คัดตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ โผไม่พลิก"วสันต์-จรัญ-สุพจน์ –เฉลิมพล" ได้รับเลือก "อักรทร" ลั่นไม่มีใบสั่ง เลือกคนที่ดีที่สุด "บัญญัติ"ชี้ดีกว่าชุดที่แล้ว เพราะที่มาปลอดการเมือง ด้าน"หมัก"โวยแหลก ตั้งคนที่เป็นปฏิปักษ์กับระบอบทักษิณ
วานนี้ (25 มี.ค.) ที่รัฐสภา ได้มีการประชุมของคณะกรรมการรสรรหาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อลงมติคัดเลือกตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ จำนวน 4 คน โดยมีคณะกรรมการสรรหาประกอบด้วย นายวิรัช ลิ้มวิชัย ประธานศาลฎีกา ในฐานะคณะกรรมการการสรรหาฯ นายอักขราทร จุฬารัตน ประธานศาลปกครองสูงสุด นายปานเทพ กล้าณรงค์ราญ ประธานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) และนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำพรรคฝ่ายค้าน โดยผลการลงคะแนนปรากฏว่า
สายนิติศาสตร์ ได้แก่ นายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ผู้พิพากษาอาวุโสในศาลอุทธรณ์ภาค 4 นายจรัญ ภักดีธนากุล ปลัดกระทรวงยุติธรรม ส่วนสายรัฐศาสตร์ ได้แก่ นายสุพจน์ ไข่มุกด์ อดีตเอกอัครราชทูตโปแลนด์ และอดีตกรรมมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ และนายเฉลิม เอกอุรุ อดีตรองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ
ภายหลังการประชุม นายวิรัช ในฐานะคณะกรรมการการสรรหาฯได้แถลงผลการสรรหาว่า คณะกรรมการสรรหาทุกคนได้ใช้ดุลพินิจดีที่สุดแล้ว โดยใช้หลักเกณฑ์ทางกฎหมายในการคัดเลือก อย่างไรก็ตาม ในการทำงานที่หลายฝ่ายกังวลว่าจะมีความเป็นกลางหรือไม่ ก็เป็นหน้าที่ของทั้ง 4 คนที่จะพิสูจน์ตัวเอง ทั้งนี้จะเสนอรายชื่อทั้ง 4 คนให้ประธานวุฒิสภาพิจารณาทันที ส่วนที่ศาลฎีกา จะมีการสรรหาจำนวน 3 คน ในวันที่ 4 เม.ย.นี้
นายอักขราทร กล่าวว่า การสรรหาครั้งไม่มีการล็อก หรือใบสั่งจากใครแน่นอน ไม่ต้องเป็นห่วง เพราะอย่างพวกเราไม่มีใครมาสั่งได้อยู่แล้ว
เมื่อถามว่าทั้ง 4 คนดูเหมือนว่าจะเป็นฝ่ายตรงข้ามกับระบอบทักษิณ นาย อักขราทร กล่าวว่า การคัดเลือกไม่ได้ดูว่าใครเป็นฝ่ายใคร แต่ดูที่ความรู้ความสามารถ และผลงานในอดีตซึ่งเป็นสิ่งสำคัญกว่าการแสดงวิสัยทัศน์ ขอย้ำว่าเราดูที่ผลงานในอดีตมากกว่า
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การสรรหาครั้งนี้ต้องใช้มติ 2 ใน 3 หรือ 3 คะแนน โดยสายนิติศาสตร์ ลงคะแนนเพียงรอบเดียว โดยนายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ได้ 4 คะแนน นายจรัญ ภักดีธนากุล ได้ 3 คะแนน ขณะที่สายรัฐศาสตร์ ต้องมีการลงคะแนนถึง 3 รอบ โดยรอบแรกนายสุพจน์ ได้คะแนน 4 คะแนน จากนั้นได้มีการลงคะแนนรอบที่ 2 และ 3 ปรากฏว่า นายเฉลิมพลได้ 3 คะแนน
ปลอดการเมืองดีกว่าชุดที่แล้ว
นายบัญญัติ บรรทัดฐาน รองประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจะมีบทบาทมากต่อการยุบพรรคหรือไม่ยุบพรรค ซึ่งต้องเข้าใจว่าดุลพินิจเป็นเพียงองค์ประกอบเท่านั้น แต่หลักกฎหมายที่มีอยู่แล้วสำคัญที่สุด เท่าที่ติดตามดูตุลาการฯชุดใหม่ น่าจะดีกว่าชุดที่แล้ว เพราะครั้งก่อนมีปัญหาตรงที่คณะกรรมการสรรหามีตัวแทนจากพรรคการเมืองเข้าไปอยู่ด้วย อีกทั้งส.ว. ที่ต้องลงมติเลือกบุคคลก็ถูกครอบงำ มีการกล่าวหาว่ารับเงินเดือนจากพรรคการเมือง ทำให้ได้ตุลาการฯ บางคนที่มีปัญหา
"กลไกคัดเลือกคราวนี้ดีกว่า เพราะไม่ได้มาจากพรรคการเมือง ซึ่งเมื่อกรรมการคัดบุคคลเข้าไปสู่ขั้นตอนของวุฒิสภาแล้ว ส.ว.มีหน้าที่แค่เห็นชอบหรือไม่เห็นชอบกับบุคคลที่กรรมการสรรหาเสนอเท่านั้น ไม่มีสิทธิเลือกบุคคลใดบุคคลหนึ่งได้ สำคัญก็คือ ตุลาการฯชุดใหม่คงได้ศึกษาความล้มเหลวหรือความสำเร็จของตุลาการฯ ชุดเก่า ภายใต้การครอบงำของฝ่ายการเมืองว่ามันเลวร้ายขนาดไหน ตรงนี้จะเป็นบทเรียนที่เป็นประโยชน์ โดยเฉพาะภาระหน้าที่ต่อจากนี้ท้าทายมาก" นายบัญญัติ กล่าว
"หมัก" โวยล้วนปฏิปักษ์ "แม้ว"
นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม แสดงความเห็นถึงรายชื่อตุลาการศาลรัฐธรรมนูญชุดใหม่ ว่า ทำไมเขารีบตั้งล่ะ แล้วอย่างนี้จะดีไหม ถ้าดีก็ต้องเอาคนกลาง หรือคนริมมา เวลาจะเลือกคนไปสอบยังถามเลยว่าคนนี้เป็นอะไรกันรึเปล่า ไม่ถูกกันเขายังไม่เอา นี่ตุลาการรัฐธรรมนูญ ถ้าเลือกได้คนเป็นปฏิปักษ์ ที่เกลียดชังรัฐบาลเก่า โห...เป็นที่น่าชื่นชมหรือ แสดงว่าดี หรือเปล่าอย่างนี้ ตั้งคนเกลียดชังกันมาเป็นกรรมการสอบสวนดี หรือไม่ดี มันผิดปกติ
ผู้สื่อข่าวถามว่า การสรรหาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่ขาด นายยงยุทธ ติยะไพรัช ประธานสภาฯ ทำให้มีผลออกมาอย่างนี้หรือไม่ นายสมัคร กล่าวว่า เป็นคนสำคัญเลยหรือ ไม่มีใครวิพากษ์วิจารณ์ใช่ไหม ก็ลองดูว่ามีใครจะสนใจวิพากษ์วิจารณ์บ้างไหม
วานนี้ (25 มี.ค.) ที่รัฐสภา ได้มีการประชุมของคณะกรรมการรสรรหาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อลงมติคัดเลือกตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ จำนวน 4 คน โดยมีคณะกรรมการสรรหาประกอบด้วย นายวิรัช ลิ้มวิชัย ประธานศาลฎีกา ในฐานะคณะกรรมการการสรรหาฯ นายอักขราทร จุฬารัตน ประธานศาลปกครองสูงสุด นายปานเทพ กล้าณรงค์ราญ ประธานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) และนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำพรรคฝ่ายค้าน โดยผลการลงคะแนนปรากฏว่า
สายนิติศาสตร์ ได้แก่ นายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ผู้พิพากษาอาวุโสในศาลอุทธรณ์ภาค 4 นายจรัญ ภักดีธนากุล ปลัดกระทรวงยุติธรรม ส่วนสายรัฐศาสตร์ ได้แก่ นายสุพจน์ ไข่มุกด์ อดีตเอกอัครราชทูตโปแลนด์ และอดีตกรรมมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ และนายเฉลิม เอกอุรุ อดีตรองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ
ภายหลังการประชุม นายวิรัช ในฐานะคณะกรรมการการสรรหาฯได้แถลงผลการสรรหาว่า คณะกรรมการสรรหาทุกคนได้ใช้ดุลพินิจดีที่สุดแล้ว โดยใช้หลักเกณฑ์ทางกฎหมายในการคัดเลือก อย่างไรก็ตาม ในการทำงานที่หลายฝ่ายกังวลว่าจะมีความเป็นกลางหรือไม่ ก็เป็นหน้าที่ของทั้ง 4 คนที่จะพิสูจน์ตัวเอง ทั้งนี้จะเสนอรายชื่อทั้ง 4 คนให้ประธานวุฒิสภาพิจารณาทันที ส่วนที่ศาลฎีกา จะมีการสรรหาจำนวน 3 คน ในวันที่ 4 เม.ย.นี้
นายอักขราทร กล่าวว่า การสรรหาครั้งไม่มีการล็อก หรือใบสั่งจากใครแน่นอน ไม่ต้องเป็นห่วง เพราะอย่างพวกเราไม่มีใครมาสั่งได้อยู่แล้ว
เมื่อถามว่าทั้ง 4 คนดูเหมือนว่าจะเป็นฝ่ายตรงข้ามกับระบอบทักษิณ นาย อักขราทร กล่าวว่า การคัดเลือกไม่ได้ดูว่าใครเป็นฝ่ายใคร แต่ดูที่ความรู้ความสามารถ และผลงานในอดีตซึ่งเป็นสิ่งสำคัญกว่าการแสดงวิสัยทัศน์ ขอย้ำว่าเราดูที่ผลงานในอดีตมากกว่า
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การสรรหาครั้งนี้ต้องใช้มติ 2 ใน 3 หรือ 3 คะแนน โดยสายนิติศาสตร์ ลงคะแนนเพียงรอบเดียว โดยนายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ได้ 4 คะแนน นายจรัญ ภักดีธนากุล ได้ 3 คะแนน ขณะที่สายรัฐศาสตร์ ต้องมีการลงคะแนนถึง 3 รอบ โดยรอบแรกนายสุพจน์ ได้คะแนน 4 คะแนน จากนั้นได้มีการลงคะแนนรอบที่ 2 และ 3 ปรากฏว่า นายเฉลิมพลได้ 3 คะแนน
ปลอดการเมืองดีกว่าชุดที่แล้ว
นายบัญญัติ บรรทัดฐาน รองประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจะมีบทบาทมากต่อการยุบพรรคหรือไม่ยุบพรรค ซึ่งต้องเข้าใจว่าดุลพินิจเป็นเพียงองค์ประกอบเท่านั้น แต่หลักกฎหมายที่มีอยู่แล้วสำคัญที่สุด เท่าที่ติดตามดูตุลาการฯชุดใหม่ น่าจะดีกว่าชุดที่แล้ว เพราะครั้งก่อนมีปัญหาตรงที่คณะกรรมการสรรหามีตัวแทนจากพรรคการเมืองเข้าไปอยู่ด้วย อีกทั้งส.ว. ที่ต้องลงมติเลือกบุคคลก็ถูกครอบงำ มีการกล่าวหาว่ารับเงินเดือนจากพรรคการเมือง ทำให้ได้ตุลาการฯ บางคนที่มีปัญหา
"กลไกคัดเลือกคราวนี้ดีกว่า เพราะไม่ได้มาจากพรรคการเมือง ซึ่งเมื่อกรรมการคัดบุคคลเข้าไปสู่ขั้นตอนของวุฒิสภาแล้ว ส.ว.มีหน้าที่แค่เห็นชอบหรือไม่เห็นชอบกับบุคคลที่กรรมการสรรหาเสนอเท่านั้น ไม่มีสิทธิเลือกบุคคลใดบุคคลหนึ่งได้ สำคัญก็คือ ตุลาการฯชุดใหม่คงได้ศึกษาความล้มเหลวหรือความสำเร็จของตุลาการฯ ชุดเก่า ภายใต้การครอบงำของฝ่ายการเมืองว่ามันเลวร้ายขนาดไหน ตรงนี้จะเป็นบทเรียนที่เป็นประโยชน์ โดยเฉพาะภาระหน้าที่ต่อจากนี้ท้าทายมาก" นายบัญญัติ กล่าว
"หมัก" โวยล้วนปฏิปักษ์ "แม้ว"
นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม แสดงความเห็นถึงรายชื่อตุลาการศาลรัฐธรรมนูญชุดใหม่ ว่า ทำไมเขารีบตั้งล่ะ แล้วอย่างนี้จะดีไหม ถ้าดีก็ต้องเอาคนกลาง หรือคนริมมา เวลาจะเลือกคนไปสอบยังถามเลยว่าคนนี้เป็นอะไรกันรึเปล่า ไม่ถูกกันเขายังไม่เอา นี่ตุลาการรัฐธรรมนูญ ถ้าเลือกได้คนเป็นปฏิปักษ์ ที่เกลียดชังรัฐบาลเก่า โห...เป็นที่น่าชื่นชมหรือ แสดงว่าดี หรือเปล่าอย่างนี้ ตั้งคนเกลียดชังกันมาเป็นกรรมการสอบสวนดี หรือไม่ดี มันผิดปกติ
ผู้สื่อข่าวถามว่า การสรรหาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่ขาด นายยงยุทธ ติยะไพรัช ประธานสภาฯ ทำให้มีผลออกมาอย่างนี้หรือไม่ นายสมัคร กล่าวว่า เป็นคนสำคัญเลยหรือ ไม่มีใครวิพากษ์วิจารณ์ใช่ไหม ก็ลองดูว่ามีใครจะสนใจวิพากษ์วิจารณ์บ้างไหม