วันปีใหม่ไทยหรือวันสงกรานต์กำลังใกล้เข้ามาแล้ว และเป็นการอันสมควรที่จะได้บอกกล่าวประกาศสงกรานต์เหมือนอย่างเคย เพื่อให้บรรดามิตรรักแฟนเพลงทั้งหลายได้ทราบความพยากรณ์อันมีมาแต่โบราณ เพื่อเป็นแนวทางในการสังเกตเหตุการณ์และตั้งหลักรับมือกับสถานการณ์ได้ทันท่วงที
ก่อนอื่นก็ต้องบอกว่าแต่เดิมมานั้นประเทศไทยของเราถือเอาวันสงกรานต์เป็นวันขึ้นปีใหม่ แม้ปัจจุบันนี้ก็ยังมีร่องรอยให้เห็นอยู่ ดังที่เรียกกล่าวเล่าขานวันสงกรานต์ว่าเป็นวันปีใหม่ไทย
รอบปีของประเทศไทยจึงถือเอาตั้งแต่เดือนเมษายนคือตั้งแต่เทศกาลสงกรานต์เป็นต้นไป ซึ่งจะไปครบปีเอาในเดือนมีนาคมในอีก 12 เดือนข้างหน้า นั่นคือเมื่อเดือนเมษายนเป็นเดือนแรกของปีใหม่ ก็จะสิ้นสุดและครบรอบปีใหม่เอาในเดือนมีนาคม
ต่อมาในปี 2483 ได้มีการออกพระราชบัญญัติกำหนดปฏิทินใหม่ กำหนดรอบปีกันใหม่ให้เป็นแบบสากล โดยเปลี่ยนมาถือเอาเดือนมกราคมเป็นเดือนแรกของปีแล้วไปสิ้นสุดปีในอีก 12 เดือนข้างหน้าในเดือนธันวาคม และให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่ปี 2484 เป็นต้นไป
ดังนั้นเพื่อให้ปี 2484 ครบ 12 เดือน แทนที่เดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคม จะเป็น 3 เดือนสุดท้ายของปี 2483 ก็ให้ถือว่าเดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2483 เป็นเดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคมของ พ.ศ. 2484 ด้วย
เพื่อการนี้กฎหมายให้ถือว่าผู้ที่เกิดในเดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคมก่อน พ.ศ. 2484 ให้ถือว่าเป็นผู้ที่เกิดในปีใหม่ ดังนั้นใครเกิดในเดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคม ก่อน พ.ศ. 2484 จึงต้องถือว่าเกิดในปีใหม่ ไม่ใช่เกิดในปลายปีเก่า
ดังนั้นการนับอายุของผู้ที่เกิดในเดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคมก่อน พ.ศ. 2484 จะต้องบวกหนึ่งปีเข้าไปด้วยเสมอ เช่น กรณีของนายสุเมธ อุปนิสากร เกิดในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2481 จึงอยู่ในบังคับของกฎหมายดังกล่าวที่ถือว่าเป็นการเกิดในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2482 ซึ่งจะครบอายุ 70 ปี ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2552
กฎหมายดังกล่าวมีความชัดเจนและใช้บังคับมานานแล้ว ความจริงก็ไม่เป็นปัญหาอะไร แต่จู่ ๆ ผู้แทนราษฎรพรรคพลังประชาชนคงจะนึกหมั่นไส้นายสุเมธ อุปนิสากร ก็ไม่รู้ได้จึงทำเป็นไม่รู้กฎหมาย แล้วไปรวบรวมไพร่พลเข้าชื่อกันร่วม 70 คน ส่งเรื่องให้ประธานรัฐสภาเพื่อให้ส่งศาลรัฐธรรมนูญตีความว่านายสุเมธ อุปนิสากร มีอายุครบ 70 ปี ในปี พ.ศ. 2551 หรือไม่?
ทำกันโครมครามสนั่นหวั่นไหว มิหนำซ้ำยังแสดงท่าทีขู่เข็ญประธานรัฐสภาอีกด้วยว่าถ้าไม่ส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญก็จะดำเนินคดีฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่
เวรกรรมแท้ ๆ บักเว้งเอ๋ย! ไฉนจึงเชยแสดงความโง่แล้วพาพรรคพวกที่เขาไม่ทันตรวจตราเรื่องราวให้โง่ตามไปถึง 70 คน นี่คือแสดงความโง่ครั้งใหญ่ให้ปรากฏไว้ในแผ่นดิน
ก็ไม่รู้ว่าหัวหน้าพรรคพลังประชาชนและผู้บริหารพรรคพลังประชาชนจะรู้สึกอับอายขายหน้าบ้างหรือไม่ที่ลูกพรรคมีพฤติกรรมและกระทำการเช่นนี้ ซึ่งเป็นเรื่องน่าละอาย น่าสมเพชเวทนา
ตรงนี้จึงเป็นสิ่งที่แสดงให้ประชาชนชาวไทยได้เห็นว่าการทำการใดด้วยน้ำใจอันไม่ผ่องใสเที่ยงธรรม หรือกระทำด้วยโทสะโมหะ ก็ย่อมเกิดความหละหลวมผิดพลาดขึ้น กระทั่งไม่รู้วันเดือนปีดังที่ให้เห็นกันอยู่นี้
มาไกลไปสักหน่อย แต่ไม่เสียหลายแน่ เพราะอย่างน้อยก็เป็นการทำความรู้ความเข้าใจในเรื่องของสงกรานต์ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการบ้านเมืองที่กำลังเป็นเรื่องฮือฮากันอยู่
ช่วงนี้ก็มีการอธิบายเรื่องสงกรานต์กันบ้างแล้ว แต่ก็อธิบายกันไปเรื่อยเปื่อย หาหลักหาเกณฑ์ไม่ค่อยได้
มีการอธิบายวันสงกรานต์ว่าสงกรานต์หมายถึงตัวสงกรานต์ซึ่งเป็นสัตว์ชนิดหนึ่งมากับน้ำ ลักษณะคล้ายไส้เดือน สีแดง ๆ ซึ่งไม่ได้เกี่ยวอะไรกับวันสงกรานต์เลย หรือไม่ก็อธิบายกันเกี่ยวกับตำนานสงกรานต์ที่พระพรหมไปท้าตั้งปริศนากับมานพหนุ่มว่าแต่ละวันนั้นเวลาไหนศรีอยู่ที่ไหน จนต้องถูกตัดเศียรเป็นเดิมพันการพนัน
ต่อให้เป็นถึงพระพรหม หากไปมั่วสุมกับการพนันซึ่งเป็นทางแห่งความฉิบหายตามคำสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วอะไรก็ไม่เหลือ แม้หัวตัวเองก็รักษาไว้ไม่ได้
สำมะหาอะไรกับอาณาประชาราษฎร หากถูกรัฐบาลมอมเมาด้วยอบายมุขไม่ว่าหวยบนดิน หรือบ่อนการพนัน อาณาประชาราษฎรก็มีแต่ความฉิบหายวายวอด สังคมมีแต่ต้องล่มสลาย กระทั่งชีวิตก็รักษาไว้ไม่ได้ ทำนองเดียวกับพระพรหมในตำนานสงกรานต์ที่ว่านี้
จึงต้องระวังกันไว้ให้จงดีเพราะเรื่องนี้ประมาทเผลอเรอไม่ได้ เพราะยามใดบ้านเมืองปกครองโดยบัณฑิต การในบ้านเมืองนั้นก็จะมีแต่สิ่งที่เป็นกุศล และมีความผาสุกร่มเย็นเป็นที่ตั้ง แต่ถ้ายามใดบ้านเมืองปกครองโดยอันธพาล การในบ้านเมืองนั้นก็จะมีแต่สิ่งที่เป็นอกุศล มีแต่ความสับสนวุ่นวายเดือดร้อนทุกข์เข็ญเป็นที่ตั้ง จนกว่าอำนาจแห่งพาลนั้นจะพินาศสิ้นไป
พระพรหมที่ว่านี้ไม่ได้หมายถึงพระพรหมซึ่งเป็นหนึ่งในตรีมูรติของศาสนาฮินดู หรือท้าวมหาพรหมที่มีรูปสถิตอยู่หน้าโรงแรมเอราวัณแต่ประการใด เพราะพระพรหมนั้นมีอยู่มากมายหลายองค์ ปู่ของทศกัณฐ์ในรามเกียรติ์ก็เป็นพรหมองค์หนึ่งเหมือนกัน
เพราะผู้ที่มีภูมิธรรมถึงระดับชั้นพรหมก็ย่อมได้ชื่อว่าเป็นพรหมด้วยกันทั้งนั้น แต่การเป็นพรหมนี้ก็ยังมีกิเลส ยังมีทุกข์ มีสุขอยู่คล้าย ๆ กับเราท่าน เป็นแต่เบาบางลงสักหน่อยหนึ่ง
ที่เรียกว่าสงกรานต์นั้นมีความหมายว่าเปลี่ยนย้าย ในความหมายที่เกี่ยวข้องกับวันสงกรานต์มีความหมายเฉพาะอยู่ 3 ประการ คือ
ประการแรก หมายถึงการเปลี่ยนย้ายราศีของพระอาทิตย์จากราศีหนึ่งไปยังราศีหนึ่งในจักรราศี ในประการนี้มีชื่อเฉพาะเรียกว่าสงกรานต์เดือน คือเป็นการย้ายราศีของพระอาทิตย์ในแต่ละเดือนนั่นเอง
ประการที่สอง หมายถึงการเปลี่ยนย้ายราศีของพระอาทิตย์จากราศีมีนไปยังราศีเมษ ซึ่งจะเกิดขึ้นปีละหนึ่งครั้งในกลางเดือนเมษายน ในประการนี้มีชื่อเฉพาะเรียกว่าสงกรานต์ปีหรือมหาสงกรานต์
ประการที่สาม หมายถึงการโคจรเปลี่ยนตำแหน่งของพระอาทิตย์ไปยังกึ่งกลางขอบฟ้าซึ่งมีชื่อเฉพาะว่าอายันสงกรานต์ โดยถ้าพระอาทิตย์โคจรไปถึงกึ่งกลางขอบฟ้าด้านทิศเหนือก็มีชื่อเฉพาะเรียกว่าอายันสงกรานต์เหนือ หรือถ้าพระอาทิตย์โคจรไปถึงกึ่งกลางขอบฟ้าด้านทิศใต้ก็มีชื่อเฉพาะเรียกว่าอายันสงกรานต์ใต้
ที่เรียกกันโดยนิยมว่าวันสงกรานต์ก็คือวันมหาสงกรานต์ หมายถึงวันที่พระอาทิตย์โคจรเปลี่ยนราศีจากราศีมีนไปสู่ราศีเมษ ซึ่งแต่โบราณกาลมาประเทศในแถบชมพูทวีปรวมทั้งประเทศไทยของเราด้วยได้ยอมรับนับถือว่าวันดังกล่าวนี้เป็นวันเริ่มต้นปีใหม่
ในจักรราศีนั้น ราศีเมษเป็นราศีข้างทิศเหนือ อยู่ในตำแหน่งสูงสุด และเป็นจุดที่พระอาทิตย์มีกำลังสูงสุด ดังที่มีชื่อเรียกเฉพาะว่าเป็นมหาอุจ
แต่ทว่ากำลังอำนาจที่สูงสุดนั้นจะดีร้ายประการใดก็สุดแท้แต่คุณสมบัติของพระอาทิตย์ในขณะนั้น ๆ ว่าเป็นศรีหรือเป็นกาลกิณี
มีความในคัมภีร์จักรทีปนีจรสำแดงคุณโทษของพระเคราะห์ที่เป็นอุตม์ไว้ว่า “สิริอุจจา สุภาวุฒิ สิรินิจจา วิหายะติ กาลีอุจจา วิหายะติ กาลีนิจจา สุภาวุฒิ” ซึ่งแปลความโดยความหมายได้ว่าดาวพระเคราะห์ที่เป็นอุจนั้น หากมีฐานะเป็นศรีก็จะให้คุณยิ่งใหญ่ หากเป็นกาลกิณีก็จะให้โทษหนัก หรือในทางตรงกันข้าม ดาวพระเคราะห์ที่เป็นกาลีนั้น หากเป็นอุจก็จะให้โทษหนัก แต่ถ้าเป็นนิจก็จะให้คุณมาก
หมายความว่าความดีหรือคนดี หากมีอำนาจก็จะสร้างคุณงามความดีได้มาก แต่ถ้าคนชั่วหรือความชั่วมีอำนาจ ก็จะสร้างความพินาศฉิบหายได้มาก หรือหากคนชั่วถูกจำกัดไม่ให้มีอำนาจ ก็จะมีความร่มเย็นเป็นสุขแก่บ้านเมือง
ในจักรราศีมีทั้งสิ้น 360 องศา เปรียบดุจดังจักรวาล แบ่ง 30 องศาเป็นหนึ่งราศี แต่ละราศีถือเป็นหนึ่งเดือน มีราศีเมษเป็นราศีตั้งต้น เวียนไปทางพฤษภ เมถุน และไปสิ้นสุดเอาที่ราศีมีน
เรียงรายโดยรอบจักรวาลนั้น จัดกลุ่มดาวฤกษ์ทั้งหมดออกเป็น 27 กลุ่ม มีตั้งแต่ดาวอัศวินีหรือกลุ่มดาวม้าเป็นปฐม และสิ้นสุดลงที่กลุ่มดาวเรวตีหรือกลุ่มดาวปลาตะเพียน
ความผันแปรของพิภพและจักรวาลแบ่งย่อยลงจากเดือนเป็นสัปดาห์ เป็นวัน เป็นชั่วโมง เป็นนาที เป็นวินาที ก่อเกิดเป็นฤดูกาล เป็นสมบัติและวิบัติ เป็นมงคลและอวมงคล และผลกระทบของภาคนภดลอันเกิดแต่การโคจรของนพเคราะห์ในนภากาศกับภาคภูมิดลอันเป็นพิภพนี้ จึงก่อเกิดเป็นภาคพยากรณ์ถึงความเป็นไปของบ้านเมืองและบุคคล
เมื่อเริ่มต้นปีใหม่โดยอาศัยการคำนวณนับจากการโคจรย้ายราศีของพระอาทิตย์ฉะนี้แล้ว ประดาผู้มีหน้าที่ในการอ่านความหมายก็จะทำหน้าที่คำนวณกำหนดการต่าง ๆ และอ่านความหมาย ประมวลผลกระทบทั้งหลายทั้งปวงว่าการจะเป็นไปประการใดในปีนั้น
ธรรมเนียมการทำรายงานพยากรณ์สงกรานต์กราบทูลถวายพระเจ้าแผ่นดินมีมาแต่โบราณ และดูเหมือนว่าจะสิ้นสุดลงในปลายสมัยรัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์นี้
ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่าพระมหาราชเจ้าพระองค์นั้นทรงเป็นทั้งนักวิทยาศาสตร์และเอกอัครมหาโหราจารย์แห่งยุค ชำนาญการที่เป็นไปทั้งในภาคนภดล ภาคภูมิดล ภาคพยากรณ์ และภาคพิธีกรรม ยากจะหาผู้ใดเสมอเหมือน แม้สมเด็จพระสังฆราช (สา) วัดราชประดิษฐ์ที่ลือชาว่าเรืองวิทยาปัญญาคุณนัก ก็ไม่ปรากฏว่าวิทยาปัญญาคุณนั้นจะล้ำหน้าพระมหาราชเจ้าพระองค์นั้นไปได้เลย ฉะนี้แล้วไหนเลยพวกกรมโหรหลวงจะถวายรายงานในการนี้ให้เป็นที่ต้องพระทัยได้
ถัดจากความหมายของวันสงกรานต์ ก็จะต้องทำความเข้าใจเรื่องปีนักษัตร คือปีชวด ฉลู ขาล เถาะ ที่ไปสิ้นสุดลงที่ปีกุนว่าเริ่มต้นปีกันเมื่อใดแน่ เนื่องจากในเวลานี้มีความสับสนอลหม่าน บางพวกก็ถือเอาวันที่ 1 มกราคม เช่นเดียวกับวันขึ้นปีใหม่ทางสากล บางพวกก็ยังถือเอาวันสงกรานต์ บางพวกก็ถือเอาวันเถลิงศก แล้วจะเอาวันไหนกันแน่
มิฉะนั้นก็จะเกิดความสับสนว่าคนที่เกิดในห้วงเดือนมกราคมถึงเดือนเมษายนนั้นจะเกิดในปีนักษัตรใดกันแน่ แล้วจะทำให้ผิดเพี้ยนกันไปยกใหญ่
ในที่นี้ก็ต้องอธิบายว่าปีนักษัตรจะเริ่มต้นพร้อมกับการเปลี่ยนเวรนางสงกรานต์ โดยถือเอาวันเวลามหาสงกรานต์เป็นหลัก จะไปถือเอาวันที่ 1 มกราคม หรือวันเถลิงศกเป็นจุลศักราชใหม่ หรือวันขึ้นค่ำ 1 เดือน 5 หรือวันตรุษจีนไม่ได้
ตามตำนานสงกรานต์นั้น เมื่อขึ้นปีใหม่นางสงกรานต์องค์ใหม่ก็จะเข้าเวรแทนองค์เก่า โดยนางสงกรานต์เวรองค์ใหม่จะเชิญเศียรพระพรหมออกจากเขายุคลธรเป็นขบวนใหญ่แห่เวียนรอบเขาไกรลาศ ในการนี้จะทรงพาหนะเฉพาะของนางสงกรานต์ โดยมีสัตว์พาหนะตามปีนักษัตรเชิญธงปีนักษัตรนำขบวน
เหตุนี้สัตว์ตามนามปีนักษัตรจึงเข้าสู่ขบวนพร้อมกับนางสงกรานต์ที่เข้าเวรประจำปี ปีนักษัตรจึงเริ่มแต่วันเวลานั้น
ดังนั้นการนับปีชวดฉลูอันเป็นปีนักษัตรนั้นจึงต้องนับและถือเอาการเปลี่ยนแปลงในวันสงกรานต์เป็นสำคัญตามตำนานอันมีมาแต่โบราณดังนี้.
ก่อนอื่นก็ต้องบอกว่าแต่เดิมมานั้นประเทศไทยของเราถือเอาวันสงกรานต์เป็นวันขึ้นปีใหม่ แม้ปัจจุบันนี้ก็ยังมีร่องรอยให้เห็นอยู่ ดังที่เรียกกล่าวเล่าขานวันสงกรานต์ว่าเป็นวันปีใหม่ไทย
รอบปีของประเทศไทยจึงถือเอาตั้งแต่เดือนเมษายนคือตั้งแต่เทศกาลสงกรานต์เป็นต้นไป ซึ่งจะไปครบปีเอาในเดือนมีนาคมในอีก 12 เดือนข้างหน้า นั่นคือเมื่อเดือนเมษายนเป็นเดือนแรกของปีใหม่ ก็จะสิ้นสุดและครบรอบปีใหม่เอาในเดือนมีนาคม
ต่อมาในปี 2483 ได้มีการออกพระราชบัญญัติกำหนดปฏิทินใหม่ กำหนดรอบปีกันใหม่ให้เป็นแบบสากล โดยเปลี่ยนมาถือเอาเดือนมกราคมเป็นเดือนแรกของปีแล้วไปสิ้นสุดปีในอีก 12 เดือนข้างหน้าในเดือนธันวาคม และให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่ปี 2484 เป็นต้นไป
ดังนั้นเพื่อให้ปี 2484 ครบ 12 เดือน แทนที่เดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคม จะเป็น 3 เดือนสุดท้ายของปี 2483 ก็ให้ถือว่าเดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2483 เป็นเดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคมของ พ.ศ. 2484 ด้วย
เพื่อการนี้กฎหมายให้ถือว่าผู้ที่เกิดในเดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคมก่อน พ.ศ. 2484 ให้ถือว่าเป็นผู้ที่เกิดในปีใหม่ ดังนั้นใครเกิดในเดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคม ก่อน พ.ศ. 2484 จึงต้องถือว่าเกิดในปีใหม่ ไม่ใช่เกิดในปลายปีเก่า
ดังนั้นการนับอายุของผู้ที่เกิดในเดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคมก่อน พ.ศ. 2484 จะต้องบวกหนึ่งปีเข้าไปด้วยเสมอ เช่น กรณีของนายสุเมธ อุปนิสากร เกิดในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2481 จึงอยู่ในบังคับของกฎหมายดังกล่าวที่ถือว่าเป็นการเกิดในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2482 ซึ่งจะครบอายุ 70 ปี ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2552
กฎหมายดังกล่าวมีความชัดเจนและใช้บังคับมานานแล้ว ความจริงก็ไม่เป็นปัญหาอะไร แต่จู่ ๆ ผู้แทนราษฎรพรรคพลังประชาชนคงจะนึกหมั่นไส้นายสุเมธ อุปนิสากร ก็ไม่รู้ได้จึงทำเป็นไม่รู้กฎหมาย แล้วไปรวบรวมไพร่พลเข้าชื่อกันร่วม 70 คน ส่งเรื่องให้ประธานรัฐสภาเพื่อให้ส่งศาลรัฐธรรมนูญตีความว่านายสุเมธ อุปนิสากร มีอายุครบ 70 ปี ในปี พ.ศ. 2551 หรือไม่?
ทำกันโครมครามสนั่นหวั่นไหว มิหนำซ้ำยังแสดงท่าทีขู่เข็ญประธานรัฐสภาอีกด้วยว่าถ้าไม่ส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญก็จะดำเนินคดีฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่
เวรกรรมแท้ ๆ บักเว้งเอ๋ย! ไฉนจึงเชยแสดงความโง่แล้วพาพรรคพวกที่เขาไม่ทันตรวจตราเรื่องราวให้โง่ตามไปถึง 70 คน นี่คือแสดงความโง่ครั้งใหญ่ให้ปรากฏไว้ในแผ่นดิน
ก็ไม่รู้ว่าหัวหน้าพรรคพลังประชาชนและผู้บริหารพรรคพลังประชาชนจะรู้สึกอับอายขายหน้าบ้างหรือไม่ที่ลูกพรรคมีพฤติกรรมและกระทำการเช่นนี้ ซึ่งเป็นเรื่องน่าละอาย น่าสมเพชเวทนา
ตรงนี้จึงเป็นสิ่งที่แสดงให้ประชาชนชาวไทยได้เห็นว่าการทำการใดด้วยน้ำใจอันไม่ผ่องใสเที่ยงธรรม หรือกระทำด้วยโทสะโมหะ ก็ย่อมเกิดความหละหลวมผิดพลาดขึ้น กระทั่งไม่รู้วันเดือนปีดังที่ให้เห็นกันอยู่นี้
มาไกลไปสักหน่อย แต่ไม่เสียหลายแน่ เพราะอย่างน้อยก็เป็นการทำความรู้ความเข้าใจในเรื่องของสงกรานต์ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการบ้านเมืองที่กำลังเป็นเรื่องฮือฮากันอยู่
ช่วงนี้ก็มีการอธิบายเรื่องสงกรานต์กันบ้างแล้ว แต่ก็อธิบายกันไปเรื่อยเปื่อย หาหลักหาเกณฑ์ไม่ค่อยได้
มีการอธิบายวันสงกรานต์ว่าสงกรานต์หมายถึงตัวสงกรานต์ซึ่งเป็นสัตว์ชนิดหนึ่งมากับน้ำ ลักษณะคล้ายไส้เดือน สีแดง ๆ ซึ่งไม่ได้เกี่ยวอะไรกับวันสงกรานต์เลย หรือไม่ก็อธิบายกันเกี่ยวกับตำนานสงกรานต์ที่พระพรหมไปท้าตั้งปริศนากับมานพหนุ่มว่าแต่ละวันนั้นเวลาไหนศรีอยู่ที่ไหน จนต้องถูกตัดเศียรเป็นเดิมพันการพนัน
ต่อให้เป็นถึงพระพรหม หากไปมั่วสุมกับการพนันซึ่งเป็นทางแห่งความฉิบหายตามคำสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วอะไรก็ไม่เหลือ แม้หัวตัวเองก็รักษาไว้ไม่ได้
สำมะหาอะไรกับอาณาประชาราษฎร หากถูกรัฐบาลมอมเมาด้วยอบายมุขไม่ว่าหวยบนดิน หรือบ่อนการพนัน อาณาประชาราษฎรก็มีแต่ความฉิบหายวายวอด สังคมมีแต่ต้องล่มสลาย กระทั่งชีวิตก็รักษาไว้ไม่ได้ ทำนองเดียวกับพระพรหมในตำนานสงกรานต์ที่ว่านี้
จึงต้องระวังกันไว้ให้จงดีเพราะเรื่องนี้ประมาทเผลอเรอไม่ได้ เพราะยามใดบ้านเมืองปกครองโดยบัณฑิต การในบ้านเมืองนั้นก็จะมีแต่สิ่งที่เป็นกุศล และมีความผาสุกร่มเย็นเป็นที่ตั้ง แต่ถ้ายามใดบ้านเมืองปกครองโดยอันธพาล การในบ้านเมืองนั้นก็จะมีแต่สิ่งที่เป็นอกุศล มีแต่ความสับสนวุ่นวายเดือดร้อนทุกข์เข็ญเป็นที่ตั้ง จนกว่าอำนาจแห่งพาลนั้นจะพินาศสิ้นไป
พระพรหมที่ว่านี้ไม่ได้หมายถึงพระพรหมซึ่งเป็นหนึ่งในตรีมูรติของศาสนาฮินดู หรือท้าวมหาพรหมที่มีรูปสถิตอยู่หน้าโรงแรมเอราวัณแต่ประการใด เพราะพระพรหมนั้นมีอยู่มากมายหลายองค์ ปู่ของทศกัณฐ์ในรามเกียรติ์ก็เป็นพรหมองค์หนึ่งเหมือนกัน
เพราะผู้ที่มีภูมิธรรมถึงระดับชั้นพรหมก็ย่อมได้ชื่อว่าเป็นพรหมด้วยกันทั้งนั้น แต่การเป็นพรหมนี้ก็ยังมีกิเลส ยังมีทุกข์ มีสุขอยู่คล้าย ๆ กับเราท่าน เป็นแต่เบาบางลงสักหน่อยหนึ่ง
ที่เรียกว่าสงกรานต์นั้นมีความหมายว่าเปลี่ยนย้าย ในความหมายที่เกี่ยวข้องกับวันสงกรานต์มีความหมายเฉพาะอยู่ 3 ประการ คือ
ประการแรก หมายถึงการเปลี่ยนย้ายราศีของพระอาทิตย์จากราศีหนึ่งไปยังราศีหนึ่งในจักรราศี ในประการนี้มีชื่อเฉพาะเรียกว่าสงกรานต์เดือน คือเป็นการย้ายราศีของพระอาทิตย์ในแต่ละเดือนนั่นเอง
ประการที่สอง หมายถึงการเปลี่ยนย้ายราศีของพระอาทิตย์จากราศีมีนไปยังราศีเมษ ซึ่งจะเกิดขึ้นปีละหนึ่งครั้งในกลางเดือนเมษายน ในประการนี้มีชื่อเฉพาะเรียกว่าสงกรานต์ปีหรือมหาสงกรานต์
ประการที่สาม หมายถึงการโคจรเปลี่ยนตำแหน่งของพระอาทิตย์ไปยังกึ่งกลางขอบฟ้าซึ่งมีชื่อเฉพาะว่าอายันสงกรานต์ โดยถ้าพระอาทิตย์โคจรไปถึงกึ่งกลางขอบฟ้าด้านทิศเหนือก็มีชื่อเฉพาะเรียกว่าอายันสงกรานต์เหนือ หรือถ้าพระอาทิตย์โคจรไปถึงกึ่งกลางขอบฟ้าด้านทิศใต้ก็มีชื่อเฉพาะเรียกว่าอายันสงกรานต์ใต้
ที่เรียกกันโดยนิยมว่าวันสงกรานต์ก็คือวันมหาสงกรานต์ หมายถึงวันที่พระอาทิตย์โคจรเปลี่ยนราศีจากราศีมีนไปสู่ราศีเมษ ซึ่งแต่โบราณกาลมาประเทศในแถบชมพูทวีปรวมทั้งประเทศไทยของเราด้วยได้ยอมรับนับถือว่าวันดังกล่าวนี้เป็นวันเริ่มต้นปีใหม่
ในจักรราศีนั้น ราศีเมษเป็นราศีข้างทิศเหนือ อยู่ในตำแหน่งสูงสุด และเป็นจุดที่พระอาทิตย์มีกำลังสูงสุด ดังที่มีชื่อเรียกเฉพาะว่าเป็นมหาอุจ
แต่ทว่ากำลังอำนาจที่สูงสุดนั้นจะดีร้ายประการใดก็สุดแท้แต่คุณสมบัติของพระอาทิตย์ในขณะนั้น ๆ ว่าเป็นศรีหรือเป็นกาลกิณี
มีความในคัมภีร์จักรทีปนีจรสำแดงคุณโทษของพระเคราะห์ที่เป็นอุตม์ไว้ว่า “สิริอุจจา สุภาวุฒิ สิรินิจจา วิหายะติ กาลีอุจจา วิหายะติ กาลีนิจจา สุภาวุฒิ” ซึ่งแปลความโดยความหมายได้ว่าดาวพระเคราะห์ที่เป็นอุจนั้น หากมีฐานะเป็นศรีก็จะให้คุณยิ่งใหญ่ หากเป็นกาลกิณีก็จะให้โทษหนัก หรือในทางตรงกันข้าม ดาวพระเคราะห์ที่เป็นกาลีนั้น หากเป็นอุจก็จะให้โทษหนัก แต่ถ้าเป็นนิจก็จะให้คุณมาก
หมายความว่าความดีหรือคนดี หากมีอำนาจก็จะสร้างคุณงามความดีได้มาก แต่ถ้าคนชั่วหรือความชั่วมีอำนาจ ก็จะสร้างความพินาศฉิบหายได้มาก หรือหากคนชั่วถูกจำกัดไม่ให้มีอำนาจ ก็จะมีความร่มเย็นเป็นสุขแก่บ้านเมือง
ในจักรราศีมีทั้งสิ้น 360 องศา เปรียบดุจดังจักรวาล แบ่ง 30 องศาเป็นหนึ่งราศี แต่ละราศีถือเป็นหนึ่งเดือน มีราศีเมษเป็นราศีตั้งต้น เวียนไปทางพฤษภ เมถุน และไปสิ้นสุดเอาที่ราศีมีน
เรียงรายโดยรอบจักรวาลนั้น จัดกลุ่มดาวฤกษ์ทั้งหมดออกเป็น 27 กลุ่ม มีตั้งแต่ดาวอัศวินีหรือกลุ่มดาวม้าเป็นปฐม และสิ้นสุดลงที่กลุ่มดาวเรวตีหรือกลุ่มดาวปลาตะเพียน
ความผันแปรของพิภพและจักรวาลแบ่งย่อยลงจากเดือนเป็นสัปดาห์ เป็นวัน เป็นชั่วโมง เป็นนาที เป็นวินาที ก่อเกิดเป็นฤดูกาล เป็นสมบัติและวิบัติ เป็นมงคลและอวมงคล และผลกระทบของภาคนภดลอันเกิดแต่การโคจรของนพเคราะห์ในนภากาศกับภาคภูมิดลอันเป็นพิภพนี้ จึงก่อเกิดเป็นภาคพยากรณ์ถึงความเป็นไปของบ้านเมืองและบุคคล
เมื่อเริ่มต้นปีใหม่โดยอาศัยการคำนวณนับจากการโคจรย้ายราศีของพระอาทิตย์ฉะนี้แล้ว ประดาผู้มีหน้าที่ในการอ่านความหมายก็จะทำหน้าที่คำนวณกำหนดการต่าง ๆ และอ่านความหมาย ประมวลผลกระทบทั้งหลายทั้งปวงว่าการจะเป็นไปประการใดในปีนั้น
ธรรมเนียมการทำรายงานพยากรณ์สงกรานต์กราบทูลถวายพระเจ้าแผ่นดินมีมาแต่โบราณ และดูเหมือนว่าจะสิ้นสุดลงในปลายสมัยรัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์นี้
ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่าพระมหาราชเจ้าพระองค์นั้นทรงเป็นทั้งนักวิทยาศาสตร์และเอกอัครมหาโหราจารย์แห่งยุค ชำนาญการที่เป็นไปทั้งในภาคนภดล ภาคภูมิดล ภาคพยากรณ์ และภาคพิธีกรรม ยากจะหาผู้ใดเสมอเหมือน แม้สมเด็จพระสังฆราช (สา) วัดราชประดิษฐ์ที่ลือชาว่าเรืองวิทยาปัญญาคุณนัก ก็ไม่ปรากฏว่าวิทยาปัญญาคุณนั้นจะล้ำหน้าพระมหาราชเจ้าพระองค์นั้นไปได้เลย ฉะนี้แล้วไหนเลยพวกกรมโหรหลวงจะถวายรายงานในการนี้ให้เป็นที่ต้องพระทัยได้
ถัดจากความหมายของวันสงกรานต์ ก็จะต้องทำความเข้าใจเรื่องปีนักษัตร คือปีชวด ฉลู ขาล เถาะ ที่ไปสิ้นสุดลงที่ปีกุนว่าเริ่มต้นปีกันเมื่อใดแน่ เนื่องจากในเวลานี้มีความสับสนอลหม่าน บางพวกก็ถือเอาวันที่ 1 มกราคม เช่นเดียวกับวันขึ้นปีใหม่ทางสากล บางพวกก็ยังถือเอาวันสงกรานต์ บางพวกก็ถือเอาวันเถลิงศก แล้วจะเอาวันไหนกันแน่
มิฉะนั้นก็จะเกิดความสับสนว่าคนที่เกิดในห้วงเดือนมกราคมถึงเดือนเมษายนนั้นจะเกิดในปีนักษัตรใดกันแน่ แล้วจะทำให้ผิดเพี้ยนกันไปยกใหญ่
ในที่นี้ก็ต้องอธิบายว่าปีนักษัตรจะเริ่มต้นพร้อมกับการเปลี่ยนเวรนางสงกรานต์ โดยถือเอาวันเวลามหาสงกรานต์เป็นหลัก จะไปถือเอาวันที่ 1 มกราคม หรือวันเถลิงศกเป็นจุลศักราชใหม่ หรือวันขึ้นค่ำ 1 เดือน 5 หรือวันตรุษจีนไม่ได้
ตามตำนานสงกรานต์นั้น เมื่อขึ้นปีใหม่นางสงกรานต์องค์ใหม่ก็จะเข้าเวรแทนองค์เก่า โดยนางสงกรานต์เวรองค์ใหม่จะเชิญเศียรพระพรหมออกจากเขายุคลธรเป็นขบวนใหญ่แห่เวียนรอบเขาไกรลาศ ในการนี้จะทรงพาหนะเฉพาะของนางสงกรานต์ โดยมีสัตว์พาหนะตามปีนักษัตรเชิญธงปีนักษัตรนำขบวน
เหตุนี้สัตว์ตามนามปีนักษัตรจึงเข้าสู่ขบวนพร้อมกับนางสงกรานต์ที่เข้าเวรประจำปี ปีนักษัตรจึงเริ่มแต่วันเวลานั้น
ดังนั้นการนับปีชวดฉลูอันเป็นปีนักษัตรนั้นจึงต้องนับและถือเอาการเปลี่ยนแปลงในวันสงกรานต์เป็นสำคัญตามตำนานอันมีมาแต่โบราณดังนี้.