สถาบันพระปกเกล้า เปิดเวทีสร้างภูมิคุ้มกัน ส.ว.ใหม่"ประสพสุข" ประกาศต้องสร้างความเชื่อมั่นให้เกิดขึ้น หลังจากส.ว.ชุดก่อน ทำประชาชนเสื่อมศรัทธา จนเกิดวิกฤติการเมือง "นรนิติ" ชูประเด็นให้ทำเพื่อประชาชน ย้ำต้องการความเป็นกลาง ด้านอดีต ส.ส.ร.ชี้ หลายฝ่ายคาดหวังไม่ต้องการวุฒิน่าเกลียด ลั่นไม่อยากเจอทำผิดซ้ำซาก จนเป็นเหตุชนวนวิกฤตอีก "เกียรติชัย "อัด "เลี้ยบ" ประกาศแก้ รธน. เพราะตัวเองกลัวทำผิดซ้ำซากไม่ได้ ฝากส.ว.ช่วยดูประเด็นนี้ด้วย
เมื่อเวลา13.30 น.วานนี้ ( 22 มี.ค.) ที่ห้องประชุมอนันดาบอลรูม โรงแรม อมารี ออคิด รีสอร์ท แอนด์ทาวเวอร์ พัทยา จ.ชลบุรี สำนักส่งเสริมวิชาการรัฐสภา สถาบันพระปกเกล้า ได้จัดสัมมนาสมาชิกวุฒิสภาในหัวข้อ "สมาชิกวุฒิสภา สภาผู้ทรงเกียรติ" โดยมี ส.ว.เข้าร่วม 133 คน
นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า กล่าวเปิดการสัมมนาว่า สถาบันพระปกเกล้า เป็นสถานบันวิชาการด้านการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย และเป็นหน่วยงานในกำกับของประธานรัฐสภา มีหน้าที่สำคัญในการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยระบบธรรมาภิบาลสันติ และที่สำคัญได้ส่งเสริมงานวิชาการงานของสมาชิกรัฐสภา อย่างต่อเนื่อง
ในโอกาสที่ประเทศไทยได้มี ส.ว.ทั้งระบบสรรหา และเลือกตั้ง จึงเป็นโอกาสที่ ส.วใหม่จะได้มาหารือร่วมกันเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น โดยมีจุดประสงค์ คือ 1. เพื่อให้สมาชิกเข้าใจบาทหน้าที่ของ ส.ว. ตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ
2. เสริมสร้างประสิทธิภาพการปฏิบัติหน้าที่ของสมาชิกในอนาคต และเปิดโอกาสให้สมาชิกได้สอบถามคนที่เคยทำหน้าที่วุฒิสมาชิกมาก่อน
3. เพื่อให้เป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการทำงานระหว่างกัน
**ปธ.วุฒิเร่งฟื้นความเชื่อมั่น
ด้านนายประสพสุข บุญเดช ประธานวุฒิสภา ได้กล่าวปาฐกถา เปิดงาน ในหัวข้อ "สมาชิกวุฒิสภา สภาผู้ทรงเกียรติ" ว่า ตามที่สถาบันพระปกเกล้า ได้จัดอภิปรายในหัวข้อนี้ ก็เพื่อให้สภาผู้ทรงคุณวุฒิ ได้เข้าใจบทบาทหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ และเสริมสร้างส.ว.ให้เป็นผู้ทรงคุณวุฒิอย่างแท้จริง แม้หลายคนจะมีประสบการณ์ในการทำงานใม่น้อย แต่ก็เป็นครั้งแรกที่ต้องทำหน้าที่ใหม่
นายประสพสุข กล่าวว่า การทำหน้าที่ส.ว.ให้ถูกต้องนั้น ถือเป็นเรื่องที่สำคัญ เพราะที่ผ่านมาการทำหน้าที่ไม่ถูกต้อง เป็นต้นเหตุของการเกิดวิกฤตการณ์ทางการเมืองที่ผ่านมา
ทั้งนี้ ปัญหาที่เกิดขึ้นที่ผ่านมา เป็นเพราะองค์กรอิสระต่างๆไม่ปฏิบัติตามกลไกของรัฐธรรมนูญ หลายภาคส่วนไม่ดำเนินการไปตามบทบาทหน้าที่ และเจตนารมณ์ที่ถูกต้อง จึงทำให้สังคมหลายภาคส่วนขาดความเชื่อถือ เชื่อมั่น ในองค์กรอิสระ จึงเป็นเป็นผลพวงของรัฐธรรมนูญปี 50 ที่กำหนดให้ ส.ว.มาจาก 2 ระบบ คือสรรหาและเลือกตั้ง ซึ่งส.ว.ทั้งสองระบบนี้จะต้องปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ ในการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข โดยอำนาจหน้าที่ของ ส.ว.ชุดนี้ มีหลายส่วนที่ไม่ต่างจากรัฐธรรมนูญปี 40 คือ
1. กลั่นกรองกฏหมาย 2. ควบคุมการทำงานของรัฐบาล 3. ให้ความเห็นชอบบุคคลเข้าดำรงตำแหน่งต่างๆ ตามที่บัญญัติในกฏหมาย 4. ถอดถอนบุคคลผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง และข้าราชการระดับสูง ซึ่งบทบาทหน้าที่ต่างๆ เหล่านี้ ไม่ได้แตกต่างไปจากที่รัฐธรรมนูญปี 40 บัญญัติไว้มากนัก
แต่ปัญหาก็คือความไม่เชื่อมั่นจากสังคม ก็ยังคงมีอยู่ พวกเราซึ่งเป็นส.ว. ตามรัฐธรรมนูญใหม่ จะสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนได้อย่างไร
นายประสพสุข กล่าวว่า การสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนนั้น เราจะต้องเริ่มทำงานในกรรมาธิการศึกษาสอบสวนในหลายเรื่อง ให้มีประสิทธิผลซึ่งก่อนและนำไปเผยแพร่เพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อสาธารณชน ซึ่งการทำงานของเราจะมีประสิทธิภาพ วุฒิสภา เป็นสภาทรงคุณวุฒิ ต้องมีปัจจัยหลายประการ
**ยกเครื่องระบบฐานข้อมูล
โดยประการแรก ต้องมีฐานข้อมูลที่สมบูรณ์ ซึ่งวุฒิสภาต้องเป็นสภาแห่งองค์ความรู้ เพราะหากต้องการตรวจสอบการทำงานของฝ่ายบริหารอย่างมีประสิทธิภาพ ต้องมีข้อมูลที่เหนือกว่า ซึ่งวุฒิสภาสามารถทำได้ โดยอาศัยระบบกรรมาธิการฯ จึงจำเป็นต้องจัดฐานข้อมูลของวุฒิสภาให้เป็นระบบ โดย 1.สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ได้งบสนับสนุนในการทำวิจัย 7 ล้านบาท ก็สามารถนำมาทำวิจัยชิ้นนี้ได้ เราต้องพัฒนาให้ห้องสมุดของรัฐสภา เป็นห้องสมุดที่ทันสมัย เช่นเดียวกับ library of congress ของสหรัฐอเมริกา รวมถึงห้องสมุดของวุฒิสภาด้วย เราต้องพัฒนาให้เป็ระบบบริการที่ทันสมัยเชื่อมโยงกับเครือข่ายสื่อมวลชนและประชาชนให้ได้
ประการที่ 2. การจะสร้างความเชื่อมั่นให้กับวุฒิสภานั้น วุฒิสภาต้องทำหน้าที่เพื่อส่วนรวม การเห็นแก่ประโยชน์ของพวกพ้อง หรือผลประโยชน์ของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เป็นการทำลายความน่าเชื่อถือ ทำลายระบบประชาธิปไตย และกระบวนการตรวจสอบถ่วงดุลอย่างยิ่ง และจะเป็นชนวนเหตุให้เกิดวิกฤตการณ์ทางการเมืองเช่นในอดีต
**ทำงานอย่างอิสระ โปร่งใส
เมื่อใดฐานข้อมูลมาอย่างสมบูรณ์แล้ว ส.ว.ต้องทำหน้าที่อย่างอิสระ เป็นกลาง ปราศจากการแทรกแซงจากอำนาจใดๆ และทำหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบ เพื่อประโยชน์สูงสุดของประเทศชาติ และประชาชน ยึดหลักเปิดเผยโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ และต้องมีการติดตามผลการดำเนินงาน เพื่อนำไปเผยแพร่
เมื่อวุฒิสภาได้ทำหน้าที่ของตนเองอย่างเต็มที่แล้ว ความยอมรับจากประชาชน และสื่อมวลชนจะเกิดขึ้น และความคาดหวังที่ต้องการให้วุฒิสภาเป็นสภาผู้ทรงคุณวุฒิ ก็จะเป็นความจริง
นายประสพสุข กล่าวว่า ในส่วนของประธานวุฒิสภา ก็จะต้องยึดหลักนิติธรรม และธรรมาภิบาล ในการบริหารงานอย่างเคร่งรัด ให้ความเป็นธรรม และเท่าเทียมกับทุกฝ่าย ทุกคน เคร่งครัดในหลักความเป็นอิสระ ความเป็นกลาง เป็นธรรม และกล้าหาญที่จะรับแรงกดดันจากพลังต่างๆภายนอก โดยยึดหลักความถูกต้องเป็นสำคัญ ซึ่งแนวคิดที่ตนได้นำมาปาฐกานี้ ตนและรองประธาน ทั้งสองคนจะดำเนินการให้เป็นรูปธรรมโดยเร็วที่สุด และในส่วนของส.ว.นี้เชื่อมั่นว่าจะทำหน้าที่อย่างถูกต้อง สมบูรณ์ตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ และครรลองประชาธิปไตย ให้สมกับที่ประชาชนคาดหวังให้เป็น "สภาผู้ทรงคุณวุฒิ" อย่างแท้จริง
**อย่าให้ประชาชนผิดหวัง
ต่อมาเป็นการอภิปรายในหัวข้อ "ความคาดหวังของประชาชนต่อสมาชิกวุฒิสภา" โดยมี นายนรนิติ เศรษฐบุตร อดีตประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) นางประทุม วัชระเสถียร อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) และนายเกียรติชัย พงษ์พานิชย์ อดีตส.ส.ร. ร่วมเป็นวิทยากร โดย นายนรนิติ กล่าวว่า ไม่ว่า ส.ว.แต่ละคนจะมีที่มาที่แตกต่างกัน แต่เวลานี้ขอให้ ส.ว.ต้องเป็นเนื้อเดียวกัน
สำหรับความคาดหวังของประชาชนต่อส.ว.นั้น โดยส่วนตัวมองว่ามี 6 ข้อ คือ 1. ประชาชนคาดหวังว่า ส.ว. ต้องดี 2. ต้องรวย 3. มีความรู้ 4.เป็นคนขยันในการลงพื้นที่พบประชาชน 5. คาดหวังว่าต้องเป็นกลางในการปฏิบัติหน้าที่ ดังนั้น จะไปกินข้าวกับใคร ต้องระวัง 6. คาดหวังว่า ส.ว.ต้องมีอำนาจที่จะทำอะไรได้บ้าง ไม่ใช่มาบอกว่ามี 150 คน แต่ทำอะไรไม่ได้เลย
"อย่าประมาทความคาดหวังของประชาชนอย่างเด็ดขาด เพราะอาจจะเกิดการประท้วงได้ และส.ว. ต้องคิดให้ดีว่าจะสนองตอบอย่างไร และขอย้ำว่าประชาชนต้องการ ส.ว. ที่มีความเป็นกลาง และต้องมีมากกว่า ส.ส. และขอเตือนว่า ในทางการเมือง ท่านเป็นอะไรไม่สำคัญเท่ากับการคาดหวังที่คนอื่นอยากให้เป็น จึงอยากให้ ส.ว.ทำตามความคาดหวังของประชาชนให้ได้ เพราะประชาชน จะใช้ไม้วัดทองคำมาวัดท่าน การทำให้ประชาชนสมหวัง และควรเริ่มทำตั้งแต่วันที่ทำหน้าที่วันแรกเป็นต้นไป" นายนรนิติ กล่าว
นางประทุมพร วัชระเสถียร อดีต สนช. กล่าวว่า เหตุที่ประชาชนมีความคาดหวังต่อ ส.ว.น้อย เพราะประชาชนไม่ทราบว่า ส.ว.มีหน้าที่อะไร ทำให้ประชาชนมีความคาดหวังกับส.ส.มากกว่า ทั้งนี้ หากเปรียบเทียบเรื่องธรรมภิบาล ของส.ว.ของไทย และต่างประเทศจะมีความแตกต่างกันมาก โดยขอเปรียบเทียบระหว่างไทย -อังกฤษ-ญี่ปุ่น ซึ่งมีโครงสร้างรัฐเหมือนกัน แต่พบว่าระบบการเมืองไทย ถอยหลังกว่าต่างประเทศมาก เหมือนการปกครองในระบอบประชาธิปไตย 75 ปี ไม่มีอะไรที่พัฒนาขึ้นเลย
"ที่ประเทศอังกฤษ เมื่อปี 1996 ส.ส. ไม่ได้เสียภาษี 600 ปอนด์ หรือประมาณ 24,000 บาทเท่านั้น ต้องลาออก และถูกตัดสิทธิ์เลือกตั้ง ทั้งที่เป็นเงิน 600 ปอนด์เท่านั้น รวมทั้งกรณี ส.ว. บางคนได้ใช้ในเบิกค่าโรงแรมปลอม ทำให้ติดคุกถึง 18 เดือน 2 กรณีนี้ ถือว่าระบบรัฐสภาของอังกฤษ มีธรรมาภิบาลมาก แต่ของประเทศไทยไม่มีเลย" อดีตสนช.ผู้นี้กล่าว
นางประทุมพร กล่าวอีกว่าขอย้ำว่า ส.ว.ต้องมีวุฒิภาวะสูงกว่าส.ส. เพราะมีทั้งอายุและความรู้มากกว่า ประสบการณ์จึงต้องมากกว่าด้วย โดยมาจากการทำงาน และการอ่านหนังสือ เพราะที่ผ่านมาเรา มีกระบวนทัศน์ที่มีน้ำหนักให้น้อยกว่า วาทศิลป์
ทั้งนี้โดยส่วนตัว มีความคาดหวังต่อ ส.ว. 4 ข้อ คือ 1. ส.ว. ต้องเป็นตัวแทนของประชาชนในด้านนิติบัญญัติ 2. การอยู่ในคณะกรรมาธิการต่างๆ ส.ว. และ ส.ส. ต้องช่วยกันทำงาน ไม่ใช่ทะเลาะกัน
3. การแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ต้องเลือกคนที่ดีที่สุด 4. การทำงานร่วมกับต่างประเทศ ต้องมีบทบาทในเชิงรุก เพราะที่ผ่านมา พบว่าตัวแทนจากประเทศไทย ไม่เคยแสดงความคิดเห็น ในเวทีใดๆในระดับนานาชาติเลย
**ฝาก ส.ว.ช่วยดูเรื่องแก้ไข รธน.
นายเกียรติชัย พงษ์พานิชย์ อดีต ส.ส.ร. กล่าวว่า ในเมื่อสมาชิกวุฒิสภาแห่งนี้ถูกขนานนามว่าเป็นวุฒิสภาผู้ทรงเกียรติ จึงทำให้เกิดความคาดหวังจากสังคม ซึ่งสังคมต้องคาดหวังต่อสถานะของท่าน ซึ่งสิ่งที่คนคาดหวังเป็นสิ่งที่เกิดจากความผิดหวังที่เกิดขึ้นจากสถาบันวุฒิสภาที่เป็นมา เพราะในรัฐธรรมนูญฉบับที่แล้ว ได้สร้างความผิดหวังไม่น้อย การทำหน้าที่ตรวจสอบถอนถอนบุคคล ส.ว.ในชุดนั้น ไม่สามารทำอะไรได้เลย เป็นความน่าเกลียดอย่างรุนแรง และในสมัยนั้นประธานวุฒิสภา ถูกแทรกแซงอย่างเห็นได้ชัด จึงเป็นความผิดหวัง หัวเสียที่ ส.ว.ไม่สามารถดำรงสาถานะเกียรติภูมิของส.ว.ได้ และบางคนถึงกับเอากะไดมาล่อ
วุฒิสภาสมัยที่ผ่านมา ขาดตัวแทนภาคเกษตรกร จึงทำให้ไม่ได้ทำหน้าที่เป็นองค์กรของภาคประชาคมได้ ดังนั้นเราจึงเห็นว่าความผิดหวังที่เกิดขึ้น สื่อมวลชนจึงได้กำหนดเป็นสภาทาส เป็นวุฒิสมาชิกทาส จากความผิดหวังหัวเสีย จึงทำให้เกิดความคาดหวังใหม่ใน ส.ว.ชุดนี้อย่างรุนแรง
รัฐธรรมนูญปี 50 จึงได้เปลี่ยนให้ ส.ว.มาจากการสรรหาส่วนหนึ่ง ซึ่งเราก็คาดหวังว่า กลไกการได้มาซึ่ง ส.ว.ของรัฐธรรมนูญปี 50 จะทำให้ได้ตัวแทนจากภาคเกษตร แรงงานบ้าง ซึ่งรัฐธรรมนูญปี 50 ทำให้ได้มี แต่ตรงหรือไม่ก็เป็นส่วนที่ทำให้ผิดหวังว่าไม่ได้ตัวแทนจากทุกภาคส่วนมาทำงานในวุฒิสมาชิกได้ ซึ่งเป็นส่วนที่ทำให้ตนผิดหวังนิด ๆ จากรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ทั้งที่รัฐธรรมนูญได้วางกลไกไม่ให้นักการเมืองที่ไม่ดีเข้ามาสู่การเมือง แต่ก็ยังทำให้ได้รัฐบาล ขี้เหร่เข้ามาจนได้
"รัฐธรรมนูญฉบับนี้ ถูกบอกว่าเป็นรัฐธรรมนูญฉบับเฮงซวย ผมก็มองว่า ถ้ารัฐธรรมนูญเฮงซวย ก็คงเหมาะกับรัฐบาลที่ขี้เหร่ และกระด้างหยาบคายแบบนี้ ผมมองว่า ความอ่อนแอของวุฒิสมาชิกที่ผ่านมา บกพร่องบิดเบี้ยวอย่างร้ายกาจ ไม่มีผลงานที่น่าพอใจ ลักษณะแบบนี้จะหาความถ่วงดุลจากรัฐบาลได้อย่างไร ของเราก็เหมือนกัน ตั้งแต่เริ่มต้นเลือกประธานวุฒิ ก็มีข่าวหว่านเงินซื้อเสียงประธานกัน เป็นสิ่งที่น่าผิดหวัง ท่าน ส.ว.ต้องทำเรื่องนี้ให้โปร่งใส ภายใน 45 วันให้ได้"
นายเกียรติชัย กล่าวอีกว่า สิ่งที่เราคาดหวังจากสมาชิกวุฒิสภาของท่านคือ 1. อย่าทำอะไรผิดซ้ำซากเหมือนที่เป็นมาแล้ว ใครที่ทำความผิดซ้ำซาก ต้องเล่นงานให้หนักเรา การทีเราไม่ต้องการให้ใครทำผิดซ้าซากจึงต้องมีการกำหนดกฏเกณฑ์ให้มากขึ้น จะเห็นได้ว่าคนที่ออกมาเรียกร้องให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น เป็นเพราะเขาไม่สามารถทำในสิ่งที่เขาต้องการทำ และเป็นความผิดซ้ำซากได้ซึ่งถ้าแก้รัฐธรรมนูญได้ เราก็จะได้เห็นคน ก้มกราบพื้นดิน บ่นคิดถึงลูกแล้ว แอบกระซิบในใจว่า "ไอ้ห่...อย่าไล่กูอีกนะ" แบบนี้ไม่ได้แล้ว เราอย่าทำให้เกิดความผิดหวังซ้ำซากแบบนี้อีก เราจึงมีความคาดหวังว่าวุฒิสภาชุดนี้ จะมีความซื่อสัตย์ เข้มแข็ง ไม่ถูกเสี้ยมเขา และสร้างความน่าเชื่อถือความน่านับถือให้เกิดขึ้นให้ได้ ต้องเข้มแข็งและมั่นคง เมื่อเผชิญหน้ากับรัฐบาลที่แข็งกระด้าง ไม่ใช่เอียงซ้ายเอียงขวา แต่ต้องเอียงเข้าหาประชาชน อย่าทำให้ประชาชนหมดศรัทธาท้อแท้ผิดหวัง ที่จะพึ่งพิงสมาชิกวุฒิสภาเหมือนที่ผ่านมา
"ท่านต้องมีความรู้ซื่อสัตย์สุจริตต่อตนเอง ถ้าเข้ามามีความรู้ แต่ไม่ซื่อสัตย์สุจริตต่อตนเอง ก็ไม่มีประโยชน์ ท่านต้องมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และต้องไม่ขี้เกียจ เพราะตรงนี้เป็นสิ่งที่เราคาดหวังว่า ท่านจะทำงานได้ เราคาดหวังว่าท่านจะทำงานอย่างมีจิตวิญญาณ ประชาธิปไตย ทำงานอย่างโปร่งใส ตรวจสอบได้ และต่อไปเราจะไม่สามารถผิดผิดซ้ำซากให้สภาแห่งนี้กลับไปเป็นสภาทาสอีก" นายเกียรติชัย กล่าว
เมื่อเวลา13.30 น.วานนี้ ( 22 มี.ค.) ที่ห้องประชุมอนันดาบอลรูม โรงแรม อมารี ออคิด รีสอร์ท แอนด์ทาวเวอร์ พัทยา จ.ชลบุรี สำนักส่งเสริมวิชาการรัฐสภา สถาบันพระปกเกล้า ได้จัดสัมมนาสมาชิกวุฒิสภาในหัวข้อ "สมาชิกวุฒิสภา สภาผู้ทรงเกียรติ" โดยมี ส.ว.เข้าร่วม 133 คน
นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า กล่าวเปิดการสัมมนาว่า สถาบันพระปกเกล้า เป็นสถานบันวิชาการด้านการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย และเป็นหน่วยงานในกำกับของประธานรัฐสภา มีหน้าที่สำคัญในการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยระบบธรรมาภิบาลสันติ และที่สำคัญได้ส่งเสริมงานวิชาการงานของสมาชิกรัฐสภา อย่างต่อเนื่อง
ในโอกาสที่ประเทศไทยได้มี ส.ว.ทั้งระบบสรรหา และเลือกตั้ง จึงเป็นโอกาสที่ ส.วใหม่จะได้มาหารือร่วมกันเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น โดยมีจุดประสงค์ คือ 1. เพื่อให้สมาชิกเข้าใจบาทหน้าที่ของ ส.ว. ตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ
2. เสริมสร้างประสิทธิภาพการปฏิบัติหน้าที่ของสมาชิกในอนาคต และเปิดโอกาสให้สมาชิกได้สอบถามคนที่เคยทำหน้าที่วุฒิสมาชิกมาก่อน
3. เพื่อให้เป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการทำงานระหว่างกัน
**ปธ.วุฒิเร่งฟื้นความเชื่อมั่น
ด้านนายประสพสุข บุญเดช ประธานวุฒิสภา ได้กล่าวปาฐกถา เปิดงาน ในหัวข้อ "สมาชิกวุฒิสภา สภาผู้ทรงเกียรติ" ว่า ตามที่สถาบันพระปกเกล้า ได้จัดอภิปรายในหัวข้อนี้ ก็เพื่อให้สภาผู้ทรงคุณวุฒิ ได้เข้าใจบทบาทหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ และเสริมสร้างส.ว.ให้เป็นผู้ทรงคุณวุฒิอย่างแท้จริง แม้หลายคนจะมีประสบการณ์ในการทำงานใม่น้อย แต่ก็เป็นครั้งแรกที่ต้องทำหน้าที่ใหม่
นายประสพสุข กล่าวว่า การทำหน้าที่ส.ว.ให้ถูกต้องนั้น ถือเป็นเรื่องที่สำคัญ เพราะที่ผ่านมาการทำหน้าที่ไม่ถูกต้อง เป็นต้นเหตุของการเกิดวิกฤตการณ์ทางการเมืองที่ผ่านมา
ทั้งนี้ ปัญหาที่เกิดขึ้นที่ผ่านมา เป็นเพราะองค์กรอิสระต่างๆไม่ปฏิบัติตามกลไกของรัฐธรรมนูญ หลายภาคส่วนไม่ดำเนินการไปตามบทบาทหน้าที่ และเจตนารมณ์ที่ถูกต้อง จึงทำให้สังคมหลายภาคส่วนขาดความเชื่อถือ เชื่อมั่น ในองค์กรอิสระ จึงเป็นเป็นผลพวงของรัฐธรรมนูญปี 50 ที่กำหนดให้ ส.ว.มาจาก 2 ระบบ คือสรรหาและเลือกตั้ง ซึ่งส.ว.ทั้งสองระบบนี้จะต้องปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ ในการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข โดยอำนาจหน้าที่ของ ส.ว.ชุดนี้ มีหลายส่วนที่ไม่ต่างจากรัฐธรรมนูญปี 40 คือ
1. กลั่นกรองกฏหมาย 2. ควบคุมการทำงานของรัฐบาล 3. ให้ความเห็นชอบบุคคลเข้าดำรงตำแหน่งต่างๆ ตามที่บัญญัติในกฏหมาย 4. ถอดถอนบุคคลผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง และข้าราชการระดับสูง ซึ่งบทบาทหน้าที่ต่างๆ เหล่านี้ ไม่ได้แตกต่างไปจากที่รัฐธรรมนูญปี 40 บัญญัติไว้มากนัก
แต่ปัญหาก็คือความไม่เชื่อมั่นจากสังคม ก็ยังคงมีอยู่ พวกเราซึ่งเป็นส.ว. ตามรัฐธรรมนูญใหม่ จะสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนได้อย่างไร
นายประสพสุข กล่าวว่า การสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนนั้น เราจะต้องเริ่มทำงานในกรรมาธิการศึกษาสอบสวนในหลายเรื่อง ให้มีประสิทธิผลซึ่งก่อนและนำไปเผยแพร่เพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อสาธารณชน ซึ่งการทำงานของเราจะมีประสิทธิภาพ วุฒิสภา เป็นสภาทรงคุณวุฒิ ต้องมีปัจจัยหลายประการ
**ยกเครื่องระบบฐานข้อมูล
โดยประการแรก ต้องมีฐานข้อมูลที่สมบูรณ์ ซึ่งวุฒิสภาต้องเป็นสภาแห่งองค์ความรู้ เพราะหากต้องการตรวจสอบการทำงานของฝ่ายบริหารอย่างมีประสิทธิภาพ ต้องมีข้อมูลที่เหนือกว่า ซึ่งวุฒิสภาสามารถทำได้ โดยอาศัยระบบกรรมาธิการฯ จึงจำเป็นต้องจัดฐานข้อมูลของวุฒิสภาให้เป็นระบบ โดย 1.สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ได้งบสนับสนุนในการทำวิจัย 7 ล้านบาท ก็สามารถนำมาทำวิจัยชิ้นนี้ได้ เราต้องพัฒนาให้ห้องสมุดของรัฐสภา เป็นห้องสมุดที่ทันสมัย เช่นเดียวกับ library of congress ของสหรัฐอเมริกา รวมถึงห้องสมุดของวุฒิสภาด้วย เราต้องพัฒนาให้เป็ระบบบริการที่ทันสมัยเชื่อมโยงกับเครือข่ายสื่อมวลชนและประชาชนให้ได้
ประการที่ 2. การจะสร้างความเชื่อมั่นให้กับวุฒิสภานั้น วุฒิสภาต้องทำหน้าที่เพื่อส่วนรวม การเห็นแก่ประโยชน์ของพวกพ้อง หรือผลประโยชน์ของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เป็นการทำลายความน่าเชื่อถือ ทำลายระบบประชาธิปไตย และกระบวนการตรวจสอบถ่วงดุลอย่างยิ่ง และจะเป็นชนวนเหตุให้เกิดวิกฤตการณ์ทางการเมืองเช่นในอดีต
**ทำงานอย่างอิสระ โปร่งใส
เมื่อใดฐานข้อมูลมาอย่างสมบูรณ์แล้ว ส.ว.ต้องทำหน้าที่อย่างอิสระ เป็นกลาง ปราศจากการแทรกแซงจากอำนาจใดๆ และทำหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบ เพื่อประโยชน์สูงสุดของประเทศชาติ และประชาชน ยึดหลักเปิดเผยโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ และต้องมีการติดตามผลการดำเนินงาน เพื่อนำไปเผยแพร่
เมื่อวุฒิสภาได้ทำหน้าที่ของตนเองอย่างเต็มที่แล้ว ความยอมรับจากประชาชน และสื่อมวลชนจะเกิดขึ้น และความคาดหวังที่ต้องการให้วุฒิสภาเป็นสภาผู้ทรงคุณวุฒิ ก็จะเป็นความจริง
นายประสพสุข กล่าวว่า ในส่วนของประธานวุฒิสภา ก็จะต้องยึดหลักนิติธรรม และธรรมาภิบาล ในการบริหารงานอย่างเคร่งรัด ให้ความเป็นธรรม และเท่าเทียมกับทุกฝ่าย ทุกคน เคร่งครัดในหลักความเป็นอิสระ ความเป็นกลาง เป็นธรรม และกล้าหาญที่จะรับแรงกดดันจากพลังต่างๆภายนอก โดยยึดหลักความถูกต้องเป็นสำคัญ ซึ่งแนวคิดที่ตนได้นำมาปาฐกานี้ ตนและรองประธาน ทั้งสองคนจะดำเนินการให้เป็นรูปธรรมโดยเร็วที่สุด และในส่วนของส.ว.นี้เชื่อมั่นว่าจะทำหน้าที่อย่างถูกต้อง สมบูรณ์ตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ และครรลองประชาธิปไตย ให้สมกับที่ประชาชนคาดหวังให้เป็น "สภาผู้ทรงคุณวุฒิ" อย่างแท้จริง
**อย่าให้ประชาชนผิดหวัง
ต่อมาเป็นการอภิปรายในหัวข้อ "ความคาดหวังของประชาชนต่อสมาชิกวุฒิสภา" โดยมี นายนรนิติ เศรษฐบุตร อดีตประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) นางประทุม วัชระเสถียร อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) และนายเกียรติชัย พงษ์พานิชย์ อดีตส.ส.ร. ร่วมเป็นวิทยากร โดย นายนรนิติ กล่าวว่า ไม่ว่า ส.ว.แต่ละคนจะมีที่มาที่แตกต่างกัน แต่เวลานี้ขอให้ ส.ว.ต้องเป็นเนื้อเดียวกัน
สำหรับความคาดหวังของประชาชนต่อส.ว.นั้น โดยส่วนตัวมองว่ามี 6 ข้อ คือ 1. ประชาชนคาดหวังว่า ส.ว. ต้องดี 2. ต้องรวย 3. มีความรู้ 4.เป็นคนขยันในการลงพื้นที่พบประชาชน 5. คาดหวังว่าต้องเป็นกลางในการปฏิบัติหน้าที่ ดังนั้น จะไปกินข้าวกับใคร ต้องระวัง 6. คาดหวังว่า ส.ว.ต้องมีอำนาจที่จะทำอะไรได้บ้าง ไม่ใช่มาบอกว่ามี 150 คน แต่ทำอะไรไม่ได้เลย
"อย่าประมาทความคาดหวังของประชาชนอย่างเด็ดขาด เพราะอาจจะเกิดการประท้วงได้ และส.ว. ต้องคิดให้ดีว่าจะสนองตอบอย่างไร และขอย้ำว่าประชาชนต้องการ ส.ว. ที่มีความเป็นกลาง และต้องมีมากกว่า ส.ส. และขอเตือนว่า ในทางการเมือง ท่านเป็นอะไรไม่สำคัญเท่ากับการคาดหวังที่คนอื่นอยากให้เป็น จึงอยากให้ ส.ว.ทำตามความคาดหวังของประชาชนให้ได้ เพราะประชาชน จะใช้ไม้วัดทองคำมาวัดท่าน การทำให้ประชาชนสมหวัง และควรเริ่มทำตั้งแต่วันที่ทำหน้าที่วันแรกเป็นต้นไป" นายนรนิติ กล่าว
นางประทุมพร วัชระเสถียร อดีต สนช. กล่าวว่า เหตุที่ประชาชนมีความคาดหวังต่อ ส.ว.น้อย เพราะประชาชนไม่ทราบว่า ส.ว.มีหน้าที่อะไร ทำให้ประชาชนมีความคาดหวังกับส.ส.มากกว่า ทั้งนี้ หากเปรียบเทียบเรื่องธรรมภิบาล ของส.ว.ของไทย และต่างประเทศจะมีความแตกต่างกันมาก โดยขอเปรียบเทียบระหว่างไทย -อังกฤษ-ญี่ปุ่น ซึ่งมีโครงสร้างรัฐเหมือนกัน แต่พบว่าระบบการเมืองไทย ถอยหลังกว่าต่างประเทศมาก เหมือนการปกครองในระบอบประชาธิปไตย 75 ปี ไม่มีอะไรที่พัฒนาขึ้นเลย
"ที่ประเทศอังกฤษ เมื่อปี 1996 ส.ส. ไม่ได้เสียภาษี 600 ปอนด์ หรือประมาณ 24,000 บาทเท่านั้น ต้องลาออก และถูกตัดสิทธิ์เลือกตั้ง ทั้งที่เป็นเงิน 600 ปอนด์เท่านั้น รวมทั้งกรณี ส.ว. บางคนได้ใช้ในเบิกค่าโรงแรมปลอม ทำให้ติดคุกถึง 18 เดือน 2 กรณีนี้ ถือว่าระบบรัฐสภาของอังกฤษ มีธรรมาภิบาลมาก แต่ของประเทศไทยไม่มีเลย" อดีตสนช.ผู้นี้กล่าว
นางประทุมพร กล่าวอีกว่าขอย้ำว่า ส.ว.ต้องมีวุฒิภาวะสูงกว่าส.ส. เพราะมีทั้งอายุและความรู้มากกว่า ประสบการณ์จึงต้องมากกว่าด้วย โดยมาจากการทำงาน และการอ่านหนังสือ เพราะที่ผ่านมาเรา มีกระบวนทัศน์ที่มีน้ำหนักให้น้อยกว่า วาทศิลป์
ทั้งนี้โดยส่วนตัว มีความคาดหวังต่อ ส.ว. 4 ข้อ คือ 1. ส.ว. ต้องเป็นตัวแทนของประชาชนในด้านนิติบัญญัติ 2. การอยู่ในคณะกรรมาธิการต่างๆ ส.ว. และ ส.ส. ต้องช่วยกันทำงาน ไม่ใช่ทะเลาะกัน
3. การแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ต้องเลือกคนที่ดีที่สุด 4. การทำงานร่วมกับต่างประเทศ ต้องมีบทบาทในเชิงรุก เพราะที่ผ่านมา พบว่าตัวแทนจากประเทศไทย ไม่เคยแสดงความคิดเห็น ในเวทีใดๆในระดับนานาชาติเลย
**ฝาก ส.ว.ช่วยดูเรื่องแก้ไข รธน.
นายเกียรติชัย พงษ์พานิชย์ อดีต ส.ส.ร. กล่าวว่า ในเมื่อสมาชิกวุฒิสภาแห่งนี้ถูกขนานนามว่าเป็นวุฒิสภาผู้ทรงเกียรติ จึงทำให้เกิดความคาดหวังจากสังคม ซึ่งสังคมต้องคาดหวังต่อสถานะของท่าน ซึ่งสิ่งที่คนคาดหวังเป็นสิ่งที่เกิดจากความผิดหวังที่เกิดขึ้นจากสถาบันวุฒิสภาที่เป็นมา เพราะในรัฐธรรมนูญฉบับที่แล้ว ได้สร้างความผิดหวังไม่น้อย การทำหน้าที่ตรวจสอบถอนถอนบุคคล ส.ว.ในชุดนั้น ไม่สามารทำอะไรได้เลย เป็นความน่าเกลียดอย่างรุนแรง และในสมัยนั้นประธานวุฒิสภา ถูกแทรกแซงอย่างเห็นได้ชัด จึงเป็นความผิดหวัง หัวเสียที่ ส.ว.ไม่สามารถดำรงสาถานะเกียรติภูมิของส.ว.ได้ และบางคนถึงกับเอากะไดมาล่อ
วุฒิสภาสมัยที่ผ่านมา ขาดตัวแทนภาคเกษตรกร จึงทำให้ไม่ได้ทำหน้าที่เป็นองค์กรของภาคประชาคมได้ ดังนั้นเราจึงเห็นว่าความผิดหวังที่เกิดขึ้น สื่อมวลชนจึงได้กำหนดเป็นสภาทาส เป็นวุฒิสมาชิกทาส จากความผิดหวังหัวเสีย จึงทำให้เกิดความคาดหวังใหม่ใน ส.ว.ชุดนี้อย่างรุนแรง
รัฐธรรมนูญปี 50 จึงได้เปลี่ยนให้ ส.ว.มาจากการสรรหาส่วนหนึ่ง ซึ่งเราก็คาดหวังว่า กลไกการได้มาซึ่ง ส.ว.ของรัฐธรรมนูญปี 50 จะทำให้ได้ตัวแทนจากภาคเกษตร แรงงานบ้าง ซึ่งรัฐธรรมนูญปี 50 ทำให้ได้มี แต่ตรงหรือไม่ก็เป็นส่วนที่ทำให้ผิดหวังว่าไม่ได้ตัวแทนจากทุกภาคส่วนมาทำงานในวุฒิสมาชิกได้ ซึ่งเป็นส่วนที่ทำให้ตนผิดหวังนิด ๆ จากรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ทั้งที่รัฐธรรมนูญได้วางกลไกไม่ให้นักการเมืองที่ไม่ดีเข้ามาสู่การเมือง แต่ก็ยังทำให้ได้รัฐบาล ขี้เหร่เข้ามาจนได้
"รัฐธรรมนูญฉบับนี้ ถูกบอกว่าเป็นรัฐธรรมนูญฉบับเฮงซวย ผมก็มองว่า ถ้ารัฐธรรมนูญเฮงซวย ก็คงเหมาะกับรัฐบาลที่ขี้เหร่ และกระด้างหยาบคายแบบนี้ ผมมองว่า ความอ่อนแอของวุฒิสมาชิกที่ผ่านมา บกพร่องบิดเบี้ยวอย่างร้ายกาจ ไม่มีผลงานที่น่าพอใจ ลักษณะแบบนี้จะหาความถ่วงดุลจากรัฐบาลได้อย่างไร ของเราก็เหมือนกัน ตั้งแต่เริ่มต้นเลือกประธานวุฒิ ก็มีข่าวหว่านเงินซื้อเสียงประธานกัน เป็นสิ่งที่น่าผิดหวัง ท่าน ส.ว.ต้องทำเรื่องนี้ให้โปร่งใส ภายใน 45 วันให้ได้"
นายเกียรติชัย กล่าวอีกว่า สิ่งที่เราคาดหวังจากสมาชิกวุฒิสภาของท่านคือ 1. อย่าทำอะไรผิดซ้ำซากเหมือนที่เป็นมาแล้ว ใครที่ทำความผิดซ้ำซาก ต้องเล่นงานให้หนักเรา การทีเราไม่ต้องการให้ใครทำผิดซ้าซากจึงต้องมีการกำหนดกฏเกณฑ์ให้มากขึ้น จะเห็นได้ว่าคนที่ออกมาเรียกร้องให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น เป็นเพราะเขาไม่สามารถทำในสิ่งที่เขาต้องการทำ และเป็นความผิดซ้ำซากได้ซึ่งถ้าแก้รัฐธรรมนูญได้ เราก็จะได้เห็นคน ก้มกราบพื้นดิน บ่นคิดถึงลูกแล้ว แอบกระซิบในใจว่า "ไอ้ห่...อย่าไล่กูอีกนะ" แบบนี้ไม่ได้แล้ว เราอย่าทำให้เกิดความผิดหวังซ้ำซากแบบนี้อีก เราจึงมีความคาดหวังว่าวุฒิสภาชุดนี้ จะมีความซื่อสัตย์ เข้มแข็ง ไม่ถูกเสี้ยมเขา และสร้างความน่าเชื่อถือความน่านับถือให้เกิดขึ้นให้ได้ ต้องเข้มแข็งและมั่นคง เมื่อเผชิญหน้ากับรัฐบาลที่แข็งกระด้าง ไม่ใช่เอียงซ้ายเอียงขวา แต่ต้องเอียงเข้าหาประชาชน อย่าทำให้ประชาชนหมดศรัทธาท้อแท้ผิดหวัง ที่จะพึ่งพิงสมาชิกวุฒิสภาเหมือนที่ผ่านมา
"ท่านต้องมีความรู้ซื่อสัตย์สุจริตต่อตนเอง ถ้าเข้ามามีความรู้ แต่ไม่ซื่อสัตย์สุจริตต่อตนเอง ก็ไม่มีประโยชน์ ท่านต้องมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และต้องไม่ขี้เกียจ เพราะตรงนี้เป็นสิ่งที่เราคาดหวังว่า ท่านจะทำงานได้ เราคาดหวังว่าท่านจะทำงานอย่างมีจิตวิญญาณ ประชาธิปไตย ทำงานอย่างโปร่งใส ตรวจสอบได้ และต่อไปเราจะไม่สามารถผิดผิดซ้ำซากให้สภาแห่งนี้กลับไปเป็นสภาทาสอีก" นายเกียรติชัย กล่าว