ผู้จัดการรายวัน-ผู้ใช้น้ำมันกินแห้ว ปตท.ยืดเวลาปรับลดเบนซินออกไปอีก แม้ค่าการตลาดพุ่ง 2บาท/ลิตร อ้างราคาตลาดสิงคโปร์ยังปรับขึ้น 1 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ลุ้นต่อวันนี้หากราคาสิงคโปร์ไม่เปลี่ยนแปลง ผู้ค้าน้ำมันจะปรับลดราคาเบนซินลง 50 สต./ลิตร ส่วนดีเซลรอประเมินอีกครั้งในปลายสัปดาห์นี้ “ชัยวัฒน์” เผยไทยคงต้องนำเข้า LPG จนถึงสิ้นปีเบ็ดเสร็จรวม 1 แสนตัน โดยล็อตแรกนำเข้า 2.2 หมื่นตันปลายมี.ค.นี้
นายชัยวัฒน์ ชูฤทธิ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่หน่วยธุรกิจน้ำมัน บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ปตท.ยังไม่พิจารณาปรับลดราคาขายปลีกน้ำมันเบนซิน หลังจากราคาเบนซินที่ตลาดสิงคโปร์เมื่อวันที่ 24 มี.ค. ปรับเพิ่มขึ้น 1. 07 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล มาอยู่ที่ 105.22 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล ส่วนน้ำมันดีเซลอยู่ที่ 123.86 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล ปรับตัวลดลง 1.43 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล ส่งผลให้ค่าการตลาดเบนซินอยู่ที่ 2 บาท/ลิตร และค่าการตลาดดีเซลอยู่ที่ 0.90 บาท/ลิตร
หากราคาน้ำมันเบนซินในตลาดสิงคโปร์ไม่มีการเปลี่ยนแปลงในวันนี้ (26 มี.ค.) ปตท.จะพิจารณาปรับลดราคาขายปลีกเบนซินลงลิตรละ 50 สตางค์ ส่วนน้ำมันดีเซลนั้นจะประเมินราคาอีกครั้งในปลายสัปดาห์นี้ หากราคาน้ำมันปรับตัวลดลงอีก ก็มีโอกาสที่จะปรับลดราคาขายปลีกดีเซลลงได้
สถานการณ์ราคาช่วงนี้ที่ปรับตัวลดลงทำให้ค่อยทยอยเข้าสู่ภาวะเหมาะสม ซึ่งมองว่าราคาน้ำมันดิบดูไบน่าผ่านช่วงจุดสูงสุดไปแล้ว โดยน่าจะอ่อนตัวลงมาต่ำกว่าระดับ 100 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล ขณะที่ราคาน้ำมันดิบที่ WTI ก็ปรับลดลง ส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบดูไบในวันนี้ปรับตัวลดลงตาม ทำให้ราคาน้ำมันสำเร็จรูปปรับตัวลดลงด้วย
นายชัยวัฒน์กล่าวว่า จากความต้องการใช้ก๊าซหุงต้ม (LPG) สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องหลังราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้ไทยต้องนำเข้า LPG เป็นครั้งแรก โดยปตท.การนำเข้า LPG ล็อตแรกจำนวน 2.2 หมื่นตันในปลายเดือนมี.ค.นี้ คาดว่าจะรองรับความต้องการใช้ได้เพียง 1 เดือนหลังจากนั้นจะต้องมีการทยอยนำเข้าอีกตลอดสิ้นปีนี้ รวมทั้งสิ้นประมาณ 1 แสนตัน ขณะที่ราคา LPG ที่ตลาดซาอุฯอยู่ที่ 822 เหรียญสหรัฐ/ตัน (ไม่รวมค่าขนส่ง) แต่ปตท.นำเข้ามาจำหน่ายในราคาควบคุมที่ 320 เหรียญสหรัฐ/ตัน ซึ่งต่ำกว่าราคาตลาดโลกถึง 500 เหรียญสหรัฐ/ตัน
ปัจจุบันไทยมีการผลิตก๊าซหุงต้มอยู่ 3 แสนกว่าตัน/เดือน ขณะที่ความต้องการใช้ก๊าซหุงต้มช่วงเดือนม.ค.นี้อยู่ที่ 2.8 แสนตัน/เดือน สูงกว่าปี 2550 ที่มีดีมานด์อยู่ 2.4 แสนตัน/เดือน ซึ่งช่วงที่ผ่านมา มีการขยายปั๊ม LPG สำหรับยานยนต์เพิ่มมากขึ้น ขณะที่ปตท.หยุดขยายปั๊ม LPG สำหรับยานยนต์มาตั้งแต่มีโครงการส่งเสริมการใช้ก๊าซเอ็นจีวี คงเหลือแต่ปั๊ม LPG ที่เป็นของดีลเลอร์เพียง 30 แห่งที่เป็นของเดิมที่อนุมัติไว้แล้ว
ขณะที่ความต้องการใช้ LPG ส่วนใหญ่มาจากภาคครัวเรือนที่มีอัตราการโตเพียง 5-6% แต่ภาคขนส่ง มีการใช้ LPG อยู่ 20-30%ของความต้องการใช้ทั้งหมด แต่มีอัตราการเติบโตสูงถึงปีละ 30-40%
นายชัยวัฒน์กล่าวอีกว่า ปตท.จะขยายโปรโมชั่นการขายน้ำมัน E 20 ราคาพิเศษ ต่ำกว่าเบนซิน 95 ลิตรละ 6 บาทต่อไปอีก 3 เดือนจนถึงเดือนมิ.ย.นี้ หลังจากลูกค้ามีความมั่นใจและให้การต้อนรับอย่างดีทำให้ยอดขาย E 20 พุ่งสูงขึ้นจาก 1.4 แสนลิตร/เดือน เป็น 5 แสนลิตร/เดือน หรือเพิ่มขึ้นกว่า 357% นอกจากนี้ เพื่อเป็นการรองรับความต้องการของผู้ใช้บริการที่เพิ่มมากขึ้น ปตท.จะเร่งขยายจำนวนสถานีบริการที่ขาย E 20 เพิ่มขึ้นเพื่อให้เพียงพอต่อปริมาณรถยนต์ที่สามารถเติม E 20ได้ โดยในปัจจุบันมีจำนวนทั้งสิ้น 30 สถานีใน 7 จังหวัด คือ กรุงเทพฯ อยุธยา สิงห์บุรี ราชบุรี นนทบุรี สมุทรปราการ และ ปทุมธานี
นายชัยวัฒน์ ชูฤทธิ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่หน่วยธุรกิจน้ำมัน บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ปตท.ยังไม่พิจารณาปรับลดราคาขายปลีกน้ำมันเบนซิน หลังจากราคาเบนซินที่ตลาดสิงคโปร์เมื่อวันที่ 24 มี.ค. ปรับเพิ่มขึ้น 1. 07 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล มาอยู่ที่ 105.22 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล ส่วนน้ำมันดีเซลอยู่ที่ 123.86 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล ปรับตัวลดลง 1.43 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล ส่งผลให้ค่าการตลาดเบนซินอยู่ที่ 2 บาท/ลิตร และค่าการตลาดดีเซลอยู่ที่ 0.90 บาท/ลิตร
หากราคาน้ำมันเบนซินในตลาดสิงคโปร์ไม่มีการเปลี่ยนแปลงในวันนี้ (26 มี.ค.) ปตท.จะพิจารณาปรับลดราคาขายปลีกเบนซินลงลิตรละ 50 สตางค์ ส่วนน้ำมันดีเซลนั้นจะประเมินราคาอีกครั้งในปลายสัปดาห์นี้ หากราคาน้ำมันปรับตัวลดลงอีก ก็มีโอกาสที่จะปรับลดราคาขายปลีกดีเซลลงได้
สถานการณ์ราคาช่วงนี้ที่ปรับตัวลดลงทำให้ค่อยทยอยเข้าสู่ภาวะเหมาะสม ซึ่งมองว่าราคาน้ำมันดิบดูไบน่าผ่านช่วงจุดสูงสุดไปแล้ว โดยน่าจะอ่อนตัวลงมาต่ำกว่าระดับ 100 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล ขณะที่ราคาน้ำมันดิบที่ WTI ก็ปรับลดลง ส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบดูไบในวันนี้ปรับตัวลดลงตาม ทำให้ราคาน้ำมันสำเร็จรูปปรับตัวลดลงด้วย
นายชัยวัฒน์กล่าวว่า จากความต้องการใช้ก๊าซหุงต้ม (LPG) สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องหลังราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้ไทยต้องนำเข้า LPG เป็นครั้งแรก โดยปตท.การนำเข้า LPG ล็อตแรกจำนวน 2.2 หมื่นตันในปลายเดือนมี.ค.นี้ คาดว่าจะรองรับความต้องการใช้ได้เพียง 1 เดือนหลังจากนั้นจะต้องมีการทยอยนำเข้าอีกตลอดสิ้นปีนี้ รวมทั้งสิ้นประมาณ 1 แสนตัน ขณะที่ราคา LPG ที่ตลาดซาอุฯอยู่ที่ 822 เหรียญสหรัฐ/ตัน (ไม่รวมค่าขนส่ง) แต่ปตท.นำเข้ามาจำหน่ายในราคาควบคุมที่ 320 เหรียญสหรัฐ/ตัน ซึ่งต่ำกว่าราคาตลาดโลกถึง 500 เหรียญสหรัฐ/ตัน
ปัจจุบันไทยมีการผลิตก๊าซหุงต้มอยู่ 3 แสนกว่าตัน/เดือน ขณะที่ความต้องการใช้ก๊าซหุงต้มช่วงเดือนม.ค.นี้อยู่ที่ 2.8 แสนตัน/เดือน สูงกว่าปี 2550 ที่มีดีมานด์อยู่ 2.4 แสนตัน/เดือน ซึ่งช่วงที่ผ่านมา มีการขยายปั๊ม LPG สำหรับยานยนต์เพิ่มมากขึ้น ขณะที่ปตท.หยุดขยายปั๊ม LPG สำหรับยานยนต์มาตั้งแต่มีโครงการส่งเสริมการใช้ก๊าซเอ็นจีวี คงเหลือแต่ปั๊ม LPG ที่เป็นของดีลเลอร์เพียง 30 แห่งที่เป็นของเดิมที่อนุมัติไว้แล้ว
ขณะที่ความต้องการใช้ LPG ส่วนใหญ่มาจากภาคครัวเรือนที่มีอัตราการโตเพียง 5-6% แต่ภาคขนส่ง มีการใช้ LPG อยู่ 20-30%ของความต้องการใช้ทั้งหมด แต่มีอัตราการเติบโตสูงถึงปีละ 30-40%
นายชัยวัฒน์กล่าวอีกว่า ปตท.จะขยายโปรโมชั่นการขายน้ำมัน E 20 ราคาพิเศษ ต่ำกว่าเบนซิน 95 ลิตรละ 6 บาทต่อไปอีก 3 เดือนจนถึงเดือนมิ.ย.นี้ หลังจากลูกค้ามีความมั่นใจและให้การต้อนรับอย่างดีทำให้ยอดขาย E 20 พุ่งสูงขึ้นจาก 1.4 แสนลิตร/เดือน เป็น 5 แสนลิตร/เดือน หรือเพิ่มขึ้นกว่า 357% นอกจากนี้ เพื่อเป็นการรองรับความต้องการของผู้ใช้บริการที่เพิ่มมากขึ้น ปตท.จะเร่งขยายจำนวนสถานีบริการที่ขาย E 20 เพิ่มขึ้นเพื่อให้เพียงพอต่อปริมาณรถยนต์ที่สามารถเติม E 20ได้ โดยในปัจจุบันมีจำนวนทั้งสิ้น 30 สถานีใน 7 จังหวัด คือ กรุงเทพฯ อยุธยา สิงห์บุรี ราชบุรี นนทบุรี สมุทรปราการ และ ปทุมธานี