รอยเตอร์/เอเอฟพี – ผู้ว่าการมลรัฐนิวยอร์ก เอเลียต สปิตเซอร์ ประกาศยอมลาออกจากตำแหน่งแล้วเมื่อวันพุธ(12) ขณะเดียวกับที่มีการเปิดตัวโสเภณีชั้นสูง ซึ่งเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้นักการเมืองดาวรุ่งพุ่งแรงของพรรคเดโมแครตผู้นี้ ต้องหมดอนาคตลงไป
สปิตเซอร์ประกาศการลาออกโดยแถลงข่าวอย่างสั้นๆ ว่า เขารู้สึกสำนึกเสียใจต่อ “ความล้มเหลวส่วนตัว” ทว่าไม่ได้ให้รายละเอียดว่าความล้มเหลวดังกล่าวคืออะไร ขณะที่ทางอัยการของมลรัฐนิวยอร์ก ยืนยันว่าไม่ได้มีการทำความตกลงอะไรกับสปิตเซอร์ ในเรื่องที่จะไม่ดำเนินคดีหากเขาก้าวลงจากตำแหน่ง
ดังนั้น จึงหมายความว่านักการเมืองวัย 48 ปีผู้สร้างชื่อเสียงระบือจากการทำคดีกล่าวโทษฟ้องร้องความทุจริตฉ้อฉลโดยเฉพาะในแวดวงวอลล์สตรีทผู้นี้ ยังอาจถูกตั้งข้อหาคดีอาญาต่อไป เพราะแม้ปกติทางอัยการจะไม่เล่นงานลูกค้าที่ซื้อบริการโสเภณี ทว่าวิธีการจ่ายเงินค่าบริการของสปิตเซอร์ น่าจะเข้าข่ายละเมิดกฎหมายการฟอกเงิน และการที่เขาจ่ายเงินให้หญิงบริการเดินทางจากนิวยอร์กไปพบเขาที่กรุงวอชิงตัน ก็อาจผิดกฎหมายที่ห้ามการคมนาคมขนส่งข้ามมลรัฐเพื่อการค้าประเวณี
ทางด้านหนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทมส์รายงานในเว็บไซต์ของตนเมื่อวันพุธว่า โสเภณีค่าตัวชั่วโมงละ 1,000 ดอลลาร์ นาม “คริสเทน” ที่สปิตเซอร์เรียกใช้บริการ จนเป็นเหตุให้ต้องหลุดจากเก้าอี้ผู้ว่าการมลรัฐนั้น เป็นหญิงสาววัย 22 ปีที่ออกจากบ้านในมลรัฐนิวเจอร์ซีย์มาตั้งแต่อายุ 17 โดยในตอนแรกเริ่มหวังที่จะเป็นนักร้องแนวริเธิมแอนด์บลูส์ในนิวยอร์ก เธอมีชื่อในตอนกำเนิดว่า แอชลีย์ ยูแมนส์ แต่ตอนนี้รู้จักกันในนาม แอชลีย์ อเลกซานดรา ดูพรี
คาดหมายกันว่าเธอจะไม่ถูกดำเนินคดี และจะเป็นพยานในการฟ้องร้องบุคคล 4 คน ซึ่งถูกกล่าวโทษว่าดำเนินการซ่องโสเภณีชั้นสูงที่ใช้ชื่อว่า “เอมเปอเรอร์ส คลับ วีไอพี”
นิวยอร์กไทมส์บอกว่า ในชีวประวัติตัวเองที่เธอเขียนไว้ในหน้าของเธอ ณ เว็บไซต์สังคมออนไลน์ “MySpace.com” ดูพรีเล่าว่าเธอมาจาก “บ้านที่แตกแยก” และกำลังใช้ยาเสพติด, เคยถูกล่วงละเมิด, และอยู่ในสภาพ “ถังแตกและไม่มีบ้านอยู่”
“ฉันเพียงแค่ไม่ต้องการที่จะถูกมองเป็นเหมือนกับปีศาจร้าย” นิวยอร์กไทมส์อ้างคำพูดของเธอ “นี่เป็นช่วงเวลาอันยากลำบาก มันซับซ้อนเหลือเกิน”
ดูพรีไม่ยอมเล่ารายละเอียดความสัมพันธ์ที่เธอมีกับสปิตเซอร์ แต่ตามคำฟ้องของฝ่ายอัยการต่อศาลในคดีจำเลย 4 คนที่ดำเนินการซ่อง “เอมเปอเรอร์ส คลับ วีไอพี” บุคคลที่ในคำฟ้องเรียกว่า “ลูกค้าหมายเลข 9” และแหล่งข่าวหลายรายระบุว่าคือสปิตเซอร์ ได้เรียกใช้บริการของ “คริสเทน” โดยให้เธอเดินทางจากนิวยอร์กมายังวอชิงตัน และไปพบเธอที่ห้องในโรงแรมแห่งหนึ่งของกรุงวอชิงตันเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ ลูกค้าผู้นี้ได้ใช้เวลาอยู่กับเธอราว 2 ชั่วโมง และจ่ายเงินจำนวน 4,300 ดอลลาร์
ภายหลังนิวยอร์กไทมส์เริ่มรายงานข่าวนี้ตอนต้นสัปดาห์นี้ สปิตเซอร์ก็ได้รีบจัดการแถลงข่าวโดยมีภรรยาของเขายืนเคียงข้าง เขาได้ขอโทษครอบครัวและประชาชน ทว่าไม่ยอมลงรายละเอียดว่าทำผิดอะไร
บรรดาผู้สังเกตการณ์มองว่า สปิตเซอร์พยายามใช้วิธีการผ่อนหนักให้เป็นเบา ทำนองเดียวกับที่อดีตประธานาธิบดีบิล คลินตันเคยใช้ ในกรณีสัมพันธ์สวาทอื้อฉาวกับนักศึกษาฝึกงาน โมนิกา ลูวินสกี้ ทว่าขณะที่คลินตันทำได้ผล โดยอยู่รอดมาได้จนครบวาระ แถมเวลานี้ยังคงเป็นประธานาธิบดีสหรัฐฯที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคนหนึ่งในประวัติศาสตร์ยุคใหม่ แต่ผู้คนกลับดูจะไม่ยอมยกโทษให้สปิตเซอร์
เรื่องนี้ ศิวะ วาอิธยานาพัน ศาสตราจารย์ด้านสื่อศึกษาแห่งมหาวิทยาลัยเวอร์จิเนียอธิบายว่า ในกรณีของคลินตันนั้น “คนอเมริกันมีความเต็มใจที่จะยกโทษให้แก่ความประพฤติของเขา เพราะเขาไม่เคยทำตัวเป็นคนมือถือสากปากถือศีลเกี่ยวกับเรื่องนี้ และเขาดูมีความจริงใจในการกล่าวขอโทษ”
ผิดกับสปิตเซอร์ซึ่งสร้างภาพลักษณ์ตัวเองเป็นนักรณรงค์ต่อสู้การทุจริตประพฤติมิชอบมาโดยตลอด
จอห์น ซ็อกบี บอสใหญ่ของบริษัททำโพลชื่อดัง ซ็อกบี อินเตอร์เนชั่นแนล ก็เห็นพ้องด้วยว่า ความเป็นคนมือถือสากปากถือศีลนี่แหละ คือเหตุผลสำคัญที่ทำให้สปิตเซอร์ต้องตกอับ
“พวกผู้ออกเสียงก็แค่ไม่ชอบเลย คนที่พูดอย่างหนึ่งแล้วไปทำอีกอย่างหนึ่งที่ต่างออกไปอย่างสิ้นเชิง” เขากล่าว
สปิตเซอร์ประกาศการลาออกโดยแถลงข่าวอย่างสั้นๆ ว่า เขารู้สึกสำนึกเสียใจต่อ “ความล้มเหลวส่วนตัว” ทว่าไม่ได้ให้รายละเอียดว่าความล้มเหลวดังกล่าวคืออะไร ขณะที่ทางอัยการของมลรัฐนิวยอร์ก ยืนยันว่าไม่ได้มีการทำความตกลงอะไรกับสปิตเซอร์ ในเรื่องที่จะไม่ดำเนินคดีหากเขาก้าวลงจากตำแหน่ง
ดังนั้น จึงหมายความว่านักการเมืองวัย 48 ปีผู้สร้างชื่อเสียงระบือจากการทำคดีกล่าวโทษฟ้องร้องความทุจริตฉ้อฉลโดยเฉพาะในแวดวงวอลล์สตรีทผู้นี้ ยังอาจถูกตั้งข้อหาคดีอาญาต่อไป เพราะแม้ปกติทางอัยการจะไม่เล่นงานลูกค้าที่ซื้อบริการโสเภณี ทว่าวิธีการจ่ายเงินค่าบริการของสปิตเซอร์ น่าจะเข้าข่ายละเมิดกฎหมายการฟอกเงิน และการที่เขาจ่ายเงินให้หญิงบริการเดินทางจากนิวยอร์กไปพบเขาที่กรุงวอชิงตัน ก็อาจผิดกฎหมายที่ห้ามการคมนาคมขนส่งข้ามมลรัฐเพื่อการค้าประเวณี
ทางด้านหนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทมส์รายงานในเว็บไซต์ของตนเมื่อวันพุธว่า โสเภณีค่าตัวชั่วโมงละ 1,000 ดอลลาร์ นาม “คริสเทน” ที่สปิตเซอร์เรียกใช้บริการ จนเป็นเหตุให้ต้องหลุดจากเก้าอี้ผู้ว่าการมลรัฐนั้น เป็นหญิงสาววัย 22 ปีที่ออกจากบ้านในมลรัฐนิวเจอร์ซีย์มาตั้งแต่อายุ 17 โดยในตอนแรกเริ่มหวังที่จะเป็นนักร้องแนวริเธิมแอนด์บลูส์ในนิวยอร์ก เธอมีชื่อในตอนกำเนิดว่า แอชลีย์ ยูแมนส์ แต่ตอนนี้รู้จักกันในนาม แอชลีย์ อเลกซานดรา ดูพรี
คาดหมายกันว่าเธอจะไม่ถูกดำเนินคดี และจะเป็นพยานในการฟ้องร้องบุคคล 4 คน ซึ่งถูกกล่าวโทษว่าดำเนินการซ่องโสเภณีชั้นสูงที่ใช้ชื่อว่า “เอมเปอเรอร์ส คลับ วีไอพี”
นิวยอร์กไทมส์บอกว่า ในชีวประวัติตัวเองที่เธอเขียนไว้ในหน้าของเธอ ณ เว็บไซต์สังคมออนไลน์ “MySpace.com” ดูพรีเล่าว่าเธอมาจาก “บ้านที่แตกแยก” และกำลังใช้ยาเสพติด, เคยถูกล่วงละเมิด, และอยู่ในสภาพ “ถังแตกและไม่มีบ้านอยู่”
“ฉันเพียงแค่ไม่ต้องการที่จะถูกมองเป็นเหมือนกับปีศาจร้าย” นิวยอร์กไทมส์อ้างคำพูดของเธอ “นี่เป็นช่วงเวลาอันยากลำบาก มันซับซ้อนเหลือเกิน”
ดูพรีไม่ยอมเล่ารายละเอียดความสัมพันธ์ที่เธอมีกับสปิตเซอร์ แต่ตามคำฟ้องของฝ่ายอัยการต่อศาลในคดีจำเลย 4 คนที่ดำเนินการซ่อง “เอมเปอเรอร์ส คลับ วีไอพี” บุคคลที่ในคำฟ้องเรียกว่า “ลูกค้าหมายเลข 9” และแหล่งข่าวหลายรายระบุว่าคือสปิตเซอร์ ได้เรียกใช้บริการของ “คริสเทน” โดยให้เธอเดินทางจากนิวยอร์กมายังวอชิงตัน และไปพบเธอที่ห้องในโรงแรมแห่งหนึ่งของกรุงวอชิงตันเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ ลูกค้าผู้นี้ได้ใช้เวลาอยู่กับเธอราว 2 ชั่วโมง และจ่ายเงินจำนวน 4,300 ดอลลาร์
ภายหลังนิวยอร์กไทมส์เริ่มรายงานข่าวนี้ตอนต้นสัปดาห์นี้ สปิตเซอร์ก็ได้รีบจัดการแถลงข่าวโดยมีภรรยาของเขายืนเคียงข้าง เขาได้ขอโทษครอบครัวและประชาชน ทว่าไม่ยอมลงรายละเอียดว่าทำผิดอะไร
บรรดาผู้สังเกตการณ์มองว่า สปิตเซอร์พยายามใช้วิธีการผ่อนหนักให้เป็นเบา ทำนองเดียวกับที่อดีตประธานาธิบดีบิล คลินตันเคยใช้ ในกรณีสัมพันธ์สวาทอื้อฉาวกับนักศึกษาฝึกงาน โมนิกา ลูวินสกี้ ทว่าขณะที่คลินตันทำได้ผล โดยอยู่รอดมาได้จนครบวาระ แถมเวลานี้ยังคงเป็นประธานาธิบดีสหรัฐฯที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคนหนึ่งในประวัติศาสตร์ยุคใหม่ แต่ผู้คนกลับดูจะไม่ยอมยกโทษให้สปิตเซอร์
เรื่องนี้ ศิวะ วาอิธยานาพัน ศาสตราจารย์ด้านสื่อศึกษาแห่งมหาวิทยาลัยเวอร์จิเนียอธิบายว่า ในกรณีของคลินตันนั้น “คนอเมริกันมีความเต็มใจที่จะยกโทษให้แก่ความประพฤติของเขา เพราะเขาไม่เคยทำตัวเป็นคนมือถือสากปากถือศีลเกี่ยวกับเรื่องนี้ และเขาดูมีความจริงใจในการกล่าวขอโทษ”
ผิดกับสปิตเซอร์ซึ่งสร้างภาพลักษณ์ตัวเองเป็นนักรณรงค์ต่อสู้การทุจริตประพฤติมิชอบมาโดยตลอด
จอห์น ซ็อกบี บอสใหญ่ของบริษัททำโพลชื่อดัง ซ็อกบี อินเตอร์เนชั่นแนล ก็เห็นพ้องด้วยว่า ความเป็นคนมือถือสากปากถือศีลนี่แหละ คือเหตุผลสำคัญที่ทำให้สปิตเซอร์ต้องตกอับ
“พวกผู้ออกเสียงก็แค่ไม่ชอบเลย คนที่พูดอย่างหนึ่งแล้วไปทำอีกอย่างหนึ่งที่ต่างออกไปอย่างสิ้นเชิง” เขากล่าว