ผู้จัดการรายวัน - ผลสอบ พปช.เป็นนอมินี ทรท.กลายเป็น "หัวมงกุฎท้ายมังกร" หลังอนุฯสอบสวน สรุป พปช.มีลักษณะเป็นนอมินี ทรท.แต่กลับไม่มีกฎหมายเอาผิดโดยเฉพาะกม.เลือกตั้ง ขณะที่ "สุเมธ-ประพันธ์" ไม่ยอมแพ้อาจมีช่อง กม.เอาผิดได้ ให้สอบเพิ่ม "ทักษิณ-วีระ" เหตุบทสรุปอนุฯ ยังไม่เพียงพอ ส่วนกรณียุบ "ชท.-มฌ." กกต.ยอมรับออกทางไหนกระทบทั้ง 2 ทาง "ประพันธ์" กกต.มั่นใจ “สุเมธ” ยังไม่พ้นวาระ ด้าน "โกโบริน" ยื่นตีความอายุ "สุเมธ"
นายสุเมธ อุปนิสากร คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ด้านการมีส่วนร่วม ให้สัมภาษณ์วานนี้ (12 มี.ค.) ว่า การที่ กกต.มีมติเมื่อวันที่ 11 มี.ค.ให้คณะอนุกรรมการตรวจสอบ พรรคพลังประชาชนเป็นนอมินีพรรคไทยรักไทยที่มีนายไพฑูรย์ เนติโพธิ์ เป็นประธานฯ ไปสอบสวนเพิ่มเติม 3 ประเด็นคือ 1.สอบ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ตามข้อกล่าวหามีส่วนเข้ามาจัดการส่งผู้สมัครรับเลือกตรั้ง ครอบงำ และสนับสนุนในการจัดตั้งพรรคหรือไม่ 2. ให้พิจารณาข้อบังคับพรรคพลังประชาชนเกี่ยวกับอำนาจของกรรมการบริหารพรรค และ 3 สอบเพิ่มเติมนายวีระ สมความคิด และ ทพ.ศุภพล เอี่ยมเมธาวี ผู้ร้องเกี่ยวกับข้อเท็จจริงตามข้อร้องเรียนตามที่กล่าวหา พ.ต.ท.ทักษิณ เข้าครอบงำพรรค จัดส่งผู้สมัครและสนับสนุนการเงินให้แล้วเสร็จใน 15 วันว่า เนื่องจากรายงานของคณะอนุกรรมการฯ พบว่าคล้าย ๆ จะเป็นลักษณะตัวการตัวแทนที่มาตรา 94 และ 97 ของ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่า ด้วยพรรคการเมือง
ดังนั้นที่ประชุมจึงเห็นว่าน่าจะเชิญ พ.ต.ท.ทักษิณ ที่ถูกกล่าวถึงมาชี้แจง ทั้งนี้หาก พ.ต.ท.ทักษิณ จะเดินทางไปต่างประเทศในช่วงการสอบสวนก็สามารถยื่นคำชี้แจง เป็นลายลักษณ์อักษรได้
ผู้สื่อข่าวถามว่า แสดงว่าคณะอนุกรรมการ ได้สรุปมาว่าพรรคพลังประชาชน เข้าข่ายเป็นนอมินีพรรคไทยรักไทยใช่หรือไม่ นายสุเมธ กล่าวว่า ทำนองนั้น เพราะคำนี้เราก็ไม่รู้ว่าคืออะไร แต่เข้าข่ายตัวการตัวแทน แต่ดูจากพฤติการณ์ที่เขาให้ เขาอ้างว่ารู้สึกจะไม่มีกฎหมายที่บอกว่าเป็นความผิด แต่มาพิจารณาแล้วมันอาจจะเข้ามาตราใดมาตราหนึ่ง จึงอยากให้มีโอกาสชี้แจง
ต่อข้อถามว่า คณะอนุกรรมการหยิบยกกฎหมายมาตราใดที่ว่ามีการกระทำที่เป็นนอมินี นายสุเมธ กล่าวว่า เขาไม่ได้พูดเขาบอกไม่มีกฎหมาย แต่ดูข้อเท็จจริง เมื่อถามว่าดูจากข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร นายสุเมธ กล่าวว่า คงบอกไม่ได้ เมื่อถามต่อว่า คณะอนุกรรมการนำกฎหมายมาตราใดมาบอกว่าพรรคพลังประชาชนมีพฤติกรรม เป็นนอมินีพรรคไทยรัก นายสุเมธ กล่าวว่า ที่พูดคือข้อเท็จจริงจากพฤติการณ์ จากพยานหลักฐานน่าเชื่อว่า....(เงียบ) ผู้สื่อข่าวจึงถามต่อว่า น่าเชื่อว่าพรรคพลังประชาชนเป็นนอมินีพรรคไทยรักไทยจริง นายสุเมธ กล่าวว่า ทำนองนั้น
ผู้สื่อข่าวถามว่า แสดงว่าคณะอนุกรรมการได้สรุปมาหลายเหตุผลหรือไม่ นายสุเมธ กล่าวว่า มีหลายเหตุผล ซึ่งกกต.ยังไม่คุยเพิ่มว่าจะต้องไปสอบประเด็นไหนเพิ่มนอกเหนือจากการสอบ พ.ต.ท.ทักษิณ เมื่อถามว่า ในส่วนกรรมการบริหาร พรรคพลังประชาชนคนอื่นๆ ถือว่าเรียบร้อยแล้วใช่หรือไม่ นายสุเมธ กล่าวว่า ก็ให้การหลายคนแล้ว น่าจะเพียงพอ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าล่าสุด พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จะไม่เดินทางมาชี้แจงกกต.เอง แต่ได้มอบหมายให้นายพงษ์เทพ เทพกาญจนา โฆษกประจำตัว เป็นผู้ยื่นเอกสารกับ กกต. แทนแล้ว
รายงานข่าวแจ้งว่า แม้อนุกรรมการจะมีความเห็นในลักษณะว่า พฤติการณ์ของพรรคพลังประชาชนเข้าข่ายเป็นการกระทำการแทนพรรคไทยรักไทย เนื่องจากการสอบสวนได้พิจารณาจากหลักฐานในช่วงของความเคลื่อนไหวในการจัดตั้งพรรคพลังประชาชน โดยเฉพาะวีซีดีการปราศรัยของพ.ต.ท.ทักษิณ ที่ระบุว่าหลังจากพรรคไทยรักไทยแตก สมาชิกแตกไปหมดแต่ต้องการทำงานให้ประชาชนจึงเห็นว่าควรมาตั้งพรรคพลังประชาชน เพราะฉะนั้นหากต้องการใช้พ.ต.ท.ทักษิณ ทำงาน ก็ให้เลือกพรรคพลังประชาชนหรือ กรณีการแจกวีซีดี 1 ปีทักษิณ หรือกรณีความเคลื่อนไหวในการตั้งนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีของรัฐบาลนี้มีการพาดพิงถึงพ.ต.ท.ทักษิณ ที่เป็นไปตามการชี้นำของพ.ต.ท.ทักษิณทั้งหมด รวมถึงกรณีที่นายสมัคร สุนทรเวช ก็ออกมายอมรับตัวเองว่าเป็นนอมินีของพ.ต.ท.ทักษิณ เป็นต้น แต่อนุก็ยอมรับว่า ในกฎหมายเกี่ยวกับการเเลือกตั้ง ไม่มีบทบัญญัติใดที่รองรับว่าพฤติกรรมดังกล่าวเป็นความผิด จึงเสนอให้ กกต.พิจารณาข้อเท็จจริง พยานหลักฐานและพยานแวดล้อมต่างๆ ประกอบข้อกฎหมาย
ขณะเดียวกันมีรายงานว่า ในการประชุมกกต.เมื่อวันที่ 11 มี.ค.เพื่อพิจารณาผลสรุปดังกล่าวที่อนุกรรมการฯเสนอมานั้น นายสุเมธ อุปนิสากร กกต.ด้านการมีส่วนร่วม และนายประพันธ์ นัยโกวิท กกต.ด้านบริหารการเลือกตั้ง ยังเห็นว่ายังไม่สามารถให้ความเห็นหรือลงมติในเรื่องดังกล่าวได้ จึงเสนอให้สอบพยานเพิ่มเพราะข้อเท็จจริงยังไม่สมบูรณ์ โดยให้เชิญ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และนายวีระ สมความคิด ในฐานะผู้ร้องกรณีดังกล่าวมาสอบเพิ่ม โดยที่ กกต. ที่เหลืออีก 3 คนคือนายอภิชาต สุขัคคานนท์ นายสมชัย จึงประเสริฐ และนางสดศรี สัตยธรรม ก็ไม่ได้คัดค้านแต่อย่างใด
นายไพฑูรย์ เนติโพธิ์ ประธานคณะอนุกรรมการสอบสวนฯเปิดเผยว่า ในวันศุกร์ที่ 14 มี.ค. จะทำหนังสือเชิญ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตหัวหน้าพรรคไทยรักไทย นายวีระ สมความคิด และทพ.ศุภผล เอี่ยมเมธาวี มาสอบสวนเพิ่มเติม ซึ่งกรณีของพ.ต.ท.ทักษิณ กก.จะตั้งคำถามไปด้วย เพื่อให้ตอบมา ซึ่งหากต้องการ ชี้แจงอะไรเพิ่มก็สามารถชี้แจงมาได้ แต่จะต้องอยู่ในกรอบ 15 วันที่กกต.กำหนด
ปัดข่าวไม่ยุบ ชท.-มฌ.หลุดจาก กกต.
นายสุเมธ อุปนิสากร กกต.ให้สัมภาษณ์ถึง กรณีที่มีกระแสข่าวว่า คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีที่กกต.มีมติเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งกรรมการบริหารพรรคชาติไทย และพรรคมัชฌิมาธิปไตย ที่มีนายบุญทัน ดอกไธสง เป็นประธานมีมติไม่ยุบพรรคชาติไทยและพรรคมัชฌิมาธิปไตยว่า ไม่ทราบว่าข่าวดังกล่าวออกมาได้อย่างไร เพราะในที่ประชุมกกต.เมื่อวันที่ 11 มี.ค. ที่ผ่านมา เลขานุการของคณะกรรมการฯ ได้มารายงานให้ที่ประชุมกกต.ทราบว่า คณะกรรมการฯ ได้ลงมติเรียบร้อย แต่ไม่ได้เปิดเผยผลลงมติ เนื่องจากกกต. ไม่ต้องการให้ข้อมูลรั่วไหล จึงให้เลขานุการของคณะกรรมการฯ กลับมาเสนอใหม่ พร้อมกับรายงานสรุปที่คณะกรรมการฯ จะสรุปในวันที่ 13 มี.ค. คาดว่าจะเสนอกกต. ได้ในวันศุกร์ที่ 14 มี.ค. จึงขอยืนยันว่า ไม่มีกกต.รายใดทราบมติของคณะกรรมการฯ ชุดดังกล่าวว่า ยุบหรือไม่ ทั้งนี้หากคณะกรรมการฯ สรุปผลแล้ว กกต.จะนำเข้าสู่การ พิจารณาในวันที่ 18 มี.ค. หากไม่มีปัญหา หรือไม่มีกกต.รายใด ติดใจประเด็นคาดว่าจะลงมติได้
พ้อ กกต.ลงมติอย่างไรก็กระทบทั้ง 2 ทาง
นายประพันธ์ นัยโกวิท กกต.ด้านบริหารการเลือกตั้ง กล่าวว่าขณะนี้ กกต.ยังไม่ได้รับสำนวนการสอบสวนของคณะอนุกรรมการพิจารณายุบพรรคชาติไทยและพรรคมัชฌิมาธิปไตย ทราบว่าจะมีการลงนามในวันที่ 13 มี.ค.นี้ จากนั้นก็จะส่งให้ กกต.วันศุกร์ที่ 14 มี.ค. โดย กกต.จะนำสำนวนไปศึกษาและจะนำเข้าสู่การพิจารณา ในวันอังคารที่ 18 มี.ค. และ หากในสำนวนมีการสอบพยานครบถ้วนแล้วก็คงไม่ต้อง สอบสวนเพิ่มเติม คาดว่ากกต.น่าจะสามารถ ลงมติได้เลย ซึ่งการพิจารณาในชั้น กกต.นั้นเราก็จะยึดทั้งกฎหมายและข้อเท็จจริง
"หาก กกต.มีมติอย่างใดอย่างหนึ่งก็จะกระทบทั้ง 2 ทาง ไม่เฉพาะพรรคการเมืองเท่านั้น แต่ กกต.ต้องยึดพยานหลักฐานเป็นหลัก ซึ่งการพิจารณานั้นก็จะนำประเด็นทางการเมืองมาพิจารณาดูด้วย แต่ถ้าหลักฐานเพียงพอก็ต้องว่าไปตามหลักฐานจะเอาประเด็นการเมืองมาลบล้างพยานหลักฐานไม่ได้"
นายประพันธ์ กล่าวว่า ในการพิจารณาเรื่องนี้ กกต.จะใช้มติเสียงข้างมากถ้าเห็น ว่าคดีมีพยานหลักฐานจะส่งไปให้อัยการสูงสุดดำเนินการส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญ พิจารณา ถ้าเห็นว่าพยานหลักฐานไม่พอก็สามารถสั่งยุติเรื่องได้ อย่างไรก็ตาม ต้องหารือกันในที่ประชุมกกต.ก่อน
ผู้สื่อข่าวถามว่า กกต.ก็เกรงว่าการวินิจฉัยจะกระทบต่อเสถียรภาพรัฐบาลและพรรคการเมืองเหมือนกัน นายประพันธ์ กล่าวว่า เราก็คำนึง เพราะเรื่องยุบพรรค เป็นเรื่องใหญ่ ซึ่งต้องดูตามพยานหลักฐานเป็นหลัก ถ้าหลักฐานเป็นอย่างไร ก็ต้องเป็นอย่างนั้น ถ้าหลักฐานก้ำกึ่งก็คงต้องมาพิจารณาดูอีกที แต่ขณะนี้ยังไม่เห็นสำนวนของคณะกรรมการฯ
ชี้ รธน.ไม่ต้องการให้ กก.บห.ทำผิด กม.
อย่างไรก็ตามรัฐธรรมนูญฉบับ 2550 มีเจตนารมย์ต้องการให้ กรรมการบริหารพรรคต้องควบคุมการบริหารงานของพรรค ไม่ใช่ว่ามีอะไรก็มอบหัวหน้าพรรคตัดสินใจไปคนเดียว ดังนั้นจึงต้องการให้กรรมการบริหารพรรค เป็นผู้บริหารพรรคตัวจริง ทุกคนต้องทำหน้าที่ในฐานะกรรมการบริหารพรรค อย่างเต็มที่ เพราะถ้ากรรมการบริหารพรรคทำผิดกฎหมายจะกระทบถึงพรรค ซึ่งเป็นหลักที่กรรมการบริหารพรรคต้องยึดถือปฏิบัติ เพราะถ้ากรรมการบริหารพรรค มีความเข้มแข้ง พรรคการเมืองก็จะเป็นสถาบันทางการเมือง
"ผลการวินิจฉัยของกกต.มักจะมีผลกระทบจากทั้งสองด้านเสมอ คงไม่ถูกใจทุกคนแน่นอน ดังนั้นเราต้องยึดพยานหลักฐาน ยึดข้อกฎหมายเป็นหลัก ส่วนหลักรัฐศาสตร์ก็จะคำนึงถึงตามเหตุตามผลเท่านั้น ขณะนี้ยังไม่เห็นสำนวนจึงบอกไม่ได้ว่า ต้องยึดหลักใด แต่เราต้องยึดพยานหลักฐานเป็นหลักอยู่แล้ว"
ผู้สื่อข่าวถามว่า กกต.ได้มีมติเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งกรรมการบริหารพรรคทั้ง 2 พรรคไปแล้วจะถือเป็นน้ำหนักเพียงพอหรือไม่ นายประพันธ์ กล่าวว่า การที่ กรรมการบริหารพรรคได้ใบแดงก็กระทบพรรคการเมืองอยู่แล้ว ซึ่งในข้อกฎหมาย เขียนไว้ชัดเจนอยู่แล้ว ต่อไปกรรมการบริหารพรรคทำอะไรก็ไม่ได้ทำในฐานะลูกพรรคธรรมดา เหมือนกับพระของชุมชนนั้น โดยกรรมการบริหารพรรคต้องระลึกเสมอว่า ตัวเองเป็นตัวแทนพรรค ดังนั้นคนที่เป็นกรรมการบริหารพรรคจะต้องคำนึง เสมอว่าไม่ใช่สมาชิกพรรคธรรมดา เพราะมีสถานะอีกชั้นหนึ่ง ต้องคิดอย่างนี้เสมอว่า เราไม่ได้อยู่คนเดียว แต่เป็นตัวแทนขององค์กร
ส่วนที่มีกระแสข่าวว่า คณะอนุกรรมการฯ ได้สรุปว่า พรรคการเมืองไม่มีส่วน เกี่ยวข้องกับการกระทำของกรรมการบริหารพรรคที่ทำผิด นายประพันธ์ กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่เห็นสำนวนเลย ไม่รู้ว่ากรรมการสอบพยานแล้วเห็นเป็นอย่างไร ต้องรอการพิจารณา ของกกต.
กกต.มั่นใจ “สุเมธ” ยังไม่พ้นวาระ
นายประพันธ์ กล่าวถึงกรณีที่พรรคพลังประชาชนจะยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัยวาระการดำรงตำแหน่งของนายสุเมธ อุปนิสากร กกต.ด้านการมีส่วนร่วม ว่า เรื่องนี้นายสุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการ กกต.ได้รายงานหนังสือตอบกลับจาก เลขาธิการสำนักงานวุฒิสภา(ส.ว.) พร้อมทั้งรายงานข้อกฎหมายที่ได้ศึกษามาอย่างละเอียดให้ที่ประชุม กกต.ได้รับทราบ โดยมีทั้งคำพิพากษาศาลฎีกาเกี่ยวกับการนับอายุ การดำรงตำแหน่งและคำวินิจฉัยของคณะกรรมการกฤษฎีกาก็บ่งชี้ว่า นายสุเมธยังสามารถดำรงตำแหน่งต่อไปได้ ขณะเดียวกันก็ยังทราบว่ามีผู้ที่ดำรงตำแหน่งใน องค์กรอิสระอีกหลายคนที่มีกรณีเดียวกับนายสุเมธ ก็ยังทำหน้าที่อยู่ อย่างไรก็ตาม ไม่คิดว่าความไม่ชัดเจนในการจะพ้นวาระของนายสุเมธหรือไม่นี้จะไม่เป็นปัญหาในการลง มติใด ๆ ของ กกต.
ขณะที่ นายสุเมธ ได้นำคำพิพากษาฉบับย่อคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7044/25 ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงงานวินิจฉัยว่า พ.ร.บ.ประดิทิน พ.ศ.2483 เปลี่ยนระยะเวลา 12 เดือนของปีปฎิทินจากเดือนเม.ย.ถึงเดือนมี.ค.มาเป็นเดือน ม.ค.ถึงเดือน ธ.ค. ของแต่ละปี โดยเริ่มตั้งแต่ปี 2484 และบัญญัติให้เดือน ม.ค. ,ก.พ. และมี.ค.ของปี 2483 เป็นเดือนม.ค. ,ก.พ. และมี.ค.ของปี 2484
สำหรับบุคคลที่เกิดก่อนวันที่ 1 ม.ค. 2484 หากเกิดในเดือนม.ค. ,ก.พ. และมี.ค. อายุจริงของบุคคลนั้นจะน้อยกว่าอายุที่นับตามปฎิทิน 1 ปี เพราะอายุที่นับตาม ปฎิทิน ต้องนับอายุของปี 2483 ที่ตัดออกไปด้วยทั้งปี ดังนั้นการนับอายุจริงสำหรับบุคคลที่เกิดก่อนวันที่ 1 ม.ค. 2484 และเกิดในเดือนม.ค., ก.พ. หรือ มี.ค. ก จึงต้องนำอายุตามปฎิทินมาบวกอีก 1 ปี
"โกโบริน" ยื่นตีความอายุ "สุเมธ"
วันเดียวกัน เวลา 13.30 น. ร.ต.ท. เชาวริน ลัทธศักดิ์ศิริ ส.ส.ระบบสัดส่วน พรรคพลังประชาชน เข้ายื่นต่อหนังสือประธานรัฐสภา เพื่อขอให้นำเรื่องส่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยถึงคุณสมบัติของนาย สุเมธ อุปนิสากร กกต. โดยมีนาย สมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่หนึ่ง ในฐานะทำหน้าที่แทนประธานสภาฯมารับหนังสือแทน
ร.ต.ท.เชาวริน กล่าวว่า อาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญมาตรา 233 ขอให้ประธานรัฐสภาส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยถึงอายุของนายสุเมธ ซึ่งมีความสับสนในตัวเองและนับอายุตัวเองไม่ถูก เนื่องจากตรวจสอบแล้วพบว่า มาตรา209 ของรัฐธรรมนูญนั้น บัญญัติให้นำมาตรา 209 มาบังคับใช้กับ กกต.โดยอนุโลม ดังนั้นจึงเดินทางมายื่นหนังสือต่อประธานรัฐสภาเพื่อให้ดำเนินการตามมาตารา233 โดยมีส.ส.ร่วมลงชื่อทั้งสิ้น 74 คน จาก 4 พรรคการเมือง ได้แก่ พรรคพลังประชาชน พรรคชาติไทย พรรคประชาราช และพรรครวมใจไทยชาติพัฒนา
ร.ต.ท. เชาวริน กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ ขอแนะนำให้องค์กรอิสระที่ได้รับการแต่งตั้งมาจากอำนาจเผด็จการ ให้ลาออกจากตำแหน่ง เพราะขนาดบุคคลที่เป็นคณะกรรมการบริหารในหน่วยงานรัฐวิสาหกิจที่มาจากการแต่งตั้งของคณะรัฐประหารก็ยังพากันลาออก ทั้งๆที่ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเมือง แต่ยังมีสำนึกโดยรีบลาออก ดังนั้นกกต.เมื่ออายุครบ 70 ปีบริบูรณ์ก็น่าจะรู้ตัวด้วยเช่นกัน
นายสุเมธ อุปนิสากร คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ด้านการมีส่วนร่วม ให้สัมภาษณ์วานนี้ (12 มี.ค.) ว่า การที่ กกต.มีมติเมื่อวันที่ 11 มี.ค.ให้คณะอนุกรรมการตรวจสอบ พรรคพลังประชาชนเป็นนอมินีพรรคไทยรักไทยที่มีนายไพฑูรย์ เนติโพธิ์ เป็นประธานฯ ไปสอบสวนเพิ่มเติม 3 ประเด็นคือ 1.สอบ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ตามข้อกล่าวหามีส่วนเข้ามาจัดการส่งผู้สมัครรับเลือกตรั้ง ครอบงำ และสนับสนุนในการจัดตั้งพรรคหรือไม่ 2. ให้พิจารณาข้อบังคับพรรคพลังประชาชนเกี่ยวกับอำนาจของกรรมการบริหารพรรค และ 3 สอบเพิ่มเติมนายวีระ สมความคิด และ ทพ.ศุภพล เอี่ยมเมธาวี ผู้ร้องเกี่ยวกับข้อเท็จจริงตามข้อร้องเรียนตามที่กล่าวหา พ.ต.ท.ทักษิณ เข้าครอบงำพรรค จัดส่งผู้สมัครและสนับสนุนการเงินให้แล้วเสร็จใน 15 วันว่า เนื่องจากรายงานของคณะอนุกรรมการฯ พบว่าคล้าย ๆ จะเป็นลักษณะตัวการตัวแทนที่มาตรา 94 และ 97 ของ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่า ด้วยพรรคการเมือง
ดังนั้นที่ประชุมจึงเห็นว่าน่าจะเชิญ พ.ต.ท.ทักษิณ ที่ถูกกล่าวถึงมาชี้แจง ทั้งนี้หาก พ.ต.ท.ทักษิณ จะเดินทางไปต่างประเทศในช่วงการสอบสวนก็สามารถยื่นคำชี้แจง เป็นลายลักษณ์อักษรได้
ผู้สื่อข่าวถามว่า แสดงว่าคณะอนุกรรมการ ได้สรุปมาว่าพรรคพลังประชาชน เข้าข่ายเป็นนอมินีพรรคไทยรักไทยใช่หรือไม่ นายสุเมธ กล่าวว่า ทำนองนั้น เพราะคำนี้เราก็ไม่รู้ว่าคืออะไร แต่เข้าข่ายตัวการตัวแทน แต่ดูจากพฤติการณ์ที่เขาให้ เขาอ้างว่ารู้สึกจะไม่มีกฎหมายที่บอกว่าเป็นความผิด แต่มาพิจารณาแล้วมันอาจจะเข้ามาตราใดมาตราหนึ่ง จึงอยากให้มีโอกาสชี้แจง
ต่อข้อถามว่า คณะอนุกรรมการหยิบยกกฎหมายมาตราใดที่ว่ามีการกระทำที่เป็นนอมินี นายสุเมธ กล่าวว่า เขาไม่ได้พูดเขาบอกไม่มีกฎหมาย แต่ดูข้อเท็จจริง เมื่อถามว่าดูจากข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร นายสุเมธ กล่าวว่า คงบอกไม่ได้ เมื่อถามต่อว่า คณะอนุกรรมการนำกฎหมายมาตราใดมาบอกว่าพรรคพลังประชาชนมีพฤติกรรม เป็นนอมินีพรรคไทยรัก นายสุเมธ กล่าวว่า ที่พูดคือข้อเท็จจริงจากพฤติการณ์ จากพยานหลักฐานน่าเชื่อว่า....(เงียบ) ผู้สื่อข่าวจึงถามต่อว่า น่าเชื่อว่าพรรคพลังประชาชนเป็นนอมินีพรรคไทยรักไทยจริง นายสุเมธ กล่าวว่า ทำนองนั้น
ผู้สื่อข่าวถามว่า แสดงว่าคณะอนุกรรมการได้สรุปมาหลายเหตุผลหรือไม่ นายสุเมธ กล่าวว่า มีหลายเหตุผล ซึ่งกกต.ยังไม่คุยเพิ่มว่าจะต้องไปสอบประเด็นไหนเพิ่มนอกเหนือจากการสอบ พ.ต.ท.ทักษิณ เมื่อถามว่า ในส่วนกรรมการบริหาร พรรคพลังประชาชนคนอื่นๆ ถือว่าเรียบร้อยแล้วใช่หรือไม่ นายสุเมธ กล่าวว่า ก็ให้การหลายคนแล้ว น่าจะเพียงพอ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าล่าสุด พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จะไม่เดินทางมาชี้แจงกกต.เอง แต่ได้มอบหมายให้นายพงษ์เทพ เทพกาญจนา โฆษกประจำตัว เป็นผู้ยื่นเอกสารกับ กกต. แทนแล้ว
รายงานข่าวแจ้งว่า แม้อนุกรรมการจะมีความเห็นในลักษณะว่า พฤติการณ์ของพรรคพลังประชาชนเข้าข่ายเป็นการกระทำการแทนพรรคไทยรักไทย เนื่องจากการสอบสวนได้พิจารณาจากหลักฐานในช่วงของความเคลื่อนไหวในการจัดตั้งพรรคพลังประชาชน โดยเฉพาะวีซีดีการปราศรัยของพ.ต.ท.ทักษิณ ที่ระบุว่าหลังจากพรรคไทยรักไทยแตก สมาชิกแตกไปหมดแต่ต้องการทำงานให้ประชาชนจึงเห็นว่าควรมาตั้งพรรคพลังประชาชน เพราะฉะนั้นหากต้องการใช้พ.ต.ท.ทักษิณ ทำงาน ก็ให้เลือกพรรคพลังประชาชนหรือ กรณีการแจกวีซีดี 1 ปีทักษิณ หรือกรณีความเคลื่อนไหวในการตั้งนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีของรัฐบาลนี้มีการพาดพิงถึงพ.ต.ท.ทักษิณ ที่เป็นไปตามการชี้นำของพ.ต.ท.ทักษิณทั้งหมด รวมถึงกรณีที่นายสมัคร สุนทรเวช ก็ออกมายอมรับตัวเองว่าเป็นนอมินีของพ.ต.ท.ทักษิณ เป็นต้น แต่อนุก็ยอมรับว่า ในกฎหมายเกี่ยวกับการเเลือกตั้ง ไม่มีบทบัญญัติใดที่รองรับว่าพฤติกรรมดังกล่าวเป็นความผิด จึงเสนอให้ กกต.พิจารณาข้อเท็จจริง พยานหลักฐานและพยานแวดล้อมต่างๆ ประกอบข้อกฎหมาย
ขณะเดียวกันมีรายงานว่า ในการประชุมกกต.เมื่อวันที่ 11 มี.ค.เพื่อพิจารณาผลสรุปดังกล่าวที่อนุกรรมการฯเสนอมานั้น นายสุเมธ อุปนิสากร กกต.ด้านการมีส่วนร่วม และนายประพันธ์ นัยโกวิท กกต.ด้านบริหารการเลือกตั้ง ยังเห็นว่ายังไม่สามารถให้ความเห็นหรือลงมติในเรื่องดังกล่าวได้ จึงเสนอให้สอบพยานเพิ่มเพราะข้อเท็จจริงยังไม่สมบูรณ์ โดยให้เชิญ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และนายวีระ สมความคิด ในฐานะผู้ร้องกรณีดังกล่าวมาสอบเพิ่ม โดยที่ กกต. ที่เหลืออีก 3 คนคือนายอภิชาต สุขัคคานนท์ นายสมชัย จึงประเสริฐ และนางสดศรี สัตยธรรม ก็ไม่ได้คัดค้านแต่อย่างใด
นายไพฑูรย์ เนติโพธิ์ ประธานคณะอนุกรรมการสอบสวนฯเปิดเผยว่า ในวันศุกร์ที่ 14 มี.ค. จะทำหนังสือเชิญ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตหัวหน้าพรรคไทยรักไทย นายวีระ สมความคิด และทพ.ศุภผล เอี่ยมเมธาวี มาสอบสวนเพิ่มเติม ซึ่งกรณีของพ.ต.ท.ทักษิณ กก.จะตั้งคำถามไปด้วย เพื่อให้ตอบมา ซึ่งหากต้องการ ชี้แจงอะไรเพิ่มก็สามารถชี้แจงมาได้ แต่จะต้องอยู่ในกรอบ 15 วันที่กกต.กำหนด
ปัดข่าวไม่ยุบ ชท.-มฌ.หลุดจาก กกต.
นายสุเมธ อุปนิสากร กกต.ให้สัมภาษณ์ถึง กรณีที่มีกระแสข่าวว่า คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีที่กกต.มีมติเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งกรรมการบริหารพรรคชาติไทย และพรรคมัชฌิมาธิปไตย ที่มีนายบุญทัน ดอกไธสง เป็นประธานมีมติไม่ยุบพรรคชาติไทยและพรรคมัชฌิมาธิปไตยว่า ไม่ทราบว่าข่าวดังกล่าวออกมาได้อย่างไร เพราะในที่ประชุมกกต.เมื่อวันที่ 11 มี.ค. ที่ผ่านมา เลขานุการของคณะกรรมการฯ ได้มารายงานให้ที่ประชุมกกต.ทราบว่า คณะกรรมการฯ ได้ลงมติเรียบร้อย แต่ไม่ได้เปิดเผยผลลงมติ เนื่องจากกกต. ไม่ต้องการให้ข้อมูลรั่วไหล จึงให้เลขานุการของคณะกรรมการฯ กลับมาเสนอใหม่ พร้อมกับรายงานสรุปที่คณะกรรมการฯ จะสรุปในวันที่ 13 มี.ค. คาดว่าจะเสนอกกต. ได้ในวันศุกร์ที่ 14 มี.ค. จึงขอยืนยันว่า ไม่มีกกต.รายใดทราบมติของคณะกรรมการฯ ชุดดังกล่าวว่า ยุบหรือไม่ ทั้งนี้หากคณะกรรมการฯ สรุปผลแล้ว กกต.จะนำเข้าสู่การ พิจารณาในวันที่ 18 มี.ค. หากไม่มีปัญหา หรือไม่มีกกต.รายใด ติดใจประเด็นคาดว่าจะลงมติได้
พ้อ กกต.ลงมติอย่างไรก็กระทบทั้ง 2 ทาง
นายประพันธ์ นัยโกวิท กกต.ด้านบริหารการเลือกตั้ง กล่าวว่าขณะนี้ กกต.ยังไม่ได้รับสำนวนการสอบสวนของคณะอนุกรรมการพิจารณายุบพรรคชาติไทยและพรรคมัชฌิมาธิปไตย ทราบว่าจะมีการลงนามในวันที่ 13 มี.ค.นี้ จากนั้นก็จะส่งให้ กกต.วันศุกร์ที่ 14 มี.ค. โดย กกต.จะนำสำนวนไปศึกษาและจะนำเข้าสู่การพิจารณา ในวันอังคารที่ 18 มี.ค. และ หากในสำนวนมีการสอบพยานครบถ้วนแล้วก็คงไม่ต้อง สอบสวนเพิ่มเติม คาดว่ากกต.น่าจะสามารถ ลงมติได้เลย ซึ่งการพิจารณาในชั้น กกต.นั้นเราก็จะยึดทั้งกฎหมายและข้อเท็จจริง
"หาก กกต.มีมติอย่างใดอย่างหนึ่งก็จะกระทบทั้ง 2 ทาง ไม่เฉพาะพรรคการเมืองเท่านั้น แต่ กกต.ต้องยึดพยานหลักฐานเป็นหลัก ซึ่งการพิจารณานั้นก็จะนำประเด็นทางการเมืองมาพิจารณาดูด้วย แต่ถ้าหลักฐานเพียงพอก็ต้องว่าไปตามหลักฐานจะเอาประเด็นการเมืองมาลบล้างพยานหลักฐานไม่ได้"
นายประพันธ์ กล่าวว่า ในการพิจารณาเรื่องนี้ กกต.จะใช้มติเสียงข้างมากถ้าเห็น ว่าคดีมีพยานหลักฐานจะส่งไปให้อัยการสูงสุดดำเนินการส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญ พิจารณา ถ้าเห็นว่าพยานหลักฐานไม่พอก็สามารถสั่งยุติเรื่องได้ อย่างไรก็ตาม ต้องหารือกันในที่ประชุมกกต.ก่อน
ผู้สื่อข่าวถามว่า กกต.ก็เกรงว่าการวินิจฉัยจะกระทบต่อเสถียรภาพรัฐบาลและพรรคการเมืองเหมือนกัน นายประพันธ์ กล่าวว่า เราก็คำนึง เพราะเรื่องยุบพรรค เป็นเรื่องใหญ่ ซึ่งต้องดูตามพยานหลักฐานเป็นหลัก ถ้าหลักฐานเป็นอย่างไร ก็ต้องเป็นอย่างนั้น ถ้าหลักฐานก้ำกึ่งก็คงต้องมาพิจารณาดูอีกที แต่ขณะนี้ยังไม่เห็นสำนวนของคณะกรรมการฯ
ชี้ รธน.ไม่ต้องการให้ กก.บห.ทำผิด กม.
อย่างไรก็ตามรัฐธรรมนูญฉบับ 2550 มีเจตนารมย์ต้องการให้ กรรมการบริหารพรรคต้องควบคุมการบริหารงานของพรรค ไม่ใช่ว่ามีอะไรก็มอบหัวหน้าพรรคตัดสินใจไปคนเดียว ดังนั้นจึงต้องการให้กรรมการบริหารพรรค เป็นผู้บริหารพรรคตัวจริง ทุกคนต้องทำหน้าที่ในฐานะกรรมการบริหารพรรค อย่างเต็มที่ เพราะถ้ากรรมการบริหารพรรคทำผิดกฎหมายจะกระทบถึงพรรค ซึ่งเป็นหลักที่กรรมการบริหารพรรคต้องยึดถือปฏิบัติ เพราะถ้ากรรมการบริหารพรรค มีความเข้มแข้ง พรรคการเมืองก็จะเป็นสถาบันทางการเมือง
"ผลการวินิจฉัยของกกต.มักจะมีผลกระทบจากทั้งสองด้านเสมอ คงไม่ถูกใจทุกคนแน่นอน ดังนั้นเราต้องยึดพยานหลักฐาน ยึดข้อกฎหมายเป็นหลัก ส่วนหลักรัฐศาสตร์ก็จะคำนึงถึงตามเหตุตามผลเท่านั้น ขณะนี้ยังไม่เห็นสำนวนจึงบอกไม่ได้ว่า ต้องยึดหลักใด แต่เราต้องยึดพยานหลักฐานเป็นหลักอยู่แล้ว"
ผู้สื่อข่าวถามว่า กกต.ได้มีมติเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งกรรมการบริหารพรรคทั้ง 2 พรรคไปแล้วจะถือเป็นน้ำหนักเพียงพอหรือไม่ นายประพันธ์ กล่าวว่า การที่ กรรมการบริหารพรรคได้ใบแดงก็กระทบพรรคการเมืองอยู่แล้ว ซึ่งในข้อกฎหมาย เขียนไว้ชัดเจนอยู่แล้ว ต่อไปกรรมการบริหารพรรคทำอะไรก็ไม่ได้ทำในฐานะลูกพรรคธรรมดา เหมือนกับพระของชุมชนนั้น โดยกรรมการบริหารพรรคต้องระลึกเสมอว่า ตัวเองเป็นตัวแทนพรรค ดังนั้นคนที่เป็นกรรมการบริหารพรรคจะต้องคำนึง เสมอว่าไม่ใช่สมาชิกพรรคธรรมดา เพราะมีสถานะอีกชั้นหนึ่ง ต้องคิดอย่างนี้เสมอว่า เราไม่ได้อยู่คนเดียว แต่เป็นตัวแทนขององค์กร
ส่วนที่มีกระแสข่าวว่า คณะอนุกรรมการฯ ได้สรุปว่า พรรคการเมืองไม่มีส่วน เกี่ยวข้องกับการกระทำของกรรมการบริหารพรรคที่ทำผิด นายประพันธ์ กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่เห็นสำนวนเลย ไม่รู้ว่ากรรมการสอบพยานแล้วเห็นเป็นอย่างไร ต้องรอการพิจารณา ของกกต.
กกต.มั่นใจ “สุเมธ” ยังไม่พ้นวาระ
นายประพันธ์ กล่าวถึงกรณีที่พรรคพลังประชาชนจะยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัยวาระการดำรงตำแหน่งของนายสุเมธ อุปนิสากร กกต.ด้านการมีส่วนร่วม ว่า เรื่องนี้นายสุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการ กกต.ได้รายงานหนังสือตอบกลับจาก เลขาธิการสำนักงานวุฒิสภา(ส.ว.) พร้อมทั้งรายงานข้อกฎหมายที่ได้ศึกษามาอย่างละเอียดให้ที่ประชุม กกต.ได้รับทราบ โดยมีทั้งคำพิพากษาศาลฎีกาเกี่ยวกับการนับอายุ การดำรงตำแหน่งและคำวินิจฉัยของคณะกรรมการกฤษฎีกาก็บ่งชี้ว่า นายสุเมธยังสามารถดำรงตำแหน่งต่อไปได้ ขณะเดียวกันก็ยังทราบว่ามีผู้ที่ดำรงตำแหน่งใน องค์กรอิสระอีกหลายคนที่มีกรณีเดียวกับนายสุเมธ ก็ยังทำหน้าที่อยู่ อย่างไรก็ตาม ไม่คิดว่าความไม่ชัดเจนในการจะพ้นวาระของนายสุเมธหรือไม่นี้จะไม่เป็นปัญหาในการลง มติใด ๆ ของ กกต.
ขณะที่ นายสุเมธ ได้นำคำพิพากษาฉบับย่อคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7044/25 ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงงานวินิจฉัยว่า พ.ร.บ.ประดิทิน พ.ศ.2483 เปลี่ยนระยะเวลา 12 เดือนของปีปฎิทินจากเดือนเม.ย.ถึงเดือนมี.ค.มาเป็นเดือน ม.ค.ถึงเดือน ธ.ค. ของแต่ละปี โดยเริ่มตั้งแต่ปี 2484 และบัญญัติให้เดือน ม.ค. ,ก.พ. และมี.ค.ของปี 2483 เป็นเดือนม.ค. ,ก.พ. และมี.ค.ของปี 2484
สำหรับบุคคลที่เกิดก่อนวันที่ 1 ม.ค. 2484 หากเกิดในเดือนม.ค. ,ก.พ. และมี.ค. อายุจริงของบุคคลนั้นจะน้อยกว่าอายุที่นับตามปฎิทิน 1 ปี เพราะอายุที่นับตาม ปฎิทิน ต้องนับอายุของปี 2483 ที่ตัดออกไปด้วยทั้งปี ดังนั้นการนับอายุจริงสำหรับบุคคลที่เกิดก่อนวันที่ 1 ม.ค. 2484 และเกิดในเดือนม.ค., ก.พ. หรือ มี.ค. ก จึงต้องนำอายุตามปฎิทินมาบวกอีก 1 ปี
"โกโบริน" ยื่นตีความอายุ "สุเมธ"
วันเดียวกัน เวลา 13.30 น. ร.ต.ท. เชาวริน ลัทธศักดิ์ศิริ ส.ส.ระบบสัดส่วน พรรคพลังประชาชน เข้ายื่นต่อหนังสือประธานรัฐสภา เพื่อขอให้นำเรื่องส่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยถึงคุณสมบัติของนาย สุเมธ อุปนิสากร กกต. โดยมีนาย สมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่หนึ่ง ในฐานะทำหน้าที่แทนประธานสภาฯมารับหนังสือแทน
ร.ต.ท.เชาวริน กล่าวว่า อาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญมาตรา 233 ขอให้ประธานรัฐสภาส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยถึงอายุของนายสุเมธ ซึ่งมีความสับสนในตัวเองและนับอายุตัวเองไม่ถูก เนื่องจากตรวจสอบแล้วพบว่า มาตรา209 ของรัฐธรรมนูญนั้น บัญญัติให้นำมาตรา 209 มาบังคับใช้กับ กกต.โดยอนุโลม ดังนั้นจึงเดินทางมายื่นหนังสือต่อประธานรัฐสภาเพื่อให้ดำเนินการตามมาตารา233 โดยมีส.ส.ร่วมลงชื่อทั้งสิ้น 74 คน จาก 4 พรรคการเมือง ได้แก่ พรรคพลังประชาชน พรรคชาติไทย พรรคประชาราช และพรรครวมใจไทยชาติพัฒนา
ร.ต.ท. เชาวริน กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ ขอแนะนำให้องค์กรอิสระที่ได้รับการแต่งตั้งมาจากอำนาจเผด็จการ ให้ลาออกจากตำแหน่ง เพราะขนาดบุคคลที่เป็นคณะกรรมการบริหารในหน่วยงานรัฐวิสาหกิจที่มาจากการแต่งตั้งของคณะรัฐประหารก็ยังพากันลาออก ทั้งๆที่ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเมือง แต่ยังมีสำนึกโดยรีบลาออก ดังนั้นกกต.เมื่ออายุครบ 70 ปีบริบูรณ์ก็น่าจะรู้ตัวด้วยเช่นกัน