เมื่อถึงคราวที่ต้องฝืนใจต้านความเย้ายวนของเพศตรงข้าม และซื่อสัตย์ต่อคนรักตัวจริง สิ่งเดียวที่ช่วยยึดเหนี่ยวคนเราไว้ได้คือ ‘ความรัก’ ผลวิจัยใหม่ล่าสุดยืนยัน คนที่รักมั่นต่อคู่ของตนมักเห็นคนอื่นอยู่นอกสายตา และมีเสน่ห์ดึงดูดน้อยกว่าความเป็นจริง
ผลศึกษาหลายฉบับก่อนหน้านี้บ่งชี้ว่ามนุษย์มักไม่อาจหักห้ามความปรารถนาของตัวเองได้เมื่อเป็นเรื่องของความพึงพอใจหรือความสุข เรามักปรนเปรอตัวเองเมื่อมีโอกาส
กระนั้น เมื่อเป็นเรื่องของความรักความใคร่ ไม่น่าเชื่อว่าบ่อยครั้งที่หลายคนที่มีความสัมพันธ์มั่นคงกลับปล่อยให้โอกาสในการสำเริงสำราญหลุดลอยไป
จิอัน กอนซากา นักจิตวิทยาจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย, ลอสแองเจลีส (ยูซีแอลเอ) เป็นคนหนึ่งที่สงสัยในเรื่องนี้ จึงพยายามค้นคว้าหาเหตุผลโดยการชักชวนนักศึกษา 60 คนที่คบหากับแฟนมาอย่างน้อย 3 ปี มาร่วมในการทดลอง
อาสาสมัครทั้งหมดได้ดูภาพของหนุ่ม-สาวสุดฮอตที่ทีมนักวิจัยคัดเลือกมาจากเว็บไซต์นัดบอดชื่อดัง
หลังจากอาสาสมัครเขียนเรียงความสั้นๆ เกี่ยวกับรูปโฉมและความมีเสน่ห์ของบุคคลในภาพ ทีมนักวิจัยได้แบ่งอาสาสมัครเหล่านี้ออกเป็นสามกลุ่ม
กลุ่มแรกถูกขอให้เขียนเรียงความสั้นเกี่ยวกับช่วงเวลาที่รู้สึกรักแฟนคนปัจจุบันของตัวเองจับใจ ขณะที่กลุ่มที่สองได้รับโจทย์ให้เขียนถึงฉากรักกับแฟนที่รู้สึกประทับใจที่สุด ส่วนกลุ่มสุดท้าย ทีมนักวิจัยให้อิสระให้เขียนถึงอะไรก็ได้ที่อยากเขียน
เงื่อนไขเดียวที่มีคือ ระหว่างเขียนเรียงความ นักศึกษาทั้งหมดต้องไม่คิดถึงหนุ่มหรือสาวในภาพ แต่หากอดไม่ได้ ให้ทำเครื่องหมายในช่องที่จัดไว้ให้ทุกครั้ง
ผลปรากฏว่า นักศึกษาที่ต้องเขียนเรียงความความรัก เผลอไผลคิดถึงภาพหนุ่ม-สาวพราวเสน่ห์น้อยกว่ากลุ่มที่ให้บรรยายกิจกรรมเสน่หา 3 ครั้ง ขณะที่กลุ่มสุดท้ายฝักใฝ่ถึงหนุ่ม-สาวในภาพมากกว่ากลุ่มแรกถึง 6 ครั้ง
“การรู้สึกรักกับใครสักคนทำให้คุณมองคนอื่นจืดชืดไร้เสน่ห์โดยปริยาย” กอนซากาสรุปในจดหมายข่าวยูซีแอลเอ
อนึ่ง งานวิจัยนี้ตีพิมพ์อยู่ในวารสารเอฟโวลูชัน แอนด์ ไบโอโลจี และนิวไซเอนทิสต์ของอังกฤษ
ผลศึกษาหลายฉบับก่อนหน้านี้บ่งชี้ว่ามนุษย์มักไม่อาจหักห้ามความปรารถนาของตัวเองได้เมื่อเป็นเรื่องของความพึงพอใจหรือความสุข เรามักปรนเปรอตัวเองเมื่อมีโอกาส
กระนั้น เมื่อเป็นเรื่องของความรักความใคร่ ไม่น่าเชื่อว่าบ่อยครั้งที่หลายคนที่มีความสัมพันธ์มั่นคงกลับปล่อยให้โอกาสในการสำเริงสำราญหลุดลอยไป
จิอัน กอนซากา นักจิตวิทยาจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย, ลอสแองเจลีส (ยูซีแอลเอ) เป็นคนหนึ่งที่สงสัยในเรื่องนี้ จึงพยายามค้นคว้าหาเหตุผลโดยการชักชวนนักศึกษา 60 คนที่คบหากับแฟนมาอย่างน้อย 3 ปี มาร่วมในการทดลอง
อาสาสมัครทั้งหมดได้ดูภาพของหนุ่ม-สาวสุดฮอตที่ทีมนักวิจัยคัดเลือกมาจากเว็บไซต์นัดบอดชื่อดัง
หลังจากอาสาสมัครเขียนเรียงความสั้นๆ เกี่ยวกับรูปโฉมและความมีเสน่ห์ของบุคคลในภาพ ทีมนักวิจัยได้แบ่งอาสาสมัครเหล่านี้ออกเป็นสามกลุ่ม
กลุ่มแรกถูกขอให้เขียนเรียงความสั้นเกี่ยวกับช่วงเวลาที่รู้สึกรักแฟนคนปัจจุบันของตัวเองจับใจ ขณะที่กลุ่มที่สองได้รับโจทย์ให้เขียนถึงฉากรักกับแฟนที่รู้สึกประทับใจที่สุด ส่วนกลุ่มสุดท้าย ทีมนักวิจัยให้อิสระให้เขียนถึงอะไรก็ได้ที่อยากเขียน
เงื่อนไขเดียวที่มีคือ ระหว่างเขียนเรียงความ นักศึกษาทั้งหมดต้องไม่คิดถึงหนุ่มหรือสาวในภาพ แต่หากอดไม่ได้ ให้ทำเครื่องหมายในช่องที่จัดไว้ให้ทุกครั้ง
ผลปรากฏว่า นักศึกษาที่ต้องเขียนเรียงความความรัก เผลอไผลคิดถึงภาพหนุ่ม-สาวพราวเสน่ห์น้อยกว่ากลุ่มที่ให้บรรยายกิจกรรมเสน่หา 3 ครั้ง ขณะที่กลุ่มสุดท้ายฝักใฝ่ถึงหนุ่ม-สาวในภาพมากกว่ากลุ่มแรกถึง 6 ครั้ง
“การรู้สึกรักกับใครสักคนทำให้คุณมองคนอื่นจืดชืดไร้เสน่ห์โดยปริยาย” กอนซากาสรุปในจดหมายข่าวยูซีแอลเอ
อนึ่ง งานวิจัยนี้ตีพิมพ์อยู่ในวารสารเอฟโวลูชัน แอนด์ ไบโอโลจี และนิวไซเอนทิสต์ของอังกฤษ