ผู้จัดการรายวัน - สมาคมบลจ.นัดประชุม 21 มี.ค.นี้ เตรียมเสนอก.ล.ต.เปิดทางไพรเวตฟันด์ เพิ่มทางเลือกการลงทุนให้หลากหลายยิ่งขึ้น หลังเคยอนุมัติให้ลงทุนในต่างแดนได้ แต่ยังมีข้อจำกัดเหมือนกองทุนรวม เชื่อนักลงทุนมีความเชี่ยวชาญ - รู้จักความเสี่ยงการลงทุนดีแล้ว
แหล่งข่าวจากสมาคมบริษัทจัดการลงทุน (aimc) เปิดเผยว่า หลังจากที่ได้มีการอนุมัติให้กองทุนส่วนบุคคล (ไพรเวต์ ฟันด์) ออกไปลงทุนในต่างประเทศได้ในเบื้องต้นนั้น ขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างรอการจัดสรรวงเงินลงทุน โดยคาดว่าน่าจะได้รับจัดสรรวงเงินลงทุนดังกล่าวในไม่ช้า
สำหรับในส่วนของวงเงินจัดสรรที่จะให้กองทุนส่วนบุคคลออกไปลงทุนจะเป็นในส่วนที่ทางธนาคารแห่งประเทศจัดสรรเพิ่มเติมมาให้ก.ล.ต.ในวงเงิน 12,000 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่ในขณะนี้ยังไม่มีความชัดเจนว่าในวงเงินจำนวน 12,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ที่มีการจัดสรรเพิ่มเติมนั้น จะแบ่งให้กับส่วนใดบ้าง ซึ่งคงจะต้องรอความชัดเจนจาก ก.ล.ต.อีกครั้งหนึ่ง แต่คาดว่าน่าจะมีความชัดเจนในเรื่องดังกล่าวภายในสัปดาห์นี้หรือสัปดาห์ถัดไปเป็นอย่างช้า
อย่างไรก็ตาม การลงทุนของกองทุนส่วนบุคคลในต่างประเทศ ควรที่จะสามารถกระจายการลงทุนได้มากกว่าที่อนุญาติในปัจจุบัน เนื่องมาจากมองว่า นักลงทุนในส่วนของกองทุนส่วนบุคคลนั้น มีความรู้ ความสามารถเพียงพอที่จะพิจารณาการลงทุนในประเภทสินทรัพย์ที่หลากหลาย
โดยในวันที่ 21 มีนาคม 2551 นี้ สมาคมฯ จะมีการประชุมคณะอนุกรรมการฯ เพื่อหารือเกี่ยวกับการเพิ่มรูปแบบการลงทุนให้กองทุนส่วนบุคคล และหลังจากได้ข้อสรุปจากคณะอนุกรรมการฯ ก็จะมีการยื่นเรื่องเพื่อขอให้ ก.ล.ต.พิจารณาอีกครั้งหนึ่ง โดยคาดว่าน่าจะสามารถยื่นเรื่องให้พิจารณาได้ในช่วงปลายเดือนมีนาคม - ต้นเดือนเมษายน 2551
นายมาริษ ท่าราบ นายกสมาคมบริษัทจัดการลงทุน กล่าวว่า การที่ทางคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์และธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาติให้กองทุนส่วนบุคคลสามารถออกไปลงทุนยังต่างประเทศได้นั้น นับเป็นปัจจัยบวกต่ออุตสาหกรรมกองทุน แต่ปัจจุบันการลงทุนของกองทุนส่วนบุคคลยังคงถูกจำกัดการลงทุนในตราสารที่มีลักษณะเดียวกับตราสารที่กองทุนรวมสามารถลงทุนได้ ซึ่งอาจจะไม่เหมาะสมนัก
ทั้งนี้นักลงทุนที่จัดตั้งกองทุนส่วนบุคคลนั้น มีความรู้และความเชี่ยวชาญในการลงทุนในระดับหนึ่งแล้ว ดังนั้นนักลงทุนกลุ่มนี้จึงมีความต้องการช่องทางและทางเลือกการลงทุนที่หลากหลายมากกว่ากองทุนรวม
"เรื่องของกองทุนส่วนบุคคลนั้น ถ้าก.ล.ต.ยังจำกัดให้เหมือนกองทุนรวมก็ไม่มีประโยชน์ เพราะกองทุนส่วนบุคคลนั้น ต้องการลงทุนในอะไรที่ไม่ธรรมดาต่างจากกองทุนรวม อย่างเช่น ลงทุนเฮดจ์ฟันด์ หรือ ไพรเวตอิคควิตี้ เป็นต้น และพวกนี้ก็รู้อยู่ว่าความเสี่ยงอยู่ตรงไหน" นายมาริษ กล่าว
ก่อนหน้านี้ นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล เลขาธิการ คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดเผยว่า หลังธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาขยายวงเงินลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศให้สำนักงาน ก.ล.ต. อีก 12,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ทำให้เมื่อรวมกับวงเงินการลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศ ซึ่ง ธปท. ได้อนุมัติไว้แล้ว และวงเงินลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศส่วนที่ต่ำกว่า 50 ล้านเหรียญสหรัฐ (เดิม ธปท. เป็นผู้อนุมัติให้ผู้ลงทุนโดยตรง) จะมีวงเงินต่างประเทศไว้จัดสรรรวมทั้งสิ้น 30,000 ล้านเหรียญสหรัฐ
โดยการจัดสรรดังกล่าว เพื่อให้สำนักงาน ก.ล.ต. จัดสรรวงเงินการลงทุนในรูปแบบต่างๆ และการโอนเงินออกต่างประเทศ ทั้งการลงทุนในกองทุนรวม กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ บริษัทหลักทรัพย์ ที่ไปลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศ ซึ่งประกอบด้วย บุคคลทั่วไปที่ไปลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศผ่านกองทุนส่วนบุคคล (Private Fund) หรือลงทุนตรงผ่านบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ไม่กำหนดสัด
ส่วนการถือหุ้นของคนไทยในบริษัทต่างประเทศมาจดทะเบียนเพื่อระดมเงินในตลาดหลักทรัพย์ที่ร้อยละ 25 และการสนับสนุนให้ออกตราสารทางการเงินสกุลบาทที่อ้างอิงกับหลักทรัพย์ต่างประเทศ เช่น Transferable Custody Receipt (TCR)
นอกจากนี้ ยังอนุญาตให้บุคคลธรรมดาสามารถลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศผ่าน บล. ในฐานะนายหน้าหรือผู้ค้าได้ โดยให้ลงทุนได้เฉพาะหลักทรัพย์ที่จดทะเบียนใน Regulated Exchange หรือ Sovereign Bond เท่านั้น ทั้งนี้ บล. จะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของ ธปท. เพื่อให้มั่นใจว่าจะสามารถดูแลเงินลงทุนให้อยู่ในวงเงินที่ ธปท. อนุมัติ ซึ่งสำนักงาน ก.ล.ต. จะออกหลักเกณฑ์และซักซ้อมความเข้าใจต่อไป
“การผ่อนคลายดังกล่าวจะช่วยในการพัฒนาการเชื่อมโยงระหว่างตลาดทุนในภูมิภาคและเป็นช่องให้บริษัทหลักทรัพย์สามารถพัฒนาแนวทางการทำธุรกิจใหม่ๆ ได้มากขึ้น จึงขอแนะนำให้บริษัทหลักทรัพย์ต่างๆ ใช้โอกาสนี้ในการวางแผนธุรกิจในอนาคตต่อไป"นายธีระชัยกล่าว
รายงานข่าวจากสำนักงานก.ล.ต. กล่าวเพิ่มว่า ในหลักการแล้ว กองทุนส่วนบุคคลหรือบุคคลธรรมดา สามารถออกลงทุนได้ทันทีตั้งแต่วันนี้ ผ่านช่องทางที่สำนักงานอนุญาตให้สามารถลงทุนได้ แต่อย่างไรก็ตาม สำนักงานจะต้องหารือกับโบรกเกอร์ หรือบริษัทจัดการอีกครั้งถึงแนวทางและขอบเขตในปฏิบัติอีกครั้ง
แหล่งข่าวจากสมาคมบริษัทจัดการลงทุน (aimc) เปิดเผยว่า หลังจากที่ได้มีการอนุมัติให้กองทุนส่วนบุคคล (ไพรเวต์ ฟันด์) ออกไปลงทุนในต่างประเทศได้ในเบื้องต้นนั้น ขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างรอการจัดสรรวงเงินลงทุน โดยคาดว่าน่าจะได้รับจัดสรรวงเงินลงทุนดังกล่าวในไม่ช้า
สำหรับในส่วนของวงเงินจัดสรรที่จะให้กองทุนส่วนบุคคลออกไปลงทุนจะเป็นในส่วนที่ทางธนาคารแห่งประเทศจัดสรรเพิ่มเติมมาให้ก.ล.ต.ในวงเงิน 12,000 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่ในขณะนี้ยังไม่มีความชัดเจนว่าในวงเงินจำนวน 12,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ที่มีการจัดสรรเพิ่มเติมนั้น จะแบ่งให้กับส่วนใดบ้าง ซึ่งคงจะต้องรอความชัดเจนจาก ก.ล.ต.อีกครั้งหนึ่ง แต่คาดว่าน่าจะมีความชัดเจนในเรื่องดังกล่าวภายในสัปดาห์นี้หรือสัปดาห์ถัดไปเป็นอย่างช้า
อย่างไรก็ตาม การลงทุนของกองทุนส่วนบุคคลในต่างประเทศ ควรที่จะสามารถกระจายการลงทุนได้มากกว่าที่อนุญาติในปัจจุบัน เนื่องมาจากมองว่า นักลงทุนในส่วนของกองทุนส่วนบุคคลนั้น มีความรู้ ความสามารถเพียงพอที่จะพิจารณาการลงทุนในประเภทสินทรัพย์ที่หลากหลาย
โดยในวันที่ 21 มีนาคม 2551 นี้ สมาคมฯ จะมีการประชุมคณะอนุกรรมการฯ เพื่อหารือเกี่ยวกับการเพิ่มรูปแบบการลงทุนให้กองทุนส่วนบุคคล และหลังจากได้ข้อสรุปจากคณะอนุกรรมการฯ ก็จะมีการยื่นเรื่องเพื่อขอให้ ก.ล.ต.พิจารณาอีกครั้งหนึ่ง โดยคาดว่าน่าจะสามารถยื่นเรื่องให้พิจารณาได้ในช่วงปลายเดือนมีนาคม - ต้นเดือนเมษายน 2551
นายมาริษ ท่าราบ นายกสมาคมบริษัทจัดการลงทุน กล่าวว่า การที่ทางคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์และธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาติให้กองทุนส่วนบุคคลสามารถออกไปลงทุนยังต่างประเทศได้นั้น นับเป็นปัจจัยบวกต่ออุตสาหกรรมกองทุน แต่ปัจจุบันการลงทุนของกองทุนส่วนบุคคลยังคงถูกจำกัดการลงทุนในตราสารที่มีลักษณะเดียวกับตราสารที่กองทุนรวมสามารถลงทุนได้ ซึ่งอาจจะไม่เหมาะสมนัก
ทั้งนี้นักลงทุนที่จัดตั้งกองทุนส่วนบุคคลนั้น มีความรู้และความเชี่ยวชาญในการลงทุนในระดับหนึ่งแล้ว ดังนั้นนักลงทุนกลุ่มนี้จึงมีความต้องการช่องทางและทางเลือกการลงทุนที่หลากหลายมากกว่ากองทุนรวม
"เรื่องของกองทุนส่วนบุคคลนั้น ถ้าก.ล.ต.ยังจำกัดให้เหมือนกองทุนรวมก็ไม่มีประโยชน์ เพราะกองทุนส่วนบุคคลนั้น ต้องการลงทุนในอะไรที่ไม่ธรรมดาต่างจากกองทุนรวม อย่างเช่น ลงทุนเฮดจ์ฟันด์ หรือ ไพรเวตอิคควิตี้ เป็นต้น และพวกนี้ก็รู้อยู่ว่าความเสี่ยงอยู่ตรงไหน" นายมาริษ กล่าว
ก่อนหน้านี้ นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล เลขาธิการ คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดเผยว่า หลังธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาขยายวงเงินลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศให้สำนักงาน ก.ล.ต. อีก 12,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ทำให้เมื่อรวมกับวงเงินการลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศ ซึ่ง ธปท. ได้อนุมัติไว้แล้ว และวงเงินลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศส่วนที่ต่ำกว่า 50 ล้านเหรียญสหรัฐ (เดิม ธปท. เป็นผู้อนุมัติให้ผู้ลงทุนโดยตรง) จะมีวงเงินต่างประเทศไว้จัดสรรรวมทั้งสิ้น 30,000 ล้านเหรียญสหรัฐ
โดยการจัดสรรดังกล่าว เพื่อให้สำนักงาน ก.ล.ต. จัดสรรวงเงินการลงทุนในรูปแบบต่างๆ และการโอนเงินออกต่างประเทศ ทั้งการลงทุนในกองทุนรวม กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ บริษัทหลักทรัพย์ ที่ไปลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศ ซึ่งประกอบด้วย บุคคลทั่วไปที่ไปลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศผ่านกองทุนส่วนบุคคล (Private Fund) หรือลงทุนตรงผ่านบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ไม่กำหนดสัด
ส่วนการถือหุ้นของคนไทยในบริษัทต่างประเทศมาจดทะเบียนเพื่อระดมเงินในตลาดหลักทรัพย์ที่ร้อยละ 25 และการสนับสนุนให้ออกตราสารทางการเงินสกุลบาทที่อ้างอิงกับหลักทรัพย์ต่างประเทศ เช่น Transferable Custody Receipt (TCR)
นอกจากนี้ ยังอนุญาตให้บุคคลธรรมดาสามารถลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศผ่าน บล. ในฐานะนายหน้าหรือผู้ค้าได้ โดยให้ลงทุนได้เฉพาะหลักทรัพย์ที่จดทะเบียนใน Regulated Exchange หรือ Sovereign Bond เท่านั้น ทั้งนี้ บล. จะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของ ธปท. เพื่อให้มั่นใจว่าจะสามารถดูแลเงินลงทุนให้อยู่ในวงเงินที่ ธปท. อนุมัติ ซึ่งสำนักงาน ก.ล.ต. จะออกหลักเกณฑ์และซักซ้อมความเข้าใจต่อไป
“การผ่อนคลายดังกล่าวจะช่วยในการพัฒนาการเชื่อมโยงระหว่างตลาดทุนในภูมิภาคและเป็นช่องให้บริษัทหลักทรัพย์สามารถพัฒนาแนวทางการทำธุรกิจใหม่ๆ ได้มากขึ้น จึงขอแนะนำให้บริษัทหลักทรัพย์ต่างๆ ใช้โอกาสนี้ในการวางแผนธุรกิจในอนาคตต่อไป"นายธีระชัยกล่าว
รายงานข่าวจากสำนักงานก.ล.ต. กล่าวเพิ่มว่า ในหลักการแล้ว กองทุนส่วนบุคคลหรือบุคคลธรรมดา สามารถออกลงทุนได้ทันทีตั้งแต่วันนี้ ผ่านช่องทางที่สำนักงานอนุญาตให้สามารถลงทุนได้ แต่อย่างไรก็ตาม สำนักงานจะต้องหารือกับโบรกเกอร์ หรือบริษัทจัดการอีกครั้งถึงแนวทางและขอบเขตในปฏิบัติอีกครั้ง