดเท่าที่ทำได้ ขึ้นอยู่กับภูมิหลังและความคิดอ่านของเด็ก แต่อันตรายก็คือ หลังจากเล่นเกม เด็กบางคนอาจฝังใจว่าจะต้องผ่าตัดเสริมหน้าอกหรือกินยาลดความอ้วนเมื่อโตขึ้น
“นอกจากนั้น เกมนี้ยังเป็นอันตรายต่อกระเป๋าสตางค์ของพ่อแม่ ถ้าคุณไม่รู้ว่าเด็กพิมพ์ข้อความอะไรลงไปในโทรศัพท์มือถือ”
ด้านผู้พัฒนาเกมนี้ นิโคลัส แจ็คควอต วัย 23 ปี ที่มีนิวาสถานอยู่ทางใต้ของลอนดอน ยืนยันว่ามิสบิมโบไม่ได้สร้างแรงจูงใจผิดๆ ให้เด็ก
“เด็กเรียนรู้ที่จะดูแลตุ๊กตาเสมือนจริงของตัวเอง ถ้ากินช็อกโกแลตมากไป ตุ๊กตาก็จะอ้วน ในทางกลับกัน ถ้ากินผักผลไม้ ตุ๊กตาจะมีความสุข และนี่เป็นการตอกย้ำการให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ด้านสุขภาพ
“ส่วนการทำหน้าอกเป็นแค่ส่วนหนึ่งของเกม เราไม่ได้ส่งเสริมให้เด็กไปหาหมอศัลยกรรม ภารกิจและเป้าหมายทั้งหมดในเกมเพียงต้องการสอนให้เด็กรับรู้โลกในความเป็นจริงเท่านั้น”
โจทย์สำหรับผู้เล่มเกม ‘มิสบิมโบ’ คือการปั้นสาวน้อยที่เนี้ยบ รวย และเด่นดังที่สุด โดยได้รับมอบหมายภารกิจ อาทิ จับตุ๊กตาเสมือนจริงตัวเปล่าเปลือยแต่งตัว พาไปเสริมหน้าอก ทำหน้า หาแฟนมีสตางค์
ผู้เล่นยังต้องคอยดูว่าตุ๊กตาหิวข้าว หิวน้ำ และมีความสุขแค่ไหน รวมถึงต้องคอยควบคุมหุ่นด้วยยาลดน้ำหนัก
นอกจากนั้น ผู้เล่นยังต้องแข่งขันกันเพื่อให้ ‘บิมโบ’ มีเงินไปซื้อเสื้อผ้าเซ็กซี่ และออกเที่ยวสังสรรค์ โดยทางหนึ่งคือส่งเข้าประกวดนางงาม
แม้เล่นฟรีในอินเทอร์เน็ต แต่เมื่อเงินเสมือนจริงหมด ผู้เล่นจะต้องส่งข้อความสั้นไปให้บริษัทผู้พัฒนาเกมโอนเงินเข้าบัญชีเพิ่มโดยเสียค่าบริการครั้งละ 1.5 ปอนด์ (95 บาท) หรือใช้บริการเพย์พาล
ปัจจุบัน เกมนี้มีผู้เล่นเกือบ 200,000 คนในอังกฤษ หลังจากเพิ่งเปิดตัวเมื่อเดือนที่แล้ว ส่วนใหญ่เป็นเด็กอายุ 9-16 ปี ขณะที่เว็บไซต์คล้ายกันในฝรั่งเศสดึงดูดผู้เล่นถึง 1.2 ล้านคนในปีที่ผ่านมา ท่ามกลางเสียงประณามของพ่อแม่และนักโภชนาการ
ปีที่แล้ว เด็กทั่วโลกมากมายถูกชักนำเข้าสู่โลกเสมือนจริง ไม่ว่าจะเป็นเว็บไซต์ตุ๊กตาบาร์บี้ หรือแบรตซ์ ผู้พัฒนาเกมมิสบิมโบอ้างว่าเกมของตนสนุกสนานไร้พิษภัย และสร้างโดยอิงจากความสำเร็จของสัตว์เลี้ยงเสมือนจริง ‘ทามาก็อตจิ’
แต่สำหรับพ่อแม่ไม่สามารถสบายใจได้ เนื่องจากกลัวว่าลูกจะได้รับข้อมูลผิดๆ เกี่ยวกับความผิดปกติในการกินอาหาร และการทำศัลยกรรมความงาม
บิลล์ ฮิบเบิร์ด โฆษกกลุ่มพิทักษ์สิทธิ์ผู้ปกครอง พาเรนต์ไคนด์ วิจารณ์มิสบิมโบว่า ‘ปัญญาอ่อนและน่าเวทนา’
“แต่เด็กจะคิดแบบนั้นหรือเปล่า ที่น่ากลัวคือ เด็กอายุ 9 ขวบอาจหลงเชื่อว่าบิมโบเป็นต้นแบบที่ควรเอาอย่าง
“ความไร้เดียงสาของเด็กควรได้รับการปกป้องไว้ให้นานที่สุดเท่าที่ทำได้ ขึ้นอยู่กับภูมิหลังและความคิดอ่านของเด็ก แต่อันตรายก็คือ หลังจากเล่นเกม เด็กบางคนอาจฝังใจว่าจะต้องผ่าตัดเสริมหน้าอกหรือกินยาลดความอ้วนเมื่อโตขึ้น
“นอกจากนั้น เกมนี้ยังเป็นอันตรายต่อกระเป๋าสตางค์ของพ่อแม่ ถ้าคุณไม่รู้ว่าเด็กพิมพ์ข้อความอะไรลงไปในโทรศัพท์มือถือ”
ด้านผู้พัฒนาเกมนี้ นิโคลัส แจ็คควอต วัย 23 ปี ที่มีนิวาสถานอยู่ทางใต้ของลอนดอน ยืนยันว่ามิสบิมโบไม่ได้สร้างแรงจูงใจผิดๆ ให้เด็ก
“เด็กเรียนรู้ที่จะดูแลตุ๊กตาเสมือนจริงของตัวเอง ถ้ากินช็อกโกแลตมากไป ตุ๊กตาก็จะอ้วน ในทางกลับกัน ถ้ากินผักผลไม้ ตุ๊กตาจะมีความสุข และนี่เป็นการตอกย้ำการให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ด้านสุขภาพ
“ส่วนการทำหน้าอกเป็นแค่ส่วนหนึ่งของเกม เราไม่ได้ส่งเสริมให้เด็กไปหาหมอศัลยกรรม ภารกิจและเป้าหมายทั้งหมดในเกมเพียงต้องการสอนให้เด็กรับรู้โลกในความเป็นจริงเท่านั้น”