เอเอฟพี/รอยเตอร์ - ทนายแก้ต่างของวิกเตอร์ บูต นักค้าอาวุธรายใหญ่ของโลกชาวรัสเซีย ที่ถูกจับกุมตัวที่โรงแรมโซฟิเทล สีลม โวยเจ้าหน้าที่สหรัฐฯและตำรวจไทยใช้ทั้งกำลังและวาจาขู่เข็ญบีบบังคับให้ลูกความตนขึ้นเครื่องบินส่งตัวไปยังสหรัฐฯ
ยัน ดัสกุปตา หนึ่งในทีมทนายชาวรัสเซียของบูต กล่าวกับสำนักข่าวเอเอฟพีว่า หลังจากที่บูตถูกตำรวจไทยและเจ้าหน้าที่ของสำนักงานปราบปรามยาเสพติดของสหรัฐฯจับกุมได้ที่โรงแรมโซฟิเทล สีลม เมื่อต้นเดือนนี้นั้น ทั้งเจ้าหน้าที่ไทยและสหรัฐฯได้ใช้ทั้งกำลังและวาจาบีบบังคับให้บูตขึ้นเครื่องบิน
"เจ้าหน้าที่รัฐบาลบางคนที่ควบคุมตัวลูกความของผมในขณะนั้น พยายามจะส่งตัวลูกความของผมไปยังสหรัฐฯ โดยไม่ได้ทำตามขั้นตอนการส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนอย่างเหมาะสม ตามที่กฎหมายได้บัญญัติไว้" ดัสกุปตา กล่าว
"ลูกความของผมใช้อำนาจทุกอย่างเท่าที่ทำได้ ซึ่งรวมถึงการใช้กำลังต่อสู้เพื่อไม่ให้ถูกส่งตัวขึ้นเครื่องบินไปยังสหรัฐฯ"
ดัสกุปตากล่าวว่าเจ้าหน้าที่ไทยพยายามจะบีบบังคับให้บูตขึ้นเครื่อง ขณะที่เจ้าหน้าที่สหรัฐฯก็อยู่ในที่เกิดเหตุและพยายามจะสอบสวนบูต วัย 41 ปี ซึ่งเป็นบุคคลที่ทางการสหรัฐฯต้องการตัว ตามที่ถูกตั้งข้อหาพยายามขายและจัดส่งอาวุธให้กลุ่มก่อการร้าย
อย่างไรก็ดี โฆษกประจำสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐฯประจำประเทศไทย กล่าวว่าตนไม่ทราบถึงข้อกล่าวหาที่ว่าเจ้าหน้าที่ใช้กำลังขู่เข็ญบูต นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่สหรัฐฯก็เพียงแต่เริ่มดำเนินการตามขั้นตอนการขอส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดน
ขณะที่พ.ต.อ. เพชรรัตน์ แสงไชย รองผู้บังคับการกองปราบปราม ซึ่งเป็นหัวหน้าพนักงานสอบสวนในคดีนี้ กล่าวกับผู้สื่อข่าวของสำนักข่าวรอยเตอร์ว่า ตำรวจไทยไม่ได้พยายามขู่เข็ญบังคับบูตให้ขึ้นเครื่องไปยังสหรัฐฯ ตามที่ทนายแก้ต่างของชาวรัสเซียผู้นี้ กล่าวหา
"เราทำตามกระบวนการทางกฎหมายของไทย โดยขั้นแรกจะส่งสำนวนคดีนี้ซึ่งเกี่ยวข้องกับการก่อการร้าย ไปยังศาล.... เราไม่สามารถนำตัวผู้ต้องหารายนี้ขึ้นเครื่องบิน" พ.ต.อ. เพชรรัตน์ กล่าว
ทั้งนี้ บูต ซึ่งได้รับสมญานามว่า "นักค้าความตาย" ถูกทางการไทยตั้งข้อหารวบรวมหรือพยายามรวบรวมสินทรัพย์เพื่อใช้ในการก่อการร้าย อีกทั้งยังถูกตั้งข้อหาในนิวยอร์ก ฐานสมรู้ร่วมคิดในการขายอาวุธมูลค้าหลายล้านดอลลาร์ให้กับกองกำลังอาวุธเพื่อการปฏิวัติแห่งโคลอมเบีย หรือฟาร์ก ซึ่งสหรัฐฯถือว่าเป็นกลุ่มก่อการร้าย
ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา บูตซึ่งเป็นอดีตเคจีบี ถูกกล่าวหาว่าจัดส่งอาวุธให้แก่กลุ่มติดอาวุธต่างๆไม่ว่าจะเป็นกลุ่มตอลิบาน เครือข่ายก่อการร้ายอัลกออิดะห์ กลุ่มกบฏในแถบอเมริกาใต้ ตลอดจนชาร์ลส์ เทย์เลอร์ อดีตผู้นำไลบีเรีย ซึ่งได้ชื่อว่ามีบทบาทสำคัญในการฆาตกรรม ข่มขืนหมู่ และตัดแขนขาประชาชนนับแสนคนในช่วงสงครามกลางเมืองกว่า 1 ทศวรรษ ที่เซียร์ราลีโอน
เจ้าหน้าที่ตำรวจฝ่ายไทยยังกล่าวว่า การส่งตัวบูตเป็นผู้ร้ายข้ามแดนไปยังสหรัฐฯจะดำเนินการได้หลังจากที่บูตได้รับการพิจารณาคดีในประเทศไทย ทั้งนี้ กฎหมายไทยบัญญัติว่า ผู้ต้องสงสัยว่าเป็นผู้ก่อการร้ายข้ามชาติที่ถูกจับกุมได้นั้น จะต้องรับการพิจารณาคดีในประเทศไทย
ทนายแก้ต่างของบูตได้ตั้งข้อสังเกตถึงเงื่อนงำการจับกุมตัวแอนดรูว์ สมูเลียน คู่หูคนสำคัญของบูต ซึ่งปรากฏตัวต่อศาลในนครนิวยอร์กเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว โดยถูกตั้งข้อหาสมรู้ร่วมคิดจัดหาวัสดุอุปกรณ์ให้กับองค์การก่อการร้ายข้ามชาติ
ดัสกุปตายืนยันว่าสมูเลียนอยู่ในกรุงเทพมหานคร ในช่วงที่บูตถูกจับกุม
"เราไม่เข้าใจเลยว่าเกิดอะไรขึ้นกับคุณสมูเลียน...ถือเป็นเรื่องน่าสนใจและประหลาดใจ และยิ่งทำให้คำกล่าวของผมที่ว่าคุณบูตถูกบังคับให้ขึ้นเครื่องบินไปสหรัฐฯ หนักแน่นยิ่งขึ้น" ดัสกุปตา กล่าว
ยัน ดัสกุปตา หนึ่งในทีมทนายชาวรัสเซียของบูต กล่าวกับสำนักข่าวเอเอฟพีว่า หลังจากที่บูตถูกตำรวจไทยและเจ้าหน้าที่ของสำนักงานปราบปรามยาเสพติดของสหรัฐฯจับกุมได้ที่โรงแรมโซฟิเทล สีลม เมื่อต้นเดือนนี้นั้น ทั้งเจ้าหน้าที่ไทยและสหรัฐฯได้ใช้ทั้งกำลังและวาจาบีบบังคับให้บูตขึ้นเครื่องบิน
"เจ้าหน้าที่รัฐบาลบางคนที่ควบคุมตัวลูกความของผมในขณะนั้น พยายามจะส่งตัวลูกความของผมไปยังสหรัฐฯ โดยไม่ได้ทำตามขั้นตอนการส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนอย่างเหมาะสม ตามที่กฎหมายได้บัญญัติไว้" ดัสกุปตา กล่าว
"ลูกความของผมใช้อำนาจทุกอย่างเท่าที่ทำได้ ซึ่งรวมถึงการใช้กำลังต่อสู้เพื่อไม่ให้ถูกส่งตัวขึ้นเครื่องบินไปยังสหรัฐฯ"
ดัสกุปตากล่าวว่าเจ้าหน้าที่ไทยพยายามจะบีบบังคับให้บูตขึ้นเครื่อง ขณะที่เจ้าหน้าที่สหรัฐฯก็อยู่ในที่เกิดเหตุและพยายามจะสอบสวนบูต วัย 41 ปี ซึ่งเป็นบุคคลที่ทางการสหรัฐฯต้องการตัว ตามที่ถูกตั้งข้อหาพยายามขายและจัดส่งอาวุธให้กลุ่มก่อการร้าย
อย่างไรก็ดี โฆษกประจำสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐฯประจำประเทศไทย กล่าวว่าตนไม่ทราบถึงข้อกล่าวหาที่ว่าเจ้าหน้าที่ใช้กำลังขู่เข็ญบูต นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่สหรัฐฯก็เพียงแต่เริ่มดำเนินการตามขั้นตอนการขอส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดน
ขณะที่พ.ต.อ. เพชรรัตน์ แสงไชย รองผู้บังคับการกองปราบปราม ซึ่งเป็นหัวหน้าพนักงานสอบสวนในคดีนี้ กล่าวกับผู้สื่อข่าวของสำนักข่าวรอยเตอร์ว่า ตำรวจไทยไม่ได้พยายามขู่เข็ญบังคับบูตให้ขึ้นเครื่องไปยังสหรัฐฯ ตามที่ทนายแก้ต่างของชาวรัสเซียผู้นี้ กล่าวหา
"เราทำตามกระบวนการทางกฎหมายของไทย โดยขั้นแรกจะส่งสำนวนคดีนี้ซึ่งเกี่ยวข้องกับการก่อการร้าย ไปยังศาล.... เราไม่สามารถนำตัวผู้ต้องหารายนี้ขึ้นเครื่องบิน" พ.ต.อ. เพชรรัตน์ กล่าว
ทั้งนี้ บูต ซึ่งได้รับสมญานามว่า "นักค้าความตาย" ถูกทางการไทยตั้งข้อหารวบรวมหรือพยายามรวบรวมสินทรัพย์เพื่อใช้ในการก่อการร้าย อีกทั้งยังถูกตั้งข้อหาในนิวยอร์ก ฐานสมรู้ร่วมคิดในการขายอาวุธมูลค้าหลายล้านดอลลาร์ให้กับกองกำลังอาวุธเพื่อการปฏิวัติแห่งโคลอมเบีย หรือฟาร์ก ซึ่งสหรัฐฯถือว่าเป็นกลุ่มก่อการร้าย
ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา บูตซึ่งเป็นอดีตเคจีบี ถูกกล่าวหาว่าจัดส่งอาวุธให้แก่กลุ่มติดอาวุธต่างๆไม่ว่าจะเป็นกลุ่มตอลิบาน เครือข่ายก่อการร้ายอัลกออิดะห์ กลุ่มกบฏในแถบอเมริกาใต้ ตลอดจนชาร์ลส์ เทย์เลอร์ อดีตผู้นำไลบีเรีย ซึ่งได้ชื่อว่ามีบทบาทสำคัญในการฆาตกรรม ข่มขืนหมู่ และตัดแขนขาประชาชนนับแสนคนในช่วงสงครามกลางเมืองกว่า 1 ทศวรรษ ที่เซียร์ราลีโอน
เจ้าหน้าที่ตำรวจฝ่ายไทยยังกล่าวว่า การส่งตัวบูตเป็นผู้ร้ายข้ามแดนไปยังสหรัฐฯจะดำเนินการได้หลังจากที่บูตได้รับการพิจารณาคดีในประเทศไทย ทั้งนี้ กฎหมายไทยบัญญัติว่า ผู้ต้องสงสัยว่าเป็นผู้ก่อการร้ายข้ามชาติที่ถูกจับกุมได้นั้น จะต้องรับการพิจารณาคดีในประเทศไทย
ทนายแก้ต่างของบูตได้ตั้งข้อสังเกตถึงเงื่อนงำการจับกุมตัวแอนดรูว์ สมูเลียน คู่หูคนสำคัญของบูต ซึ่งปรากฏตัวต่อศาลในนครนิวยอร์กเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว โดยถูกตั้งข้อหาสมรู้ร่วมคิดจัดหาวัสดุอุปกรณ์ให้กับองค์การก่อการร้ายข้ามชาติ
ดัสกุปตายืนยันว่าสมูเลียนอยู่ในกรุงเทพมหานคร ในช่วงที่บูตถูกจับกุม
"เราไม่เข้าใจเลยว่าเกิดอะไรขึ้นกับคุณสมูเลียน...ถือเป็นเรื่องน่าสนใจและประหลาดใจ และยิ่งทำให้คำกล่าวของผมที่ว่าคุณบูตถูกบังคับให้ขึ้นเครื่องบินไปสหรัฐฯ หนักแน่นยิ่งขึ้น" ดัสกุปตา กล่าว