ผมได้ยินคำว่า “คนรุ่นใหม่” ตอนที่ย่างเข้าช่วงวัยรุ่น เท่าที่จับความได้ คนรุ่นใหม่ที่เรียกขานกันในตอนนั้นจะมีคุณลักษณะประมาณนี้ คือ
- เป็นคนที่มีวัยไม่สูงมากนัก แต่ก็ไม่ถึงกับไม่นับคนที่อยู่วัยกลางไปเสียเลยทีเดียว ซึ่งเท่าที่สังเกตดูแล้ว คนรุ่นใหม่ที่มีอายุประมาณ 40-50 ก็มีให้เห็นเช่นกัน เรื่องนี้คงเอาเรื่องเรี่ยวแรงเข้าว่าด้วย
- เป็นคนที่มีความคิดความอ่านแตกต่างไปจากคนอื่น ที่ว่าแตกต่างนี้ต้องเข้าใจให้ดีว่าไม่จำเป็นต้องเป็นความคิดที่เป็นแบบตะวันตกเสมอไป ซึ่งมักใช้เป็นมาตรฐานหนึ่งในการชี้วัดการเป็นคนรุ่นใหม่ แต่อาจคิดในเชิงอนุรักษนิยมก็ได้ เป็นอยู่แต่ว่าอนุรักษนิยมที่ก้าวหน้ากว่าอนุรักษนิยมรุ่นเก่าๆ
- เป็นคนที่มีความคิดทันสมัยแบบตะวันตก โดยหลักๆ ก็คือ เป็นคนที่มีความคิดเสรีนิยมเป็นพื้น คนแบบนี้มักจะฟังความคิดเห็นที่แตกต่างไปจากตนได้ ไม่ดูถูกเหยียดหยามคนอื่นที่คิดต่าง อย่างไรก็ตาม คนที่มีความคิดแบบสังคมนิยมก็จัดอยู่ในข่ายนี้ด้วยเช่นกัน ซึ่งบางครั้งก็ไปด้วยกันได้กับพวกเสรีนิยม ยกเว้นต่างสุดขั้วด้วยกันทั้งคู่ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง
- เป็นคนที่มีผลงานที่แปลกแหวกแนวหรือแตกต่างไปจากกระแสหลักในขณะนั้น ความแปลกแหวกแนวหรือแตกต่างที่ว่านี้ไม่ใช่สักแต่เอาเฉพาะรูปแบบเท่านั้น หากในแง่เนื้อหาเองก็แหวกแนวและแตกต่างอย่างน่าสนใจอยู่ไม่น้อย พูดง่ายๆ คือ มีกึ๋น
ที่สำคัญคือ เป็นผลงานที่ให้ประโยชน์และเป็นธรรมแก่สังคม ไม่ว่าจะเป็นในแง่ของข้อคิดความเห็น ความสดใหม่งดงาม ลีลาที่นำเสนอทั้งในแง่สีสัน ลายเส้น หรือแม้แต่ภาษา ฯลฯ เรียกว่าเป็นผลงานที่จะดำรงคงอยู่ในสังคมไทยไปอีกยาวนานหรือยังคงถูกพูดถึงอ้างถึงอยู่เสมอ
อันที่จริงแล้วคุณลักษณะของคนรุ่นใหม่น่าจะมีมากกว่าที่ผมรวบรวมมา แต่แค่ที่เห็นก็พอชี้อะไรให้เราได้เข้าใจไม่มากก็น้อย ว่าคนรุ่นใหม่หน้าจะมีบุคลิกภาพและความคิดความอ่านแบบไหน
ตอนนั้น สังคมไทยจึงมีคนรุ่นใหม่กันเต็มบ้านเต็มเมือง เพราะใครๆ ก็อยากเป็นคนรุ่นใหม่กันทั้งนั้น ที่คนรุ่นใหม่ในสมัยนั้นเกิดได้ง่ายก็เพราะบ้านเมืองอยู่ในเงื้อมเงาของเผด็จการทหาร ซึ่งใครๆ ต่างก็พากันรังเกียจและต่อต้าน
ด้วยเหตุนี้ กล่าวเฉพาะความคิดความอ่านของคนรุ่นใหม่ในขณะนั้นเพียงอย่างเดียวก็ชัดเจนอยู่ในตัวแล้วว่า เป็นความคิดความอ่านที่ออกจะก้าวหน้าและเป็นประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวมจริงๆ ไม่ใช่สักแต่เอาแปลกแหวกแนวแต่เพียงอย่างเดียว เช่น เห็นเขาไว้ผมยาวก็ไว้มั่ง เห็นเขาแต่งตัวคล้ายพวกฮิปปี้ก็แต่งมั่ง แต่กลับไม่รู้เรื่องการต่อต้านสงคราม ไม่รู้เรื่องการต่อสู้เพื่อสันติภาพและสิทธิเสรีภาพ ไม่รู้จักบทกวีหรือบทเพลงที่มีเนื้อหาดีๆ แบบเพื่อชีวิต รู้อยู่อย่างเดียวคือ เท่ เก๋ และเป็นที่สะดุดตาของใครต่อใคร จากนั้นก็ไปนั่งกินเหล้าสูบกัญชา หรือไม่ก็ใช้ชีวิตสำราญไปวันๆ โดยไม่ทำอะไรเป็นชิ้นเป็นอันให้ทั้งกับตัวเอง ที่บ้าน หรือสังคม
อย่างนี้ไม่เรียกว่าคนรุ่นใหม่หรอกครับ ใครเผลอเข้าใจผิดและเดินเข้าไปคุยด้วยมีแต่จะผิดหวังและเซ็ง ดีไม่ดีอาจพาลโกรธคนรุ่นใหม่ตัวจริงเสียงจริงเอาอีกด้วย ว่าคนรุ่นใหม่จะต้องเป็นแบบอ้ายเส็งเคร็งคนนั้น
ฉะนั้น การที่จะเป็นคนรุ่นใหม่ได้นั้นจึงไม่ใช่เพียงแค่เอาแต่เปลือกนอกมาใช้ก็เป็นได้แล้ว แบบนี้เขาไม่เรียกว่าคนรุ่นใหม่ และดูเหมือนว่าไม่มีคำอื่นให้เรียกเสียด้วย แต่ประเด็นที่สำคัญก็คือ คนรุ่นใหม่สมัยนั้นมีไม่น้อยจริงๆ เหตุผลก็อย่างที่บอกไปแล้ว คือต่างก็ไม่ชอบเผด็จการทหารด้วยกันทั้งนั้น
แต่พอหลังจากที่เผด็จการทหารถูกโค่นล้มลงไปในเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 แล้ว (ผมใช้คำว่าโค่นล้มในความหมายอย่างกว้างนะครับ ถ้าว่ากันอย่างลึกซึ้งแล้วก็คงไม่ถึงขนาดนั้น) คนรุ่นใหม่ที่เล่ามาก็เริ่มเปลี่ยนไป คือมีแนวโน้มที่จะมีความคิดแบบสังคมนิยมหรือเป็นซ้ายเข้ามาด้วย แต่กระนั้น เราก็ยังนับคนเหล่านี้ว่าเป็นคนรุ่นใหม่อยู่ดี
ที่นับเป็นคนรุ่นใหม่นั้น ผมเข้าใจเอาตามเกณฑ์หยาบๆ ที่ผมตั้งมาข้างต้น คือถ้าเป็นความคิดความอ่านแล้วย่อมแหวกแนวแน่นอน เพราะรู้กันอยู่ว่า ตอนนั้นถ้าใครประกาศตัวเป็นซ้ายนี่ถือว่าเสี่ยงคุกเสี่ยงตะรางมาก ฉะนั้น ถ้าไม่แน่จริงก็คงไม่กล้าเป็นซ้ายหรอกครับ ของแบบนี้ไม่เท่และไม่มีใครอยากเลียนแบบ
แต่แค่คิดอะไรแบบซ้ายๆ ยังไม่นับว่าเป็นคนรุ่นใหม่อย่างแน่นอน เพราะซ้ายที่เหลวไหลก็มีให้เห็นถมถืดอยู่ด้วยเช่นกัน คนรุ่นใหม่ที่เป็นซ้ายในตอนนั้นนอกจากจะคิดอะไรแบบซ้ายๆ แล้ว ยังมีกะจิตกะใจช่วยเหลือคนที่ตกทุกข์ได้ยากอีกด้วย เห็นกรรมกร ชาวนา คนในสลัม หรือคนเล็กคนน้อยในสังคมถูกเอารัดเอาเปรียบรังแกเป็นไม่ได้ คนรุ่นใหม่ฝ่ายซ้ายเป็นต้องลุกขึ้นมาช่วยเหลือ
ด้วยเหตุนี้ ตอนที่คิดอะไรแบบซ้ายๆ ก็มีคนรังเกียจอยู่แล้วไม่น้อย ยิ่งไปทำกิจกรรมที่เฉียดๆ จะสร้างสังคมชนชั้นกรรมาชีพด้วยแล้ว คนที่รังเกียจก็ยิ่งเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะพวกผู้ดี นายทุน รวมตลอดจนชนชั้นกลางอีกไม่น้อย
การเป็นคนรุ่นใหม่ในสมัยผมจึงค่อนข้างลำบากลำบนอยู่ไม่น้อย
อย่างไรก็ตาม หลังจากนั้นต่อมาอีกหลายปี คนรุ่นใหม่ในสังคมไทยก็ยังคงทยอยเกิดขึ้นอยู่เสมอ จะมีทิ้งช่วงไปบ้างก็บางระยะ แต่เท่าที่เห็นส่วนใหญ่จะเป็นคนรุ่นใหม่ในแวดวงศิลปวัฒนธรรมเสียมากกว่า ไม่ว่าจะเป็นงานวรรณกรรม กวี หนัง วิชาการ แต่ก็มีน้อยเหลือเกิน ที่จะมีผลงานในทางการเมืองนั้นยิ่งหาได้น้อยมาก ส่วนคนรุ่นใหม่ในสมัยที่ผมยังวัยรุ่นนั้น ถึงตอนนี้ก็สูงวัยขึ้น บางคนความคิดความอ่านก็เปลี่ยนไป บางคนก็ยังมั่นคงไม่เปลี่ยนแปลง
คนรุ่นใหม่ที่เรียกและยกย่องกันในปัจจุบันนี้ส่วนหนึ่งเป็นฝีมือของสื่อ ผมเข้าใจว่า สื่อคงหมายถึงคนที่มีชื่อเสียงขึ้นมาในขณะอายุยังน้อย โดยไม่ได้ดูภูมิหลัง ผลงาน หรือความคิดความอ่านของคนที่ตนกำลังยกให้เป็นคนรุ่นใหม่ว่ามีภูมิปัญญาแค่ไหน อย่างไร เป็นประโยชน์แก่สังคมส่วนรวมหรือไม่ หรือมีอะไรใหม่ๆ ที่แปลกแหวกแนวและแตกต่างไปจากสิ่งที่ปรากฏเป็นกระแสในตอนนี้หรือไม่อย่างไร ที่สำคัญคือ เป็นคนที่มีทัศนคติที่ดีต่อเพื่อนมนุษย์หรือไม่ อย่างไร
ซึ่งจะว่าไปแล้วผมมองไม่เห็นตรงนั้นจริงๆ คนรุ่นใหม่ที่เรายกย่องในปัจจุบันเท่าที่ผมเห็นคือ มักจะมีภูมิหลังครอบครัวที่มีฐานะดี บางคนก็ชาติตระกูลหรือนามสกุลดัง และเมื่อดูจากความคิดความอ่านแล้วก็เป็นความคิดพื้นๆ ที่จัดอยู่ในชุดความคิดทุนนิยมเสรีหรือเสรีนิยมใหม่ที่ใครๆ ก็รู้อยู่แล้ว
ซ้ำร้ายที่รู้นั้นก็รู้โดยไม่สนใจว่าจะเป็นทุนนิยมที่เป็นธรรมหรือไม่ ขอเพียงทำให้ตนดัง เด่น และรวย ขึ้นมาก็ถือว่าประสบความสำเร็จและเป็นคนรุ่นใหม่ได้แล้ว
ถ้าจะให้ผมยกตัวอย่างคนรุ่นใหม่สมัยที่ผมเป็นเด็กวัยรุ่นกับสมัยนี้แล้ว ผมคิดว่า คุณรสนา โตสิตระกูล เป็นคนรุ่นใหม่แบบสมัยผม และ ม.ล.ณัฏฐกรณ์ เทวกุล หรือ คุณปลื้ม เป็นคนรุ่นใหม่แบบสมัยนี้ ดังนั้น ตอนที่คนทั้งสองวิวาทะกันผมจึงเห็นว่า คุณรสนา แหลมคมกว่าเยอะ
เพื่อนของผมคนหนึ่งที่เก่งภาษาอังกฤษมากๆ เล่าว่า ถ้าผมได้เห็นกระแสที่ตอบรับ คุณรสนา โดยชาวต่างชาติที่มาจากประเทศทุนนิยมด้วยแล้ว ยิ่งเห็นได้ว่าเป็นกระดูกคนละเบอร์ ทั้งนี้ เพื่อนผมคนนี้ยังบอกอีกด้วยว่า แม้แต่ภาษาอังกฤษ (ใช่แต่ความคิดความอ่าน) ของ คุณรสนา ก็ยังดีกว่าตั้งเยอะ
ผมซึ่งไม่ใช่คนเก่งภาษาอังกฤษจึงได้แต่อยากรู้ว่า เป็นอย่างนั้นจริงหรือ ใครรู้ช่วยตอบผมด้วย เพื่อผมจะได้รู้จักคนรุ่นใหม่สมัยนี้ได้มากขึ้น
- เป็นคนที่มีวัยไม่สูงมากนัก แต่ก็ไม่ถึงกับไม่นับคนที่อยู่วัยกลางไปเสียเลยทีเดียว ซึ่งเท่าที่สังเกตดูแล้ว คนรุ่นใหม่ที่มีอายุประมาณ 40-50 ก็มีให้เห็นเช่นกัน เรื่องนี้คงเอาเรื่องเรี่ยวแรงเข้าว่าด้วย
- เป็นคนที่มีความคิดความอ่านแตกต่างไปจากคนอื่น ที่ว่าแตกต่างนี้ต้องเข้าใจให้ดีว่าไม่จำเป็นต้องเป็นความคิดที่เป็นแบบตะวันตกเสมอไป ซึ่งมักใช้เป็นมาตรฐานหนึ่งในการชี้วัดการเป็นคนรุ่นใหม่ แต่อาจคิดในเชิงอนุรักษนิยมก็ได้ เป็นอยู่แต่ว่าอนุรักษนิยมที่ก้าวหน้ากว่าอนุรักษนิยมรุ่นเก่าๆ
- เป็นคนที่มีความคิดทันสมัยแบบตะวันตก โดยหลักๆ ก็คือ เป็นคนที่มีความคิดเสรีนิยมเป็นพื้น คนแบบนี้มักจะฟังความคิดเห็นที่แตกต่างไปจากตนได้ ไม่ดูถูกเหยียดหยามคนอื่นที่คิดต่าง อย่างไรก็ตาม คนที่มีความคิดแบบสังคมนิยมก็จัดอยู่ในข่ายนี้ด้วยเช่นกัน ซึ่งบางครั้งก็ไปด้วยกันได้กับพวกเสรีนิยม ยกเว้นต่างสุดขั้วด้วยกันทั้งคู่ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง
- เป็นคนที่มีผลงานที่แปลกแหวกแนวหรือแตกต่างไปจากกระแสหลักในขณะนั้น ความแปลกแหวกแนวหรือแตกต่างที่ว่านี้ไม่ใช่สักแต่เอาเฉพาะรูปแบบเท่านั้น หากในแง่เนื้อหาเองก็แหวกแนวและแตกต่างอย่างน่าสนใจอยู่ไม่น้อย พูดง่ายๆ คือ มีกึ๋น
ที่สำคัญคือ เป็นผลงานที่ให้ประโยชน์และเป็นธรรมแก่สังคม ไม่ว่าจะเป็นในแง่ของข้อคิดความเห็น ความสดใหม่งดงาม ลีลาที่นำเสนอทั้งในแง่สีสัน ลายเส้น หรือแม้แต่ภาษา ฯลฯ เรียกว่าเป็นผลงานที่จะดำรงคงอยู่ในสังคมไทยไปอีกยาวนานหรือยังคงถูกพูดถึงอ้างถึงอยู่เสมอ
อันที่จริงแล้วคุณลักษณะของคนรุ่นใหม่น่าจะมีมากกว่าที่ผมรวบรวมมา แต่แค่ที่เห็นก็พอชี้อะไรให้เราได้เข้าใจไม่มากก็น้อย ว่าคนรุ่นใหม่หน้าจะมีบุคลิกภาพและความคิดความอ่านแบบไหน
ตอนนั้น สังคมไทยจึงมีคนรุ่นใหม่กันเต็มบ้านเต็มเมือง เพราะใครๆ ก็อยากเป็นคนรุ่นใหม่กันทั้งนั้น ที่คนรุ่นใหม่ในสมัยนั้นเกิดได้ง่ายก็เพราะบ้านเมืองอยู่ในเงื้อมเงาของเผด็จการทหาร ซึ่งใครๆ ต่างก็พากันรังเกียจและต่อต้าน
ด้วยเหตุนี้ กล่าวเฉพาะความคิดความอ่านของคนรุ่นใหม่ในขณะนั้นเพียงอย่างเดียวก็ชัดเจนอยู่ในตัวแล้วว่า เป็นความคิดความอ่านที่ออกจะก้าวหน้าและเป็นประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวมจริงๆ ไม่ใช่สักแต่เอาแปลกแหวกแนวแต่เพียงอย่างเดียว เช่น เห็นเขาไว้ผมยาวก็ไว้มั่ง เห็นเขาแต่งตัวคล้ายพวกฮิปปี้ก็แต่งมั่ง แต่กลับไม่รู้เรื่องการต่อต้านสงคราม ไม่รู้เรื่องการต่อสู้เพื่อสันติภาพและสิทธิเสรีภาพ ไม่รู้จักบทกวีหรือบทเพลงที่มีเนื้อหาดีๆ แบบเพื่อชีวิต รู้อยู่อย่างเดียวคือ เท่ เก๋ และเป็นที่สะดุดตาของใครต่อใคร จากนั้นก็ไปนั่งกินเหล้าสูบกัญชา หรือไม่ก็ใช้ชีวิตสำราญไปวันๆ โดยไม่ทำอะไรเป็นชิ้นเป็นอันให้ทั้งกับตัวเอง ที่บ้าน หรือสังคม
อย่างนี้ไม่เรียกว่าคนรุ่นใหม่หรอกครับ ใครเผลอเข้าใจผิดและเดินเข้าไปคุยด้วยมีแต่จะผิดหวังและเซ็ง ดีไม่ดีอาจพาลโกรธคนรุ่นใหม่ตัวจริงเสียงจริงเอาอีกด้วย ว่าคนรุ่นใหม่จะต้องเป็นแบบอ้ายเส็งเคร็งคนนั้น
ฉะนั้น การที่จะเป็นคนรุ่นใหม่ได้นั้นจึงไม่ใช่เพียงแค่เอาแต่เปลือกนอกมาใช้ก็เป็นได้แล้ว แบบนี้เขาไม่เรียกว่าคนรุ่นใหม่ และดูเหมือนว่าไม่มีคำอื่นให้เรียกเสียด้วย แต่ประเด็นที่สำคัญก็คือ คนรุ่นใหม่สมัยนั้นมีไม่น้อยจริงๆ เหตุผลก็อย่างที่บอกไปแล้ว คือต่างก็ไม่ชอบเผด็จการทหารด้วยกันทั้งนั้น
แต่พอหลังจากที่เผด็จการทหารถูกโค่นล้มลงไปในเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 แล้ว (ผมใช้คำว่าโค่นล้มในความหมายอย่างกว้างนะครับ ถ้าว่ากันอย่างลึกซึ้งแล้วก็คงไม่ถึงขนาดนั้น) คนรุ่นใหม่ที่เล่ามาก็เริ่มเปลี่ยนไป คือมีแนวโน้มที่จะมีความคิดแบบสังคมนิยมหรือเป็นซ้ายเข้ามาด้วย แต่กระนั้น เราก็ยังนับคนเหล่านี้ว่าเป็นคนรุ่นใหม่อยู่ดี
ที่นับเป็นคนรุ่นใหม่นั้น ผมเข้าใจเอาตามเกณฑ์หยาบๆ ที่ผมตั้งมาข้างต้น คือถ้าเป็นความคิดความอ่านแล้วย่อมแหวกแนวแน่นอน เพราะรู้กันอยู่ว่า ตอนนั้นถ้าใครประกาศตัวเป็นซ้ายนี่ถือว่าเสี่ยงคุกเสี่ยงตะรางมาก ฉะนั้น ถ้าไม่แน่จริงก็คงไม่กล้าเป็นซ้ายหรอกครับ ของแบบนี้ไม่เท่และไม่มีใครอยากเลียนแบบ
แต่แค่คิดอะไรแบบซ้ายๆ ยังไม่นับว่าเป็นคนรุ่นใหม่อย่างแน่นอน เพราะซ้ายที่เหลวไหลก็มีให้เห็นถมถืดอยู่ด้วยเช่นกัน คนรุ่นใหม่ที่เป็นซ้ายในตอนนั้นนอกจากจะคิดอะไรแบบซ้ายๆ แล้ว ยังมีกะจิตกะใจช่วยเหลือคนที่ตกทุกข์ได้ยากอีกด้วย เห็นกรรมกร ชาวนา คนในสลัม หรือคนเล็กคนน้อยในสังคมถูกเอารัดเอาเปรียบรังแกเป็นไม่ได้ คนรุ่นใหม่ฝ่ายซ้ายเป็นต้องลุกขึ้นมาช่วยเหลือ
ด้วยเหตุนี้ ตอนที่คิดอะไรแบบซ้ายๆ ก็มีคนรังเกียจอยู่แล้วไม่น้อย ยิ่งไปทำกิจกรรมที่เฉียดๆ จะสร้างสังคมชนชั้นกรรมาชีพด้วยแล้ว คนที่รังเกียจก็ยิ่งเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะพวกผู้ดี นายทุน รวมตลอดจนชนชั้นกลางอีกไม่น้อย
การเป็นคนรุ่นใหม่ในสมัยผมจึงค่อนข้างลำบากลำบนอยู่ไม่น้อย
อย่างไรก็ตาม หลังจากนั้นต่อมาอีกหลายปี คนรุ่นใหม่ในสังคมไทยก็ยังคงทยอยเกิดขึ้นอยู่เสมอ จะมีทิ้งช่วงไปบ้างก็บางระยะ แต่เท่าที่เห็นส่วนใหญ่จะเป็นคนรุ่นใหม่ในแวดวงศิลปวัฒนธรรมเสียมากกว่า ไม่ว่าจะเป็นงานวรรณกรรม กวี หนัง วิชาการ แต่ก็มีน้อยเหลือเกิน ที่จะมีผลงานในทางการเมืองนั้นยิ่งหาได้น้อยมาก ส่วนคนรุ่นใหม่ในสมัยที่ผมยังวัยรุ่นนั้น ถึงตอนนี้ก็สูงวัยขึ้น บางคนความคิดความอ่านก็เปลี่ยนไป บางคนก็ยังมั่นคงไม่เปลี่ยนแปลง
คนรุ่นใหม่ที่เรียกและยกย่องกันในปัจจุบันนี้ส่วนหนึ่งเป็นฝีมือของสื่อ ผมเข้าใจว่า สื่อคงหมายถึงคนที่มีชื่อเสียงขึ้นมาในขณะอายุยังน้อย โดยไม่ได้ดูภูมิหลัง ผลงาน หรือความคิดความอ่านของคนที่ตนกำลังยกให้เป็นคนรุ่นใหม่ว่ามีภูมิปัญญาแค่ไหน อย่างไร เป็นประโยชน์แก่สังคมส่วนรวมหรือไม่ หรือมีอะไรใหม่ๆ ที่แปลกแหวกแนวและแตกต่างไปจากสิ่งที่ปรากฏเป็นกระแสในตอนนี้หรือไม่อย่างไร ที่สำคัญคือ เป็นคนที่มีทัศนคติที่ดีต่อเพื่อนมนุษย์หรือไม่ อย่างไร
ซึ่งจะว่าไปแล้วผมมองไม่เห็นตรงนั้นจริงๆ คนรุ่นใหม่ที่เรายกย่องในปัจจุบันเท่าที่ผมเห็นคือ มักจะมีภูมิหลังครอบครัวที่มีฐานะดี บางคนก็ชาติตระกูลหรือนามสกุลดัง และเมื่อดูจากความคิดความอ่านแล้วก็เป็นความคิดพื้นๆ ที่จัดอยู่ในชุดความคิดทุนนิยมเสรีหรือเสรีนิยมใหม่ที่ใครๆ ก็รู้อยู่แล้ว
ซ้ำร้ายที่รู้นั้นก็รู้โดยไม่สนใจว่าจะเป็นทุนนิยมที่เป็นธรรมหรือไม่ ขอเพียงทำให้ตนดัง เด่น และรวย ขึ้นมาก็ถือว่าประสบความสำเร็จและเป็นคนรุ่นใหม่ได้แล้ว
ถ้าจะให้ผมยกตัวอย่างคนรุ่นใหม่สมัยที่ผมเป็นเด็กวัยรุ่นกับสมัยนี้แล้ว ผมคิดว่า คุณรสนา โตสิตระกูล เป็นคนรุ่นใหม่แบบสมัยผม และ ม.ล.ณัฏฐกรณ์ เทวกุล หรือ คุณปลื้ม เป็นคนรุ่นใหม่แบบสมัยนี้ ดังนั้น ตอนที่คนทั้งสองวิวาทะกันผมจึงเห็นว่า คุณรสนา แหลมคมกว่าเยอะ
เพื่อนของผมคนหนึ่งที่เก่งภาษาอังกฤษมากๆ เล่าว่า ถ้าผมได้เห็นกระแสที่ตอบรับ คุณรสนา โดยชาวต่างชาติที่มาจากประเทศทุนนิยมด้วยแล้ว ยิ่งเห็นได้ว่าเป็นกระดูกคนละเบอร์ ทั้งนี้ เพื่อนผมคนนี้ยังบอกอีกด้วยว่า แม้แต่ภาษาอังกฤษ (ใช่แต่ความคิดความอ่าน) ของ คุณรสนา ก็ยังดีกว่าตั้งเยอะ
ผมซึ่งไม่ใช่คนเก่งภาษาอังกฤษจึงได้แต่อยากรู้ว่า เป็นอย่างนั้นจริงหรือ ใครรู้ช่วยตอบผมด้วย เพื่อผมจะได้รู้จักคนรุ่นใหม่สมัยนี้ได้มากขึ้น