"เจ้าสัวบัณฑูร" สวมบทคุณพระ วิเคราะห์เบื้องหลังเศรษฐกิจไทยหายนะ เงินไม่ใช่คุณภาพชีวิต แต่คนส่วนน้อยแต่มีอำนาจมีจิตที่โลภครอบงำ มองผลกำไรนำหน้า สวด "ผู้นำหมื่นล้าน" รวยแล้วไม่รู้จักพอ ดิ้นรนแสวงอำนาจอยากเป็นนายกรัฐมนตรี ชี้ตลาดหุ้นไม่สำคัญเพราะไม่ใช่ที่อยู่ของคนไทยส่วนใหญ่ อัด "รัฐบาลจริง-เงา" อย่าสักแต่พูด ไม่เช่นนั้นวงการแพทย์และการศึกษาจะมีปัญหาไม่จบสิ้น
วานนี้ (5 มี.ค.) สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย จัดกิจกรรมเนื่องในโอกาสครบรอบ 53 ปี และเพื่อเฉลิมฉลองวันนักข่าว 5 มีนาคม ที่ รร.เซ็นทารา แกรนด์ นายบัณฑูร ล่ำซำ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ปาถกฐา ในหัวข้อ “เศรษฐจิตเหนือเศรษฐกิจ” ว่า ที่มาของหัวข้องดังกล่าวเกิดจากตนเห็นว่าการพูดเรื่องเศรษฐกิจถือเป็นเรื่องที่น่าเบื่อ สิ่งที่หลายฝ่ายพูดกันทุกวัน ไม่ว่า เรื่องอัตราเงินเฟ้อจะอยู่ที่เท่าไหร่ อัตราการขายตัวทางเศรษฐกิจหรือจีดีพีอยู่ที่เท่าไหร่ การยกเลิกมาตรการกันสำรองเงินทุนนำเข้าระยะสั้น 30% จะมีผลอย่างไรต่ออัตราแลกเปลี่ยน ค่าเงินบาทที่แข็งค่าจะกระทบต่อผู้ส่งออกอย่างไร
"มีคนพูดแล้วว่าอัตราแลกเปลี่ยนในปัจจุบันเหมาะสมอยู่ที่ระดับเหมาะสมแล้ว ส่วนรัฐบาลใหม่ก็ได้ออกมาตรการเกี่ยวกับการบริโภคภาคประชาชน และกระตุ้นการบริโภคของข้าราชการก็ออกมาด้วย เป็นเรื่องที่ต้องให้เวลากับรัฐบาลสักระยะ" ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย กล่าว
นายบัณฑูร อธิบายว่า การกำหนดหัวข้อเรื่อง "เศรษฐจิตเหนือเศรษฐกิจ" เพราะเห็นว่าจะดีกว่าหัวข้อจีดีพี ซึ่งมักจะพูดเรื่องเศรษฐกิจปัจจุบันเป็นเรื่องผลกำไร ทั้งๆ ที่เศรษฐจิตเป็นตัวกำกับอยู่ข้างหลัง เหมือนราคาหุ้นที่ครอบงำการตัดสินใจ ซึ่งซ่อนอยู่ในตลาดทุน ทั้งๆ ที่คนไทยไม่กี่ล้านคนลงทุนอยู่ในตลาดหุ้น และคนไทยไม่ใช่ตลาดหุ้น อะไรถึงทำให้สังคมไทยน่าอยู่ เป็นเรื่องที่น่าคิด
ไม่เว้นวงการแพทย์ที่ปัจจุบันก็เดินตามเศรษฐจิต ต้องทำเพื่อครอบครัว ถ้าเป็นแบบนี้ก็รู้อยู่ว่าผลจะออกมาอย่างไรเพราะความสุขไม่ได้วัดจากจีดีพี แต่ปัจจุบันไม่ใช่ จะเห็นได้จากบริษัทต่างๆ วัดผลจากการเติบโตทุกๆ 3เดือน มนุษย์เหมือนบีบตัวเองให้อยู่ในกรอบของการรับรางวัล
"ยกตัวอย่างเมดิเคิลฮับหรือศูนย์กลางทางการแพทย์ อยากให้ดูว่ามีคนไทยกี่ร้านคนที่ได้รับบริการ เพราะร้านขายยายังขายยาเพื่อกำไรเป็นหลัก"
นายบัณฑูร ยังยกตัวอย่างบิลล์ เกต มหาเศรษฐี ว่า ประสบสำเร็จในระบบทุนนิยม แต่ในที่สุดก็มีแนวคิดแต่กต่างจากคนอื่นคือไม่ต้องการอำนาจ ไม่เหมือนคนบางคนในประเทศไทย มีเงินเป็นหมื่นล้านแล้วยังอยากเป็นนายกรัฐมนตรี แต่บิลล์ เกต รวยแล้วก็เกิดความละอายและเห็นว่าระบบนี้ไม่ได้สร้างความสุขที่แท้จริง ระบบทุนนิยมเป็นระบบที่ตกลงกันไว้ว่าจะสร้างความมั่งคั่งให้กับคน เป็นคนไม่กี่คนในสังคม สร้างให้คนมีเงินใช้ ไม่ได้ดูในเชิงคุณภาพชีวิต ไม่ได้สร้างสินค้าให้กับคนส่วนใหญ่ในโลกได้ใช้ เป็นการสร้างให้เฉพาะกลุ่มคนมีเงิน
"เศรษฐจิตที่ผมมองเป็นการพูดถึงตัวเลข ไม่ใช่เชิงคุณภาพ ไม่ว่าจะกระทำอะไรออกไปการวัดผลจะอยู่ที่ตัวเลข คิดจะทำอะไรก็หวังที่จะได้กำไรหากไม่ได้ก็ไม่หยุด แม้ทำอะไรผิดหาก ผลสุดท้ายหรือได้ผลตอบแทนที่ถูกใจก็ไม่เป็นไร จิตที่ไม่แยกแยะการให้คุณให้โทษแบบนี้เป็นจิตของประเทศไทยที่ตัดสินด้วยตัวเลขดัชนี ทำทุกอย่างเพื่อให้ได้เป้าหมายที่ตัวเองวางไว้ ส่วนคนไทย 60 ล้านคนจิตเป็นอย่างไรและจะนำเรื่องนี้โยงไปสู่สังคมเพื่อให้อยู่รอดอย่างไร วันนี้ยังไม่มีคำตอบ"
นายบัณฑูร ยกตัวอย่างเรื่องการศึกษาที่ทุกฝ่ายพูดว่าการศึกษามีความสำคัญ การศึกษายังเอาจิตด้านเศรษฐกิจมาวัด เป็นการเน้นเชิงปริมาณ แต่ไม่มีการวัดเชิงคุณภาพการผลิต ไม่ดูว่าคนที่ถูกผลิตออกมาจะมีคุณภาพทางความคิดและจะมีส่วนเข้ามาดูแลประเทศในอนาคตได้อย่างไร รัฐบาลทุกชุดพูดว่าจะเน้นคุณภาพแต่ไม่เห็นใครทำอย่างแท้จริง เห็นได้จากนักเรียนยังยากลำบากในการไปโรงเรียน ปัจจุบันจะเห็นว่านักเรียนยังต้องนั่งมอเตอร์ไซค์ไม่สวมหมวกกันน็อก
จึงอยากท้าทั้งรัฐบาลจริงและรัฐบาลเงาให้มาดูแถวธนาคารกสิกรไทย สำนักงานใหญ่ ราษฎร์บูรณะ จะเห็นว่าธนาคารฯ มีการจัดรถรับส่งนักเรียน มีอาหารเช้าให้รับประทาน ทุกที่นั่งมีเข็มขัดนิรภัย มีคนคอยควบคุมในการรับ-ส่งถึงบ้าน
ถ้าดูโดยรวมในประเทศไทย ไม่เห็นมีแบบนี้ คนไทยคิดโตอย่างเดียว คือ เศรษฐกิจมหภาค แต่ไม่คิดดูแลสุขภาพ ชีวิตของมนุษย์ และเรื่องอื่นๆ ที่ไม่ใช่ตัวเลข
"ชีวิตผมผ่านมาครึ่งชีวิตเห็นทั้งความเจริญ ความล่มสลายและความชุ่ยของมนุษย์ ดังนั้นโจทย์ใหม่ที่ควรจะมองคือการสร้างคุณภาพของชีวิตและสังคม แต่ยังไงก็ไม่มีคำตอบที่ชัดเจนให้" เขากล่าวย้ำว่า จิตอยู่เบื้องหลังเศรษฐกิจ เบื้องหลังทุกอย่างแต่จิตของคนไทยไม่มองที่ตัวเลขกำไร ความมั่งคั่ง
วานนี้ (5 มี.ค.) สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย จัดกิจกรรมเนื่องในโอกาสครบรอบ 53 ปี และเพื่อเฉลิมฉลองวันนักข่าว 5 มีนาคม ที่ รร.เซ็นทารา แกรนด์ นายบัณฑูร ล่ำซำ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ปาถกฐา ในหัวข้อ “เศรษฐจิตเหนือเศรษฐกิจ” ว่า ที่มาของหัวข้องดังกล่าวเกิดจากตนเห็นว่าการพูดเรื่องเศรษฐกิจถือเป็นเรื่องที่น่าเบื่อ สิ่งที่หลายฝ่ายพูดกันทุกวัน ไม่ว่า เรื่องอัตราเงินเฟ้อจะอยู่ที่เท่าไหร่ อัตราการขายตัวทางเศรษฐกิจหรือจีดีพีอยู่ที่เท่าไหร่ การยกเลิกมาตรการกันสำรองเงินทุนนำเข้าระยะสั้น 30% จะมีผลอย่างไรต่ออัตราแลกเปลี่ยน ค่าเงินบาทที่แข็งค่าจะกระทบต่อผู้ส่งออกอย่างไร
"มีคนพูดแล้วว่าอัตราแลกเปลี่ยนในปัจจุบันเหมาะสมอยู่ที่ระดับเหมาะสมแล้ว ส่วนรัฐบาลใหม่ก็ได้ออกมาตรการเกี่ยวกับการบริโภคภาคประชาชน และกระตุ้นการบริโภคของข้าราชการก็ออกมาด้วย เป็นเรื่องที่ต้องให้เวลากับรัฐบาลสักระยะ" ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย กล่าว
นายบัณฑูร อธิบายว่า การกำหนดหัวข้อเรื่อง "เศรษฐจิตเหนือเศรษฐกิจ" เพราะเห็นว่าจะดีกว่าหัวข้อจีดีพี ซึ่งมักจะพูดเรื่องเศรษฐกิจปัจจุบันเป็นเรื่องผลกำไร ทั้งๆ ที่เศรษฐจิตเป็นตัวกำกับอยู่ข้างหลัง เหมือนราคาหุ้นที่ครอบงำการตัดสินใจ ซึ่งซ่อนอยู่ในตลาดทุน ทั้งๆ ที่คนไทยไม่กี่ล้านคนลงทุนอยู่ในตลาดหุ้น และคนไทยไม่ใช่ตลาดหุ้น อะไรถึงทำให้สังคมไทยน่าอยู่ เป็นเรื่องที่น่าคิด
ไม่เว้นวงการแพทย์ที่ปัจจุบันก็เดินตามเศรษฐจิต ต้องทำเพื่อครอบครัว ถ้าเป็นแบบนี้ก็รู้อยู่ว่าผลจะออกมาอย่างไรเพราะความสุขไม่ได้วัดจากจีดีพี แต่ปัจจุบันไม่ใช่ จะเห็นได้จากบริษัทต่างๆ วัดผลจากการเติบโตทุกๆ 3เดือน มนุษย์เหมือนบีบตัวเองให้อยู่ในกรอบของการรับรางวัล
"ยกตัวอย่างเมดิเคิลฮับหรือศูนย์กลางทางการแพทย์ อยากให้ดูว่ามีคนไทยกี่ร้านคนที่ได้รับบริการ เพราะร้านขายยายังขายยาเพื่อกำไรเป็นหลัก"
นายบัณฑูร ยังยกตัวอย่างบิลล์ เกต มหาเศรษฐี ว่า ประสบสำเร็จในระบบทุนนิยม แต่ในที่สุดก็มีแนวคิดแต่กต่างจากคนอื่นคือไม่ต้องการอำนาจ ไม่เหมือนคนบางคนในประเทศไทย มีเงินเป็นหมื่นล้านแล้วยังอยากเป็นนายกรัฐมนตรี แต่บิลล์ เกต รวยแล้วก็เกิดความละอายและเห็นว่าระบบนี้ไม่ได้สร้างความสุขที่แท้จริง ระบบทุนนิยมเป็นระบบที่ตกลงกันไว้ว่าจะสร้างความมั่งคั่งให้กับคน เป็นคนไม่กี่คนในสังคม สร้างให้คนมีเงินใช้ ไม่ได้ดูในเชิงคุณภาพชีวิต ไม่ได้สร้างสินค้าให้กับคนส่วนใหญ่ในโลกได้ใช้ เป็นการสร้างให้เฉพาะกลุ่มคนมีเงิน
"เศรษฐจิตที่ผมมองเป็นการพูดถึงตัวเลข ไม่ใช่เชิงคุณภาพ ไม่ว่าจะกระทำอะไรออกไปการวัดผลจะอยู่ที่ตัวเลข คิดจะทำอะไรก็หวังที่จะได้กำไรหากไม่ได้ก็ไม่หยุด แม้ทำอะไรผิดหาก ผลสุดท้ายหรือได้ผลตอบแทนที่ถูกใจก็ไม่เป็นไร จิตที่ไม่แยกแยะการให้คุณให้โทษแบบนี้เป็นจิตของประเทศไทยที่ตัดสินด้วยตัวเลขดัชนี ทำทุกอย่างเพื่อให้ได้เป้าหมายที่ตัวเองวางไว้ ส่วนคนไทย 60 ล้านคนจิตเป็นอย่างไรและจะนำเรื่องนี้โยงไปสู่สังคมเพื่อให้อยู่รอดอย่างไร วันนี้ยังไม่มีคำตอบ"
นายบัณฑูร ยกตัวอย่างเรื่องการศึกษาที่ทุกฝ่ายพูดว่าการศึกษามีความสำคัญ การศึกษายังเอาจิตด้านเศรษฐกิจมาวัด เป็นการเน้นเชิงปริมาณ แต่ไม่มีการวัดเชิงคุณภาพการผลิต ไม่ดูว่าคนที่ถูกผลิตออกมาจะมีคุณภาพทางความคิดและจะมีส่วนเข้ามาดูแลประเทศในอนาคตได้อย่างไร รัฐบาลทุกชุดพูดว่าจะเน้นคุณภาพแต่ไม่เห็นใครทำอย่างแท้จริง เห็นได้จากนักเรียนยังยากลำบากในการไปโรงเรียน ปัจจุบันจะเห็นว่านักเรียนยังต้องนั่งมอเตอร์ไซค์ไม่สวมหมวกกันน็อก
จึงอยากท้าทั้งรัฐบาลจริงและรัฐบาลเงาให้มาดูแถวธนาคารกสิกรไทย สำนักงานใหญ่ ราษฎร์บูรณะ จะเห็นว่าธนาคารฯ มีการจัดรถรับส่งนักเรียน มีอาหารเช้าให้รับประทาน ทุกที่นั่งมีเข็มขัดนิรภัย มีคนคอยควบคุมในการรับ-ส่งถึงบ้าน
ถ้าดูโดยรวมในประเทศไทย ไม่เห็นมีแบบนี้ คนไทยคิดโตอย่างเดียว คือ เศรษฐกิจมหภาค แต่ไม่คิดดูแลสุขภาพ ชีวิตของมนุษย์ และเรื่องอื่นๆ ที่ไม่ใช่ตัวเลข
"ชีวิตผมผ่านมาครึ่งชีวิตเห็นทั้งความเจริญ ความล่มสลายและความชุ่ยของมนุษย์ ดังนั้นโจทย์ใหม่ที่ควรจะมองคือการสร้างคุณภาพของชีวิตและสังคม แต่ยังไงก็ไม่มีคำตอบที่ชัดเจนให้" เขากล่าวย้ำว่า จิตอยู่เบื้องหลังเศรษฐกิจ เบื้องหลังทุกอย่างแต่จิตของคนไทยไม่มองที่ตัวเลขกำไร ความมั่งคั่ง